เรื่อง ความขัดแย้งทางความคิดระหว่างบุคคล

ความจริงแล้วการตั้งสมมติฐานของความขัดแย้งคราวนี้
มาจากการทำความเข้าใจในเรื่องของวิปัสสนูกิเลสของผมเอง
โดยผมจะอ้างอิงจากธรรมชาติของวิปัสสนูกิเลส
ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ความคิดและเหตุผลที่ยึดข้อเท็จจริงแบบสมมติ
กล่าวคือการแสดงทัศนะออกมาเป็นความคิดเห็นเชิงตรรกะได้โดยไม่รู้ความจริง
ซึ่งจะต่างจากความเข้าใจในธรรมะที่ไร้ซึ่งคำพูดและการสมมติ
อันเป็นลักษณะของการรู้เท่าทันความคิดเชิงวิพากษ์ด้วยเหตุผลของตัวเอง
ทำให้ใจได้สัมผัสความสงบขึ้นอีกขั้นหนึ่ง ที่ไร้การโต้แย้งต่อเรื่องใดๆ

   ผมลองสังเคราะห์รูปแบบของความขัดแย้งทางความคิดออกมาคร่าวๆ ซึ่งได้แก่
การขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ การมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
การสื่อความหมายและการตีความที่แตกต่างกัน
การเลือกวิธีปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกัน และการมีพื้นเพที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในเรื่องใดก็ตาม
ถ้าหากมีการใช้เหตุผลโต้คารมณ์กันไปมาระหว่างกัน
ก็ถือว่าเข้าข่ายของปัญหาที่ผมกำลังหาทางแก้ไขอยู่นี้ทั้งนั้น
โดยผมได้ยกวิปัสสนูกิเลสมาเป็นสมมติฐานว่าคนเรามีความขัดแย้งทางความคิดกันได้อย่างไร

   การแสดงทัศนะวิภาษภาษาด้วยเหตุผลของแต่ละคน
อาจมีที่มาจากการสั่งสมความรู้และประสบการณ์
บวกกับการอบรมค่านิยมและทัศนะคติที่แตกต่างกัน
เพราะฉนั้นเมือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นกันออกมา
ุทุกคนต่างพร้อมที่จะยืนยันในความเข้าใจตัวเอง
ทั้งยังอธิบายเหตุผลประกอบว่าถูกต้องอย่างไร
และพยายามโน้มน้าวผู้อื่นให้มีความเห็นคล้อยตามตนเอง
แล้วความขัดแย้งไม่ลงรอยกันทางความคิดก็พลันเกิดขึ้น
ซึ่งล้วนเป็นความยึดมั่นในการสมมติโดยไม่รู้เท่าทันด้วยกันทั้งนั้น
"กูพูดถูกแล้ว ใครจะมาดีกว่ากู"
ดังเราจะเห็นได้ว่าความขัดแย้งไม่ลงรอยกันในสังคมเล็กๆหรือสังคมใหญ่ๆ
ในหลายประเด็นก็ยากจะหาข้อยุติได้(เพราะไม่มีฝ่ายไหนหยิบยื่นความยุติธรรมให้กัน)
วิปัสสนูสามารถอธิบายปัญหานี้ได้ว่าเป็นการยึดมั่นต่อความจริงอันเป็นเท็จ
ซึ่งเป็นลักษะการรู้คิดวิเคราะห์ของจิตใจโดยการสมมติวิธี
ทำให้เกิดขึ้นมาทั้งเหตุผล,รูปธรรมและนามธรรมของสิ่งต่างๆ
แต่หากสามารถดับวิปัสสนูกิเลสได้ด้วยความเข้าใจต่อตนเองโดยไร้เหตุผลและคำพูด
เราก็ไม่จะเป็นต้องทำความเข้าใจจากการยกอรรถบรรยายประกอบอันเป็นการสมมติ
เราก็ได้รับความสงบแก่จิตใจเพิ่มขึ้น
และพ้นจากความขัดแย้งทางความต้องการกับความเป็นจริงได้
เหล่านี้เป็นเหมือนรูปแบบจำลองของความขัดแย้งทางความคิดระหว่างบุคคล
ที่คอยแต่ถกเถียงกันว่าสิ่งนี้ถูกสิ่งนี้ผิดสิ่งนี้ดีสิ่งนี้ชั่ว ฯลฯ
อันเป็นไปตามความเข้าใจโดยสมมติวิธีและมักจะแย้งต่อวิธีการของหลักธรรมะ
และเมื่อเป็นรูปแบบของค่านิยมดังนั้นแล้วธรรมะก็จะหายไปด้วย
กล่าวคือความจริงต้นแบบหายไป
และเหลือเพียงแค่แบบจำลองของค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ
ดังนี้ ความไม่ลงรอยและไม่สอดคล้องต้องกัน,ถกเถียงกัน,ขัดแย้งกัน
ย่อมมีตามมาเป็นธรรมดา
แล้วก็จะตามมาด้วยการยกร่างกติกาขึ้นมาแก้ไขซึ่งเป็นศีลธรรมจอมปลอมนั้น

   ดังกล่าวมานี้ผมว่าวิปัสสนูเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นจริงของปัญหาได้นะ
เป็นการแก้ไขปัญหาการถกเถียงที่ไมจบสิ้นด้วยสัจธรรมปานนั้นเลย
เพราะมันสะท้อนความเป็นจริงได้ด้วยการมองเห็นที่นำผ้าม่านบังตาออกแล้ว
เราก็น่าจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางความคิดได้อย่างแท้จริง
พร้อมทั้งเกิดการยึดหลักความจริงยึดหลักธรรมะดั้งเดิมได้
   คนอื่นมีความเห็นเป็นอย่างไรบ้างครับ
คิดว่าวิปัสสนูกิเลสเป็นรูปแบบสะท้อนของความขัดแย้งทางความคิดในสังคมได้รึเปล่า
หรือยังมองว่าบทความของผมยังอธิบายได้ไม่ชัดเจน อธิบายน้อยไป
หรือจะโต้แย้งทางความคิดก็อธิบายมาได้ครับ

ขอบคุณที่อ่านครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่