คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย ออยล์เดย์
ไฟสุมทรวงรัฐบาล "บิ๊กตู่" อีกระลอกของต้นปีระกา เมื่อถูกขยี้ปม "รัฐถังแตก" เพราะเงินคงคลังลดต่ำเหลือ 7.5 หมื่นล้านบาทเมื่อสิ้นปีที่แล้ว กระหึ่มในโลกโซเชียลที่มีการแชร์กันต่อ ๆ จนตื่นตระหนกว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย
เหตุการณ์นี้เกิดหลังจากที่นักวิชาการ "ดร.เดชรัต สุขกำเนิด" หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก "Decharut Sukkumnoed" ขึ้นมา โดยระบุถึงตัวเลข "เงินคงคลัง" ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2559 เหลืออยู่ราว 7.49 หมื่นล้านบาท ลดฮวบลงมากในช่วงกว่า 2 ปีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่อยู่ในคราบรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งตอนนั้นเงินคงคลังยังอยู่สูง 4.95 แสนล้านบาท
เชื้อไฟ "รัฐถังแตก" ปลุกผีดิบ "ซอมบี้" ฝ่ายการเมือง แห่รุมทึ้งรัฐบาลชุดนี้กัน พร้อมเติมเชื้อไฟไปถึงเงินรั่วไหลผ่านมาตรการต่าง ๆ หรือลงทุนด้วย จากที่รัฐบาล "เร่งให้เบิกจ่าย" งบประมาณ เพราะต้องการให้เงินอัดฉีดลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจ
ทำเอานายกรัฐมนตรี "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" อารมณ์พุ่งขึ้นมาทันที พร้อมโยงไปถึงประเด็นว่า "ใครเอามาพูด พรรคการเมืองไหน นักการเมืองฝ่ายไหน" แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจว่า วันนี้เงินที่เอาไปลงทุนถูกต้องและทำได้หรือไม่ หนี้สาธารณะเกินหรือเปล่า ดูสิ่งที่ทำทุจริตหรือเปล่า
สิ่งที่ทำเกิดหรือไม่ ไปดูตรงปลายทางด้วย
ด้านรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ "ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" ตั้งหลักออกมาปฏิเสธว่า "รัฐไม่ได้ถังแตก", คนที่ออกมาปล่อยข่าวไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเงินคงคลัง, อดีต 15 ปีก่อน ก็เคยเกิดเหตุการณ์เงินคงคลังเหลือเพียง 2-3 หมื่นล้านบาท ส่วนขุนคลัง "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ถูกขย่มเก้าอี้ ก็ยกเหตุผลต่าง ๆ ว่า เป็นการบริหารจัดการเงินในมือให้มีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังมีการเปลี่ยนระบบวิธีการบริหารจัดการเงินคงคลังใหม่, หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถกู้ได้อีกกว่า 3 แสนล้านบาท ภายใต้วงเงินกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณปี 2560 ที่ตั้งไว้ที่ 3.9 แสนล้านบาท, แต่กรณีเงินคงคลังที่ลดต่ำ เพราะไม่ต้องการกู้เงินมากองไว้ เพราะจะมีต้นทุนดอกเบี้ยกู้ที่ต้องจ่าย โดยทุก 1 แสนบาท จะมีภาระดอกเบี้ยจ่าย 2 พันล้านบาท (ดอกเบี้ยกู้ราว 2%) เป็นต้น, การประเมินระดับเงินคงคลังที่เหมาะสมอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท-1 แสนล้านบาท, นโยบายการเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อนำไปใช้โครงการต่าง ๆ, ในช่วงต้นปีงบประมาณ เงินคงคลังจะต่ำ เพราะ "ภาษียังไม่เข้า" โดยเฉพาะปี 2559 การจัดเก็บต่ำกว่าทุกปี แม้แต่การขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเครื่องเป็นการจัดเก็บภาษีให้เป็นธรรม หลังจากที่มีการปรับขึ้นภาษีน้ำมันอื่นไปแล้ว ดังนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องรัฐถังแตก
