ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องทำพื้นฐาน
รากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่
จักมีได้ฉันใด ; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะ
พึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้
เกิดทุกข์ , เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ
ทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันต้องทำฐาน-
รากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมี
ได้ ฉันใด ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉัน
ครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความ
ดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึง
จักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็ นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับ
ไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ดังนี้เถิด.
การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น เป็นไปไม่ได้
รากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่
จักมีได้ฉันใด ; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะ
พึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้
เกิดทุกข์ , เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ
ทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันต้องทำฐาน-
รากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมี
ได้ ฉันใด ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉัน
ครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความ
ดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึง
จักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็ นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับ
ไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ดังนี้เถิด.