จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ สสส. และมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมด้วยหน่วยงานภาคี สานต่อ...สร้างต้นกล้าในภาคอีสาน หวังให้เด็กไทยมีโภชนาการสมวัย สุขภาพดี มีจิตสาธารณะ และส่งผลให้การเรียนดี เป็นบุคคลมีคุณภาพในสังคม ช่วยพัฒนาบ้านเกิด และประเทศไทยในอนาคต โดยน้อมนำแนวทางการทรงงานที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งตามโครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักโภชนาการ มาดำเนินงานขับเคลื่อนในจังหวัดสุรินทร์ พัฒนาโรงเรียน 6 แห่ง ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ขยายผลไปยังโรงเรียนข้างเคียงอีกกว่า 30 แห่ง คาดว่าจะช่วยพัฒนาด้านเกษตร อาหารและโภชนาการ ในโรงเรียน ครอบคลุมนักเรียนได้เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 5,000 คน และ สร้างชุมชนให้เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยสู่โรงเรียนได้มากขึ้นกว่า 40 ชุมชน ในปี 2561 จึงได้จัดงานเปิดบ้าน “ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ” ขึ้น ณ โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ ตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เมื่อช่วงเช้าวันก่อน โดยมีนายถวิล บุญเจียม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกจำเริญ จังหวัดสุรินทร์ , ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สสส.) , นายคำปุ่น บุญเชิญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 , อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ , นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ในฐานะผู้จัดการโครงการฯ และผู้อำนวยการจากโรงเรียนศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสในจังหวัดมาร่วมเป็นเกียรติในงานกันอย่างคับคั่ง นอกจากนี้แล้วในงานยังได้มีการจัดกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ การจัดนิทรรศการฐานเรียนรู้โครงการเด็กไทยแก้มใสตามรอยพระยุคลบาทเจ้าฟ้านักโภชนาการ , การจัดแปลงสาธิตเกษตรโรงเรียน , การจัดตลาดนัดเด็กไทยแก้มใส , ตัวอย่างโครงการอาหารกลางวันตามมาตรฐานโภชนาการของโรงเรียน และกิจกรรมเสวนาวิชาการต่าง ๆ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. เผยว่า ข้อมูลการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ 76 จังหวัด เกือบ 1.5 ล้านคน (1,492,089 คน) เมื่อปี 2555 ของกระทรวงสาธารณสุข พบเด็กไทยเติบโตสมส่วนตามข้อแนะนำกรมอนามัย เพียงร้อยละ 51.6 โดยเกือบครึ่งหนึ่งเด็กมีปัญหา ได้รับอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ พบทั้งอ้วน ผอม และ เตี้ย เกินเกณฑ์มาตรฐาน เสี่ยงต่อสุขภาพและการเจริญเติบโต ทั้งนี้ พบว่าเด็กอ้วนมี ถึงร้อยละ 12.5 และเตี้ย ร้อยละ 16.8 นอกจากนี้ จากการติดตามการเฝ้าระวังเมื่อปี 2558 ก็ยังพบเด็กมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ร้อยละ 10.3 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อันจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทย หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย และการจัดบริการอาหารกลางวันที่โรงเรียนยังไม่ได้มาตรฐานโภชนาการ โดยเฉพาะการบริโภคผักและผลไม้ น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือพบเด็กบริโภคผักน้อยมาก เฉลี่ยเพียงวันละ 60 กรัม ทั้งนี้ปริมาณที่แนะนำ คือ เด็กอนุบาล เฉลี่ยวันละ 100-150 กรัม ประถมต้น 150-200 กรัม ประถมปลาย 200-300 กรัม และมัธยม 300-400 กรัม โดยจากการพัฒนาโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสตามรอยเจ้าฟ้านักโภชนาการ ของมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษา สาธารณสุข และ เกษตรในพื้นที่ รวมทั้งชุมชน และ ท้องถิ่น อย่างมีส่วนร่วมทุกฝ่าย ในพื้นที่ภาคอีสาน 44 โรงเรียน นักเรียนอายุระหว่าง 6-14 ปี ในปีการศึกษา 2559 เทอมต้น พบภาวะโภชนาการของเด็กดีขึ้น มีเด็กอ้วน เหลือร้อยละ 3.53 แต่ ยังพบเด็กผอมร้อยละ 5.48 และเตี้ย ร้อยละ 4.18 แสดงให้เห็นว่าภาคอีสานยังมีสัดส่วนปัญหาภาวะโภชนาการด้านเตี้ยและผอมอยู่ ทั้งนี้ เฉพาะศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส จังหวัดสุรินทร์ พบเด็กอ้วน ผอม และ เตี้ย มีสัดส่วนที่ลดลง เหลือเพียง ร้อยละ 2.25, 3.68 และ 1.80 ตามลำดับ จึงถือได้ว่า การดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาทเป็นผลสำเร็จอย่างน่าชื่นใจ นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตในการทำการเกษตรด้วยตนเอง ส่งต่อวัตถุดิบที่มีคุณภาพเข้าโครงการอาหารกลางวัน ได้อาหารกลางวันของนักเรียนที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ปลอดภัย พร้อมทั้งมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่พัฒนาดีขึ้น
