สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกฯ ทุกๆ ท่าน
ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจและติดตามอ่านกระทู้ต่างๆ ที่น่าสนใจในห้องก้นครัวมาตลอด และสังเกตพบว่ามีอยู่ประมาณ 3 คำ ที่สะกดผิดกันมากมาย และก็ยังสะกดผิดตามๆ กันไปไม่จบไม่สิ้น...
1. คำแรกที่พบเห็นกันบ่อยมากคือ "เสิร์ฟ" :ซึ่งเป็นคำจากภาษาอังกฤษที่สะกดว่า serve ที่คนไทยเรารับมาใช้และพูดทับศัพท์จนเป็นที่รู้และเข้าใจกันโดยทั่วไป และเมื่อรับมาใช้กันอย่างกว้าง เราก็สะกดคำนี้ตามการออกเสียงด้วยอักษรไทยว่า "เสิร์ฟ"
คำนี้เป็นคำที่เราพบเห็นอยู่ได้บ่อยๆ ว่ามีการสะกดผิดกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นตามป้ายประกาศรับพนักงานบริการของร้านอาหาร และในห้องก้นครัว ที่มักจะสะกดเป็น "
เสริฟ" (ทุกครั้งที่ผมเห็นคำนี้สะกดผิด ผมมักจะอ่านอย่างจงใจว่า เส-ริบ...และมักจะชวนให้นึกถึงลักษณะรูปแบบของอักษรสำหรับงานพิมพ์...serif และ sans serif อย่างช่วยไม่ได้)
2. คำที่สองก็เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษเช่นกัน...strawberry...เป็นผลไม้เมืองหนาวที่เราไม่เคยมีมาก่อน จนกระทั่งในปี
พ.ศ.2515 โครงการหลวงโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้นำพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่มาทดลองปลูกประมาณ 40 พันธุ์ โดยคัดเลือกไว้ 2 พันธุ์ นำไปให้ชาวบ้านทดลองปลูก ปรากฏว่า มีพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ที่เกษตรกรนิยม 1 พันธุ์ คือ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 จึงนำไปส่งเสริมให้แก่ราษฎรพื้นราบของเมืองเชียงใหม่ปลูกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วไป (ที่มา : www.royalprojectthailand.com)
คำนี้เป็นคำที่เราเรียกทับศัพท์ตามคำในภาษาอังกฤษเช่นกัน และเป็นคำที่สะกดผิดกันอย่างมากมาย อาจจะเป็นเพราะว่า...
2.1 หลายๆ คนไม่ค่อยจะเคร่งครัดในการออกเสียงควบกล้ำ ร.เรือ ให้ชัดเจนและถูกต้อง
2.2 หรืออาจจะเป็นการพยายามที่จะสร้างคำใหม่ๆ ของรายการบันเทิงตามสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อยๆ โดยการเอาคำไทยที่ใช้เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (ตอแ...) มาเชื่อมโยงกับ"สะตอ"ที่เป็นพืชท้องถิ่นของทางภาคใต้ แล้วนำไปผสมพันธุ์กับคำว่า"สตรอว์เบอร์รี่"อีกยกหนึ่ง จึงกลายเป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เพื่อให้ได้เสียงที่ต่างไปจากคำเดิม แต่ทว่ายังคงเจตนาที่จะสื่อความหมายดั้งเดิม...เราได้ยินคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อการนี้มากขึ้นๆ ในรายการบันเทิง ละครไทย...ฯลฯ ในที่สุดหลายๆ คนก็ได้รับอิทธิพลจากสื่อเหล่านั้นและรับมาใช้ในชีวิตประจำได้อย่างไม่เคอะเขิน...ซึ่งเรามักจะได้ยินประโยคประมาณๆ นี้อยู่บ่อยๆ เช่น "นี่เธอๆ อย่ามาสตอกับฉันนะ", "โอ๊ย! อย่าไปฟังมันมากนัก นางนั่นมันสตอบอแ... จนเขาจะเสนอชื่อเข้ารับรางวัลตุ๊กตาทองแล้วนะ เธอรู้ไหม?", "ฉันไม่เชื่อเธอหรอก เธอน่ะสตอเบอร์รี่เก่งจะตายไป"
