หมายเหตุก่อนอ่านเนื้อหา -- เนื้อหาด้านล่างนี้ ผมในฐานะเจ้าของกระทู้ ไม่ได้เป็นคนคิดวิเคราะห์ และบรรยายออกมาเป็นตัวอักษรนะครับ ผมเพียงนำเอาประเด็นเหล่านี้ มาเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการถก อภิปรายในเชิงความรู้ และข้อเท็จจริงเท่านั้นครับ ดังนั้น หากเป็นไปได้ ขอความกรุณาอย่างสูงในการไม่พาดพิงไปยังบุคคลใดๆ ไม่ว่าจะเป็น ฆราวาส พระสงฆ์ หรือคณะสงฆ์ หรือใครก็ตาม มันไม่ดีหรอกครับ... อนึ่ง เนื้อหาด้านล่างนี้ บางส่วนผมก็ยอมรับ แต่ก็มีหลายส่วนเช่นกันที่ดูค้าน ดูแปลกๆ จึงเป็นปัจจัยที่ยกเอามาอภิปรายกันในพันทิปแห่งนี้ครับ ย้ำอีกครั้งว่า เนื้อหาด้านล่างนี้ คัดลอกมาจากเพจธรรมะจากพระอริยสงฆ์ ไม่ได้หมายความว่า เนื้อหาเหล่านี้ เป็นธรรมะจากพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เนื่องจากผู้เขียนนั้น ไม่ได้ระบุว่า ใครเป็นคนคิดเขียนข้อความเหล่านี้ไว้
จากเพจ ธรรมะจากพระอริยสงฆ์ เผยแพร่เมื่อ Tuesday, September 6, 2016 at 2:20pm
https://www.facebook.com/DhammaJakPraAriyasong/photos/a.443494985765724.1073741828.443486369099919/782044288577457/
พราหมณ์ กับ พุทธ แตกต่างกันอย่างไร ?
ในปัจจุบันหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ได้ผสมหรือปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนามาช้านานแล้ว
โดยชาวพุทธไม่รู้ตัว จึงทำให้ชาวพุทธเข้าใจหลักพุทธศาสนาที่แท้จริงผิดพลาดไปหมด
แล้วก็มีการปฏิบัติที่ผิดพลาดตามไปด้วย จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
คือกลายเป็นว่า ชาวพุทธนั้นมีแต่ชื่อว่าเป็นพุทธ แต่การปฏิบัติกลับกลายเป็นพราหมณ์กันไปหมดโดยไม่รู้ตัว
และยังยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองยึดถือปฏิบัติอยู่นี้คือคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าอีกด้วย
อีกทั้งเมื่อมีผู้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าว ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อที่ผสมหรือปลอมปนกับพราหมณ์อยู่
จึงทำให้ชาวพุทธไม่ยอมรับ แถมบางคนยังต่อต้านอีกด้วย
ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าพุทธแท้ๆนั้นสอนว่าอย่างไร? และพราหมณ์เขาสอนอย่างไร?
