อภินิหารทางกฎหมาย คสช. แพ้ ทักษิณชนะคดีเก็บภาษีขายหุ้นชินฯ กว่า 1.7 หมื่นล้านบาท
https://thematter.co/brief/182568/182568
วันนี้ (8 ส.ค. 65) มีผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชนะคดีสรรพากร หลังศาลภาษีอากรกลางสั่งพิพากษาให้เพิกถอนประเมินเก็บภาษีขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,000 ล้านบาท เนื่องจากดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้ออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา แต่กลับออกหมายเรียก ‘โอ๊ค–เอม’ ผู้เป็นบุตรมาประเมินแทนเจ้าตัว
ผู้สื่อข่าวจากหลายสำนักรายงานตรงกันว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ศาลภาษีอากรกลางเพิ่งมีคำสั่งพิพากษาคดีความแพ่งที่
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2549 ซึ่งรวมเป็นเงินกว่า 17,629 ล้านบาท
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาและวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานถือเอาการออกหมายเรียกบุตรชายและบุตรสาว (
‘โอ๊ค’ พานทองแท้ ชินวัตร และ
‘เอม’ พินทองทา ชินวัตร) ในฐานะตัวแทนเชิด เป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ ถือเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินต้องออกหมายเรียกไปยังทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง
แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลา ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้นไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ แต่อย่างใด
ทักษิณจึงไม่ใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และไม่ใช่มีผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 จึง’
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ เช่นเดียวกัน แต่เจ้าพนักงานและจำเลย 2-4 ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่
โดยสรุปก็คือ ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) เนื่องจากเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้ออกหมายเรียกโจทก์ (
ทักษิณ) ภายในกำหนดเวลา แต่กลับออกหมายเรียกลูกมาประเมินแทนเจ้าตัว
คดีนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่
ทักษิณขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ ด้วยเงิน 73,271 ล้านบาท เมื่อปี 2549 ต่อมาในช่วงปี 2549-2552 บุตรชายและบุตรสาวของ
ทักษิณ กลับถูกประเมินเรื่องภาษีโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ทำนองว่าเป็นตัวแทนของ
ทักษิณจึงต้องเก็บภาษี นำมาสู่การฟ้องร้องคดีนี้
ตามปกติแล้ว กรณีที่ผู้เสียภาษีมาเสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วน กฎหมายระบุให้ออกหมายเรียกมาไต่สวนภายใน 5 ปี แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการออกหมายเรียก
ทักษิณมาไต่สวนแต่อย่างใด
แต่ในปี 2560
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กลับระบุว่า กรมสรรพกรเคยออกหมายเรียกบุตรชายและบุตรสาว นอมินีที่ถือหุ้นแทน
ทักษิณมาไต่สวนในปี 2555 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 – 821 ให้ถือว่าเคยออกหมายเรียกนาย
ทักษิณมาไต่สวนแล้ว และทำให้อายุความขยายมาจนถึง 31 มี.ค. 2560
ในขณะนั้น พล.ต.
สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อ้างคำพูดของนาย
วิษณุที่รายงานเรื่องนี้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2560 ว่าเรื่องนี้ถือเป็น “
อภินิหารทางกฎหมาย“
อ้างอิงจาก
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7202710
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3495738
https://www.bbc.com/thai/thailand-39744361?fbclid=IwAR1aHeobUPnKuqp8b-4OTdWvKQEPp5MDv0yaMMB9OtPhQoHd2SQOAbkzktc
พท. ซัด รบ.น่าสมเพช แก้สูตรปาร์ตี้ลิสต์ ขัดมติตัวเอง แนะ รีบหาทางลงให้ 'บิ๊กตู่'
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7202146
เพื่อไทย ซัดแรง รัฐบาลน่าสมเพช ยอมแก้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ขัดมติตัวเอง แนะ “ธนกร” หาทางลงให้ “ประยุทธ์” 8 ปีมากเกินพอแล้ว
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2565 น.ส.
