หลังจาก “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ม.44 ของรัฐธรรมนูญฯฉบับชั่วคราว ปลดฟ้าผ่าผู้ว่าการการรถไฟฯและสั่งโละบอร์ด รฟท.ชุดเดิมยกกระบิก่อนตั้งบอร์ดรถไฟฯชุดใหม่เข้ามา
พร้อมตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษหรือ “ซุปเปอร์บอร์ด” ที่มี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติเป็นประธาน ขึ้นมากำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีวงเงินเกิน 5,000 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประเดิมด้วยโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟรางคู่ 7 โครงการมูลค่า 1.36 ล้านบาท ท่ามกลางความคาดหวังของทุกฝ่ายที่หวังจะเห็นเหลือบไรในการรถไฟถูกขจัดให้หมดสิ้นไปเสียที!
อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจ ม.44 ปลดกราวรูดผู้ว่ารถไฟและสั่งโละบอร์ดรถไฟยกชุดทั้งยังสั่งให้ “ซุปเปอร์บอร์ด” เข้าไปตรวจสอบการดำเนินโครงการรถไฟรางคู่ 7 สายทางที่การรถไฟป้ำผีลุกปลุกผีนั่งมาร่วมปีนั้น สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลที่ใครต่อใครสาวไส้ความฟอนเฟะในการรถไฟก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะเรื่องที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่ออกมาแฉโพยโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟรางคู่ 5 สายทางเงินลงทุนกว่า 9.5 หมื่นล้านบาทว่า มีการล็อกสเปกเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใหญ่ มีการตั้งราคากลางแพงลิบลิ่วนั้นมีเค้าลางอยู่ไม่น้อย
สิ่งที่หลายฝ่ายยังแสดงความกังวลก็คือการที่นายกฯใช้อำนาจ ม.44 ตั้งนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวงและกรรมการบอร์ดรถไฟให้ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการรถไฟ ด้วยเห็นว่าภารกิจเบื้องหน้าของการรถไฟที่ต้องขับเคลื่อนโครงการลงทุนมหาศาลมูลค่ากว่า 8 แสนล้านนั้น จำเป็นต้องอาศัยการทำงานอย่างทุ่มเท ผู้ว่าการรถไฟฯควรมีเวลาสามารถทำงานได้เต็มเวลาจะอาศัยแค่บอร์ดรถไฟนั่งถ่างขาควบรักษาการเห็นจะไม่เพียงพอแน่
ยิ่งสำหรับนายอานนท์ด้วยแล้วลำพังแค่งานของกรมทางหลวงที่ต้องสนองนโยบายรัฐลุยโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สายทางในมือเวลานี้และอีกหลายสิบเส้นทางในอนาคต 3-5 ปีจากนี้ก็ถือว่าเต็มมืออยู่แล้ว หากจะต้องปลีกวิเวกมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กรการรถไฟที่ต้องแบกภาระหนักอึ้งด้วย การจะคาดหวังให้รักษาการผู้ว่ารถไฟทุ่มเทการทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำให้รถไฟนั้นจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้
เพราะควันหลงจากการที่ต้องถ่างขานั่งควบหลายตำแหน่งนี่เอง เราจึงได้เห็นพฤติกรรมของผู้ว่าการรถไฟฯที่ต้องจัดสรรเวลาเป็นมือระวิง ต้องให้เจ้าหน้าที่หอบแฟ้มไปเซ็นที่กรมทางหลวงทุกวัน และจำเป็นต้องดึงเอากุนซือคนรถไฟมาจากสายขั้วอำนาจเก่าในการรถไฟฯที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นและทีมงานเข้ามาโม่แป้งกลั่นกรองงานในการรถไฟให้แทนเกือบจะทุกเรื่อง
