https://www.naewna.com/politic/671965
ทักษิณ’เฮ!ศาลสั่งยกคำร้องกรมสรรพากร ประเมินเก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านหุ้นชินคอร์ปฯ
8 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ศาลภาษีอากรกลาง ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ ศาลได้อ่านคำพิพากษาคดี หมายเลขดำ ภ.220/2563 ที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน เป็นโจทก์ ฟ้องกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง , นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ , นายประภาส สนั่นศิลป์ และนายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน กรมสรรพกร ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 เรื่องขอศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินภาษีของนายทักษิณ โจทก์ และเพิกถอนคำสั่งอุทธรณ์ที่ให้นายทักษิณจ่ายค่าภาษีการโอนหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือหุ้นชินคอร์ปฯ รวม 1.7 หมื่นล้านบาท เพื่อไม่ต้องมีภาระภาษี
ในชั้นสืบพยาน ฝ่ายโจทก์- จำเลย อ้างข้อเท็จจริงนำสืบหักล้างกันทำนองว่า หลังจากศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ไม่มีภาระภาษีต้องเสียภาษี เพราะไม่ใช่เจ้าของหุ้น และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (อม.) มีคำพิพากษาว่า หุ้นชินคอร์ปฯ เป็นของนายทักษิณ จึงพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินหุ้น โดยที่สำนักงานอัยการสูงสุดไม่อุทธรณ์คดี
ต่อมารัฐบาลได้ให้กรมสรรพกร ประเมินภาษีใหม่ช่วงปี 2551- 53 ซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะการประเมินภาษีให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 1.7 หมื่นล้านบาทนั้น ไม่ถูกต้อง และหากจะให้โจทก์ชำระก็ต้องกระทำภายในระยะเวลา 5 ปี
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ถือเอาการออกหมายเรียกนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ในฐานะตัวแทนเชิด ของนายทักษิณเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ ไปแล้ว จึงเห็นว่าการออกหมายเรียกเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินภาษีต้องออกหมายเรียกไปยังตัวโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมิน จำเลยมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังจากนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธ์ในหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ฯแต่อย่างใด เพราะนายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริง
โดยตามข้อกฎหมายมาตรา19 จึงยังต้องถือว่านายทักษิณโจทก์ เป็นเจ้าของหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯดังกล่าวอยู่ ที่พวกจำเลยให้โจทก์เสียภาษี อย่างผู้มีรายได้พึงประเมินนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร อีกด้วย ดังนั้นจึงมีผลทำให้การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยยืนตามการประเมิน จึง “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” เช่นเดียวกัน กับที่ออกหมายเรียกผิดคนตามมาตรา19
ส่วนปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานประเมิน ทำการประเมินและยกอุทธรณ์ในชั้นสรรพกรนั้นเห็นว่า เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยที่ 2-4 กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
ศาลภาษีอากรกลาง จึงพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีนี้เกี่ยวเนื่องจากกรณี ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง(อม.)มีคำพิพากษาคดีซุกหุ้นชินคอร์ป ฯ ว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของหุ้นและโอนหุ้นชินคอร์ป ฯ โดยไม่เสียภาษี
ต่อมาช่วงปี 2549 - 2552 กรมสรรพกรได้ประเมินภาษีโอนหุ้นชินคอร์ปฯกับนาย พานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ทำนองว่า เป็นตัวแทนของนายทักษิณ จึงต้องเรียกเก็บภาษีจากบุตรทั้งสอง
อย่างไรก็ตามศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่า การประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะศาลฎีกานักการเมือง (อม.) ชี้ขาดไปแล้วว่า หุ้นชินคอร์ป เป็นของนายทักษิณ จึงต้องประเมินภาษีกับบุคคลผู้ถือหุ้นจริงไม่ใช่ประเมินเอากับตัวแทน หรือคนที่ไม่ใช่เจ้าของหุ้น และการประเมินภาษีต้องกระทำกับผู้มีภาระโดยตรง
-005