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า กิจกรรม “
ครอบครัวเพื่อไทย ระดมพลชาวเจียงฮาย เพื่อไทยมาเหนือสุด” ที่ จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา พี่น้องชาวเชียงรายและทั่วประเทศต่างเรียกร้องให้เพื่อไทยกลับมาแก้วิกฤตบ้านเมือง ด้วยความเชี่ยวชาญของพรรคเพื่อไทยที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ เราคิดได้และทำเป็น
“พรรคเพื่อไทยยืนยันว่าพร้อมแล้วที่จะใช้เวลา 6 เดือนแรกหลังเป็นรัฐบาล รื้อถอนซากปรักหักพังของประเทศจากฝีมือการบริหารของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่ได้สร้างเอาไว้ให้คนไทยจมทุกข์มาตลอดระยะเวลา 8 ปี” น.ส.
ธีรรัตน์ กล่าว
น.ส.
ธีรรัตน์ กล่าวว่า ส่วนที่นาย
ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พยายามพูดย้ำซ้ำเรื่องเดิมว่า เพื่อไทยต้องการแลนด์สไลด์ เพื่อนำบุคคลสำคัญกลับมานั้น คงเป็นคำพูดที่ไม่มีราคามากนัก หากต้องการเพียงเท่านั้น พรรคเพื่อไทยคงไม่ต้องวางแนวนโยบายแก้ปัญหาความยากจนให้กับประชาชน ไม่ทิ้งคนรากหญ้า กระจายอำนาจมายังประชาชน ดึงศักยภาพคนไทยด้วยการใช้ซอฟต์พาวเวอร์
น.ส.
ธีรรัตน์ กล่าวต่อว่า ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์แม่นยำและผลผลิตสูง ปรับเปลี่ยนภาครัฐและภาคเอกชนด้วยระบบ Digital Transformation ครั้งใหญ่ และเตรียมคนไทยเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง ทั้งหมดเป็นแนวนโยบายเพียงบางส่วนเท่านั้นที่พรรคเพื่อไทยตั้งใจทำ เพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์
น.ส.
ธีรรัตน์ กล่าวอีกว่า การที่นาย
ธนกรระบุว่า พล.อ.
ประยุทธ์ไม่มีอำนาจสั่งการ หรือส่งสัญญาณเปลี่ยนกติกาการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากหาร 100 ให้เป็นหาร 500 และใส่ความว่าพรรคเพื่อไทยล่มองค์ประชุมสภาฯ โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนนั้น
น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า นาย
ธนกรคงไม่รู้ว่าการแก้ไขและความพยายามเปลี่ยนวิธีการคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 91 อย่างชัดเจน ขัดหลักการทั้ง 4 ร่างที่เสนอรัฐสภาตอนแรก ซึ่งเสนอให้หาร 100 มาตั้งแต่ต้น การกระทำของรัฐบาลน่าสมเพชที่สุด ยอมแม้กระทั่งขัดมติตัวเอง ทำให้กฎหมายกลับไปสู่หลักการเดิมที่เสนอรัฐสภาตอนแรก เป็นการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนเลย
“การพยายามเชื่อมโยงเอาบุคคลสำคัญ 2 คนมาอยู่ในหน้าข่าวตลอดเวลา เป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ หยุดการกระทำนี้ และหาทางลงจากอำนาจให้พล.อ.ประยุทธ์ได้แล้ว 8 ปีมากเกินพอแล้ว” น.ส.
