เงินคงคลังเหลือน้อย=รัฐบาลถังแตก!!! จริงหรือมั่วนิ่ม

จากการพาดหัวของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกลายเป็นไวรัลกระจายไปทั่วพันทิปและเฟสบุ๊ค
เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆกัน

หากเปรียบเทียบเงินคงคลังก็ไม่ต่างอะไรกับบัญชีออมทรัพย์ของคนทั่วไปที่ไว้เก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในแต่ละเดือน
ในแต่ละเดือนรัฐจะมีรายได้จากภาษีต่างๆซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละเดือน มากน้อยตามภาวะเศรษฐกิจ ความสามารถในการจัดเก็บภาษี และการนำจ่ายภาษีเงินได้ของภาคธุรกิจที่จะจ่ายปีละ2ครั้ง
ขณะเดียวกันจะมีรายจ่ายประจำ(เงินเดือนข้าราชการ) และรายจ่ายไม่ประจำ(เงินลงทุนสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ)
เดือนไหนรายได้มากกว่ารายจ่าย เงินคงคลังก็เพิ่ม
เดือนไหนรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย เงินคงคลังก็ลดลง
(รูปที่1)
หากรายได้ต่ำกว่ารายจ่ายมาก ก็อาจต้องกู้เงินมาเพื่อชดเชยภาระงบประมาณ
ซึ่งจะเห็นว่านับตั้งแต่ปี2541 รัฐบาลมีการกู้เงินมาเพื่อชดเชยภาระงบประมาณทุกปี
มากบ้างน้อยบ้างตามความฟุ่มเฟื่อยของแต่ละรัฐบาล(รูปที่2 กราฟสีน้ำเงิน)

ฉนั้น1 การที่รัฐอธิบายว่าเงินคงคลังน้อยเพราะไม่อยากกู้เงินเพิ่มแล้วมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มนั้นถูกต้อง แต่ไม่ละเอียดมากพอให้คนทั่วไปเข้าใจ

ฉนั้น2 การที่เงินคงคลังมากหรือน้อยจึงมิใช่สิ่งที่น่าห่วง
แต่ที่เราควรห่วงคือรัฐบาลใช้เงินภาษีไปกับสิ่งใด
เป็นประโยชน์ต่อเรามากพอจนต้องกู้รึเปล่า

ปล.หากท่านไม่เข้าใจ ขอให้ศึกษาเรื่อง งบประมาณการ งบกระแสเงินสดประกอบ
http://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=702&language=th
http://thaipublica.org/events/thaipublica-forum-fiscal-budget-1/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่