สมเด็จพระบรมศาสดา
สมเด็จพระผู้มีพระภาค , สมเด็จพระบรมครู , สมเด็จพระชินสีห์ , ผู้นิรทุกข์ , พระผู้ทรงสัพพัญญู , พระพุทธเจ้า , ฯลฯ
แต่พระองค์ทรงโปรด ตรัสเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต
จากดุสิต
ทรงปฎิสนธิ ในครรภ์พระนาง สิริมหามายา ประสูตร ณ ลุมพินีวัน ชานกรุง กบิลพัสด์
ทรงพระนามว่า เจ้าชายสิทธถะ ผู้สืบสันติวงค์แห่ง ศากยราชวงค์
ทรงลักษณะ มหาบุรุษ ๓๒ ประการ
ฤาษี ผู้หลั่งน้ำตา หลังพิจารณา ลักษณะ ๓๒ , ด้วยน้อยเนื้อต่ำใจใน วาสนา ที่จักมิได้อยู่ทันฟัง ธรรม ที่มหาบุรุษผู้นี้จักทรงแสดงในอีก ๓๕ ปีต่อมา
ทรงถูก ฟูมฟัก โดยพระน้านาง ผู้รักพระองค์ดั่งบุตรในอุทร , พระนางมหาปชาบดี อรหันตภิกษุณี รูปแรกใน บวรพระพุทธศาสนา ผู้พากเพียรเดินเท้า
รอนแรม ผ่านป่าเขาลำเนาไพร พร้อมเหล่า สตรีในราชนิกูล เพื่อทรงขออนุญาติในการ ผนวชให้แก่เหล่าสตรี ในบวรพระพุทธศาสนา
ฉายแสงแห่งพระองค์ ในการจักครัสรู้เป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ครั้งพระเยาว์ ในงานพิธีแรกนา , ทรงสมาธิโดยพระองค์เองภายใต้ร่มหว้า
( บางแห่งว่า ต้นชมพู่ )
ทรงศึกษา ศาสตร์ทางโลก การเมือง ปกครอง การป้องกันตัว ปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ คัมภีร์แห่งพรามหมณ์ ตามหลักผู้สืบสันติวงค์ในอนาคต
ทรงพำนักอาศัยใน ราชเวียงวัง ปราสาท ๓ ฤดู แห่แหนด้วย สนม นางกำนัลสตรี เป็นจำนวนมาก ถูกขังด้วยคุกแห่งความ สะดวกสบายนานา
จัดเลี้ยงแด่เหล่า สหาย ทุกวี่วัน ค่ำคืน โดยแวดล้อมด้วยเหล่า นักฟ้อนรำ ขับกล่อมความบันเทิง สุรา นารี อำนาจ พระสิริโฉมแห่งมหาบุรุษ
ทว่า ทรงบำเพ็ญมาแล้วเพื่อตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , เทวทูตทั้ง๔ จึงถูกส่งมาเตือนให้พระองค์ได้ทรงรำลึก
ทรงสลด สังเวช กับเหล่านางกำนัล นางรำ ที่นอนราวกับ ซากศพ หลังผ่านการเหน็ดเหนื่อยกับการ ปฎิบัติหน้าที่ , และ ห่วง ได้ถือกำเนิดแล้ว
จากยอดนารี
ผู้ทรงพระนาม พิมพา
ด้วยวัย ๒๙ ชันษา , กลางดึกคืนนั้น ม้ากัณฑกะ นายสารถึ ฉันนะ เสด็จออกพร้อมพระองค์ ออกนอกพระนครกรุงกบิลพัสด์
ปลงผม ทิ้งเครื่องทรงแห่งราชนิกูล
จากเวียงวัง สู่ป่า เพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทางแห่งการก้าวล่วง เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๖ ปี ที่ทรงแสวงหา สัจจธรรม จากผู้อื่น และไม่ใช่
ทรงเรียนรู้ ฌาน จากอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น , ซึ่งก้อยังมิใช่
ทรงทรมานพระวรกาย มากกว่าผู้ใด เพื่อการก้าวล่วงแห่งทุกข์ , นอนบนกองกระดูก อดอาหาร กลั้นลมหายใจ หลีกเล้นมิให้ผู้ใดพบเจอ , ก้อไม่ใช่