ธีรรัตน์ กล่าว
‘ก้าวไกล’ ชี้เกมองค์ประชุมอยู่ในกลไกรัฐสภา ฟันธงสูตรหาร 100 กกต.อยู่ในสมการ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3495787
‘ก้าวไกล’ กำชับ ส.ส.เข้าประชุม 10 ส.ค. ชี้ เกมล่มประชุมยังอยู่ในกลไกรัฐสภา เชื่อ กกต.ไฟนอลสูตรหาร 100
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม นาย
ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่…) พ.ศ. … รัฐสภา ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 10 สิงหาคม เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่า ในวันที่ 10 สิงหาคมยังมีร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ค้างการพิจารณาอยู่ อย่างไรก็ตามพรรค ก.ก.ได้เน้นย้ำ ส.ส.เข้าทำหน้าที่การประชุมอย่างพร้อมเพรียง
• เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่าจะไม่เข้าร่วมเป็นองค์ประชุม
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความเห็นของพรรค พท. โดยการใช้กลไกและกระบวนการของรัฐสภามีหลายอย่าง เช่น การลงมติ การนับองค์ประชุม หรือการยื่นคำร้องในประเด็นที่ไม่เห็นด้วย แต่สำหรับจุดยืนของพรรค ก.ก. เห็นว่ากระบวนการพิจารณากฎหมายลูกไปต่อค่อนข้างยาก โดยเฉพาะภายหลังการแก้ไขมาตรา 23 เกี่ยวกับสูตรการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ให้หารด้วย 500
อย่างไรก็ตาม หนทางที่ดีที่สุดคือการเดินหน้าพิจารณาวาระ 2-3 ไปก่อน เมื่อผ่านวาระ 3 ไปแล้ว จะต้องส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งไม่มีเหตุผลที่ กกต.จะมาแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่ตัวเองเสนอมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น กกต.จะต้องชี้กลับมาให้คิดคำนวณด้วยวิธีการหาร 100 จึงเชื่อมั่นว่ารัฐสภาจะกลับมาใช้สูตรคำนวณหาร 100 เพื่อเป็นการเคารพเจตนารมณ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนประเด็นเรื่ององค์ประชุมเราไม่สามารถตอบแทนได้ แต่เชื่อว่าทุกพรรคการเมืองทั้ง ส.ส.และ ส.ว. คงต้องร่วมกันทำงาน แต่ว่าแต่ละคนคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งยังอยู่ในช่องทางของระบบประชาธิปไตย จึงยังมีทางออกในเรื่องนี้อยู่
• เมื่อถามว่า กังวลว่าจะมีกระบวนการทำให้การพิจารณากฎหมายลูกจะสะดุดหรือไม่
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า ขณะนี้ สถานการณ์ที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นห่วงคือ การดำรงตำแหน่งของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะครบ 8 ปี ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ เราจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 สิงหาคม และในกระบวนการยื่นคำร้อง จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ พล.อ.
ประยุทธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกรงว่า หากปล่อยให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไปอีก จะมีผลกระทบ ช่องทางที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง คือหากนายกฯเคารพเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะแสดงสปิริตลาออก เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการสรรหานายกฯคนใหม่ที่จะสามารถเข้ามาดำเนินการแก้ไขกฎหมายลูก หรือกลไกต่างๆ ให้แล้วเสร็จทันได้ แต่หากนายกฯไม่ลาออก และใช้เงื่อนไขหรือกลไกอื่น ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ช่องทางพิเศษ เช่น การออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ทั้งนี้ทุกฝ่าย ต้องช่วยกันเพื่อไม่ให้เกิดเดดล็อกทางการเมือง
• เมื่อถามว่า การพิจารณากฎหมายลูกจะแล้วเสร็จในวันที่ 10 สิงหาคมหรือไม่
