หายไปนานกับการเขียนกระทู้อินเทอร์เน็ตครับ ก่อนหน้านี้หลายเดือนได้เขียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไว้หลายตอน แล้วก็ยังไม่มีหัวข้อไหนอยากเขียนอีกเลยเว้นช่วงไปก่อน พอดีช่วงนี้เห็นมีคนบ่นเรื่องคุณภาพอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เรียกทั่วไปว่าเน็ตบ้านแล้วกันนะครับ เลยลงนั่งเขียนเพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น
ก่อนอื่นผมขอให้ดูแผนภาพด้านล่างก่อนนะครับ นี่คือ
internet map จาก
NECTEC ซึ่งจะมีการอัพเดททุกๆ เดือน (อันที่ผมเอามานี่ของเดือนก.พ. 60 ครับ)
ที่ผมเลือกใช้ภาพนี้แทนการเชื่อมต่อออกต่างประเทศเพราะว่าแต่ละผู้ให้บริการ (ISP) มีการเชื่อมต่อออกต่างประเทศซึ่งปรากฏอยู่ในภาพนี้แล้วนะครับ ส่วนแต่ละค่ายจะไปเชื่อมต่อกับใครต้องไปอ้างอิงจากอีกภาพหนึ่ง ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาในส่วนของคุณภาพการเชื่อมต่อออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย
จากภาพจะเห็นได้ว่าผมนำมาเปรียบเทียบเพียง 4 ค่ายเท่านั้นคือ 1.) AIS 2.) 3BB 3.) true และ 4.) TOT เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศ ส่วนของ CAT Telecom แม้จะมีบริการบรอดแบนด์ที่ชื่อ C Internet แต่จำนวนการให้บริการไม่สูงมากเทียบกับ 4 รายข้างต้น
ก่อนจะเข้าหัวข้อการเปรียบเทียบก็จำเป็นต้องอธิบายสัญญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในแผนภาพนี้ให้เข้าใจก่อนนะครับ
1. วงรีสีชมพูตรงกลางคือผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือโทรคมนาคมแบบที่สอง โดยสามารถสร้างโครงข่ายของตนเองได้ทั้งภายในและต่างประเทศ (International Exchange/IX และ Internet Gateway/IG) ในแผนภาพนี้จะหมายถึง IX เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
2. วงรีสีฟ้าคือผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 (ISP) ให้บริการในเชิงพาณิชย์
3. วงรีสีเขียวคือหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงสถาบันวิจัยพัฒนาต่างๆ (Government/Education/Research) ที่ให้บริการโดยไม่หวังผลกำไร
4. เส้นทึบแบ่งตามสีคือการเชื่อมต่อแบบ Exchange ระหว่าง IX ด้วยกัน และระหว่าง IX กับ ISP ยกเว้นสีเทาคือการเชื่อมต่อระหว่าง IX กับ IX ด้วยกันแบบ Peering Ratio (คิดค่าบริการตามปริมาณข้อมูลเข้า-ออก หากมีข้อมูลเข้ามากกว่าออกจะต้องชำระส่วนต่างตาม Ratio ที่กำหนดไว้ใน MOU ระหว่างองค์กร)
5. เส้นไข่ปลาหรือเส้นประ เป็นการเชื่อมต่อแบบ Transit หรือการเช่าใช้ โดยค่าบริการจะคิดตามปริมาณแบนด์วิดธ์ที่ผู้เช่าต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่ ISP (สีฟ้า) จะขอเช่าจาก IX (สีชมพู)
ส่วนสัญญลักษณ์บางตัวจะไม่นำมาอธิบายครับ เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นในกระทู้นี้ แต่สามารถศึกษารายละเอียดกันเองได้นะครับ
เมื่อเข้าใจสัญญลักษณ์แล้วก็ต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อระหว่างกันทั้งแบบ Transit / Exchange / Peering ว่าต่างกันอย่างไรนิดหน่อยนะครับ
การเชื่อมต่อแบบ Transit คือการที่ ISP ต้องการเชื่อมต่อกับ IX เพื่อขอใช้ Bandwidth ในประเทศตามที่ได้ตกลงไว้ โดยที่ปริมาณการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าของ ISP รายนั้นๆ รวมไปถึง Content ต่างๆ ที่ IX รายนั้นๆ มี อาทิ ISP มีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเชื่อมกับเว็บไซต์ aaa และเว็บไซต์ aaa นั้นนำ Server ของตนเองไปฝากไว้ที่ Data Centre ที่หนึ่งที่มีวงจรเชื่อมต่อกับ IX บางรายเท่านั้น ดังนั้น ISP รายนั้นจึงต้องไปขอเช่า (Transit) กับ IXcc เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของตนเองเป็นต้น
ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบนี้มักจะมีการดึงข้อมูลจาก IX มากกว่าที่จะโยนข้อมูลกลับไปครับ
การเชื่อมต่อแบบ Exchange หรือ Peering คือการที่ IX แต่ละรายต้องมาคุยกันเพื่อขอเชื่อมต่อ โดยปกติควรจะมีจุดเชื่อมต่อระหว่าง IX ด้วยกันให้มากที่สุดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของตนเอง เนื่องจากการที่เว็บไซต์ดังๆ อาจมีการฝาก Server หรือเช่า Co-Location ไว้ที่ Data Centre เพียง 1 ราย ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้ว IX ควรจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการทั่วไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
อัตราค่าเชื่อมต่อแบบ Exchange หรือ Peering นี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลเข้า-ออก (Downstream/Upstream) โดยที่หากค่า Downstream มากกว่า Upstream จะต้องชำระค่าบริการส่วนต่างนี้ให้กับ Upstream ตามราคาที่ตกลงกันไว้
เมื่อเข้าใจแล้วก็ลองมาดูว่าผู้ให้บริการแต่ละรายมีการเชื่อมต่อกันมากน้อยแค่ไหนนะครับ โดยผมสรุปเป็นตารางมาให้ตามนี้ครับ
ตารางนี้สรุปเฉพาะปริมาณ Bandwidth ที่ IX แต่ละรายมีการเชื่อมต่อแบบ Exchange เท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณมากหรือน้อยดีกว่ากัน เนื่องจากที่กล่าวไว้แล้วว่าขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่ว่าต้องการ Content แบบไหน จากนั้นจึงจะพิจารณาตามความเหมาะสมในการเชื่อมต่อภายหลัง
แต่ทั้งนี้หาก IX นั้นๆ มีการเชื่อมต่อยิ่งมากก็จะยิ่งดี เพื่อจะได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดคอขวดในช่วงเวลาที่มีปริมาณผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากนั่นเองครับ
การที่จะวิเคราะห์คุณภาพของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในประเทศก็จะต้องรู้ด้วยว่า กลุ่มธุรกิจที่ IX แต่ละรายมีอยู่คืออะไร มีฐานลูกค้าทั่วประเทศมากน้อยเพียงใด แล้วจึงนำจำนวนลูกค้ามาลองหารด้วยจำนวน Bandwidth ที่เชื่อมต่อก็จะพอมองเห็นภาพกว้างๆ ครับ
สำหรับรายชื่อของ IX บางท่านอาจจะไม่ทราบก็จะขออธิบายไว้ตรงนี้ด้วยนะครับ
JasTel คือกลุ่ม JAS ที่มีผลิตภัณฑ์และบริษัทในเครือเช่น 3BB, Triple T Broadband
AWN คือ Advance Wireless Network มีผลิตภัณฑ์หรือบริษัทในเครือเช่น ผลิตภัณฑ์ในเครือ AIS ต่างๆ รวมถึง AIS Fibre โดยชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็น AWN คือ SBN และ ADC และมีพันธมิตรทางธุรกิจหลายราย
TIG คือ true International Gateway มีผลิตภัณฑ์หรือบริษัทในเครือคือกลุ่ม true เช่น truemove H, true internet
TOT คือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีผลิตภัณฑ์เช่น TOT Fiber เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีสัมปทานให้กับผู้ให้บริการบางรายอีกด้วย อีกทั้งยังให้บริการหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศเป็นต้น
จากรายละเอียดที่ได้อธิบายไป เชื่อได้ว่าหลายๆ คนเริ่มจะมองเห็นภาพกว้างๆ ว่าอินเทอร์เน็ตที่ตนเองใช้งานในปัจจุบันเป็นอย่างไรกันบ้างนะครับ ไม่มากก็น้อย และในภาคต่อไปก็จะนำ International Bandwidth หรือแบนด์วิดธ์ต่างประเทศมาทำการวิเคราะห์กันต่อไปนะครับ