นัยว่าทั้งกุนซือและทีมงานที่นายอานนท์ดึงเข้ามานั้นมี “เจ๊ใหญ่” ที่สายสัมพันธ์แนบแน่นเคยเป็นถึงหน้าห้องอยู่กับอดีตผู้ว่ารถไฟฯคนก่อนจนถึงขั้นที่มีกระแสข่าวภายในรถไฟว่า หากงานใดที่เจ๊ใหญ่คนนี้ไม่ “เซย์เยส” ก็ยากที่รักษาการผู้ว่ารถไฟจะยอมจรดปลายปากกาเซ็น ทำเอาคนรถไฟอึดอัดหาวเรอไปตามๆ กัน และต่างวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูว่า รักษาการผู้ว่ารถไฟนั้นก็แค่ “ร่างทรง” เท่านั้น และดูจะหนักหนาสาหัสกว่าเมื่อครั้งที่นายวุฒิชาติ กัลยณมิตร นั่งอยู่เสียอีกหรือไม่
จึงไม่แปลกใจเลยที่วันก่อน ดร.สามารถ จะออกมาโพสต์เฟสบุ๊คสัพยอกหมดหวังกับการยกเครื่องปฏิรูปรถไฟ ด้วยเห็นข้อมูลที่รักษาการผู้ว่ารถไฟฯ ที่ออกมาตอบโต้กรณีการประมูลรถไฟทางคู่ 5 สายทางอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน ถึงขั้นออกมายืนยัน นั่งยันว่าที่ผ่านมาการประมูลโครงการรถไฟทางคู่ดำเนินการมาอย่างโปร่งใส ไม่ได้มีการล็อกสเปกเอื้อประโยชน์ให้แก่รับเหมารายใหญ่ใดๆ เลย ทั้งที่ทุกฝ่ายต่างก็ประจักษ์เหตุที่ “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์” งัด ม.44 ล้างบางบอร์ดและผู้ว่ารถไฟยกกระบิไปก่อนหน้ามีสาเหตุมาจากเรื่องอื้อฉาวใด เหตุใดจึงกล้าออกมาแถลงข่าวสวนคำสั่งหัวหน้า คสช.เช่นนี้ อีกทั้ง “ซุปเปอร์บอร์ด” เองเพิ่งจะตีแสกหน้าสั่งให้การรถไฟฯรื้อเงื่อนไขการประมูลรถไฟทางคู่ 5 สายทางยกกระบิ
คงต้องฝาก ดร.สามารถได้เข้ามาตรวจสอบการทำงานคนรถไฟชุดนี้อย่างใกล้ชิด และเรียนฝากไปยังท่านนายกฯ “บิ๊กตู่” ได้ทบทวนการตั้งรักษาการผู้ว่ารถไฟฯว่าจะยังดั้นเมฆเอาคนที่ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้มาถ่างขารักษาการกันต่อไปแล้วปล่อยให้ทีมงานกุนซือที่สนิทชิดเชื้อกับขั้วอำนาจเก่าโม่แป้งชักใยกันเช่นนี้ต่อไปหรือ?
ถึงเวลาที่ต้องทบทวนและเร่งรัดสรรหาผู้ว่าการรถไฟฯตัวจริงกันหรือยัง หรือหากจำเป็นต้องตั้งรักษาการกันจริงๆ ก็ควรเอาคนในที่รู้จักมักจี่ในวัฒนธรรมองค์กร รู้ตื้นลึกหนาบางองค์กรเป็นอย่างดีมาขับเคลื่อน ซึ่งในขณะนี้มีข่าวสะพัดในการรถไฟว่าชื่อของ นายกมล ตั้งกิจเจริญชัย อดีตรองผู้ว่าการรถไฟฯ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และมีสายสัมพันธ์แนบแน่นจากกลุ่ม ตท.รุ่น 15 คาดว่าจะถูกเสนอแต่งตั้งเข้ามาทำงานแทนที่รักษาการผู้ว่ารถไฟคนปัจจุบันโดยคาดว่า คสช.จะใช้อำนาจพิเศษ ม.44 แต่งตั้งเข้ามาในเร็ววันนี้ แต่หากยังปล่อยให้การรถไฟฯมีผู้ว่าฯนั่งรักษาการไปเช่นนี้หาไม่แล้วไม่เพียงแต่โครงการต่างๆ ของการรถไฟฯจะไปไม่ถึงฝั่ง ยังจะเรียกแขกให้งานเข้า หากรักษาการนอนินีที่ไม่ได้รู้ตื้นลึกหนาบางองค์กรดีพอถูกกลุ่มอำนาจเก่าภายในองค์กรวางยาเอา!
