ธรรมะจากพระผู้รู้ โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 67 ค่ะ
ถาม : ผมมีข้อสงสัยขอเรียนถามครับ
ในปฏิจจสมุปบาทส่วนต้น "สัญญา" จะเกิดขึ้นมาตอนไหนครับ
ความจำได้หมายรู้ หรือ "สัญญา" นั้น
ปรากฏชัดขึ้นเมื่อวิญญาณเป็นปัจจัยแห่งความปรากฏของรูปนามครับ
ตรงที่มีอาการที่ผมเรียนว่า เหมือนการเปิดสวิตช์ขันธ์ ๕ ให้ปรากฏขึ้น
ถึงจุดนั้นจึงคิดนึกปรุงแต่งได้เต็มที่
มีความรับรู้พร้อมที่อายตนะจะทำงานรับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้
สัญญานั้น พวกเรามักรังเกียจเดียดฉันท์ ว่ามันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้
ที่จริงมันมีความสำคัญมากทีเดียวสำหรับการปฏิบัติธรรม
ถึงขนาดที่ว่า ถ้าปราศจากสัญญาก็ทำวิปัสสนาไม่ได้
แม้แต่ในสมาบัติ พระสารีบุตรท่านยังกล่าวว่า
ในสัญญาสมาบัติยังทำวิปัสสนาได้
ส่วนสมาบัติที่ก้าวล่วงสัญญาคือหมดสัญญาแล้ว ทำวิปัสสนาไม่ได้
สัญญาจึงเหมือนดาบสองคม คือด้านหนึ่งมันเป็นความจำ
ที่เป็นตัวให้เราเอามาสานต่อเป็นความคิด จนปิดบังความจริง
แทนที่จิตจะเป็นผู้สังเกตการณ์สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
กลับคอยคิดนำไปตามสัญญาอารมณ์ จนจิตไม่เห็นความจริง
แต่อีกด้านหนึ่ง มันเป็นตัวช่วยสนับสนุนปัญญาได้เช่นกัน
หากมันทำหน้าที่ให้มุมมองของจิต ให้ถูกต้องตรงจริตนิสัยของผู้ปฏิบัติ
คือช่วยให้จิตเรียนรู้สภาพธรรมในมุมมองของ
อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา หรืออสุภสัญญา
แทนที่จะมองดาดๆ ไปทุกมุม
จิตของผู้ปฏิบัติ มักจะเลือกมุมมองที่ตนถนัด
เพื่อทำให้จิตเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และปล่อยวาง
เช่น จิตของผมถนัดในการมองสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา
แม้จะรู้ความเกิดดับของ รูป จิต และเจตสิก ไปเรื่อยๆ
แต่ถึงจุดหนึ่ง ก็จะเห็น รูป จิต หรือเจตสิก เป็นอนัตตา
หากมองในมุมของอนิจจัง จิตมันไม่รู้ซึ้ง และไม่ปล่อยวาง
แต่หากเมื่อใด จิตหมายรู้ว่า รูป จิต เจตสิก อันที่กำลังรู้อยู่นั้น เป็นอนัตตา
ปัญญาจะเกิดวาบขึ้นมาตัดความยึดถือขาดวับลงไปทันที
จิตจึงจะปล่อยวางได้ เป็นต้น
สัญญา ที่เป็น ความหมายรู้อารมณ์ จึงเป็นเครื่องมือที่เราใช้ยืนพื้น
ส่วน ปัญญา เมื่อเกิดวับเดียวก็ตัดอารมณ์ขาดไปแล้ว
แต่พวกเรามักเชียร์แต่ปัญญา ดูถูกสัญญากันบ่อยๆ
(ถ้าเป็นสัญญาประเภทความจำ ที่กระตุ้นให้คิด คิด คิด
อันนั้นเป็นตัวปัญหาจริงๆ ครับ)
เหมือนคนดูบอลที่เชียร์แต่กองหน้าที่ทำประตูได้
ลืมกองกลางที่คอยป้อนลูกให้กองหน้าครับ
