((มาลาริน)) ^_^ ใช่ค่ะ..เมื่อคลังขมีขมัน ไล่บี้ภาษีผู้ประกอบการชาวบ้านร้านตลาด การเก็บภาษีซื้อขายหุ้นชินก็ยิ่งถูกจับตา👈

เห็นด้วยกับบทความนี้ค่ะ....
คลังช่วยดูแลให้ความโปร่งใสกับประชาชนด้วยนะคะ..

ปูเสื่อปูเสื่อปูเสื่ออย่าเยอะอย่าเยอะ

อ่านบทความนี้ค่ะ....เม่าเนิร์ด

ขณะที่กระทรวงการคลังกำลังขมีขมัน ไล่บี้ภาษีผู้ประกอบการและชาวบ้านร้านตลาด ประเด็นการพิจารณาจัดเก็บภาษีซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ ของคนในครอบครัวชินวัตร ก็ยิ่งถูกจับตามากขึ้น

เขาสนใจว่า คนตระกูลใหญ่โต รายได้ก้อนโตๆ จะต้องถูกเรียกเก็บภาษีไหม?

มีข่าวว่า คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรกำลังพิจารณาแนวทางเรียกเก็บภาษีเงินได้จากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปฯ ดังกล่าว โดยจะหมดอายุความที่สามารถเรียบเก็บภาษีได้ ในวันที่ 31 มี.ค. 2560 นี้

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ตอบคำถามนักข่าวในประเด็นนี้ว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังกำชับกรมสรรพากร ให้ติดตามประชุมหน่วยงาน และรายงานต่อรัฐบาล ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

เรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าคิดพิจารณา ดังต่อไปนี้

1.ข้ออ้างว่า ทักษิณถูกยึดทรัพย์ไปแล้ว 4.6 หมื่นล้านบาท เงินภาษีก็รวมอยู่นี้ด้วย ตกมาเป็นของหลวงหมดแล้ว ทุกอย่างน่าจะจบไปหมดแล้ว?

ถามง่ายๆ ว่า ถ้าใครทำธุรกิจ ซิกแซ็ก เกิดรายได้ เลี่ยงภาษี เพียงแต่ถูกยึดทรัพย์ในภายหลัง แล้วหมายความว่า จะต้องได้รับ
นิรโทษกรรมภาษีไปโดยปริยาย หรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่น่าจะใช่

2.เรื่องมีอยู่ว่า... ก่อนทักษิณจะเข้ามาเป็นนายกฯ ได้ผ่องถ่ายหุ้นชินคอร์ปฯ ของตนเอง ออกไปอยู่ในชื่อบุคคลอื่นๆ โดยไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแอมเพิลริช บนเกาะบริติชเวอร์จิ้น แล้วโอนหุ้นชินคอร์ปฯ บางส่วนไปซุกไว้ในชื่อแอมเพิลริชด้วย

หลังจากนั้น ใช้อำนาจรัฐในมือแก้กฎหมาย เพิ่มเพดานการถือครองหุ้นโทรคมนาคมของต่างชาติ แล้วดำเนินการขายหุ้นลอตใหญ่ โดยทำการรวบรวมหุ้นชินที่ตนใส่อยู่ในชื่อคนอื่น (รวมทั้งลูกๆ ได้แก่ พานทองแท้และพินทองทา) ก่อนจะขายให้กลุ่มเทมาเสก

อ้างว่า ขายในตลาดหุ้นไม่ต้องเสียภาษี

ในกระบวนการขั้นตอน ปรากฏว่า แอมเพิลริชได้ขายหุ้นชินคอร์ปฯมาให้พานทองแท้และพินทองทา ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดขณะนั้น ก่อนที่บุคคลทั้งสองจะขายต่อไปให้กลุ่มเทมาเสกในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่ต้องเสียภาษี

บุคคลธรรมดาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ในขั้นตอนที่ไปได้หุ้นมาจากแอมเพิลริชล่ะ

พูดชัดๆ คือ นายพานทองแท้และน.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จากแอมเพิลริช คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท (ก่อนจะขายให้บริษัทกลุ่มเทมาเสก) ถือได้ว่านายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941ล้านบาท ใช่หรือไม่?

ตามหลักการของกฎหมาย หากเป็นกรณีการขายสินค้าและบริการในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง กรมสรรพากรจะเข้าไปประเมินภาษีผู้ขายได้ มิฉะนั้น ต่อไป ก็คงจะมีคนใช้วิธีจ่ายโบนัส จ่ายเงินเดือน จ่ายค่าตอบแทน เป็นหุ้นราคาถูกหรือทรัพย์สินราคาถูกกว่าตลาดกันหมด เพื่อเลี่ยงภาษี

จำได้ว่า ในยุคที่ทักษิณเรืองอำนาจนั้น เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรถึงขนาดออกมาแถลงอุ้มกันเลยทีเดียว

3.ข้ออ้างว่า ศาลฎีกาฯ ยึดทรัพย์ทักษิณไปแล้ว แสดงว่าหุ้นเป็นของทักษิณ ไม่ใช่ของพานทองแท้และพินทองทา ทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายภาษี?