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า ตนคิดว่า คงต้องประเมินกันในวันนั้น และเราจะเคารพทุกกลไกที่จะใช้ในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถพิจารณาได้ทันวันที่ 10 สิงหาคม ความจริงก็ยังไม่สิ้นสุดเสียทีเดียว เพราะมี ส.ว.บางคนเปรยว่าอาจจะนัดประชุมรัฐสภาเพิ่มเติมก่อนวันที่ 15 สิงหาคม ซึ่งมีความเป็นไปได้ เช่น ประชุมวันที่ 13-14 สิงหาคม แต่ท้ายที่สุดหากไม่สามารถพิจารณาได้ทันวันที่ 15 สิงหาคมจริง ก็จะนำไปสู่การใช้กฎหมายที่ได้รับหลักการในวาระ 1 คือ ร่าง กกต. หากเป็นเช่นนี้ ก็ยังถือว่ายังอยู่ในกลไกของรัฐสภาอยู่ดี หากมีสมาชิกคนใดไม่เห็นด้วยกับสูตรหาร 100 สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความต่อได้
JJNY : 5in1 คสช.แพ้ ทักษิณชนะ│พท.ซัดรบ.น่าสมเพช│‘ก้าวไกล’ชี้เกมองค์ประชุม│คาดกนง.ขึ้นดอกเบี้ย0.25%│สั่งส.ส.พปชร.โดดร่ม
https://thematter.co/brief/182568/182568
วันนี้ (8 ส.ค. 65) มีผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชนะคดีสรรพากร หลังศาลภาษีอากรกลางสั่งพิพากษาให้เพิกถอนประเมินเก็บภาษีขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,000 ล้านบาท เนื่องจากดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้ออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา แต่กลับออกหมายเรียก ‘โอ๊ค–เอม’ ผู้เป็นบุตรมาประเมินแทนเจ้าตัว
ผู้สื่อข่าวจากหลายสำนักรายงานตรงกันว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ศาลภาษีอากรกลางเพิ่งมีคำสั่งพิพากษาคดีความแพ่งที่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2549 ซึ่งรวมเป็นเงินกว่า 17,629 ล้านบาท
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาและวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานถือเอาการออกหมายเรียกบุตรชายและบุตรสาว (‘โอ๊ค’ พานทองแท้ ชินวัตร และ ‘เอม’ พินทองทา ชินวัตร) ในฐานะตัวแทนเชิด เป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ ถือเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินต้องออกหมายเรียกไปยังทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง
แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลา ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้นไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ แต่อย่างใด ทักษิณจึงไม่ใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และไม่ใช่มีผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 จึง’ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ เช่นเดียวกัน แต่เจ้าพนักงานและจำเลย 2-4 ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่
โดยสรุปก็คือ ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) เนื่องจากเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้ออกหมายเรียกโจทก์ (ทักษิณ) ภายในกำหนดเวลา แต่กลับออกหมายเรียกลูกมาประเมินแทนเจ้าตัว
คดีนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่ทักษิณขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ ด้วยเงิน 73,271 ล้านบาท เมื่อปี 2549 ต่อมาในช่วงปี 2549-2552 บุตรชายและบุตรสาวของทักษิณ กลับถูกประเมินเรื่องภาษีโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ทำนองว่าเป็นตัวแทนของทักษิณจึงต้องเก็บภาษี นำมาสู่การฟ้องร้องคดีนี้
ตามปกติแล้ว กรณีที่ผู้เสียภาษีมาเสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วน กฎหมายระบุให้ออกหมายเรียกมาไต่สวนภายใน 5 ปี แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการออกหมายเรียกทักษิณมาไต่สวนแต่อย่างใด
แต่ในปี 2560 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กลับระบุว่า กรมสรรพกรเคยออกหมายเรียกบุตรชายและบุตรสาว นอมินีที่ถือหุ้นแทนทักษิณมาไต่สวนในปี 2555 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 – 821 ให้ถือว่าเคยออกหมายเรียกนายทักษิณมาไต่สวนแล้ว และทำให้อายุความขยายมาจนถึง 31 มี.ค. 2560
ในขณะนั้น พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อ้างคำพูดของนายวิษณุที่รายงานเรื่องนี้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2560 ว่าเรื่องนี้ถือเป็น “อภินิหารทางกฎหมาย“