บทความนี้จึงได้สรุปหลักของพุทธกับพราหมณ์ที่แตกต่างกันเอาไว้
เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อศาสนาทั้งสองอย่างถูกต้องต่อไป
๑. เรื่องสิ่งสูงสุด
-
ศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู) เป็นศาสนาประเภทเทวนิยมคือเคารพยอมรับเรื่องเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด
โดยเทพเจ้า ๓ องค์ที่ชาวฮินดูให้ความเคารพสูงสุดอันได้แก่
๑. พระพรหม ที่เป็นเทพเจ้าผู้สร้างหรือให้กำเนิดทุกสิ่งในจักรวาลขึ้นมา
๒. พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องรักษา
๓. พระอิศวร หรือพระศิวะ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ทำลาย
เทพเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้รวมเรียกว่า ตรีมูรติ ที่เป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่ชาวฮินดูยังนับถือเทพเจ้ารองๆลงมาอีกมากประมาณ ๓๐๐ ล้างองค์
-
ศาสนาพุทธ จะสอนว่า สิ่งสูงสุดในโลกและในจักรวาล ที่คอยควบคุมและดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปก็คือธรรมชาติ
ที่แสดงออกมาในลักษณะของกฎของธรรมชาติที่ชื่อว่า กฎอิทัปปัจจยตา
(คือกฎที่มีใจความสรุปว่า “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมีเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น”)
๒. เรื่องการกำเนิดชีวิต
-
ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า โลกและทุกชีวิตเกิดมาจากพระพรหมเป็นผู้สร้างขึ้นมาและคอยควบคุมอยู่ (พรหมลิขิต)
ส่วนพระนารายณ์จะเป็นผู้คอยปกป้องรักษา (โดยการอวตารลงมาเป็นเป็นมนุษย์ เช่น เป็นพระรามเพื่อฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายมนุษย์
หรือเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อสอนมนุษย์ผิดๆเพื่อให้มนุษย์ตกนรกกันมากๆ เพราะสวรรค์เต็มหมดแล้ว เป็นต้น)
ส่วนพระอิศวรจะเป็นผู้ทำลาย
-
ศาสนาพุทธ จะสอนว่า โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยมีธาตุ ๔ เป็นพื้นฐาน คือ
๑. ธาตุดิน (ของแข็ง)
๒. ธาตุน้ำ (ของเหลว)
๓. ธาตุไฟ (ความร้อน)
๔. ธาตุลม (อากาศ)
โดยธาตุทั้ง ๔ นี้จะปรุงแต่งกันทำให้เกิดเป็นวัตถุสิ่งของต่างๆขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยวัตถุสิ่งของทั้งหลายนี้จะอาศัยธาตุว่าง (สุญญากาศ) ตั้งอยู่ และธาตุทั้ง ๔ นี้ยังปรุงแต่งให้เกิดวัตถุที่แสนมหัศจรรย์ (คือร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช) ขึ้นมาอีกด้วย โดยวัตถุที่แสนมหัศจรรย์นี้ก็จะปรุงแต่งหรือทำให้เกิดมีธาตุที่พิเศษสุดขึ้นมาอีก นั่นก็คือ ธาตุรู้ (หรือธาตุวิญญาณ) ซึ่งธาตุรู้นี้เองที่ทำให้ร่างกายและระบบประสาทต่างๆของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืชเกิดการรับรู้และรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมต่างๆของธรรมชาติได้ และสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดก็คือ มนุษย์นั้นจะมีเนื้อสมองพิเศษที่สามารถจดจำสิ่งต่างๆที่รับรู้และรู้สึกมาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มนุษย์นั้นมีความทรงจำมากและการคิดนึกปรุงแต่งได้มากและสลับซับซ้อนอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จนเกิดเป็นสิ่งที่สมมติเรียกกันว่า "จิต" หรือ "ใจ" ขึ้นมา
๓. เรื่องของจิต (หรือวิญญาณ)
-
ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า จิต (หรือวิญญาณ) ของมนุษย์และสัตว์นี้เป็น อัตตา (ตัวตนที่เป็นอมตะ คือจะมีอยู่ไปชั่วนิรันดร) ที่แยกออกมาจากปรมาตมันหรือพรหม แล้วก็จะเวียนว่ายตาย-ในทางร่างกายเกิดเพื่อรับผลกรรมของตัวเอง จนกว่าจะบำเพ็ญตบะเพื่อชำระล้างกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตได้ จิตก็จะบริสุทธิ์และกลับไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมดังเดิม และมีความสุขอยู่ชั่วนิรันดร
