เห็นบทความจำนวนมากบอกว่าการบริโภคน้ำตาล จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้มีความเสี่ยงและเป็นสาเหตุหลักของโรคเบาหวาน แต่น้อยคนนักที่จะพูดถึง ข้าว ขนมปัง ผลไม้ ว่าก็เป็นสาเหตุของปัญหาน้ำตาลในเลือดด้วยเช่นกัน ผมจึงตั้งข้อสังเกต อยากขอความรู้ โดยตั้งคำถามเป็นข้อๆ ครับ
1. องค์การอนามัยโลกบอกว่า ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน...คำถามคือ 6 ช้อนชา ต่อวันน้อยไปหรือไม่ครับ สำหรับผู้ที่ไม่กินข้าวสวยและขนมปังเลย / ผู้ใช้แรงงาน / นักกีฬา
2. โทษของน้ำตาล ต่างจากโทษของข้าว ขนมปัง อย่างไร ในเมื่อทั้งหมดก็เป็นคาร์โบไฮเดรตเหมือนกัน ค่า Glycemic Index ก็เท่าๆกัน กรณีคำนึงถึงโทษ ไม่คำนึงถึงประโยชน์
3. นาย ก บริโภคน้ำตาล 30 ช้อนชาต่อวัน เช้า-เที่ยง-เย็น ครั้งละ 10 ช้อนชา
นาย ข บริโภคน้ำตาล 30 ช้อนชาต่อวัน แบ่งเป็น 6 ครั้ง ครั้งละ 5 ช้อนชา
ทั้งคู่บริโภคน้ำตาลต่อวันเท่ากัน แต่ นาย ก จะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่า นาย ข เพราะ น้ำตาลในเลือดจะขึ้นสูงกว่ารบกวนอินซูลินมากกว่า นาย ข ทุกครั้งที่บริโภคน้ำตาล ถูกต้องหรือไม่ครับ กรณีทั้งคู่มีปัจจัย เพศ อายุ น้ำหนัก กรรมพันธ์ การออกกำลังกาย สุขภาพเหมือนกัน
4. หลายบทความบอกว่าให้ผู้ป่วยเบาหวานลดปริมาณน้ำตาลลง โดยเพิ่มคาร์ไฮเดรต ในข้าวและขนมปัง <<<< เขาพูดผิดใช่ไหมครับ
5. หลายบทความบอกว่าน้ำตาลผลไม้ไม่เพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือด เขาพูดถูกแค่ครึ่งเดียว คือต้องสกัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นฟรุกโตสออกมากินเท่านั้น เพราะน้ำตาลในผลไม้ก็เหมือนน้ำตาลจากอ้อยที่มีส่วนผสมทั้ง ฟรุกโตส และกลูโกส ผมเข้าใจถูกไหมครับ
6. น้ำตาลก็เป็นแค่คาร์บชนิดนึง ซึ่งไม่ได้มีโทษ ถ้ากินไม่เยอะ และจะมีโทษเมื่อกินเยอะเป็นระยะเวลานาน ถูกต้องไหมครับ
7. การคำนึงค่า Glycemic Load ต่อมื้อ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรต ถูกต้องไหมครับ เช่น ในหนึ่งมื้อ การดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลในปริมาณน้อย ย่อมดีกว่าการกินข้าวกล้องในปริมาณมาก
น้ำตาลคือผู้ร้ายในโรคเบาหวานจริงเหรอครับ
1. องค์การอนามัยโลกบอกว่า ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน...คำถามคือ 6 ช้อนชา ต่อวันน้อยไปหรือไม่ครับ สำหรับผู้ที่ไม่กินข้าวสวยและขนมปังเลย / ผู้ใช้แรงงาน / นักกีฬา
2. โทษของน้ำตาล ต่างจากโทษของข้าว ขนมปัง อย่างไร ในเมื่อทั้งหมดก็เป็นคาร์โบไฮเดรตเหมือนกัน ค่า Glycemic Index ก็เท่าๆกัน กรณีคำนึงถึงโทษ ไม่คำนึงถึงประโยชน์
3. นาย ก บริโภคน้ำตาล 30 ช้อนชาต่อวัน เช้า-เที่ยง-เย็น ครั้งละ 10 ช้อนชา
นาย ข บริโภคน้ำตาล 30 ช้อนชาต่อวัน แบ่งเป็น 6 ครั้ง ครั้งละ 5 ช้อนชา
ทั้งคู่บริโภคน้ำตาลต่อวันเท่ากัน แต่ นาย ก จะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่า นาย ข เพราะ น้ำตาลในเลือดจะขึ้นสูงกว่ารบกวนอินซูลินมากกว่า นาย ข ทุกครั้งที่บริโภคน้ำตาล ถูกต้องหรือไม่ครับ กรณีทั้งคู่มีปัจจัย เพศ อายุ น้ำหนัก กรรมพันธ์ การออกกำลังกาย สุขภาพเหมือนกัน
4. หลายบทความบอกว่าให้ผู้ป่วยเบาหวานลดปริมาณน้ำตาลลง โดยเพิ่มคาร์ไฮเดรต ในข้าวและขนมปัง <<<< เขาพูดผิดใช่ไหมครับ
5. หลายบทความบอกว่าน้ำตาลผลไม้ไม่เพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือด เขาพูดถูกแค่ครึ่งเดียว คือต้องสกัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นฟรุกโตสออกมากินเท่านั้น เพราะน้ำตาลในผลไม้ก็เหมือนน้ำตาลจากอ้อยที่มีส่วนผสมทั้ง ฟรุกโตส และกลูโกส ผมเข้าใจถูกไหมครับ
6. น้ำตาลก็เป็นแค่คาร์บชนิดนึง ซึ่งไม่ได้มีโทษ ถ้ากินไม่เยอะ และจะมีโทษเมื่อกินเยอะเป็นระยะเวลานาน ถูกต้องไหมครับ
7. การคำนึงค่า Glycemic Load ต่อมื้อ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรต ถูกต้องไหมครับ เช่น ในหนึ่งมื้อ การดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลในปริมาณน้อย ย่อมดีกว่าการกินข้าวกล้องในปริมาณมาก