สำหรับใครที่มีข้อสงสัยหรืออยากทราบเพิ่มเติมตรงไหนก็ทิ้งคำถามไว้ได้นะครับ ส่วนใครมีข้อแนะนำหรือติชมอย่างไร ยินดีรับฟังทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
วิเคราะห์คุณภาพของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในไทย...ภาคที่ 1 การเชื่อมต่อภายในประเทศ (IX)
ก่อนอื่นผมขอให้ดูแผนภาพด้านล่างก่อนนะครับ นี่คือ internet map จาก NECTEC ซึ่งจะมีการอัพเดททุกๆ เดือน (อันที่ผมเอามานี่ของเดือนก.พ. 60 ครับ)
ที่ผมเลือกใช้ภาพนี้แทนการเชื่อมต่อออกต่างประเทศเพราะว่าแต่ละผู้ให้บริการ (ISP) มีการเชื่อมต่อออกต่างประเทศซึ่งปรากฏอยู่ในภาพนี้แล้วนะครับ ส่วนแต่ละค่ายจะไปเชื่อมต่อกับใครต้องไปอ้างอิงจากอีกภาพหนึ่ง ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาในส่วนของคุณภาพการเชื่อมต่อออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย
จากภาพจะเห็นได้ว่าผมนำมาเปรียบเทียบเพียง 4 ค่ายเท่านั้นคือ 1.) AIS 2.) 3BB 3.) true และ 4.) TOT เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศ ส่วนของ CAT Telecom แม้จะมีบริการบรอดแบนด์ที่ชื่อ C Internet แต่จำนวนการให้บริการไม่สูงมากเทียบกับ 4 รายข้างต้น
ก่อนจะเข้าหัวข้อการเปรียบเทียบก็จำเป็นต้องอธิบายสัญญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในแผนภาพนี้ให้เข้าใจก่อนนะครับ
1. วงรีสีชมพูตรงกลางคือผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือโทรคมนาคมแบบที่สอง โดยสามารถสร้างโครงข่ายของตนเองได้ทั้งภายในและต่างประเทศ (International Exchange/IX และ Internet Gateway/IG) ในแผนภาพนี้จะหมายถึง IX เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
2. วงรีสีฟ้าคือผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 (ISP) ให้บริการในเชิงพาณิชย์
3. วงรีสีเขียวคือหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงสถาบันวิจัยพัฒนาต่างๆ (Government/Education/Research) ที่ให้บริการโดยไม่หวังผลกำไร
4. เส้นทึบแบ่งตามสีคือการเชื่อมต่อแบบ Exchange ระหว่าง IX ด้วยกัน และระหว่าง IX กับ ISP ยกเว้นสีเทาคือการเชื่อมต่อระหว่าง IX กับ IX ด้วยกันแบบ Peering Ratio (คิดค่าบริการตามปริมาณข้อมูลเข้า-ออก หากมีข้อมูลเข้ามากกว่าออกจะต้องชำระส่วนต่างตาม Ratio ที่กำหนดไว้ใน MOU ระหว่างองค์กร)
5. เส้นไข่ปลาหรือเส้นประ เป็นการเชื่อมต่อแบบ Transit หรือการเช่าใช้ โดยค่าบริการจะคิดตามปริมาณแบนด์วิดธ์ที่ผู้เช่าต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่ ISP (สีฟ้า) จะขอเช่าจาก IX (สีชมพู)
ส่วนสัญญลักษณ์บางตัวจะไม่นำมาอธิบายครับ เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นในกระทู้นี้ แต่สามารถศึกษารายละเอียดกันเองได้นะครับ
เมื่อเข้าใจสัญญลักษณ์แล้วก็ต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อระหว่างกันทั้งแบบ Transit / Exchange / Peering ว่าต่างกันอย่างไรนิดหน่อยนะครับ
การเชื่อมต่อแบบ Transit คือการที่ ISP ต้องการเชื่อมต่อกับ IX เพื่อขอใช้ Bandwidth ในประเทศตามที่ได้ตกลงไว้ โดยที่ปริมาณการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าของ ISP รายนั้นๆ รวมไปถึง Content ต่างๆ ที่ IX รายนั้นๆ มี อาทิ ISP มีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเชื่อมกับเว็บไซต์ aaa และเว็บไซต์ aaa นั้นนำ Server ของตนเองไปฝากไว้ที่ Data Centre ที่หนึ่งที่มีวงจรเชื่อมต่อกับ IX บางรายเท่านั้น ดังนั้น ISP รายนั้นจึงต้องไปขอเช่า (Transit) กับ IXcc เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของตนเองเป็นต้น
ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบนี้มักจะมีการดึงข้อมูลจาก IX มากกว่าที่จะโยนข้อมูลกลับไปครับ
การเชื่อมต่อแบบ Exchange หรือ Peering คือการที่ IX แต่ละรายต้องมาคุยกันเพื่อขอเชื่อมต่อ โดยปกติควรจะมีจุดเชื่อมต่อระหว่าง IX ด้วยกันให้มากที่สุดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของตนเอง เนื่องจากการที่เว็บไซต์ดังๆ อาจมีการฝาก Server หรือเช่า Co-Location ไว้ที่ Data Centre เพียง 1 ราย ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้ว IX ควรจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการทั่วไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
อัตราค่าเชื่อมต่อแบบ Exchange หรือ Peering นี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลเข้า-ออก (Downstream/Upstream) โดยที่หากค่า Downstream มากกว่า Upstream จะต้องชำระค่าบริการส่วนต่างนี้ให้กับ Upstream ตามราคาที่ตกลงกันไว้
เมื่อเข้าใจแล้วก็ลองมาดูว่าผู้ให้บริการแต่ละรายมีการเชื่อมต่อกันมากน้อยแค่ไหนนะครับ โดยผมสรุปเป็นตารางมาให้ตามนี้ครับ
ตารางนี้สรุปเฉพาะปริมาณ Bandwidth ที่ IX แต่ละรายมีการเชื่อมต่อแบบ Exchange เท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณมากหรือน้อยดีกว่ากัน เนื่องจากที่กล่าวไว้แล้วว่าขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่ว่าต้องการ Content แบบไหน จากนั้นจึงจะพิจารณาตามความเหมาะสมในการเชื่อมต่อภายหลัง
แต่ทั้งนี้หาก IX นั้นๆ มีการเชื่อมต่อยิ่งมากก็จะยิ่งดี เพื่อจะได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดคอขวดในช่วงเวลาที่มีปริมาณผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากนั่นเองครับ
การที่จะวิเคราะห์คุณภาพของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในประเทศก็จะต้องรู้ด้วยว่า กลุ่มธุรกิจที่ IX แต่ละรายมีอยู่คืออะไร มีฐานลูกค้าทั่วประเทศมากน้อยเพียงใด แล้วจึงนำจำนวนลูกค้ามาลองหารด้วยจำนวน Bandwidth ที่เชื่อมต่อก็จะพอมองเห็นภาพกว้างๆ ครับ
สำหรับรายชื่อของ IX บางท่านอาจจะไม่ทราบก็จะขออธิบายไว้ตรงนี้ด้วยนะครับ
JasTel คือกลุ่ม JAS ที่มีผลิตภัณฑ์และบริษัทในเครือเช่น 3BB, Triple T Broadband
AWN คือ Advance Wireless Network มีผลิตภัณฑ์หรือบริษัทในเครือเช่น ผลิตภัณฑ์ในเครือ AIS ต่างๆ รวมถึง AIS Fibre โดยชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็น AWN คือ SBN และ ADC และมีพันธมิตรทางธุรกิจหลายราย
TIG คือ true International Gateway มีผลิตภัณฑ์หรือบริษัทในเครือคือกลุ่ม true เช่น truemove H, true internet
TOT คือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีผลิตภัณฑ์เช่น TOT Fiber เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีสัมปทานให้กับผู้ให้บริการบางรายอีกด้วย อีกทั้งยังให้บริการหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศเป็นต้น
จากรายละเอียดที่ได้อธิบายไป เชื่อได้ว่าหลายๆ คนเริ่มจะมองเห็นภาพกว้างๆ ว่าอินเทอร์เน็ตที่ตนเองใช้งานในปัจจุบันเป็นอย่างไรกันบ้างนะครับ ไม่มากก็น้อย และในภาคต่อไปก็จะนำ International Bandwidth หรือแบนด์วิดธ์ต่างประเทศมาทำการวิเคราะห์กันต่อไปนะครับ
สำหรับใครที่มีข้อสงสัยหรืออยากทราบเพิ่มเติมตรงไหนก็ทิ้งคำถามไว้ได้นะครับ ส่วนใครมีข้อแนะนำหรือติชมอย่างไร ยินดีรับฟังทุกท่านครับ ขอบคุณครับ