ประเทศสเปน ปี 1936 : จากสงครามสู่การปฎิวัติ



วันที่ 17 กรกฎาคม ปี 1936 เจ้าหน้าที่ทหารต่อต้านรัฐบาลหลายคนได้เริ่มก่อการทำรัฐประหารกับรัฐบาลสเปน ซึ่งคนงานหลายคนก็ดูผลตอบรับที่เกิดขึ้น ถือเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สำคัญในช่วงปี 1930 และมีบทเรียนที่สำคัญต่างๆมากมายสำหรับนักสังคมนิยมจนถึงทุกวันนี้

สำหรับสงครามกลางเมืองสเปนก็สะท้อนให้เห็นถึงบทเรียนของการปฎิวัติเป็นเวลาหลายสิบปีด้วยกัน ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างของวีรบุรุษที่สร้างแรงบันดาลใจ ไม่ว่าจะเป็นการคิดสร้างสรรค์หรือการก่อตั้งสหภาพของคนงาน อะไรๆก็เกิดขึ้นได้ เมื่อนักเขียนชาวอังกฤษที่ชื่อ George Orwell ได้มาถึงเมืองบาเซโลน่าในช่วงเดือนธันวาคม ปี 1936 เขาได้เขียนเอาไว้ว่า “เป็นครั้งแรกที่ผมเข้ามาตัวเมืองซึ่งชนชั้นแรงงานต่างก็อยู่สภาพหลังขด มีการก่อสร้างตึกอาคารต่างๆโดยคนงานหลายคนและมีการประดับธงสีแดงหรือเป็นธงที่มีสีแดงและดำของฝ่ายอนาธิปไตย กำแพงก็มีภาพค้อนและเคียวและจึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ของพรรคปฎิวัติ”

สงครามกลางเมืองสเปนจะเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายฟาสซิสต์กับฝ่ายประชาธิปไตย แต่นี่ก็มีส่วนให้เกิดการปฎิวัติโดยแรงงานและข้อเท็จจริงก็คือ แรงงานถูกบดขยี้จากความพ่ายแพ้จากการที่จะนำประเทศไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐและทำให้ประเทศสเปนสถาปนารัฐฟาสซิสต์ขึ้นมา ใน 8 ปีก็มีปัญหาต่างๆมากมายเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความเคลื่อนไหวในประเด็นที่ว่า แนวทางการต่อสู้ที่ดีที่สุดกับฟาสซิสต์นั้นคืออะไร การปฎิวัติควรที่จะตั้งองค์กรแนวคิดสังคมนิยมหรือไม่อย่างไร แล้วจะประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ได้อย่างไร แล้วใครเป็นมิตรที่ดีที่สุด มีแนวคิดในการสร้างรัฐขึ้นมาอย่างไร

กลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ก็จะรวมไปถึงกลุ่มเสรีนิยมที่มีแนวคิดการก่อตั้งสาธารณรัฐ กลุ่มแนวคิดชาตินิยม กลุ่มแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มการปฎิวัติสังคมนิยมและกลุ่มอนาธิปไตย และพวกเขาเหล่านี้มีการยกระดับต่อสู้กันทางการเมืองมากขึ้น ทั้งสู้ตามอุดมการณ์และใช้อำนาจทางการทหาร แต่รูปแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนต่อสู้นั้นจะเป็นรูปแบบไหน? แล้วพันธมิตรทางการเมืองจะสามารถนำไปสู่การสร้างสาธารณรัฐไปไหนทางไหน? และกองทัพแบบไหนจะสามารถทำสงครามได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด?

ทั่วโลกเผชิญกับแรงกดดันจากวิกฤติเศรษฐกิจ Wall Street ล่มในปี 1929 ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งฝักฝ่ายทางการเมืองมากขึ้น การเคลื่อนไหวของแรงงานนานาประเทศก็จะเอนเอียงไปทางฝ่ายซ้าย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็มาจากการกระตุ้นให้เกิดการปฎิวัติรัสเซีย ชนชั้นสูงต่างก็ปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาเอง ซึ่งบ่อยครั้งก็จะนำไปสู่การปราบปรามอย่างโหดร้าย

ฟาสซิสต์ดูเหมือนว่าจะไม่ยอมปรานีง่ายๆ ในยุโรปเยอรมันเอง องค์กรแรงงานที่แข็งแกร่งที่สุดก็ล้มเหลวต่อบททดสอบที่สำคัญ แทนที่สหภาพแรงงานจะทำการต่อต้านฟาสซิสต์ เนื่องจากนักปฎิวัติรัสเซียอย่างลีออน ตรอสกีได้อธิบายว่า พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันได้กล่าวหาฝ่ายสังคมนิยมประชาธิปไตยว่า “เป็นฝ่ายสังคมนิยมฟาสซิสต์” ที่มีแนวคิดก่อตั้งระบบทุนนิยมขึ้นมา การเคลื่อนไหวของแรงงานจึงไม่มีความเป็นเอกภาพขึ้นมา


