ถ้ายกธรรมกายเปรียบกับพุทธศาสนาแบบนี้ คิดอย่างไรกันบ้าง ?

ปกติคอยเตือนตัวเองตลอดไม่ให้เขียนเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ แต่ครั้งนี้รู้สึกว่าควรจะแสดงความเห็น

สงสัยว่าสิ่งที่ผมเข้าใจเกี่ยวกับธรรมกายผิดอย่างไรบ้าง ??

สิ่งที่ผมกำลังจะเขียนนำมาจากความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่มีโดยส่วนตัว กับสิ่งที่เห็นจากสื่อภายนอก คนที่รู้จัก และช่อง DMC ของทางวธรรมกายประกอบกัน

ผมขอสรุปในความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับธรรมกาย และ พุทธศาสนา ที่มีความไม่สอดคล้องกันและไม่เห็นด้วยที่จะเป็นศาสนาเดียวกันดังนี้ครับ

พุทธศาสนาคือธรรมชาติ คือเหตุและผลแห่งการกระทำ ไม่สุดโต้ง ไม่หย่อนยาน ไม่กดกิเลสและไม่ปล่อยให้ตะเลิด  แต่ต้องรู้จักกิเลส  รู้จักตนเอง สำนึกรู้ และละกิเลสในที่สุด ต้องมีศีล สร้างสมาธิ จนเกิดปัญญา ต้องใช้เวลา ใช้ความเพียรในการปฏิบัติ ผู้ที่ปฎิบัตืจึงจะรู้ ผู้ไม่ปฎิบัติจะไม่รู้ ไม่สามารถเล่า สามารบอกกันได้ ว่าผลจะเป็นอย่างไร พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์และปัญญา(ทางธรรม) ไม่เน้นที่ความเชื่ออย่างงมงายโดยขาดความไตรตร่อง ทำให้ศาสนาพุทธไม่เป็นที่นิยมเท่าศาสนาที่เน้นความเชื่อเป็นหลัก เพราะความเชื่อนั้นสร้างง่ายกว่าปัญญา(ทางธรรม)

ธรรมกาย สิ่งที่ผมเข้าใจคือ เน้นความเชื่อ เล่นกับความศรัทธาของผู้คน  บุญสามารถวัดตวงมากน้อยได้ บริจาคแล้วเห็นผลทันที บุญสะสมได้เหมือนฝากธนาคาร กิจกรรมสวยงามอลังการ เน้นความสะดวก สวยงาม และเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่

1  การที่ธรรมการเน้นเหตุและผลของการบริจาคเป็นหลักทำให้เกิดความเชื่อและมอบเมาผลที่เชื่อว่าจะได้รับตอบแทนคือบุญ แตกต่างจากพระพุทธศาสนาเน้นที่เหตุและผลจากการกระทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจจะได้ปฎิบัติในทางที่จะก่อให้เกิดปัญญา
2. ธรรมกายเชื่อว่าบุญเกิดจากการบริจาค บริจาคมากได้มาก มีมาตรฐานชัดเจน ราคานี้จะได้อะไรบ้าง ตามหลักศาสนาพุทธ บริจาคคือบุญชั้นต้นที่สุด และไม่ได้อยู่ที่จำนวนการบริจาค ข้าวหนึ่งคำ เปรียบกับทองคำบริสุทธิ 1 ตัน ข้าวหนึ่งคำอาจได้บุณมากกว่า หรือน้อยกว่า ไม่มีใครเป็นผู้กำหนด
3 การโอ้อวด คุยว่าสามารถทำได้ในสิ่งที่ทำได้ เรียกอวดอุตริ แม้แต่โอ้อวดในสิ่งที่ทำได้เพื่อเรียกความศรัทธา ก็เรียกอวดอุตริ ทำให้ศาสนามัวหมอง
4. สถาณที่ในการปฎิบัติควรเรียบง่าย ไม่สวยงาม ไม่มีความบันเทิง เพราะแบบนี้ศาสนาจึงไม่ได้สวยงามในทางโลก เพราะเน้นที่ปัญญา  แต่ธรรมกายมีแต่สิ่งสวยงามทางโลก เปรียบเป็นภาพลวงตา
5. พระพุทธองค์ ละทิ้งความร่ำรวย ความสวยงาม ทางโลก จนค้นพบปัญญา และสาวกของท่านถูกสอนให้ละในรูปความงาม แม้แต่การพิจารณาศพในป่าช้า จีวรก็คือผ้าห่อศพ โลกเปลี่ยนแปลงแต่แก่นแท้คำสอนยังคงอยู่แม้ผ้าจีวรไม่ต้องนำมาจากศพแล้วแต่เรื่องการสะสมทรัพย์นั้นไม่มีในหลักพุทธศาสนา
6. การนำของผู้อื่นมาเป็นของตนเพียงนิดเดียวก็อาบัติปราชิกแล้ว เมื่อมีคนนำมาถวายเกินความจำเป็นก็ต้องกระจายออกไป สาวกในพุทธองค์ ห้ามสะสมแม้แต่อาหาร พระจึงต้องบิณบาตรทุกวัน