กลับไปเรื่องของการสะกดคำว่า"สตรอว์เบอร์รี่"ผิด...จากสมมติฐาน 2 ข้อที่ผมตั้งขึ้นมา...ผมจึงเข้าใจว่า เมื่อเราออกเสียงไม่ถูกต้อง ก็อาจจะนำไปสู่การสะกดคำที่ไม่ถูกต้อง (สมติฐาน 2.1) และความสับสนที่เกิดจากการได้ยินภาษาวิบัติที่ตามสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิงแบบฉาบฉวย และเราก็รับมาใช้แบบไม่ได้พิจารณา ใช้จนเข้าใจไปเองว่า คำที่เป็นคำเดิม สะกดแบบเดียวกับคำที่ถูกนำมาสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ (สมติฐาน 2.2) หรือไม่ก็เกิดจากทั้งสองสมมติฐานรวมกัน...เราจึงเห็นคำว่า "
สตอเบอรี่" อยู่บ่อยๆ
3.และสุดท้ายก็คือ "
น้ำแข็งใส"...ไม้มลายและไม้ม้วนให้เสียงที่เหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกับที่รูปลักษณ์และทำให้คำที่สะกดด้วยไม้มลายและไม้ม้วนมีความหมายต่างกัน...ในกรณีนี้เช่นคำว่า "ไส" และ "ใส"
"ไส" คำนี้เป็นคำกริยา หมายถึง กิริยาการกดวัตถุไว้กับพื้นผิวเรียบ แล้วดันไปหรือกลับหรือทั้งไปและกลับ
"ใส" คำนี้เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง แจ่มกระจ่าง ไม่ขุ่นมัว
น้ำแข็งไส เป็นของหวานของว่างที่มีมานานแล้วในประเทศไทย (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.vcharkarn.com/varticle/501951) ความนิยมในการบริโภคก็ขึ้นอยู่กับยุคสมัย...เช่น เมื่อเรามีกำลังซื้อไอศครีมมารับประทานมากขึ้น น้ำแข็งไสก็ดูเหมือนจะเป็นของหวานของว่างที่ไม่มีระดับ ดูโบราณ ดูเชยไป และแล้วเมื่ออิทธิพล K-pop ระบาดในเมืองไทย การรับประทานน้ำแข็งไสก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง แต่ต้องเป็นน้ำแข็งไสสัญชาติเกาหลีเท่านั้น...น้ำแข็งไสแบบไทยๆ ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ต้องเจียมเนื้อเจียมตัวอยู่เช่นเดิม แต่ก็ยังสามารถต่อลมหายใจได้อยู่ตามตลาดโบราณและงานวัดต่างๆ ในช่วงหน้าร้อน
ที่ร่ายยาวมาหลายบรรทัดก็เพียงที่จะเชื่อมโยงถึงการกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งของน้ำแข็งไส(ถึงจะเป็นของชาติอื่นก็เถอะ) เราจึงเห็นกระทู้คำถามมากมายที่มีคำว่า "
น้ำแข็งใส" ในห้องก้นครัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังสะกดคำนี้ไม่ถูกต้อง...น้ำแข็งไส น้ำแข็งไส น้ำแข็งไส...สะกดแบบนี้สิครับ...บ้านนอกที่ผมอยู่ เขาเรียก "น้ำแข็งขูด"ครับ...๕๕๕
อ่านกันสนุกๆ อ่านกันเล่นๆ หวังว่า เพื่อนๆ สมาชิกฯ คงจะได้สาระบันเทิงบ้าง...กะว่าจะไม่พิมพ์แล้วเชียว เพราะว่าเห็นคำ 3 คำนี้บ่อยเหลือเกินในห้องก้นครัว จะให้พิมพ์อะไรสั้นๆ ก็เกรงว่าจะอธิบายในสิ่งที่ผมคิดไว้ไม่หมด แต่จะให้พิมพ์ยาวเป็นเรื่องสั้นเป็นนิยาย ผมก็ไม่ไหวเหมือนกัน...๕๕๕
สวัสดี
ผมเอง...สามีของไฮดี้
สามคำที่พบเห็นกันบ่อยๆ ว่าสะกดกันผิดในห้องก้นครัว ไปจนถึงสถานที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม ;)
ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจและติดตามอ่านกระทู้ต่างๆ ที่น่าสนใจในห้องก้นครัวมาตลอด และสังเกตพบว่ามีอยู่ประมาณ 3 คำ ที่สะกดผิดกันมากมาย และก็ยังสะกดผิดตามๆ กันไปไม่จบไม่สิ้น...
