ผมพึ่งรู้ ถ้าความผิดในเรื่องเดียวกัน ผู้ต้องหาที่ไม่ยอมให้ปากคำในชั้นสอบสวน เมื่อพิสูจน์ในภายหลังว่าผิด ศาลจะลงโทษโดยไม่ลดหย่อน
ซึ่งผมยังเข้าใจผิดมาตลอดว่า ผู้ต้องหามีสิทธิ์จะพูดหรือไม่พูดก็ได้ แต่ถ้าพูด คำพูดอาจใช้เป็นพยานหลักฐานก็ได้เหมือนในหนังที่เคยดูเสียอีก
ผมพึ่งรู้นักกฎหมายเขาจะเชื่อถ้อยคำของพยานที่ให้ไว้ในขณะเกิดเหตุใกล้เคียงมากกว่าพยานที่โผล่มาทีหลัง แล้วสารภาพผิดว่าเป็นคนกระทำเอง
ผมพึ่งรู้นักกฎหมายเขาจะตีความ การที่พยานออกมาสารภาพความผิดภายหลังเกิดเหตุมานาน ไม่น่าเชื่อถือเหมือนพวกที่บอกจะพาไปสวรรค์หรือคุยกับพระอินทร์เหล่านั้น
ผมพึ่งรู้ เมื่อพยานบอกแล้วว่าไม่เห็นใครลงจากรถก็เท่ากับเป็นคำตอบแล้วว่าเขาไม่เห็นคนขับหรือไม่เห็นใครทั้งสิ้น จึงไม่จำเป็นต้องถามว่าเห็นคนขับหรือไม่
ไม่รู้ว่าถ้าพยานบอกว่าเห็นคนถือปืนจ้องไปที่ผู้ตาย ก็คงไม่จำเป็นต้องถามว่าเห็นเขายิงหรือไม่ ใช่หรือเปล่าก็ไม่รู้
ผมพึ่งรู้การพิจารณาคดีความในศาล ไม่จำเป็นต้องซักถามประเด็นข้อเท็จจริงต่างๆให้ละเอียดทุกเรื่อง ให้ถามพอให้เห็นรูปเรื่องเป็นอย่างไร ได้ความเพียงพอแล้วก็ใช้ได้
ผมพึ่งรู้ ถ้าคนเกิดอารมณ์สะเทือนใจไปกับผู้ต้องหาที่อาจตกเป็นแพะด้วยกรรมที่ตัวเองไม่ได้ก่อ เป็นเรื่องของอาการ “ดราม่า” ดังนั้นควรปล่อยให้เลยตามเลย จึงจะให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายที่อยู่ในโลง
ผมพึ่งรู้ การรอให้การต่อศาลนั้น เกิดผิดพลาดแล้วจะมาโวยวายทีหลังไม่ได้ ต้องรับกรรม เพราะตัดสินใจเลือกหนทางต่อสู้ที่ผิดพลาดเอง เป็นแพะก็ต้องยอมว่างั้น
แต่ที่ผมไม่รู้ก็คือ ไม่รู้ว่าจะมีคนที่ติดคุกมากน้อยเพียงใดที่เกิดความผิดพลาด เพียงเพราะตัดสินใจเลือกหนทางที่จะไปให้การในชั้นศาล?
ผมพึ่งจะรู้------------------------------ทวดเอง
ซึ่งผมยังเข้าใจผิดมาตลอดว่า ผู้ต้องหามีสิทธิ์จะพูดหรือไม่พูดก็ได้ แต่ถ้าพูด คำพูดอาจใช้เป็นพยานหลักฐานก็ได้เหมือนในหนังที่เคยดูเสียอีก
ผมพึ่งรู้นักกฎหมายเขาจะเชื่อถ้อยคำของพยานที่ให้ไว้ในขณะเกิดเหตุใกล้เคียงมากกว่าพยานที่โผล่มาทีหลัง แล้วสารภาพผิดว่าเป็นคนกระทำเอง
ผมพึ่งรู้นักกฎหมายเขาจะตีความ การที่พยานออกมาสารภาพความผิดภายหลังเกิดเหตุมานาน ไม่น่าเชื่อถือเหมือนพวกที่บอกจะพาไปสวรรค์หรือคุยกับพระอินทร์เหล่านั้น
ผมพึ่งรู้ เมื่อพยานบอกแล้วว่าไม่เห็นใครลงจากรถก็เท่ากับเป็นคำตอบแล้วว่าเขาไม่เห็นคนขับหรือไม่เห็นใครทั้งสิ้น จึงไม่จำเป็นต้องถามว่าเห็นคนขับหรือไม่
ไม่รู้ว่าถ้าพยานบอกว่าเห็นคนถือปืนจ้องไปที่ผู้ตาย ก็คงไม่จำเป็นต้องถามว่าเห็นเขายิงหรือไม่ ใช่หรือเปล่าก็ไม่รู้
ผมพึ่งรู้การพิจารณาคดีความในศาล ไม่จำเป็นต้องซักถามประเด็นข้อเท็จจริงต่างๆให้ละเอียดทุกเรื่อง ให้ถามพอให้เห็นรูปเรื่องเป็นอย่างไร ได้ความเพียงพอแล้วก็ใช้ได้
ผมพึ่งรู้ ถ้าคนเกิดอารมณ์สะเทือนใจไปกับผู้ต้องหาที่อาจตกเป็นแพะด้วยกรรมที่ตัวเองไม่ได้ก่อ เป็นเรื่องของอาการ “ดราม่า” ดังนั้นควรปล่อยให้เลยตามเลย จึงจะให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายที่อยู่ในโลง
ผมพึ่งรู้ การรอให้การต่อศาลนั้น เกิดผิดพลาดแล้วจะมาโวยวายทีหลังไม่ได้ ต้องรับกรรม เพราะตัดสินใจเลือกหนทางต่อสู้ที่ผิดพลาดเอง เป็นแพะก็ต้องยอมว่างั้น
แต่ที่ผมไม่รู้ก็คือ ไม่รู้ว่าจะมีคนที่ติดคุกมากน้อยเพียงใดที่เกิดความผิดพลาด เพียงเพราะตัดสินใจเลือกหนทางที่จะไปให้การในชั้นศาล?