อ้างอิงจาก
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7202710
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3495738
https://www.bbc.com/thai/thailand-39744361?fbclid=IwAR1aHeobUPnKuqp8b-4OTdWvKQEPp5MDv0yaMMB9OtPhQoHd2SQOAbkzktc
พท. ซัด รบ.น่าสมเพช แก้สูตรปาร์ตี้ลิสต์ ขัดมติตัวเอง แนะ รีบหาทางลงให้ 'บิ๊กตู่'
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7202146
เพื่อไทย ซัดแรง รัฐบาลน่าสมเพช ยอมแก้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ขัดมติตัวเอง แนะ “ธนกร” หาทางลงให้ “ประยุทธ์” 8 ปีมากเกินพอแล้ว
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2565 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า กิจกรรม “ครอบครัวเพื่อไทย ระดมพลชาวเจียงฮาย เพื่อไทยมาเหนือสุด” ที่ จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา พี่น้องชาวเชียงรายและทั่วประเทศต่างเรียกร้องให้เพื่อไทยกลับมาแก้วิกฤตบ้านเมือง ด้วยความเชี่ยวชาญของพรรคเพื่อไทยที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ เราคิดได้และทำเป็น
“พรรคเพื่อไทยยืนยันว่าพร้อมแล้วที่จะใช้เวลา 6 เดือนแรกหลังเป็นรัฐบาล รื้อถอนซากปรักหักพังของประเทศจากฝีมือการบริหารของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่ได้สร้างเอาไว้ให้คนไทยจมทุกข์มาตลอดระยะเวลา 8 ปี” น.ส.ธีรรัตน์ กล่าว
น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า ส่วนที่นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พยายามพูดย้ำซ้ำเรื่องเดิมว่า เพื่อไทยต้องการแลนด์สไลด์ เพื่อนำบุคคลสำคัญกลับมานั้น คงเป็นคำพูดที่ไม่มีราคามากนัก หากต้องการเพียงเท่านั้น พรรคเพื่อไทยคงไม่ต้องวางแนวนโยบายแก้ปัญหาความยากจนให้กับประชาชน ไม่ทิ้งคนรากหญ้า กระจายอำนาจมายังประชาชน ดึงศักยภาพคนไทยด้วยการใช้ซอฟต์พาวเวอร์
น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวต่อว่า ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์แม่นยำและผลผลิตสูง ปรับเปลี่ยนภาครัฐและภาคเอกชนด้วยระบบ Digital Transformation ครั้งใหญ่ และเตรียมคนไทยเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง ทั้งหมดเป็นแนวนโยบายเพียงบางส่วนเท่านั้นที่พรรคเพื่อไทยตั้งใจทำ เพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์
น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวอีกว่า การที่นายธนกรระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่มีอำนาจสั่งการ หรือส่งสัญญาณเปลี่ยนกติกาการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากหาร 100 ให้เป็นหาร 500 และใส่ความว่าพรรคเพื่อไทยล่มองค์ประชุมสภาฯ โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนนั้น
น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า นายธนกรคงไม่รู้ว่าการแก้ไขและความพยายามเปลี่ยนวิธีการคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 91 อย่างชัดเจน ขัดหลักการทั้ง 4 ร่างที่เสนอรัฐสภาตอนแรก ซึ่งเสนอให้หาร 100 มาตั้งแต่ต้น การกระทำของรัฐบาลน่าสมเพชที่สุด ยอมแม้กระทั่งขัดมติตัวเอง ทำให้กฎหมายกลับไปสู่หลักการเดิมที่เสนอรัฐสภาตอนแรก เป็นการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนเลย
“การพยายามเชื่อมโยงเอาบุคคลสำคัญ 2 คนมาอยู่ในหน้าข่าวตลอดเวลา เป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ หยุดการกระทำนี้ และหาทางลงจากอำนาจให้พล.อ.ประยุทธ์ได้แล้ว 8 ปีมากเกินพอแล้ว” น.ส.ธีรรัตน์ กล่าว
‘ก้าวไกล’ ชี้เกมองค์ประชุมอยู่ในกลไกรัฐสภา ฟันธงสูตรหาร 100 กกต.อยู่ในสมการ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3495787
‘ก้าวไกล’ กำชับ ส.ส.เข้าประชุม 10 ส.ค. ชี้ เกมล่มประชุมยังอยู่ในกลไกรัฐสภา เชื่อ กกต.ไฟนอลสูตรหาร 100