-
ศาสนาพุทธ จะสอนว่า จิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนี้เป็น อนัตตา (คือเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น จึงไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง และก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง หรือไม่เป็นอมตะ รวมทั้งยังต้องทนอยู่อีกด้วย) ที่เกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งของระบบประสาทที่ยังดีอยู่ของร่างกายที่ยังเป็นๆอยู่เท่านั้น เมื่อจิตนี้มีเจตนาดี ก็จะทำดี แล้วก็จะเกิดความสุขใจ อิ่มใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นเทวดาที่กำลังอยู่บนสวรรค์) แต่ถ้าจิตนี้มีเจตนาชั่ว ก็จะทำชั่ว แล้วก็จะเกิดความทุกข์ใจ เสียใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นสัตว์นรกที่กำลังอยู่ในนรก) ซึ่งอาการนี้เรียกว่าการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางจิตใจ จนกว่าเมื่อใดที่จิตนี้จะหลุดพ้นจากความดีและชั่ว จิตก็จะบริสุทธิ์และไม่เกิดเป็นอะไรๆ (ตามที่สมติเรียกกัน) อีกต่อไป ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็นของจิตใจ โดยนิพพานนี้ก็มีทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร ซึ่งอย่างถาวรก็คือมีตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่
๔. เรื่องจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
-
ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า ชีวิตจะมีการเวียนว่ายตาย-เกิดหลายภพหลายชาติ ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การที่ไม่ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอีกต่อไป และได้กลับไปรวมกับพรหม หรือปรมาตมัน ที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ส่วนจุดมุ่งหมายรองลงมาก็คือ การได้เสพสุขอยู่บนสวรรค์ตราบนานเท่านานโดยไม่ต้องทำงาน
-
ศาสนาพุทธ จะสอนว่า ชีวิตนี้จะมีร่างกายและจิตใจที่พึ่งพาอาศัยกันอยู่ จะแยกกันไม่ได้ ถ้าแยกกันเมื่อใด ก็จะแตกสลาย (ใช้กับร่างกาย) และดับ (ใช้กับจิตใจ) หายไปด้วยกันทั้งคู่ทันที ซึ่งเท่ากับพุทธศาสนาไม่สอนว่ามีการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางร่างกายอีก ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การมีชีวิตที่ไม่มีความทุกข์ทางจิตใจเลยอย่างสิ้นเชิงหรือถาวร (คือตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่) ที่เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็น ส่วนจุดมุ่งหมายที่รองลงมาก็คือ การมีชีวิตที่มีความปกติสุข ไม่เดือดร้อน ถึงแม้จะยังคงมีความทุกข์ทางด้านจิตใจอยู่บ้างก็ตาม
๕. เรื่องกรรม-วิบาก
-
ศาสนาพราหมณ์ สอนเรื่องว่า การกระทำ (กรรม) ของเราในชาตินี้ จะมีผล (วิบาก) ให้เราต้องไปรับผลกรรมนั้นในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป ใครทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดีในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ได้ขึ้นสวรรค์ หรือเกิดมาแล้วร่ำรวยสุขสบายและมีเกียรติ เป็นต้น) ส่วนใครทำกรรมชั่วก็จะได้รับผลชั่วในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ตกนรก หรือเกิดมาแล้วยากจนลำบากและต่ำต้อย เป็นต้น)
-