ขณะที่ในโลกโซเชียลประเด็น "เงินคงคลัง" ร่อยหรอ ได้มีการชี้ให้เห็นถึงประเด็นนี้ว่า ไม่ได้น่ากังวล เพราะเงินคงคลังเป็นเรื่องของการบริหารเงินสดในมือ
ซึ่งในเฟซบุ๊กของ "Ben Suwankiri" หรือ ดร.นโม นักเศรษฐศาสตร์หนุ่มค่ายแบงก์ทหารไทย อธิบายได้ง่าย ๆ เห็นภาพว่า เงินคงคลังไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าสถานะเงินในกระเป๋าตังค์ของคนทั่วไป พร้อมยกตัวอย่างว่า วันนี้ผมมีตังค์ติดตัวแค่ 400 บาท ต่ำกว่าเดือนก่อน ๆ ที่จะพกประมาณ 1,000-1,500 บาท แต่ก็ไม่ได้กังวลครับ เพราะยังมีเงินเดือนเข้าทุกเดือน และมีบัตรเครดิตหากจำเป็นจริง ๆ และยังมีพร้อมเพย์ที่โอนฟรี อ้อแล้วบางเดือนก็หนี้บัตรเครดิตบานเป็นพิเศษ เพราะมียอดรายจ่ายขนาดใหญ่ (เช่นซื้อประกันชีวิตบ้างไรบ้าง) แต่ก็ไม่กังวลอะไรเพิ่มขึ้น เพราะอยู่ในแผนการใช้จ่ายและทำให้ไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าตังค์ออกตลอด
ดร.นโมเล่าว่า แล้วเมื่อไหร่ที่ต้องกังวลเหรอครับเมื่อไม่มีรายได้ กู้ไม่ได้ แบงก์กับเจ้าหนี้ปิดวงเงิน เพื่อนเลิกคบ ญาติหนีหน้า ภรรยาทิ้ง (ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ คือช่วงวิกฤต) แต่ก็อย่าทำให้เกิดวิกฤตสิครับ ดูการใช้จ่ายอย่าให้เกินตัว ถ้าจ่ายก็ต้องเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ไม่ใช่แค่บริโภค และกู้เท่าที่แบกรับภาระหนี้ได้ ถ้าบริหารอย่างนี้ได้ ก็ไม่ต้องสนใจเงินในกระเป๋าตังค์หรอก มีเท่าที่พอใช้ก็พอ ถือเงินเยอะก็มีต้นทุนครับ ปล. เงินคงคลังคือ เงินในกระเป๋าตังค์ ไม่ใช่เงินสำรองยามฉุกเฉิน (ฉุกเฉินจริงต้องใช้เงินตราระหว่างประเทศ เงินบาทหมดค่ามีไปก็เท่านั้น) และไม่ใช่ตัววัดความมั่งคั่งครับ
ขณะที่นักวิชาการ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่า เงินคงคลังถือน้อยก็ไม่ได้แปลว่าจน หรือถือเยอะก็ไม่ได้แปลว่ารวย ส่วนกรณีที่อยากดูฐานะการคลังของประเทศ แนะให้ดูที่ดุลเงินงบประมาณรายปี ว่าสิ้นเดือนเหลือเงินในกระเป๋าเท่าไหร่
ซึ่งระยะหลังรัฐบาลมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ อันนี้จะน่าเป็นห่วงเพราะแปลว่ารัฐบาล "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" เสียที และจะกลายเป็นหนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ
"รัฐถังแตก" เคยเป็นประเด็นร้อนในช่วงที่ "กรณ์ จาติกวณิช" เป็นขุนคลังในสมัยรัฐบาล "อภิสิทธิ์" เมื่อช่วงปี 2554 ถูกโจมตีปม "เงินคงคลังหด" เหมือนกัน
ปีนี้เป็นปีที่คนไทยคาดหวังว่าจะมีการ "เลือกตั้ง" รัฐบาลใหม่เกิดขึ้น นี่แค่ต้นปี รัฐบาล "บิ๊กตู่" ก็ถูกขย่มเสียแล้ว ลมการเมืองพัดความเชื่อมั่นสั่นคลอนไม่น้อย