ทรงหวนรำลึกครั้งเมื่อ พระเยาว์ ภายใต้ร่มหว้า
ทรงปลีกพระองค์แสวงหา โมกขธรรม สัจจะในการก้าวล่วงในความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยวิถีทางแห่งพระองค์เอง
และภายใต้ร่ม โพธิพฤกษ์ คืนวันเพ็ญ วิสาขา ริมฝั่งเนรัญชรามหานที
โลกและเหล่าเวไนยสัตว์ ก้อได้รู้จัก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่าเวไนยสัตว์ ได้รู้จักหนทางอันประเสริฐ หนทางเพื่อการก้าวล่วงแห่งกองทุกข์ หนทางที่จะนำสัตว์ออกจาก สังสารทุกข์
๔๕ พรรษา ที่ทรงดำเนินด้วยพระบาท ทรงชี้ทางเพื่อการก้างล่วงแห่งทุกข์แด่เหล่า เวไนยสัตว์ ด้วยพระมหากรุณาแห่งพระองค์ ไปทั่วทุกหนแห่ง
ชานกรุง กุสินารา คืนเพ็ญแห่ง วิสาขา ณ ราชอาสน์ ภายใต้ต้น สาระ
คืนนั้นดอก สาระ บานสะพรั่ง โปรยปราย นอกฤดูกาล ดั่งน้ำตาแห่ง ทวยเทพ มาร พรหม มนุษย์ อันหลั่งไหล โปรยปราย มิขาดสาย
เพื่ออำลา เบ็ญจขันธ์ แห่งพระผู้มีพระภาค
จักไม่มีผู้ใดเห็น พระวรกาย แห่งพระองค์อีกแล้ว
พระธรรมวินัย จะเป็นสิ่งแทนพระองค์ จะเป็นศาสดาแทนพระองค์
ผู้ใดประสงค์จะเห็นพระองค์ ผู้นั้นต้องเห็น พระธรรมวินัย
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
จาก เวไนยสัตว์ ผู้นึง ที่พระะองค์ทรงทิ้ง ธรรมบัญญัติ ให้ได้เรียนรู้
เวไนยสัตว์ ผู้หมอบราบคาบแก้ว แทบพระบาทแห่งพระองค์
แห่งองค์พระ ตถาคต
สมเด็จพระบรมศาสดา
สมเด็จพระผู้มีพระภาค , สมเด็จพระบรมครู , สมเด็จพระชินสีห์ , ผู้นิรทุกข์ , พระผู้ทรงสัพพัญญู , พระพุทธเจ้า , ฯลฯ
แต่พระองค์ทรงโปรด ตรัสเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต
จากดุสิต
ทรงปฎิสนธิ ในครรภ์พระนาง สิริมหามายา ประสูตร ณ ลุมพินีวัน ชานกรุง กบิลพัสด์
ทรงพระนามว่า เจ้าชายสิทธถะ ผู้สืบสันติวงค์แห่ง ศากยราชวงค์
ทรงลักษณะ มหาบุรุษ ๓๒ ประการ
ฤาษี ผู้หลั่งน้ำตา หลังพิจารณา ลักษณะ ๓๒ , ด้วยน้อยเนื้อต่ำใจใน วาสนา ที่จักมิได้อยู่ทันฟัง ธรรม ที่มหาบุรุษผู้นี้จักทรงแสดงในอีก ๓๕ ปีต่อมา
ทรงถูก ฟูมฟัก โดยพระน้านาง ผู้รักพระองค์ดั่งบุตรในอุทร , พระนางมหาปชาบดี อรหันตภิกษุณี รูปแรกใน บวรพระพุทธศาสนา ผู้พากเพียรเดินเท้า
รอนแรม ผ่านป่าเขาลำเนาไพร พร้อมเหล่า สตรีในราชนิกูล เพื่อทรงขออนุญาติในการ ผนวชให้แก่เหล่าสตรี ในบวรพระพุทธศาสนา
ฉายแสงแห่งพระองค์ ในการจักครัสรู้เป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ครั้งพระเยาว์ ในงานพิธีแรกนา , ทรงสมาธิโดยพระองค์เองภายใต้ร่มหว้า
( บางแห่งว่า ต้นชมพู่ )
ทรงศึกษา ศาสตร์ทางโลก การเมือง ปกครอง การป้องกันตัว ปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ คัมภีร์แห่งพรามหมณ์ ตามหลักผู้สืบสันติวงค์ในอนาคต
