มานั่งดูราคาอินเทอร์เน็ตในประเทศได้ซักพักใหญ่ๆ แล้ว เลยลองมานั่งวิเคราะห์การเชื่อมต่อโครงข่ายเล่นๆ จาก Internet Map ดูบ้าง
เท่าที่เห็นจากเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ (IG) จาก Internet Map ของ NECTEC (เดือนเมษายน 2016) พบว่าปัจจุบันผู้ให้บริการ Big 5 (CAT, true, JasTel, AWN, TOT) เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศจาก Transit เป็น Peering มากขึ้น โดยเฉพาะภาคเอกชน แต่ก็ยังเน้นการ Peering ไปยังแค่ไม่กี่ประเทศเช่น SG, HK, MY เป็นต้น ซึ่งก็ยังไม่ใช่ tier 1 และเป็นที่น่าแปลกใจว่า MY (มาเลเซีย) มีการวาง POP ของเว็บไซต์ยอดนิยมเพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อนมาก ทั้งๆ ที่ไทยเองมีการวางแผนในการเป็น Hub ของ SEA แต่ก็ยังไม่เห็นมีการตั้ง POP ของเว็บดังๆ ในไทยแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันมีการแข่งขันราคาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศมากขึ้นโดยการลดราคาแบนด์วิดธ์ลงกว่าครึ่ง แต่เมื่อนั่งดูโครงข่ายในประเทศ (IX) แล้วพบว่ายังไม่มีการทำ Exchange หรือ Peering กันระหว่างผู้ให้บริการรายใหญ่ (Operator) แต่อย่างใด แต่ Operator มีการทำ Exchange และ Peering กับบริษัทลูกของตนเอง หรือการทำ Peer อ้อมหลังบ้านโดยใช้ Operator รายใหญ่เป็นตัวกลางเชื่อมโครงข่ายแทน (คาดว่าเพื่อลดค่า IC)
ดังนั้นตามที่วิเคราะห์แล้วคาดว่าแม้ราคาขายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ Fixed Line (ทั้งแบบ Copper และ Fiber Optic) ในประเทศจะมีการลดราคาเพื่อดึงลูกค้ากันอย่างดุเดือดในช่วงเกือบไตรมาสที่ผ่านมานี้ ผู้บริโภคก็จะยังคงไม่ได้ประโยชน์ในระยะยาวซักเท่าไหร่ เนื่องจากยังขาดการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกันภายในประเทศของ Operator อีกทั้งยังไม่เห็นมีการเชื่อมต่อระหว่าง Operator กับ tier 1 Provider จากเมืองไทยออกไป ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบ Transit หรือ Peering ก็ตาม ทำให้การแข่งขันที่เหมือนจะดูว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์นั้นก็จะต้องดูด้วยว่า Operator ที่ผู้บริโภคเลือกใช้งานมีการเชื่อมต่อโครงข่ายทั้งในและต่างประเทศมากน้อยเพียงใด
*กระทู้นี้เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
**ทั้งนี้การวิเคราะห์เล่นๆ นี้ยังไม่นับ Dark Fiber หลายๆ วงจร ที่แต่ละ Operator หรือ ISP ไม่ได้แจ้งต่อ NECTEC เพื่อนำมาขึ้น Internet Map เนื่องจากมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องที่ทำให้ไม่สามารถประกาศได้
อ้างอิง: www.internet.netec.or.th
วิเคราะห์ราคาอินเทอร็เน็ตความเร็วสูงในประเทศกับพฤติกรรมการเชื่อมต่อโครงข่ายของผู้ให้บริการในไทย
เท่าที่เห็นจากเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ (IG) จาก Internet Map ของ NECTEC (เดือนเมษายน 2016) พบว่าปัจจุบันผู้ให้บริการ Big 5 (CAT, true, JasTel, AWN, TOT) เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศจาก Transit เป็น Peering มากขึ้น โดยเฉพาะภาคเอกชน แต่ก็ยังเน้นการ Peering ไปยังแค่ไม่กี่ประเทศเช่น SG, HK, MY เป็นต้น ซึ่งก็ยังไม่ใช่ tier 1 และเป็นที่น่าแปลกใจว่า MY (มาเลเซีย) มีการวาง POP ของเว็บไซต์ยอดนิยมเพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อนมาก ทั้งๆ ที่ไทยเองมีการวางแผนในการเป็น Hub ของ SEA แต่ก็ยังไม่เห็นมีการตั้ง POP ของเว็บดังๆ ในไทยแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันมีการแข่งขันราคาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศมากขึ้นโดยการลดราคาแบนด์วิดธ์ลงกว่าครึ่ง แต่เมื่อนั่งดูโครงข่ายในประเทศ (IX) แล้วพบว่ายังไม่มีการทำ Exchange หรือ Peering กันระหว่างผู้ให้บริการรายใหญ่ (Operator) แต่อย่างใด แต่ Operator มีการทำ Exchange และ Peering กับบริษัทลูกของตนเอง หรือการทำ Peer อ้อมหลังบ้านโดยใช้ Operator รายใหญ่เป็นตัวกลางเชื่อมโครงข่ายแทน (คาดว่าเพื่อลดค่า IC)
ดังนั้นตามที่วิเคราะห์แล้วคาดว่าแม้ราคาขายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ Fixed Line (ทั้งแบบ Copper และ Fiber Optic) ในประเทศจะมีการลดราคาเพื่อดึงลูกค้ากันอย่างดุเดือดในช่วงเกือบไตรมาสที่ผ่านมานี้ ผู้บริโภคก็จะยังคงไม่ได้ประโยชน์ในระยะยาวซักเท่าไหร่ เนื่องจากยังขาดการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกันภายในประเทศของ Operator อีกทั้งยังไม่เห็นมีการเชื่อมต่อระหว่าง Operator กับ tier 1 Provider จากเมืองไทยออกไป ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบ Transit หรือ Peering ก็ตาม ทำให้การแข่งขันที่เหมือนจะดูว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์นั้นก็จะต้องดูด้วยว่า Operator ที่ผู้บริโภคเลือกใช้งานมีการเชื่อมต่อโครงข่ายทั้งในและต่างประเทศมากน้อยเพียงใด
*กระทู้นี้เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
**ทั้งนี้การวิเคราะห์เล่นๆ นี้ยังไม่นับ Dark Fiber หลายๆ วงจร ที่แต่ละ Operator หรือ ISP ไม่ได้แจ้งต่อ NECTEC เพื่อนำมาขึ้น Internet Map เนื่องจากมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องที่ทำให้ไม่สามารถประกาศได้
อ้างอิง: www.internet.netec.or.th