วอนนายกฯ ใช้ ม.44 ยกเครื่องรถไฟให้สะเด็ดน้ำ
พร้อมตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษหรือ “ซุปเปอร์บอร์ด” ที่มี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติเป็นประธาน ขึ้นมากำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีวงเงินเกิน 5,000 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประเดิมด้วยโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟรางคู่ 7 โครงการมูลค่า 1.36 ล้านบาท ท่ามกลางความคาดหวังของทุกฝ่ายที่หวังจะเห็นเหลือบไรในการรถไฟถูกขจัดให้หมดสิ้นไปเสียที!
อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจ ม.44 ปลดกราวรูดผู้ว่ารถไฟและสั่งโละบอร์ดรถไฟยกชุดทั้งยังสั่งให้ “ซุปเปอร์บอร์ด” เข้าไปตรวจสอบการดำเนินโครงการรถไฟรางคู่ 7 สายทางที่การรถไฟป้ำผีลุกปลุกผีนั่งมาร่วมปีนั้น สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลที่ใครต่อใครสาวไส้ความฟอนเฟะในการรถไฟก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะเรื่องที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่ออกมาแฉโพยโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟรางคู่ 5 สายทางเงินลงทุนกว่า 9.5 หมื่นล้านบาทว่า มีการล็อกสเปกเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใหญ่ มีการตั้งราคากลางแพงลิบลิ่วนั้นมีเค้าลางอยู่ไม่น้อย
สิ่งที่หลายฝ่ายยังแสดงความกังวลก็คือการที่นายกฯใช้อำนาจ ม.44 ตั้งนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวงและกรรมการบอร์ดรถไฟให้ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการรถไฟ ด้วยเห็นว่าภารกิจเบื้องหน้าของการรถไฟที่ต้องขับเคลื่อนโครงการลงทุนมหาศาลมูลค่ากว่า 8 แสนล้านนั้น จำเป็นต้องอาศัยการทำงานอย่างทุ่มเท ผู้ว่าการรถไฟฯควรมีเวลาสามารถทำงานได้เต็มเวลาจะอาศัยแค่บอร์ดรถไฟนั่งถ่างขาควบรักษาการเห็นจะไม่เพียงพอแน่
ยิ่งสำหรับนายอานนท์ด้วยแล้วลำพังแค่งานของกรมทางหลวงที่ต้องสนองนโยบายรัฐลุยโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สายทางในมือเวลานี้และอีกหลายสิบเส้นทางในอนาคต 3-5 ปีจากนี้ก็ถือว่าเต็มมืออยู่แล้ว หากจะต้องปลีกวิเวกมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กรการรถไฟที่ต้องแบกภาระหนักอึ้งด้วย การจะคาดหวังให้รักษาการผู้ว่ารถไฟทุ่มเทการทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำให้รถไฟนั้นจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้
เพราะควันหลงจากการที่ต้องถ่างขานั่งควบหลายตำแหน่งนี่เอง เราจึงได้เห็นพฤติกรรมของผู้ว่าการรถไฟฯที่ต้องจัดสรรเวลาเป็นมือระวิง ต้องให้เจ้าหน้าที่หอบแฟ้มไปเซ็นที่กรมทางหลวงทุกวัน และจำเป็นต้องดึงเอากุนซือคนรถไฟมาจากสายขั้วอำนาจเก่าในการรถไฟฯที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นและทีมงานเข้ามาโม่แป้งกลั่นกรองงานในการรถไฟให้แทนเกือบจะทุกเรื่อง