ทางด้านนางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ในฐานะผู้จัดการโครงการฯ กล่าวเสริมว่า จากการเยี่ยมติดตามโรงเรียนในภาคอีสาน ส่วนใหญ่พบว่าเด็กๆ ร้อยละ 80 ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อ แม่ แต่นำมาฝากเลี้ยงไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ และมีรายได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และ อาหารการกินของเด็กๆ ทำให้มีเด็กหลายคนไม่ได้กินอาหารเช้าจากบ้าน ต้องมาอาศัยอาหารที่โรงเรียน ที่ได้รับงบประมาณจากท้องถิ่นอย่างจำกัด ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากวัด และชุมชน และการทำเกษตรในโรงเรียน ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส นี้ เด็ก ๆ มีความสุขมากขึ้นกับการได้เรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น การทำนา ปลูกข้าว ปลูกผัก เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ เป็ด หมู ปลา กบ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การแปรรูปอาหาร ได้รู้จริงถึงวงจรการพัฒนาจากธรรมชาติ ที่บูรณาการทั้งด้านพุทธิศึกษา (Head) จริยศึกษา (Heart) หัตถศึกษา (Hand) และ พลศึกษา+สุขศึกษา (Health)
ส่วนทางด้านผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ และ ผู้อำนวยการโรงเรียน ทั้ง 6 แห่ง อันได้แก่ โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ โรงเรียนบ้านท่าศิลา โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎ์นุสรณ์) โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) โรงเรียนบ้านหนองยาง และโรงเรียนบ้านจอมพระ มีความเห็นตรงกันว่า จะขอน้อมรับแนวพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช ที่ทรงเน้นย้ำความสำคัญของอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างเด็กไทยให้มีศักยภาพเต็มตามความคาดหมาย.และที่สำคัญความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย โดยมีโรงเรียนและนักเรียนเป็นเป้าหมายหลัก เพื่อขยายต่อไปยังครอบครัวและชุมชน...ไปดำเนินการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งนี้จึงขอเสนอให้กองทุนอาหารกลางวัน กระทรวงศึกษาธิการได้รับเป็นนโยบายสานต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและขยายผลให้มากขึ้น โดยตนเองรับจะเป็นโรงเรียนแม่ข่าย สร้างวิทยากรแกนนำ โดยการสนับสนุนจาก สสส.ในการเสริมพลัง ช่วงระยะการขยายผลนี้ เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ให้กว้างขวางออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สสส. ห่วงใยเด็กภาคอีสาน...หวังเจริญรอยเจ้าฟ้านักโภชนาการ สานต่อ...ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส จังหวัดสุรินทร์
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. เผยว่า ข้อมูลการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ 76 จังหวัด เกือบ 1.5 ล้านคน (1,492,089 คน) เมื่อปี 2555 ของกระทรวงสาธารณสุข พบเด็กไทยเติบโตสมส่วนตามข้อแนะนำกรมอนามัย เพียงร้อยละ 51.6 โดยเกือบครึ่งหนึ่งเด็กมีปัญหา ได้รับอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ พบทั้งอ้วน ผอม และ เตี้ย เกินเกณฑ์มาตรฐาน เสี่ยงต่อสุขภาพและการเจริญเติบโต ทั้งนี้ พบว่าเด็กอ้วนมี ถึงร้อยละ 12.5 และเตี้ย ร้อยละ 16.8 นอกจากนี้ จากการติดตามการเฝ้าระวังเมื่อปี 2558 ก็ยังพบเด็กมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ร้อยละ 10.3 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อันจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทย หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย และการจัดบริการอาหารกลางวันที่โรงเรียนยังไม่ได้มาตรฐานโภชนาการ โดยเฉพาะการบริโภคผักและผลไม้ น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือพบเด็กบริโภคผักน้อยมาก เฉลี่ยเพียงวันละ 60 กรัม ทั้งนี้ปริมาณที่แนะนำ คือ เด็กอนุบาล เฉลี่ยวันละ 100-150 กรัม ประถมต้น 150-200 กรัม ประถมปลาย 200-300 กรัม และมัธยม 300-400 กรัม โดยจากการพัฒนาโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสตามรอยเจ้าฟ้านักโภชนาการ ของมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษา สาธารณสุข และ เกษตรในพื้นที่ รวมทั้งชุมชน และ ท้องถิ่น อย่างมีส่วนร่วมทุกฝ่าย ในพื้นที่ภาคอีสาน 44 โรงเรียน นักเรียนอายุระหว่าง 6-14 ปี ในปีการศึกษา 2559 เทอมต้น พบภาวะโภชนาการของเด็กดีขึ้น มีเด็กอ้วน เหลือร้อยละ 3.53 แต่ ยังพบเด็กผอมร้อยละ 5.48 และเตี้ย ร้อยละ 4.18 แสดงให้เห็นว่าภาคอีสานยังมีสัดส่วนปัญหาภาวะโภชนาการด้านเตี้ยและผอมอยู่ ทั้งนี้ เฉพาะศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส จังหวัดสุรินทร์ พบเด็กอ้วน ผอม และ เตี้ย มีสัดส่วนที่ลดลง เหลือเพียง ร้อยละ 2.25, 3.68 และ 1.80 ตามลำดับ จึงถือได้ว่า การดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาทเป็นผลสำเร็จอย่างน่าชื่นใจ นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตในการทำการเกษตรด้วยตนเอง ส่งต่อวัตถุดิบที่มีคุณภาพเข้าโครงการอาหารกลางวัน ได้อาหารกลางวันของนักเรียนที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ปลอดภัย พร้อมทั้งมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่พัฒนาดีขึ้น
ทางด้านนางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ในฐานะผู้จัดการโครงการฯ กล่าวเสริมว่า จากการเยี่ยมติดตามโรงเรียนในภาคอีสาน ส่วนใหญ่พบว่าเด็กๆ ร้อยละ 80 ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อ แม่ แต่นำมาฝากเลี้ยงไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ และมีรายได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และ อาหารการกินของเด็กๆ ทำให้มีเด็กหลายคนไม่ได้กินอาหารเช้าจากบ้าน ต้องมาอาศัยอาหารที่โรงเรียน ที่ได้รับงบประมาณจากท้องถิ่นอย่างจำกัด ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากวัด และชุมชน และการทำเกษตรในโรงเรียน ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส นี้ เด็ก ๆ มีความสุขมากขึ้นกับการได้เรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น การทำนา ปลูกข้าว ปลูกผัก เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ เป็ด หมู ปลา กบ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การแปรรูปอาหาร ได้รู้จริงถึงวงจรการพัฒนาจากธรรมชาติ ที่บูรณาการทั้งด้านพุทธิศึกษา (Head) จริยศึกษา (Heart) หัตถศึกษา (Hand) และ พลศึกษา+สุขศึกษา (Health)
ส่วนทางด้านผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ และ ผู้อำนวยการโรงเรียน ทั้ง 6 แห่ง อันได้แก่ โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ โรงเรียนบ้านท่าศิลา โรงเรียนอนุบาลลำดวน (สุรพินท์ราษฎ์นุสรณ์) โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) โรงเรียนบ้านหนองยาง และโรงเรียนบ้านจอมพระ มีความเห็นตรงกันว่า จะขอน้อมรับแนวพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช ที่ทรงเน้นย้ำความสำคัญของอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างเด็กไทยให้มีศักยภาพเต็มตามความคาดหมาย.และที่สำคัญความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย โดยมีโรงเรียนและนักเรียนเป็นเป้าหมายหลัก เพื่อขยายต่อไปยังครอบครัวและชุมชน...ไปดำเนินการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งนี้จึงขอเสนอให้กองทุนอาหารกลางวัน กระทรวงศึกษาธิการได้รับเป็นนโยบายสานต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและขยายผลให้มากขึ้น โดยตนเองรับจะเป็นโรงเรียนแม่ข่าย สร้างวิทยากรแกนนำ โดยการสนับสนุนจาก สสส.ในการเสริมพลัง ช่วงระยะการขยายผลนี้ เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ให้กว้างขวางออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