เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด สามารถเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง

ช่วงนี้มีให้เห็นในข่าวบ่อย ๆ เรื่องการเลิกจ้างพนักงาน ด้วยเหตุผลหลายอย่าง  ดังนั้นวันนี้เลยอยากเอาข้อมูลมาฝากค่ะ
เผื่อใครยังไม่รู้  ในกรณีเมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง

1. เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีให้ออกโดยมีผลในทันที
    พรบ.สคุ้มครองแรงงาน แบับที่ 7 (ล่าสุด) 
     มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๑๗/๑  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๗/๑ ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ ตามมาตรา  ๑๗  วรรคสอง  ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจ านวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา  ๑๗  วรรคสอง  โดยให้จ่าย ในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน” 

ตย.กำหนดจ่ายทุกวันสิ้นเดือน เลิกจ้างในวันที่ 25 กรกฎาคม 62 สัญญาจ้างจะมีผล คือ 31 สิงหาคม 2562 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าตกใจถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2562

หมายเหตุ. 1 งวด ค่าจ้าง อาจไม่ใช่ 30 วัน งวดค่าจ้างอาจเป็น ทุก 7 วัน หรือ 15 วันก็ได้  
*(แก้ไขจากข้อความเดิมค่ะ)

2. เงินชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง
    กฏหมายมาตรา 118 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปน้ี
      - หากทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 30 วัน  
      - หากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 90 วัน  
      - หากทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 180 วัน 
      - หากทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี จะได้รับค่าชดเชยจำนวน  240 วัน  
      - หากทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี จะได้รับค่าชดเชยจำนวน  300 วัน  
      - หากทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชยจำนวน  400 วัน

3. เงินสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน
     สำหรับใครที่มีสิทธิประกันสังคม จะได้รับเงินช่วยเหลือกรณีว่างงานจากประกันสังคม  หากจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน โดยจะต้องรีบไปขึ้นทะเบียนหางาน ณ สำนักจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง และยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน   โดยเงินช่วยเหลือที่ได้รับ จะเป็นเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่