...ธรรมะจากพระผู้รู้... โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ ^^ จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 67 ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 67 ค่ะ
ถาม : ผมมีข้อสงสัยขอเรียนถามครับ
ในปฏิจจสมุปบาทส่วนต้น "สัญญา" จะเกิดขึ้นมาตอนไหนครับ
ความจำได้หมายรู้ หรือ "สัญญา" นั้น
ปรากฏชัดขึ้นเมื่อวิญญาณเป็นปัจจัยแห่งความปรากฏของรูปนามครับ
ตรงที่มีอาการที่ผมเรียนว่า เหมือนการเปิดสวิตช์ขันธ์ ๕ ให้ปรากฏขึ้น
ถึงจุดนั้นจึงคิดนึกปรุงแต่งได้เต็มที่
มีความรับรู้พร้อมที่อายตนะจะทำงานรับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้
สัญญานั้น พวกเรามักรังเกียจเดียดฉันท์ ว่ามันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้
ที่จริงมันมีความสำคัญมากทีเดียวสำหรับการปฏิบัติธรรม
ถึงขนาดที่ว่า ถ้าปราศจากสัญญาก็ทำวิปัสสนาไม่ได้
แม้แต่ในสมาบัติ พระสารีบุตรท่านยังกล่าวว่า
ในสัญญาสมาบัติยังทำวิปัสสนาได้
ส่วนสมาบัติที่ก้าวล่วงสัญญาคือหมดสัญญาแล้ว ทำวิปัสสนาไม่ได้
สัญญาจึงเหมือนดาบสองคม คือด้านหนึ่งมันเป็นความจำ
ที่เป็นตัวให้เราเอามาสานต่อเป็นความคิด จนปิดบังความจริง
แทนที่จิตจะเป็นผู้สังเกตการณ์สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
กลับคอยคิดนำไปตามสัญญาอารมณ์ จนจิตไม่เห็นความจริง
แต่อีกด้านหนึ่ง มันเป็นตัวช่วยสนับสนุนปัญญาได้เช่นกัน
หากมันทำหน้าที่ให้มุมมองของจิต ให้ถูกต้องตรงจริตนิสัยของผู้ปฏิบัติ
คือช่วยให้จิตเรียนรู้สภาพธรรมในมุมมองของ
อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา หรืออสุภสัญญา
แทนที่จะมองดาดๆ ไปทุกมุม
จิตของผู้ปฏิบัติ มักจะเลือกมุมมองที่ตนถนัด
เพื่อทำให้จิตเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และปล่อยวาง
เช่น จิตของผมถนัดในการมองสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา
แม้จะรู้ความเกิดดับของ รูป จิต และเจตสิก ไปเรื่อยๆ
แต่ถึงจุดหนึ่ง ก็จะเห็น รูป จิต หรือเจตสิก เป็นอนัตตา
หากมองในมุมของอนิจจัง จิตมันไม่รู้ซึ้ง และไม่ปล่อยวาง
แต่หากเมื่อใด จิตหมายรู้ว่า รูป จิต เจตสิก อันที่กำลังรู้อยู่นั้น เป็นอนัตตา
ปัญญาจะเกิดวาบขึ้นมาตัดความยึดถือขาดวับลงไปทันที
จิตจึงจะปล่อยวางได้ เป็นต้น
สัญญา ที่เป็น ความหมายรู้อารมณ์ จึงเป็นเครื่องมือที่เราใช้ยืนพื้น
ส่วน ปัญญา เมื่อเกิดวับเดียวก็ตัดอารมณ์ขาดไปแล้ว
แต่พวกเรามักเชียร์แต่ปัญญา ดูถูกสัญญากันบ่อยๆ
(ถ้าเป็นสัญญาประเภทความจำ ที่กระตุ้นให้คิด คิด คิด
อันนั้นเป็นตัวปัญหาจริงๆ ครับ)
เหมือนคนดูบอลที่เชียร์แต่กองหน้าที่ทำประตูได้
ลืมกองกลางที่คอยป้อนลูกให้กองหน้าครับ