สุดท้ายเกี่ยวกับสถาณการณ์ ตอนนี้ พระพุทธเจ้ายอมบริจาคเลือดเนื้อให้เป็นอาหาร ยกลูกเมียให้คนอื่น แม้แต่ยอมตาย เป็นแบบนี้มาหลายร้อยชาติ พระพุทธเจ้า และพระสาวก ไม่เคยขอความเห็นใจเพราะรู้แจ้งเข้าใจถึงเหตุ ปัจจัย และ ผลของการกระทำ เรียกว่ากฎแห่งกรรม

การไม่ยอมมอบตัว ไม่ว่าผิดหรือไม่ผิด ก่อให้เกิความเดือดร้อนกับผู้อื่น เป็นบาปแน่นอน และที่สำคัญ มองในทางพุทธศาสนา การติดคุกในทางโลกไม่ได้ ทำให้ผู้ปฎิบัติธรรม หยุดปฎิบัติธรรม หรือแม้แต่อาจจะไม่ส่งผลใดๆเลย มีแต่คนธรรมดาที่ไม่ใช่พระในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่ไม่อยากติดคุก

เราใช้ความคิดทางโลกเอาเงินเปรียบคือกิเลส นำไปถายนำไปมอมเมาผู้ปฎิบัติในพระพุทธนศาสนา เพือความสะดวกสบายในการทำสิ่งที่เข้าใจว่าบุญ เมื่อผู้ปฎิบัติพ่ายแพ้ต่อกิเลส เราก็โทษว่าคนนี้ไม่ปฎิบัติดี ไม่ปฎิบัติชอบ เเต่ละเลย มองไม่เห็นการกระทำของตัวเองที่มีส่วนในการมอมเมาผู้ปฎิบัติ นี้อาจจะเป็นอีกเหตุหนึ่งที่เกิดธรรมกาย เพราะเล็งเห็นถึงความต้องการของคนและตอบสนองอย่างตรงจุด จึงเกิดความสำเร็จในระดับนี้ ในทางโลกนับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างดี แต่ธรรมกายไม่ใช่พระพุทธศาสนา เพียงแต่ดัดแปลงแก้ไข ให้เกิดความเชื่อใหม่ที่เหมาะกับความสะดวกสบายของคนในยุคปัจจุบันที่ต้องการความเชื่อ

แต่ธรรมกาย ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ตามหลักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในความเข้าใจของผม

จริงๆแล้วในเกือบทุกประเด็น ถ้ายกขึ้นเปรียบเทียบก็จะพบข้อแตกต่างระหว่าง ธรรมกาย และ พระพุทธศาสนา มีแค่บางจุดที่ธรรมกายหยิบไปดัดแปลงใช้เท่านั้น

สิทธิชัย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่