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่…) พ.ศ. … รัฐสภา ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 10 สิงหาคม เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่า ในวันที่ 10 สิงหาคมยังมีร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ค้างการพิจารณาอยู่ อย่างไรก็ตามพรรค ก.ก.ได้เน้นย้ำ ส.ส.เข้าทำหน้าที่การประชุมอย่างพร้อมเพรียง
• เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่าจะไม่เข้าร่วมเป็นองค์ประชุม
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความเห็นของพรรค พท. โดยการใช้กลไกและกระบวนการของรัฐสภามีหลายอย่าง เช่น การลงมติ การนับองค์ประชุม หรือการยื่นคำร้องในประเด็นที่ไม่เห็นด้วย แต่สำหรับจุดยืนของพรรค ก.ก. เห็นว่ากระบวนการพิจารณากฎหมายลูกไปต่อค่อนข้างยาก โดยเฉพาะภายหลังการแก้ไขมาตรา 23 เกี่ยวกับสูตรการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ให้หารด้วย 500
อย่างไรก็ตาม หนทางที่ดีที่สุดคือการเดินหน้าพิจารณาวาระ 2-3 ไปก่อน เมื่อผ่านวาระ 3 ไปแล้ว จะต้องส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งไม่มีเหตุผลที่ กกต.จะมาแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่ตัวเองเสนอมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น กกต.จะต้องชี้กลับมาให้คิดคำนวณด้วยวิธีการหาร 100 จึงเชื่อมั่นว่ารัฐสภาจะกลับมาใช้สูตรคำนวณหาร 100 เพื่อเป็นการเคารพเจตนารมณ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนประเด็นเรื่ององค์ประชุมเราไม่สามารถตอบแทนได้ แต่เชื่อว่าทุกพรรคการเมืองทั้ง ส.ส.และ ส.ว. คงต้องร่วมกันทำงาน แต่ว่าแต่ละคนคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งยังอยู่ในช่องทางของระบบประชาธิปไตย จึงยังมีทางออกในเรื่องนี้อยู่
• เมื่อถามว่า กังวลว่าจะมีกระบวนการทำให้การพิจารณากฎหมายลูกจะสะดุดหรือไม่
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ขณะนี้ สถานการณ์ที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นห่วงคือ การดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะครบ 8 ปี ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ เราจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 สิงหาคม และในกระบวนการยื่นคำร้อง จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกรงว่า หากปล่อยให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไปอีก จะมีผลกระทบ ช่องทางที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง คือหากนายกฯเคารพเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะแสดงสปิริตลาออก เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการสรรหานายกฯคนใหม่ที่จะสามารถเข้ามาดำเนินการแก้ไขกฎหมายลูก หรือกลไกต่างๆ ให้แล้วเสร็จทันได้ แต่หากนายกฯไม่ลาออก และใช้เงื่อนไขหรือกลไกอื่น ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ช่องทางพิเศษ เช่น การออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ทั้งนี้ทุกฝ่าย ต้องช่วยกันเพื่อไม่ให้เกิดเดดล็อกทางการเมือง
• เมื่อถามว่า การพิจารณากฎหมายลูกจะแล้วเสร็จในวันที่ 10 สิงหาคมหรือไม่
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ตนคิดว่า คงต้องประเมินกันในวันนั้น และเราจะเคารพทุกกลไกที่จะใช้ในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถพิจารณาได้ทันวันที่ 10 สิงหาคม ความจริงก็ยังไม่สิ้นสุดเสียทีเดียว เพราะมี ส.ว.บางคนเปรยว่าอาจจะนัดประชุมรัฐสภาเพิ่มเติมก่อนวันที่ 15 สิงหาคม ซึ่งมีความเป็นไปได้ เช่น ประชุมวันที่ 13-14 สิงหาคม แต่ท้ายที่สุดหากไม่สามารถพิจารณาได้ทันวันที่ 15 สิงหาคมจริง ก็จะนำไปสู่การใช้กฎหมายที่ได้รับหลักการในวาระ 1 คือ ร่าง กกต. หากเป็นเช่นนี้ ก็ยังถือว่ายังอยู่ในกลไกของรัฐสภาอยู่ดี หากมีสมาชิกคนใดไม่เห็นด้วยกับสูตรหาร 100 สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความต่อได้