แนวร่วมองค์กร

ในช่วงกลางปี 1930 ที่มาพร้อมกับกลิ่นอายของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น พรรคคอมมิวนิสต์ในแต่ละประเทศก็ถูกบงการโดยกรุงมอสโคว์ มีการควบคุมจัดการทางด้านนโยบาย ตอนนี้พวกเขาก็ได้สร้างแนวร่วมพร้อมกับ “นายทุนหัวก้าวหน้า” ในการสร้างกำแพงรั้วในการต่อต้านการแทรกแซงของชาวเยอรมัน ผู้นำรัสเซียที่นำโดยสตาลินก็ได้ผูกมิตรกับนายทุนในการสร้างอำนาจทางจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะกับอังกฤษและฝรั่งเศส พรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้ส่งเสริมให้หาแนวร่วมไม่เพียงแค่กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตยเท่านั้น แต่จะต้องผูกมิตรกับพรรคการเมืองชนชั้นกลางที่ต่อต้านฟาสซิสต์ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นเห็นว่าคอมมิวนิสต์ยังไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบทุนนิยม แนวคิดต่างๆส่วนใหญ่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ในทางปฎิบัติผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงานกลับเป็นเรื่องรอง

ในปี 1936 สาธารณรัฐสเปนก็มีอายุเพียงแค่ 5 ปีและเนื่องจากกษัตริย์ได้สละราชสมบัติเพื่อประนีประนอมระหว่างฝ่ายขวากับซ้าย ซึ่งประเทศสเปนมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมก็เติบโตเพียงแค่ไม่กี่เมือง และขบวนการปฎิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นกลางก็อ่อนแอ มีทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ โบสถ์ กองทัพและเจ้าของที่ดินที่ดูเหมือนว่าจะกลัวและรังเกียจต่อแนวคิดฝ่ายขวากับการปฎิรูปสังคมแรงงานตามความต้องการ

หลังจากที่ “ผ่านยุคมืด 2 ปี” หลังจากที่มีการปราบปรามแล้ว รัฐบาลแนวหน้าประชาชนก็ได้รับการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พรรคปฎิรูปสังคมนิยมถือเป็นกุญแจสำคัญ โดยอำนาจทางการเมืองก็มาจากสหภาพแรงงาน สมาพันธ์แรงงาน (UGT) อ้างว่ามีสมาชิกมากกว่า 1.5 ล้านคน มีแกนนำคนหนึ่งที่ชื่อ Largo Caballero ซึ่งก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เลนินแห่งสเปน”

ก็ยังมีข้อเท็จจริงที่ยังไม่แน่ชัดว่า กลุ่มแนวหน้าประชาชนจะถูกบงการโดยพรรคการเมืองชนชั้นกลางที่มีแนวคิดสาธารณรัฐ รัฐบาลสาธารณรัฐก่อนหน้านี้เป็นสถาบันที่มีแนวคิดการปฎิรูปที่ดินบางส่วนและมีการยินยอมให้เช่าสัมปทานพื้นที่แคว้นกาตาลุญญา แม้ว่าจะไม่ใช่เป็นแคว้นบาสก์ สุดท้ายเป้าหมายของเขาก็เป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบทุนนิยมสเปน

ไม่ว่าจะยังไงแรงงานหลายคนก็เป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้กลุ่มแนวหน้าประชาชนได้รับชัยชนะ โดยมีการผลักดันให้มีการปฎิรูปเรื่องต่างๆและการจัดตั้งองค์กร ตอนนี้หลังจากที่ทำโครงการไปหลายเดือน ก็มีการแบ่งแยกชนชั้นปกครองอย่างเห็นได้ชัด เมื่อผู้นำกองทัพได้แข็งข้อกับรัฐบาลในการปะทะกับฝ่ายตรงข้ามที่อ่อนแอ กองทหารรักษาการณ์ก็เริ่มก่อการยึดเมืองส่วนใหญ่เอาไว้ได้ ผู้นำฟาสซิสต์หลายคนก็ได้ประกาศว่า ก้าวแรกก็คือจะต้องกำจัดแรงงานที่ทำการเคลื่อนไหวและจะต้องดำเนินการขั้นรุนแรงกับแรงงานที่ประท้วง เป็นกระบวนการที่ถือว่าป่าเถื่อนโดยมีการใช้อาวุธสงครามเข้าไปดำเนินการ

มีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งเป็นหัวหอกของฟาสซิสต์ก็คือ นายพลฟรันซิสโก ฟรังโก ซึ่งเป็นหัวหน้ากองทัพแอฟริกันชาวสเปนที่มีที่ตั้งอยู่ในกรุงมอร็อคโค ในวันแรกของสงครามที่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เลยนั้น ฟรังโกก็ได้โน้มน้าวให้ฮิตเลอร์กับมุสโสลินีให้เครื่องบินกับเขาเข้าสู่ประเทศสเปน