ศาสนาพุทธ จะสอนเรื่อง การกระทำด้วยเจตนา (เจตนาก็คือกิเลส คือโลภ โกรธ ไม่แน่ใจ) ว่านี่คือกรรม ที่มีผลเป็นวิบาก คือเกิดความรู้สึกไปตามที่จิตใต้สำนึกมันรู้สึก คือเมื่อทำกรรมดี จิตใต้สำนึกมันก็จะรู้ว่านี่คือสิ่งที่ดี แล้วมันก็จะเกิดความสุขใจอิ่มใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว) หรือเมื่อทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกมันก็รู้อยู่ว่านี่คือสิ่งที่ชั่ว แล้วมันก็จะเกิดความทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็เสียใจ ไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว)
๖. เรื่องนรก-สวรรค์
-
ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่อง นรก-สวรรค์ที่เป็นสถานที่ (ที่เราชอบเรียกกันว่า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเอาไว้รองรับจิตที่เป็นอมตะ ที่เมื่อใครทำความชั่วเมื่อตายไปแล้วจิตก็จะไปลงนรกที่มีแต่การลงโทษให้มีแต่ความทุกข์ทรมานที่คนทั่วไปหวาดกลัวกันอย่างยิ่ง (ที่มีแต่เรื่องการทรมาน เช่น ถูกต้ม ถูกตี ถูกแทง เป็นต้น แต่ก็ไม่ตายสักทีแต่จะอยู่เช่นนี้เป็นร้อยเป็นพันปี) แต่ถ้าทำความดีเมื่อตายไปแล้วก็จะได้ขึ้นสวรรค์ที่มีแต่ความสุขตามที่คนเราทั่วไปอยากจะได้ (ที่มีแต่เรื่องความสนุกสนานรื่นเริงและเรื่องทางเพศเป็นร้อยเป็นพันปี เช่น อยู่ในปราสาทที่สวยงามใหญ่โต มีสวนดอกไม้ที่น่ารื่นรมย์ มีเครื่องแต่งกายที่วิจิตรสวยงาม และมีนางฟ้าที่สวยงามอย่างยิ่งเป็นบริวารมากมาย เป็นต้น) ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นไสยศาสตร์ ที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ที่มีไว้สอนคนป่าคนดง หรือชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือสำหรับคนที่มีความรู้แต่ไม่สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง
-
ศาสนาพุทธ สอนเรื่อง สวรรค์ในอก นรกในใจ คือจะสอนว่า เมื่อเราทำความดีเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจขึ้นมาในทันทีหรือเมื่อทำเสร็จ หรือเมื่อเราทำความชั่วเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความทุกข์ใน ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็เป็นความไม่สบายใจขึ้นมาทันทีหรือเมื่อทำเสร็จแล้ว ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือพิสูจน์ได้ มีเหตุผล ที่มีไว้สอนคนมีปัญญาที่สนใจจะศึกษาชีวิตหรือสนใจจะศึกษาเพื่อดับทุกข์
๗. เรื่องความเชื่อ
-
ศาสนาพราหมณ์ จะสอนให้เชื่อมั่นเพียงอย่างเดียว ห้ามถามห้ามสงสัย ถ้าใครไม่เชื่อก็จะตกนรก ซึ่งหลักการนี้ก็นับว่าดีสำหรับคนรุ่นเก่าหรือคนป่าคนดงที่ไม่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือคนที่ไม่ได้สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง
-
ศาสนาพุทธ ในระดับพื้นฐาน (คือศีลธรรม ที่เป็นคำสอนในเรื่องการดำเนินชีวิตที่ปกติสุข) จะไม่เน้นเรื่องความเชื่อ คือใครจะเชื่ออย่างไรก็ได้ ขอเพียงว่าอย่าทำความชั่วก็แล้วกัน แต่พุทธศาสนาระดับสูง (ปรมัตถธรรม ที่เป็นคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าหลักอริยสัจ ๔) จะสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือสงสัยได้ ถามได้ และต้องพิสูจน์ให้เห็นแจ้งก่อนจึงค่อยเชื่อ คือสรุปว่าพุทธศาสนาระดับสูงจะสอนว่า “อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเอง เมื่อพบคำสอนใดก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลจริงก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วได้ผลจริงก็ให้ปลงใจเชื่อได้ และให้นำเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป”
ทุกวันนี้คุณนับถือศาสนาพุทธ หรือศาสนาพราหมณ์?
จากเพจ ธรรมะจากพระอริยสงฆ์ เผยแพร่เมื่อ Tuesday, September 6, 2016 at 2:20pm
https://www.facebook.com/DhammaJakPraAriyasong/photos/a.443494985765724.1073741828.443486369099919/782044288577457/
พราหมณ์ กับ พุทธ แตกต่างกันอย่างไร ?
ในปัจจุบันหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ได้ผสมหรือปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนามาช้านานแล้ว
โดยชาวพุทธไม่รู้ตัว จึงทำให้ชาวพุทธเข้าใจหลักพุทธศาสนาที่แท้จริงผิดพลาดไปหมด
แล้วก็มีการปฏิบัติที่ผิดพลาดตามไปด้วย จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
คือกลายเป็นว่า ชาวพุทธนั้นมีแต่ชื่อว่าเป็นพุทธ แต่การปฏิบัติกลับกลายเป็นพราหมณ์กันไปหมดโดยไม่รู้ตัว
และยังยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองยึดถือปฏิบัติอยู่นี้คือคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าอีกด้วย
อีกทั้งเมื่อมีผู้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าว ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อที่ผสมหรือปลอมปนกับพราหมณ์อยู่
จึงทำให้ชาวพุทธไม่ยอมรับ แถมบางคนยังต่อต้านอีกด้วย
ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าพุทธแท้ๆนั้นสอนว่าอย่างไร? และพราหมณ์เขาสอนอย่างไร?
บทความนี้จึงได้สรุปหลักของพุทธกับพราหมณ์ที่แตกต่างกันเอาไว้
เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อศาสนาทั้งสองอย่างถูกต้องต่อไป
๑. เรื่องสิ่งสูงสุด
- ศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู) เป็นศาสนาประเภทเทวนิยมคือเคารพยอมรับเรื่องเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด
โดยเทพเจ้า ๓ องค์ที่ชาวฮินดูให้ความเคารพสูงสุดอันได้แก่
๑. พระพรหม ที่เป็นเทพเจ้าผู้สร้างหรือให้กำเนิดทุกสิ่งในจักรวาลขึ้นมา
๒. พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องรักษา
๓. พระอิศวร หรือพระศิวะ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ทำลาย
เทพเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้รวมเรียกว่า ตรีมูรติ ที่เป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่ชาวฮินดูยังนับถือเทพเจ้ารองๆลงมาอีกมากประมาณ ๓๐๐ ล้างองค์
- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า สิ่งสูงสุดในโลกและในจักรวาล ที่คอยควบคุมและดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปก็คือธรรมชาติ
ที่แสดงออกมาในลักษณะของกฎของธรรมชาติที่ชื่อว่า กฎอิทัปปัจจยตา
(คือกฎที่มีใจความสรุปว่า “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมีเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น”)
๒. เรื่องการกำเนิดชีวิต
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า โลกและทุกชีวิตเกิดมาจากพระพรหมเป็นผู้สร้างขึ้นมาและคอยควบคุมอยู่ (พรหมลิขิต)
ส่วนพระนารายณ์จะเป็นผู้คอยปกป้องรักษา (โดยการอวตารลงมาเป็นเป็นมนุษย์ เช่น เป็นพระรามเพื่อฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายมนุษย์
หรือเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อสอนมนุษย์ผิดๆเพื่อให้มนุษย์ตกนรกกันมากๆ เพราะสวรรค์เต็มหมดแล้ว เป็นต้น)
ส่วนพระอิศวรจะเป็นผู้ทำลาย
- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยมีธาตุ ๔ เป็นพื้นฐาน คือ
๑. ธาตุดิน (ของแข็ง)
๒. ธาตุน้ำ (ของเหลว)
๓. ธาตุไฟ (ความร้อน)
๔. ธาตุลม (อากาศ)