JJNY : เสดตะกิด..ดี๊ดี ซี้จุกสูญ เงินคงคลัง "ต่ำ" ไม่น่ากลัวเท่า "ขาดดุลงบพุ่ง"
ไฟสุมทรวงรัฐบาล "บิ๊กตู่" อีกระลอกของต้นปีระกา เมื่อถูกขยี้ปม "รัฐถังแตก" เพราะเงินคงคลังลดต่ำเหลือ 7.5 หมื่นล้านบาทเมื่อสิ้นปีที่แล้ว กระหึ่มในโลกโซเชียลที่มีการแชร์กันต่อ ๆ จนตื่นตระหนกว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย
เหตุการณ์นี้เกิดหลังจากที่นักวิชาการ "ดร.เดชรัต สุขกำเนิด" หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก "Decharut Sukkumnoed" ขึ้นมา โดยระบุถึงตัวเลข "เงินคงคลัง" ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2559 เหลืออยู่ราว 7.49 หมื่นล้านบาท ลดฮวบลงมากในช่วงกว่า 2 ปีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่อยู่ในคราบรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งตอนนั้นเงินคงคลังยังอยู่สูง 4.95 แสนล้านบาท
เชื้อไฟ "รัฐถังแตก" ปลุกผีดิบ "ซอมบี้" ฝ่ายการเมือง แห่รุมทึ้งรัฐบาลชุดนี้กัน พร้อมเติมเชื้อไฟไปถึงเงินรั่วไหลผ่านมาตรการต่าง ๆ หรือลงทุนด้วย จากที่รัฐบาล "เร่งให้เบิกจ่าย" งบประมาณ เพราะต้องการให้เงินอัดฉีดลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจ
ทำเอานายกรัฐมนตรี "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" อารมณ์พุ่งขึ้นมาทันที พร้อมโยงไปถึงประเด็นว่า "ใครเอามาพูด พรรคการเมืองไหน นักการเมืองฝ่ายไหน" แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจว่า วันนี้เงินที่เอาไปลงทุนถูกต้องและทำได้หรือไม่ หนี้สาธารณะเกินหรือเปล่า ดูสิ่งที่ทำทุจริตหรือเปล่า
สิ่งที่ทำเกิดหรือไม่ ไปดูตรงปลายทางด้วย
ด้านรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ "ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" ตั้งหลักออกมาปฏิเสธว่า "รัฐไม่ได้ถังแตก", คนที่ออกมาปล่อยข่าวไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเงินคงคลัง, อดีต 15 ปีก่อน ก็เคยเกิดเหตุการณ์เงินคงคลังเหลือเพียง 2-3 หมื่นล้านบาท ส่วนขุนคลัง "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ถูกขย่มเก้าอี้ ก็ยกเหตุผลต่าง ๆ ว่า เป็นการบริหารจัดการเงินในมือให้มีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังมีการเปลี่ยนระบบวิธีการบริหารจัดการเงินคงคลังใหม่, หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถกู้ได้อีกกว่า 3 แสนล้านบาท ภายใต้วงเงินกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณปี 2560 ที่ตั้งไว้ที่ 3.9 แสนล้านบาท, แต่กรณีเงินคงคลังที่ลดต่ำ เพราะไม่ต้องการกู้เงินมากองไว้ เพราะจะมีต้นทุนดอกเบี้ยกู้ที่ต้องจ่าย โดยทุก 1 แสนบาท จะมีภาระดอกเบี้ยจ่าย 2 พันล้านบาท (ดอกเบี้ยกู้ราว 2%) เป็นต้น, การประเมินระดับเงินคงคลังที่เหมาะสมอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท-1 แสนล้านบาท, นโยบายการเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อนำไปใช้โครงการต่าง ๆ, ในช่วงต้นปีงบประมาณ เงินคงคลังจะต่ำ เพราะ "ภาษียังไม่เข้า" โดยเฉพาะปี 2559 การจัดเก็บต่ำกว่าทุกปี แม้แต่การขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเครื่องเป็นการจัดเก็บภาษีให้เป็นธรรม หลังจากที่มีการปรับขึ้นภาษีน้ำมันอื่นไปแล้ว ดังนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องรัฐถังแตก