น่าสนใจว่า ตอนนั้น อ้างว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของตน เพราะไม่อยากจะถูกยึดทรัพย์ตามที่ศาลฎีกาฯ ไต่สวนว่าแท้จริงแล้ว ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯตัวจริง แค่ซุกใส่ชื่อลูกๆ และแอมเพิลริชไว้

ศาลฎีกาฯ ได้วินิจฉัยประเด็นนี้ไว้แล้วด้วย ระบุว่า

“..ส่วนข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหา (ทักษิณ) และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 (พจมาน-พานทองแท้-พินทองทา) ว่า คตส. ดำเนินการสองมาตรฐาน นอกจากให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากผู้คัดค้านที่ 2 (พานทองแท้) และที่ 3 (พินทองทา) แล้ว กลับกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหายังคงถือหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯในหุ้นจำนวนเดียวกันเป็นคดีนี้อีก เห็นว่า การให้เรียกเก็บภาษีอากรจากผู้คัดค้านที่ 2 (พานทองแท้) และที่ 3 (พินทองทา) ที่ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯจากบริษัทแอมเพิลริช เป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ประมวลรัษฎากรกำหนด นอกจากนี้ มาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากรก็บัญญัติหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ว่า บุคคลใดมีชื่อในหนังสือสำคัญใดๆ แสดงว่า (1) เป็นเจ้าของทรัพย์สินอันระบุไว้ในหนังสือสำคัญและทรัพย์สินก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน หรือ (2) เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินโดยหนังสือสำคัญเช่นว่านั้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญนั้นก็ได้ การดำเนินการทางภาษีอากรกับผู้คัดค้านที่ 2 (พานทองแท้) และที่ 3 (พินทองทา) จึงเป็นการดำเนินการตามหลักการแห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการกล่าวหาว่า ผู้ถูกกล่าวหา (ทักษิณ) ร่ำรวยผิดปกติในคดีนี้เป็นการดำเนินการกับเจ้าของที่แท้จริงในหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความรับผิดทางภาษีอากร โดยมีหลักกฎหมายในการพิจารณาที่แตกต่างกัน ข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหา (ทักษิณ) และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 (พจมาน-พานทองแท้-พินทองทา) จึงฟังไม่ขึ้น”

พูดง่ายๆ ว่า การยึดทรัพย์นั้น เขาตามยึดทรัพย์สินที่ผู้นั้นเป็นเจ้าของแท้จริง (ไม่ว่าจะไปซุกไว้ในชื่อใคร)

แต่การเก็บภาษี เขาเก็บจากบุคคลที่มีชื่อในหนังสือสำคัญ (ใครรับไว้ในชื่อตนเอง แม้จะไม่ใช่เจ้าของ ก็ต้องรับผิดชอบภาระที่ตามมาด้วย)

4.เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ศาลอาญาพิพากษาคดีดำหมายเลข อท 43/2558

ตัดสินโทษจำคุก 3 ปี อดีตผู้บริหารระดับสูงกรมสรรพากร ประกอบด้วย นางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์, นางสาวจำรัส แหยมสร้อยทอง อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ และนายกริช วิปุลานุสาสน์

และจำคุก 2 ปี นางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน

ทั้งหมด ไม่รอลงอาญา

สืบเนื่องจากกรณีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เอื้อประโยชน์แก่พานทองแท้และพินทองทา ชินวัตร ไม่ให้ต้องเสียภาษีอากร กรณีซื้อหุ้นชินคอร์ปฯ เมื่อปี 2549 นั่นเอง

การกระทำดังกล่าวทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย

5.ถึงวันนี้ ยังรอดูอยู่ว่า กระทรวงการคลังจะตัดสินใจอย่างไร

จะเรียกเก็บภาษีจากใคร? เท่าใด?

อย่าให้ชาวบ้าน เขารู้สึกว่า เวลาไล่เก็บภาษีจากชาวบ้านร้านตลาด สรรพากรแข็งขันมาก แต่เวลาพิจารณาภาษีของคนตระกูลที่มีอิทธิพลทางการเมือง กลับเป็นอีกอย่าง

สารส้ม

http://m.naewna.com/view/columntoday/28784

เสียงจากประชาชนค่ะ......เซ็งเซ็งเซ็งปักหมุดปักหมุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่