กม.แรงงาน ไม่ให้หักเงินกรณีลูกจ้างทำงานเสียหาย แต่ให้ตักเตือนแล้วไล่ออกแทน แบบนี้ทำไงต่อดี

เนื่องจากว่างานของเราเป็นแบบรับจ้างผลิตตามไซส์ หมายถึงว่า ถ้าผลิตออกมาผิดไซส์ก็คือเสียเลย เอาไปขายต่อยากมาก เพราะยากที่จะได้งานในไซส์เดียวกันเป๊ะๆ ส่วนใหญ่รับคืนมาก็เอามากองรองานใกล้เคียง ซึ่งสุดท้ายก็ฝุ่นเกาะจนไม่ได้เอามาขายใหม่อยู่ดี

เดิมมีข้อตกลงกับพนักงานว่า หากทำผิดไซส์จนต้องทำใหม่ ชุดเก่าที่ผิดจะหักแค่ต้นทุน และหักทั้งแผนก หารเท่าๆกัน
ที่ทำแบบนี้เพื่อให้พนักงานมีความรอบคอบมากขึ้น ทุกคนในแผนกช่วยกันดู ช่วยกันเช็ค เพราะถ้าผิดต้องรับผิดชอบร่วมกันหมด
แต่เวลาทำจริงก็ไม่เคยหักเท่าทุนเลย หักแค่คนละ 100-200 บาทเท่านั้นเอง ทั้งๆที่ความเสียหายแต่ละครั้ง เป็นหมื่นกว่าบาททุกที

ซึ่งต่อมา... ถูกเจ้าหน้าที่แรงเรียกไปพบ ไม่ได้มีใครมาฟ้องอะไร แต่คือโดนตรวจตามปกติเท่านั้น โดย จนท.บอกว่า ค่างานเสียหายเนี่ย ต่อไปนี้ห้ามหักนะ
เราก็ถามว่า ลูกน้องทำผิด เราอยากให้เค้ารอบคอบขึ้นเท่านั้นเอง ไม่ได้จะหักจนหมดตัว ซึ่งเค้าถามลูกน้องได้เลย หลักฐานการหักก็มีโชว์ในใบจ่ายค่าจ้าง
จนท.แรงงานบอกว่า หักไม่ได้ ถ้าทำผิดวิธีที่เราทำได้คือให้เรียกมาตักเตือน ครั้งที่ 1 ทางวาจา ครั้งที่ 2 ลายลักษณ์อักษร ครั้งที่ 3 ไล่ออกได้เลย ไม่ต้องจ่ายชดเชย
โอ้โห ถ้าทำแบบนั้นคงได้โดนไล่ออกกันทั้งแผนก เพราะผิดพลาดเป็นครั้งที่ 100 แล้วมั้ง แต่เรามองว่า ผลิตด้วยมือคน ความผิดพลาดเกิดได้เสมอ แต่ต้องควบคุมให้น้อยที่สุดดีกว่ามั้ย ไม่เคยอยากไล่ใครออก แต่ควรทำไงดีล่ะ
เล่าให้ลูกน้องฟังว่าต่อไปนี้ทำผิดไม่หักล่ะนะ เข้ากระบวนการเลย ลูกน้องหน้าซีดเลย ตกลงแรงงานจะช่วยลูกน้องหรือจะฆ่าลูกน้องกันแน่เนี่ย
บางทีกฏหมายบางอย่างก็บั่นทอนจิตใจคนทำงานนะ บางทีเหมือนไม่อยากให้เราอยู่รอดเลยอ่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่