1. คำแรกที่พบเห็นกันบ่อยมากคือ "เสิร์ฟ" :ซึ่งเป็นคำจากภาษาอังกฤษที่สะกดว่า serve ที่คนไทยเรารับมาใช้และพูดทับศัพท์จนเป็นที่รู้และเข้าใจกันโดยทั่วไป และเมื่อรับมาใช้กันอย่างกว้าง เราก็สะกดคำนี้ตามการออกเสียงด้วยอักษรไทยว่า "เสิร์ฟ"
คำนี้เป็นคำที่เราพบเห็นอยู่ได้บ่อยๆ ว่ามีการสะกดผิดกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นตามป้ายประกาศรับพนักงานบริการของร้านอาหาร และในห้องก้นครัว ที่มักจะสะกดเป็น "
เสริฟ" (ทุกครั้งที่ผมเห็นคำนี้สะกดผิด ผมมักจะอ่านอย่างจงใจว่า เส-ริบ...และมักจะชวนให้นึกถึงลักษณะรูปแบบของอักษรสำหรับงานพิมพ์...serif และ sans serif อย่างช่วยไม่ได้)2. คำที่สองก็เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษเช่นกัน...strawberry...เป็นผลไม้เมืองหนาวที่เราไม่เคยมีมาก่อน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 โครงการหลวงโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้นำพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่มาทดลองปลูกประมาณ 40 พันธุ์ โดยคัดเลือกไว้ 2 พันธุ์ นำไปให้ชาวบ้านทดลองปลูก ปรากฏว่า มีพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ที่เกษตรกรนิยม 1 พันธุ์ คือ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 จึงนำไปส่งเสริมให้แก่ราษฎรพื้นราบของเมืองเชียงใหม่ปลูกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วไป (ที่มา : www.royalprojectthailand.com)
คำนี้เป็นคำที่เราเรียกทับศัพท์ตามคำในภาษาอังกฤษเช่นกัน และเป็นคำที่สะกดผิดกันอย่างมากมาย อาจจะเป็นเพราะว่า...
2.1 หลายๆ คนไม่ค่อยจะเคร่งครัดในการออกเสียงควบกล้ำ ร.เรือ ให้ชัดเจนและถูกต้อง
2.2 หรืออาจจะเป็นการพยายามที่จะสร้างคำใหม่ๆ ของรายการบันเทิงตามสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อยๆ โดยการเอาคำไทยที่ใช้เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (ตอแ...) มาเชื่อมโยงกับ"สะตอ"ที่เป็นพืชท้องถิ่นของทางภาคใต้ แล้วนำไปผสมพันธุ์กับคำว่า"สตรอว์เบอร์รี่"อีกยกหนึ่ง จึงกลายเป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เพื่อให้ได้เสียงที่ต่างไปจากคำเดิม แต่ทว่ายังคงเจตนาที่จะสื่อความหมายดั้งเดิม...เราได้ยินคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อการนี้มากขึ้นๆ ในรายการบันเทิง ละครไทย...ฯลฯ ในที่สุดหลายๆ คนก็ได้รับอิทธิพลจากสื่อเหล่านั้นและรับมาใช้ในชีวิตประจำได้อย่างไม่เคอะเขิน...ซึ่งเรามักจะได้ยินประโยคประมาณๆ นี้อยู่บ่อยๆ เช่น "นี่เธอๆ อย่ามาสตอกับฉันนะ", "โอ๊ย! อย่าไปฟังมันมากนัก นางนั่นมันสตอบอแ... จนเขาจะเสนอชื่อเข้ารับรางวัลตุ๊กตาทองแล้วนะ เธอรู้ไหม?", "ฉันไม่เชื่อเธอหรอก เธอน่ะสตอเบอร์รี่เก่งจะตายไป"
