ขอได้มั้ย เวลามีคนปรึกษาปัญหาถูกไล่ออกหรือเลิกจ้าง อย่าบอกว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน

เห็นหลายๆ กระทู้แล้ว  ใช้คำพูดอย่างนี้  อาจเป็นเหตุให้เกิดการเข้าใจผิดกันได้

ผมจะไม่พูดถึงประเด็นเรื่องค่าชดเชยซึ่งปกติ  เราก็จะรู้กันอยู่แล้ว่า ทำงานมากี่ปี ควรจะได้ค่าชดเชยกี่เดือน หรือแม้แต่เรื่องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม   ก็ไม่พูดถึง

แต่อยากจะฝากไว้ในเรื่องของค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ที่หลายคนมักจะบอกว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 1 เดือน ซึ่งถูกซะที่ไหน

สมมุติว่า บริษัทนายจ้างมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน  แล้วเกิดมีปัญหากับลูกจ้าง  ก็ให้ลูกจ้างออกทันทีในวันที่ 2 มีนาคม 2560 โดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด

ถามว่า ถ้าเราบอกว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 1 เดือน  

คำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวที่ถูกหรือผิด   คำตอบ คือ "ผิด"

ในเดือนมีนาคม ที่ลูกจ้างทำงานเพียง 2 วัน  ดังนั้น ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้ค่าจ้างเพียง 2 วันเท่านั้น ส่วนหลังจากนั้นที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างอีกต่อไป ตามหลัก No Work, No Pay   แต่ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ก็คือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า "ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า"

ซึ่งในเคสตัวอย่างนี้  ลูกจ้างไม่ใช่มีสิทธิได้รับเพียงแค่ 1 เดือน หรือ 30 วัน  แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบอกกล่าวเท่ากับค่าจ้างคำนวณเป็นรายวัน เป็นจำนวนถึง 59 วัน  หรือเกือบ 2 เดือน!!!  ไม่ใช่แค่เพียง 1 เดือนอย่างที่เข้าใจกัน

หรือแม้แต่การใข้คำว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง  ก็ยังไม่ถูกต้อง  เพราะ 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง มันก็คือ 1 เดือนนั่นเอง เพราะงวดการจ่ายค่าจ้าง ถ้าจ่ายกันเป็นเดือน ก็คือ ทุก 1 เดือน ฉะน้น หากเราบอกว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นจำนวน 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง  ก็เท่ากับบอกว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเพียง 1 เดือน ซึ่งไม่ถูกต้อง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่