การควบคุม

สิ่งที่ฟรังโกคาดไม่ถึงก็คือ การปฎิวัติอย่างทันท่วงทีของฝ่ายต่อต้านฟาสซิสต์ที่ลุกฮือขึ้นมา เมื่อรัฐบาลปฎิเสธที่จะใช้อาวุธ ทางด้านสหภาพแรงงานก็ได้ระดมพลและให้แรงงานหลายคนจู่โจมกองทัพด้วยอาวุธที่มีอยู่ของพวกเขาเอง พวกเขาได้จัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านฟาสซิสต์และจัดตั้งทหารกองหนุนเพื่อที่จะต่อต้านกองทัพและการควบคุมภาคพื้นที่ในแต่ละเมือง

มีการเร่งรีบจัดตั้งหน่วยทหารในการเกณฑ์คนเพื่อเข้ารบและปล่อยให้เมืองแต่ละเมืองอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายกบฎ มีการประเมินว่ามีทหารกองหนุนกว่า 25000 คนอยู่ที่อาราก้อนและอาจประเมินได้ว่ามีอยู่ 150000 คน

ในช่วงที่เกิดสุญญากาศทางการเมืองนั้น คณะกรรมการแรงงานก็ได้จัดตั้งการสาธารณสุข อาหาร การขนส่งและการดูแลรักษาความปลอดภัย  ในเขตที่พวกเขาได้ควบคุมนั้น แรงงานหลายคนก็ได้เทคโอเวอร์โรงานและที่ดินหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น ในบาเซโลน่านั้น อุตสาหกรรมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์อยู่ในประเภทกรรมสิทธิ์ร่วมกันและในตะวันออกของแคว้นอาราก้อนนั้น ก็มีอุตสาหกรรมทางด้านกสิกรรมกว่า 400 แห่งอยู่ในประเภทกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

ก่อนหน้านี้รัฐได้ถูกครอบงำโดยนิกายคาทอลิก ผู้หญิงหลายคนได้รับสิทธิเสรีภาพมากขึ้น บ่อยครั้งในช่วงแรกที่พวกเธอได้เข้ามาทำงานนั้น แม้ว่าจะไม่มีสิทธิเท่าเทียมกันเหมือนกับผู้ชาย แต่ผู้หญิงในตอนนี้ก็เริ่มมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเข้าร่วมกับองค์กรที่ทำงาน คณะกรรมการต่อต้านฟาซิสต์และกองกำลังติดอาวุธ พวกเธอได้สู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับสหายชายที่อยู่แถวหน้า ในส่วนของประเด็นเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและการจำกัดการใช้กฎหมายการทำแท้ง การแต่งงานก็เป็นเรื่องที่ถูกควบคุมโดยกองบังคับการและให้สิทธิกินอยู่ด้วยกันโดยที่ไม่ต้องทำพิธีแต่งงาน

องค์กรหลักในการขับเคลื่อนการปฎิวัติก็คือสมาพันธ์แรงงานแห่งชาติ (CNT) สหภาพแรงงานที่มีแนวคิดอนาธิปัตย์-สังคมนิยมได้ฝังเข้ารากลึกในชนชั้นแรงงานตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในบาเซโลน่าเป็นพื้นที่ที่ถูกครอบงำโดยการเมืองฝ่ายซ้าย โดยมีสมาชิกเข้าร่วมในการทำสงครามที่ประมาณการณ์ได้ 1 ล้านคน

ผู้นิยมอนาธิปไตยแน่นอนว่าเป็นพวกที่ปฎิเสธพรรคการเมืองและมีจุดยืนเพียงแค่การเลือกตั้ง สำหรับพวกเขานั้น การปฎิวัติหมายถึงเป็นการควบคุมพื้นที่บนถนน โรงานและที่ดิน ไม่ใช่ควบคุมสถาบันทางการเมือง แม้ว่าจะมีการสนับสนุนกลุ่มแนวหน้าประชาชนกับอนาธิปไตย แม้ว่าจะมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีสาธารณสุขและสวัสดิการในช่วงเดือนพฤศจิกายนนั้น เรื่องนี้ก็มีผลกระทบจนทำให้สมาชิกหลายคนเกิดความสับสนและเกิดความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน แล้วแบบนี้พวกเขาจะทำการปฎิวัติหรือเพียงแค่รวมตัวกันเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมือง?

ในบาเซโลน่านั้น Lluis Companys ซึ่งเป็นผู้นำคาตาลันได้เข้าพบกับแกนนำกลุ่ม CNT หลายคนเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่มีความพยายามในการทำรัฐประหาร เขาได้บอกกับพวกเขาว่า “วันนี้คุณเป็นหัวหน้าเมืองและแคทาโลเนีย คุณมีอำนาจและทุกๆอย่างก็อยู่ในมือของคุณ หากคุณไม่อยากหรือไม่ต้องการให้ผมเป็นประธานาธิบดีแคทาโลเนีย ก็บอกผมมาเลย”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่