ขณะที่ในโลกโซเชียลประเด็น "เงินคงคลัง" ร่อยหรอ ได้มีการชี้ให้เห็นถึงประเด็นนี้ว่า ไม่ได้น่ากังวล เพราะเงินคงคลังเป็นเรื่องของการบริหารเงินสดในมือ
ซึ่งในเฟซบุ๊กของ "Ben Suwankiri" หรือ ดร.นโม นักเศรษฐศาสตร์หนุ่มค่ายแบงก์ทหารไทย อธิบายได้ง่าย ๆ เห็นภาพว่า เงินคงคลังไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าสถานะเงินในกระเป๋าตังค์ของคนทั่วไป พร้อมยกตัวอย่างว่า วันนี้ผมมีตังค์ติดตัวแค่ 400 บาท ต่ำกว่าเดือนก่อน ๆ ที่จะพกประมาณ 1,000-1,500 บาท แต่ก็ไม่ได้กังวลครับ เพราะยังมีเงินเดือนเข้าทุกเดือน และมีบัตรเครดิตหากจำเป็นจริง ๆ และยังมีพร้อมเพย์ที่โอนฟรี อ้อแล้วบางเดือนก็หนี้บัตรเครดิตบานเป็นพิเศษ เพราะมียอดรายจ่ายขนาดใหญ่ (เช่นซื้อประกันชีวิตบ้างไรบ้าง) แต่ก็ไม่กังวลอะไรเพิ่มขึ้น เพราะอยู่ในแผนการใช้จ่ายและทำให้ไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าตังค์ออกตลอด
ดร.นโมเล่าว่า แล้วเมื่อไหร่ที่ต้องกังวลเหรอครับเมื่อไม่มีรายได้ กู้ไม่ได้ แบงก์กับเจ้าหนี้ปิดวงเงิน เพื่อนเลิกคบ ญาติหนีหน้า ภรรยาทิ้ง (ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ คือช่วงวิกฤต) แต่ก็อย่าทำให้เกิดวิกฤตสิครับ ดูการใช้จ่ายอย่าให้เกินตัว ถ้าจ่ายก็ต้องเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ไม่ใช่แค่บริโภค และกู้เท่าที่แบกรับภาระหนี้ได้ ถ้าบริหารอย่างนี้ได้ ก็ไม่ต้องสนใจเงินในกระเป๋าตังค์หรอก มีเท่าที่พอใช้ก็พอ ถือเงินเยอะก็มีต้นทุนครับ ปล. เงินคงคลังคือ เงินในกระเป๋าตังค์ ไม่ใช่เงินสำรองยามฉุกเฉิน (ฉุกเฉินจริงต้องใช้เงินตราระหว่างประเทศ เงินบาทหมดค่ามีไปก็เท่านั้น) และไม่ใช่ตัววัดความมั่งคั่งครับ
ขณะที่นักวิชาการ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่า เงินคงคลังถือน้อยก็ไม่ได้แปลว่าจน หรือถือเยอะก็ไม่ได้แปลว่ารวย ส่วนกรณีที่อยากดูฐานะการคลังของประเทศ แนะให้ดูที่ดุลเงินงบประมาณรายปี ว่าสิ้นเดือนเหลือเงินในกระเป๋าเท่าไหร่
ซึ่งระยะหลังรัฐบาลมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ อันนี้จะน่าเป็นห่วงเพราะแปลว่ารัฐบาล "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" เสียที และจะกลายเป็นหนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ
"รัฐถังแตก" เคยเป็นประเด็นร้อนในช่วงที่ "กรณ์ จาติกวณิช" เป็นขุนคลังในสมัยรัฐบาล "อภิสิทธิ์" เมื่อช่วงปี 2554 ถูกโจมตีปม "เงินคงคลังหด" เหมือนกัน
ปีนี้เป็นปีที่คนไทยคาดหวังว่าจะมีการ "เลือกตั้ง" รัฐบาลใหม่เกิดขึ้น นี่แค่ต้นปี รัฐบาล "บิ๊กตู่" ก็ถูกขย่มเสียแล้ว ลมการเมืองพัดความเชื่อมั่นสั่นคลอนไม่น้อย