ทรงพำนักอาศัยใน ราชเวียงวัง ปราสาท ๓ ฤดู แห่แหนด้วย สนม นางกำนัลสตรี เป็นจำนวนมาก ถูกขังด้วยคุกแห่งความ สะดวกสบายนานา
จัดเลี้ยงแด่เหล่า สหาย ทุกวี่วัน ค่ำคืน โดยแวดล้อมด้วยเหล่า นักฟ้อนรำ ขับกล่อมความบันเทิง สุรา นารี อำนาจ พระสิริโฉมแห่งมหาบุรุษ
ทว่า ทรงบำเพ็ญมาแล้วเพื่อตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , เทวทูตทั้ง๔ จึงถูกส่งมาเตือนให้พระองค์ได้ทรงรำลึก
ทรงสลด สังเวช กับเหล่านางกำนัล นางรำ ที่นอนราวกับ ซากศพ หลังผ่านการเหน็ดเหนื่อยกับการ ปฎิบัติหน้าที่ , และ ห่วง ได้ถือกำเนิดแล้ว
จากยอดนารี
ผู้ทรงพระนาม พิมพา
ด้วยวัย ๒๙ ชันษา , กลางดึกคืนนั้น ม้ากัณฑกะ นายสารถึ ฉันนะ เสด็จออกพร้อมพระองค์ ออกนอกพระนครกรุงกบิลพัสด์
ปลงผม ทิ้งเครื่องทรงแห่งราชนิกูล
จากเวียงวัง สู่ป่า เพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทางแห่งการก้าวล่วง เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๖ ปี ที่ทรงแสวงหา สัจจธรรม จากผู้อื่น และไม่ใช่
ทรงเรียนรู้ ฌาน จากอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น , ซึ่งก้อยังมิใช่
ทรงทรมานพระวรกาย มากกว่าผู้ใด เพื่อการก้าวล่วงแห่งทุกข์ , นอนบนกองกระดูก อดอาหาร กลั้นลมหายใจ หลีกเล้นมิให้ผู้ใดพบเจอ , ก้อไม่ใช่
ทรงหวนรำลึกครั้งเมื่อ พระเยาว์ ภายใต้ร่มหว้า
ทรงปลีกพระองค์แสวงหา โมกขธรรม สัจจะในการก้าวล่วงในความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยวิถีทางแห่งพระองค์เอง
และภายใต้ร่ม โพธิพฤกษ์ คืนวันเพ็ญ วิสาขา ริมฝั่งเนรัญชรามหานที
โลกและเหล่าเวไนยสัตว์ ก้อได้รู้จัก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่าเวไนยสัตว์ ได้รู้จักหนทางอันประเสริฐ หนทางเพื่อการก้าวล่วงแห่งกองทุกข์ หนทางที่จะนำสัตว์ออกจาก สังสารทุกข์
๔๕ พรรษา ที่ทรงดำเนินด้วยพระบาท ทรงชี้ทางเพื่อการก้างล่วงแห่งทุกข์แด่เหล่า เวไนยสัตว์ ด้วยพระมหากรุณาแห่งพระองค์ ไปทั่วทุกหนแห่ง
ชานกรุง กุสินารา คืนเพ็ญแห่ง วิสาขา ณ ราชอาสน์ ภายใต้ต้น สาระ
คืนนั้นดอก สาระ บานสะพรั่ง โปรยปราย นอกฤดูกาล ดั่งน้ำตาแห่ง ทวยเทพ มาร พรหม มนุษย์ อันหลั่งไหล โปรยปราย มิขาดสาย
เพื่ออำลา เบ็ญจขันธ์ แห่งพระผู้มีพระภาค
จักไม่มีผู้ใดเห็น พระวรกาย แห่งพระองค์อีกแล้ว
พระธรรมวินัย จะเป็นสิ่งแทนพระองค์ จะเป็นศาสดาแทนพระองค์
ผู้ใดประสงค์จะเห็นพระองค์ ผู้นั้นต้องเห็น พระธรรมวินัย
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
จาก เวไนยสัตว์ ผู้นึง ที่พระะองค์ทรงทิ้ง ธรรมบัญญัติ ให้ได้เรียนรู้
เวไนยสัตว์ ผู้หมอบราบคาบแก้ว แทบพระบาทแห่งพระองค์
แห่งองค์พระ ตถาคต