ช่วงนี้ใบชะครามกำลังออกสู่ตลาด ลองมาดูเมนูใบชะครามกันบ้างดีกว่านะ

ชะครามเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งและยังเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจในการนำมาแปรรูปเป็นอาหารและสามารถสกัดสารเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคอันเป็นความหวังของผู้วิจัยและผู้ป่วยมะเร็งอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตของผู้ป่วยและยืดอายุต่อไปได้

ในอนาคตคาดว่าชะครามนี้อาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำมาแปรรูปและพัฒนาเป็นรูปแบบอาหารที่มนุษย์นิยมรับประทานเพื่อสุขภาพ และใช้เป็นพืชเพิ่มพลังงานให้แก่ประเทศไทยได้ ทั้งนี้เนื่องจากชะครามเป็นพืชที่หาง่ายพบขึ้นทั่วไปตามป่าชายเลนและที่สำคัญที่สุด สารสกัดจากต้นชะครามยังมีประโยชน์ทางการแพทย์ทางเลือกได้อีกทางหนึ่งในอนาคตซึ่งมนุษย์ไม่ควรจะละเลย

ชะคราม Suaeda maritima (L.) Dumort. Chenopodiaceae
ชื่อพ้อง Chenopodium maritimum L. (basionym)
ชื่ออื่น ส่าคราม (สมุทรสาคร) ชักคราม
ชื่อวงศ์ CHENOPODIACEAE


https://www.facebook.com/FoodandHealthforyou/photos/pcb.759069627475385/759069027475445/?type=3&theater

ชะครามมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในทวีปยุโรปและเอเซีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ พบตามชายป่าโกงกาง ที่รกร้างรอบๆ นาเกลือ

ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปีเมื่ออายุมากขึ้นจะพัฒนาจนลำต้นมีเนื้อไม้เป็นพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 เมตร ทรง แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นแก่มีผิวหยาบจากรอยแผลที่เกิดจากใบ ที่ร่วงหล่นไปแล้ว

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปทรงกระบอกแคบๆ โค้งเล็กน้อย ยาว 2-5 มม. ปลายเรียวแหลม ไร้ก้าน เรียงสลับ เบียดกันแน่น ไม่มีก้านใบ ใบรูปแถบยาว 1-6 เซนติเมตร. ใบอวบน้ำมีนวลสีเขียวสดหรือสีเขียวอมม่วงในฤดูแล้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอ่อนๆ

ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ 15 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ 15 ซม. แต่ละแขนงดอกออกเป็นกระจุก 3-5 ดอกเรียงยาวตามช่อแขนง มีใบประดับคล้ายใบ ลดรูปตามช่อกระจุกช่วงปลายช่อ ประดับย่อยขนาดเล็ก มี 2-3 อัน ติดใต้กลีบรวม ยาว 0.5-1 มม. ติดทน ลักษณะคล้ายใบ และมีขนาดเล็กลงไปทางปลายช่อ ใบประดับย่อยที่ฐาน วงกลีบรวม มี 2-3ใบรูปขอบขนานมนโปร่งใสและติดคงทนวงกลีบรวม สีเขียว หรือสีเขียวอมม่วง

ผล มีลักษณะกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5เซนติเมตร. อยู่ภายในวงกลีบรวม แต่ละผลมีเมล็ดจำนวนมาก

สรรพคุณตามตำรับยาไทย

ผักชะครามมีสรรพคุณ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามาก เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่เค็ม จึงดูดเกลือไว้ในลำต้น ทำให้มีธาตุไอโอดีนสะสมอยู่ สามารถป้องกันโรคคอพอกได้ นอกจากนี้ ทั้งต้นยังรักษารากผม แก้ผมร่วง ได้ ใครยังไม่เคยรับประทานชะครามลองไปหามามารับประทานดู แล้วจะติดใจ

ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ

ราก ใช้รากรับประทานเป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน โรคผิวหนัง และเส้นเอ็นพิการ

ลำต้นและใบของชะคราม ป้องกันโรคคอพอก เพราะชะครามดูดเกลือจากดินมาเก็บไว้ ทำให้มีธาตุไอโอดีนสะสมอยู่ ซึ่งสามารถป้องกันโรคคอพอกได้
รักษารากผม แก้ผมร่วงได้ด้วย

ใบของชะคราม ทำอาหารได้อร่อยหลายเมนู โดยที่ใบของชะครามจะดูดเอาความเกลือจากดินมาเก็บไว้ จึงทำให้ใบมีรสเค็ม ดังนั้นในการปรุงอาหารจึงใช้ใบอ่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้ม คั้นน้ำทิ้งไป 2-3 ครั้ง เพื่อให้ลดความเค็มลง

ตัวอย่างเมนูของใบชะคราม
1.) แกงชะครามกุ้งสด


วิธีทำ
1. ลวกใบชะครามแล้วคั้นน้ำทิ้ง 2-3 น้ำจนหายเค็ม
2. ผัดพริกแกงเผ็ดกับหัวกะทิจนแตกมัน ผัดกับชะครามจนทั่ว แล้วปรุงรสให้ดีด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ผงปรุงรสนิดหน่อย
3. ใส่กุ้งสดลงไปต้มจนกุ้งสุก ตักเสิร์ฟได้เลย

2.) ไข่เจียวใบชะคราม


วิธีทำ
1. เด็ดใบชะครามสด ไม่ต้องลวกทิ้งความเค็มครับ เราจะใช้ความเค็มของใบชะครามปรุงรสแทนน้ำปลาครับ
2. ตีไข่ไก่ (หรือจะไข่เป็ดก็ได้ตามรสนิยมของท่านเลย) แล้วเคล้าใบชะครามลงไป
3. ใส่น้ำมันพืช ตั้งจนน้ำมันร้อน แล้วหรี่ไฟเจียวไข่ด้วยไฟอ่อนๆจนสุกแล้วกลับด้าน
4. จะทานกับน้ำพริกกะปิ หรือใส่น้ำแกงส้มที่เผื่อรสหวานสักหน่อย รสชาติเข้ากันมากครับ ^^
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่