นัยว่าทั้งกุนซือและทีมงานที่นายอานนท์ดึงเข้ามานั้นมี “เจ๊ใหญ่” ที่สายสัมพันธ์แนบแน่นเคยเป็นถึงหน้าห้องอยู่กับอดีตผู้ว่ารถไฟฯคนก่อนจนถึงขั้นที่มีกระแสข่าวภายในรถไฟว่า หากงานใดที่เจ๊ใหญ่คนนี้ไม่ “เซย์เยส” ก็ยากที่รักษาการผู้ว่ารถไฟจะยอมจรดปลายปากกาเซ็น ทำเอาคนรถไฟอึดอัดหาวเรอไปตามๆ กัน และต่างวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูว่า รักษาการผู้ว่ารถไฟนั้นก็แค่ “ร่างทรง” เท่านั้น และดูจะหนักหนาสาหัสกว่าเมื่อครั้งที่นายวุฒิชาติ กัลยณมิตร นั่งอยู่เสียอีกหรือไม่
จึงไม่แปลกใจเลยที่วันก่อน ดร.สามารถ จะออกมาโพสต์เฟสบุ๊คสัพยอกหมดหวังกับการยกเครื่องปฏิรูปรถไฟ ด้วยเห็นข้อมูลที่รักษาการผู้ว่ารถไฟฯ ที่ออกมาตอบโต้กรณีการประมูลรถไฟทางคู่ 5 สายทางอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน ถึงขั้นออกมายืนยัน นั่งยันว่าที่ผ่านมาการประมูลโครงการรถไฟทางคู่ดำเนินการมาอย่างโปร่งใส ไม่ได้มีการล็อกสเปกเอื้อประโยชน์ให้แก่รับเหมารายใหญ่ใดๆ เลย ทั้งที่ทุกฝ่ายต่างก็ประจักษ์เหตุที่ “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์” งัด ม.44 ล้างบางบอร์ดและผู้ว่ารถไฟยกกระบิไปก่อนหน้ามีสาเหตุมาจากเรื่องอื้อฉาวใด เหตุใดจึงกล้าออกมาแถลงข่าวสวนคำสั่งหัวหน้า คสช.เช่นนี้ อีกทั้ง “ซุปเปอร์บอร์ด” เองเพิ่งจะตีแสกหน้าสั่งให้การรถไฟฯรื้อเงื่อนไขการประมูลรถไฟทางคู่ 5 สายทางยกกระบิ
คงต้องฝาก ดร.สามารถได้เข้ามาตรวจสอบการทำงานคนรถไฟชุดนี้อย่างใกล้ชิด และเรียนฝากไปยังท่านนายกฯ “บิ๊กตู่” ได้ทบทวนการตั้งรักษาการผู้ว่ารถไฟฯว่าจะยังดั้นเมฆเอาคนที่ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้มาถ่างขารักษาการกันต่อไปแล้วปล่อยให้ทีมงานกุนซือที่สนิทชิดเชื้อกับขั้วอำนาจเก่าโม่แป้งชักใยกันเช่นนี้ต่อไปหรือ?
ถึงเวลาที่ต้องทบทวนและเร่งรัดสรรหาผู้ว่าการรถไฟฯตัวจริงกันหรือยัง หรือหากจำเป็นต้องตั้งรักษาการกันจริงๆ ก็ควรเอาคนในที่รู้จักมักจี่ในวัฒนธรรมองค์กร รู้ตื้นลึกหนาบางองค์กรเป็นอย่างดีมาขับเคลื่อน ซึ่งในขณะนี้มีข่าวสะพัดในการรถไฟว่าชื่อของ นายกมล ตั้งกิจเจริญชัย อดีตรองผู้ว่าการรถไฟฯ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และมีสายสัมพันธ์แนบแน่นจากกลุ่ม ตท.รุ่น 15 คาดว่าจะถูกเสนอแต่งตั้งเข้ามาทำงานแทนที่รักษาการผู้ว่ารถไฟคนปัจจุบันโดยคาดว่า คสช.จะใช้อำนาจพิเศษ ม.44 แต่งตั้งเข้ามาในเร็ววันนี้ แต่หากยังปล่อยให้การรถไฟฯมีผู้ว่าฯนั่งรักษาการไปเช่นนี้หาไม่แล้วไม่เพียงแต่โครงการต่างๆ ของการรถไฟฯจะไปไม่ถึงฝั่ง ยังจะเรียกแขกให้งานเข้า หากรักษาการนอนินีที่ไม่ได้รู้ตื้นลึกหนาบางองค์กรดีพอถูกกลุ่มอำนาจเก่าภายในองค์กรวางยาเอา!