กลับไปเรื่องของการสะกดคำว่า"สตรอว์เบอร์รี่"ผิด...จากสมมติฐาน 2 ข้อที่ผมตั้งขึ้นมา...ผมจึงเข้าใจว่า เมื่อเราออกเสียงไม่ถูกต้อง ก็อาจจะนำไปสู่การสะกดคำที่ไม่ถูกต้อง (สมติฐาน 2.1) และความสับสนที่เกิดจากการได้ยินภาษาวิบัติที่ตามสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิงแบบฉาบฉวย และเราก็รับมาใช้แบบไม่ได้พิจารณา ใช้จนเข้าใจไปเองว่า คำที่เป็นคำเดิม สะกดแบบเดียวกับคำที่ถูกนำมาสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ใหม่ (สมติฐาน 2.2) หรือไม่ก็เกิดจากทั้งสองสมมติฐานรวมกัน...เราจึงเห็นคำว่า "
สตอเบอรี่" อยู่บ่อยๆ3.และสุดท้ายก็คือ "
น้ำแข็งใส"...ไม้มลายและไม้ม้วนให้เสียงที่เหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกับที่รูปลักษณ์และทำให้คำที่สะกดด้วยไม้มลายและไม้ม้วนมีความหมายต่างกัน...ในกรณีนี้เช่นคำว่า "ไส" และ "ใส""ไส" คำนี้เป็นคำกริยา หมายถึง กิริยาการกดวัตถุไว้กับพื้นผิวเรียบ แล้วดันไปหรือกลับหรือทั้งไปและกลับ
"ใส" คำนี้เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง แจ่มกระจ่าง ไม่ขุ่นมัว
น้ำแข็งไส เป็นของหวานของว่างที่มีมานานแล้วในประเทศไทย (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vcharkarn.com/varticle/501951) ความนิยมในการบริโภคก็ขึ้นอยู่กับยุคสมัย...เช่น เมื่อเรามีกำลังซื้อไอศครีมมารับประทานมากขึ้น น้ำแข็งไสก็ดูเหมือนจะเป็นของหวานของว่างที่ไม่มีระดับ ดูโบราณ ดูเชยไป และแล้วเมื่ออิทธิพล K-pop ระบาดในเมืองไทย การรับประทานน้ำแข็งไสก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง แต่ต้องเป็นน้ำแข็งไสสัญชาติเกาหลีเท่านั้น...น้ำแข็งไสแบบไทยๆ ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ต้องเจียมเนื้อเจียมตัวอยู่เช่นเดิม แต่ก็ยังสามารถต่อลมหายใจได้อยู่ตามตลาดโบราณและงานวัดต่างๆ ในช่วงหน้าร้อน
ที่ร่ายยาวมาหลายบรรทัดก็เพียงที่จะเชื่อมโยงถึงการกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งของน้ำแข็งไส(ถึงจะเป็นของชาติอื่นก็เถอะ) เราจึงเห็นกระทู้คำถามมากมายที่มีคำว่า "
น้ำแข็งใส" ในห้องก้นครัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังสะกดคำนี้ไม่ถูกต้อง...น้ำแข็งไส น้ำแข็งไส น้ำแข็งไส...สะกดแบบนี้สิครับ...บ้านนอกที่ผมอยู่ เขาเรียก "น้ำแข็งขูด"ครับ...๕๕๕อ่านกันสนุกๆ อ่านกันเล่นๆ หวังว่า เพื่อนๆ สมาชิกฯ คงจะได้สาระบันเทิงบ้าง...กะว่าจะไม่พิมพ์แล้วเชียว เพราะว่าเห็นคำ 3 คำนี้บ่อยเหลือเกินในห้องก้นครัว จะให้พิมพ์อะไรสั้นๆ ก็เกรงว่าจะอธิบายในสิ่งที่ผมคิดไว้ไม่หมด แต่จะให้พิมพ์ยาวเป็นเรื่องสั้นเป็นนิยาย ผมก็ไม่ไหวเหมือนกัน...๕๕๕
สวัสดี
ผมเอง...สามีของไฮดี้