ทักษิณ’เฮ!ศาลสั่งยกคำร้องกรมสรรพากร ประเมินเก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านหุ้นชินคอร์ปฯ
ทักษิณ’เฮ!ศาลสั่งยกคำร้องกรมสรรพากร ประเมินเก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านหุ้นชินคอร์ปฯ
8 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ศาลภาษีอากรกลาง ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ ศาลได้อ่านคำพิพากษาคดี หมายเลขดำ ภ.220/2563 ที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน เป็นโจทก์ ฟ้องกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง , นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ , นายประภาส สนั่นศิลป์ และนายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน กรมสรรพกร ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 เรื่องขอศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินภาษีของนายทักษิณ โจทก์ และเพิกถอนคำสั่งอุทธรณ์ที่ให้นายทักษิณจ่ายค่าภาษีการโอนหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือหุ้นชินคอร์ปฯ รวม 1.7 หมื่นล้านบาท เพื่อไม่ต้องมีภาระภาษี
ในชั้นสืบพยาน ฝ่ายโจทก์- จำเลย อ้างข้อเท็จจริงนำสืบหักล้างกันทำนองว่า หลังจากศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ไม่มีภาระภาษีต้องเสียภาษี เพราะไม่ใช่เจ้าของหุ้น และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (อม.) มีคำพิพากษาว่า หุ้นชินคอร์ปฯ เป็นของนายทักษิณ จึงพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินหุ้น โดยที่สำนักงานอัยการสูงสุดไม่อุทธรณ์คดี
ต่อมารัฐบาลได้ให้กรมสรรพกร ประเมินภาษีใหม่ช่วงปี 2551- 53 ซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะการประเมินภาษีให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 1.7 หมื่นล้านบาทนั้น ไม่ถูกต้อง และหากจะให้โจทก์ชำระก็ต้องกระทำภายในระยะเวลา 5 ปี
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ถือเอาการออกหมายเรียกนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ในฐานะตัวแทนเชิด ของนายทักษิณเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ ไปแล้ว จึงเห็นว่าการออกหมายเรียกเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินภาษีต้องออกหมายเรียกไปยังตัวโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมิน จำเลยมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังจากนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธ์ในหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ฯแต่อย่างใด เพราะนายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริง
โดยตามข้อกฎหมายมาตรา19 จึงยังต้องถือว่านายทักษิณโจทก์ เป็นเจ้าของหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯดังกล่าวอยู่ ที่พวกจำเลยให้โจทก์เสียภาษี อย่างผู้มีรายได้พึงประเมินนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร อีกด้วย ดังนั้นจึงมีผลทำให้การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยยืนตามการประเมิน จึง “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” เช่นเดียวกัน กับที่ออกหมายเรียกผิดคนตามมาตรา19
ส่วนปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานประเมิน ทำการประเมินและยกอุทธรณ์ในชั้นสรรพกรนั้นเห็นว่า เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยที่ 2-4 กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
ศาลภาษีอากรกลาง จึงพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีนี้เกี่ยวเนื่องจากกรณี ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง(อม.)มีคำพิพากษาคดีซุกหุ้นชินคอร์ป ฯ ว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของหุ้นและโอนหุ้นชินคอร์ป ฯ โดยไม่เสียภาษี
ต่อมาช่วงปี 2549 - 2552 กรมสรรพกรได้ประเมินภาษีโอนหุ้นชินคอร์ปฯกับนาย พานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ทำนองว่า เป็นตัวแทนของนายทักษิณ จึงต้องเรียกเก็บภาษีจากบุตรทั้งสอง
อย่างไรก็ตามศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่า การประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะศาลฎีกานักการเมือง (อม.) ชี้ขาดไปแล้วว่า หุ้นชินคอร์ป เป็นของนายทักษิณ จึงต้องประเมินภาษีกับบุคคลผู้ถือหุ้นจริงไม่ใช่ประเมินเอากับตัวแทน หรือคนที่ไม่ใช่เจ้าของหุ้น และการประเมินภาษีต้องกระทำกับผู้มีภาระโดยตรง
-005