โดยธาตุทั้ง ๔ นี้จะปรุงแต่งกันทำให้เกิดเป็นวัตถุสิ่งของต่างๆขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยวัตถุสิ่งของทั้งหลายนี้จะอาศัยธาตุว่าง (สุญญากาศ) ตั้งอยู่ และธาตุทั้ง ๔ นี้ยังปรุงแต่งให้เกิดวัตถุที่แสนมหัศจรรย์ (คือร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช) ขึ้นมาอีกด้วย โดยวัตถุที่แสนมหัศจรรย์นี้ก็จะปรุงแต่งหรือทำให้เกิดมีธาตุที่พิเศษสุดขึ้นมาอีก นั่นก็คือ ธาตุรู้ (หรือธาตุวิญญาณ) ซึ่งธาตุรู้นี้เองที่ทำให้ร่างกายและระบบประสาทต่างๆของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืชเกิดการรับรู้และรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมต่างๆของธรรมชาติได้ และสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดก็คือ มนุษย์นั้นจะมีเนื้อสมองพิเศษที่สามารถจดจำสิ่งต่างๆที่รับรู้และรู้สึกมาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มนุษย์นั้นมีความทรงจำมากและการคิดนึกปรุงแต่งได้มากและสลับซับซ้อนอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จนเกิดเป็นสิ่งที่สมมติเรียกกันว่า "จิต" หรือ "ใจ" ขึ้นมา
๓. เรื่องของจิต (หรือวิญญาณ)
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า จิต (หรือวิญญาณ) ของมนุษย์และสัตว์นี้เป็น อัตตา (ตัวตนที่เป็นอมตะ คือจะมีอยู่ไปชั่วนิรันดร) ที่แยกออกมาจากปรมาตมันหรือพรหม แล้วก็จะเวียนว่ายตาย-ในทางร่างกายเกิดเพื่อรับผลกรรมของตัวเอง จนกว่าจะบำเพ็ญตบะเพื่อชำระล้างกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตได้ จิตก็จะบริสุทธิ์และกลับไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมดังเดิม และมีความสุขอยู่ชั่วนิรันดร
- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า จิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนี้เป็น อนัตตา (คือเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น จึงไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง และก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง หรือไม่เป็นอมตะ รวมทั้งยังต้องทนอยู่อีกด้วย) ที่เกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งของระบบประสาทที่ยังดีอยู่ของร่างกายที่ยังเป็นๆอยู่เท่านั้น เมื่อจิตนี้มีเจตนาดี ก็จะทำดี แล้วก็จะเกิดความสุขใจ อิ่มใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นเทวดาที่กำลังอยู่บนสวรรค์) แต่ถ้าจิตนี้มีเจตนาชั่ว ก็จะทำชั่ว แล้วก็จะเกิดความทุกข์ใจ เสียใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นสัตว์นรกที่กำลังอยู่ในนรก) ซึ่งอาการนี้เรียกว่าการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางจิตใจ จนกว่าเมื่อใดที่จิตนี้จะหลุดพ้นจากความดีและชั่ว จิตก็จะบริสุทธิ์และไม่เกิดเป็นอะไรๆ (ตามที่สมติเรียกกัน) อีกต่อไป ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็นของจิตใจ โดยนิพพานนี้ก็มีทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร ซึ่งอย่างถาวรก็คือมีตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่
๔. เรื่องจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า ชีวิตจะมีการเวียนว่ายตาย-เกิดหลายภพหลายชาติ ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การที่ไม่ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอีกต่อไป และได้กลับไปรวมกับพรหม หรือปรมาตมัน ที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ส่วนจุดมุ่งหมายรองลงมาก็คือ การได้เสพสุขอยู่บนสวรรค์ตราบนานเท่านานโดยไม่ต้องทำงาน
- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า ชีวิตนี้จะมีร่างกายและจิตใจที่พึ่งพาอาศัยกันอยู่ จะแยกกันไม่ได้ ถ้าแยกกันเมื่อใด ก็จะแตกสลาย (ใช้กับร่างกาย) และดับ (ใช้กับจิตใจ) หายไปด้วยกันทั้งคู่ทันที ซึ่งเท่ากับพุทธศาสนาไม่สอนว่ามีการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางร่างกายอีก ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การมีชีวิตที่ไม่มีความทุกข์ทางจิตใจเลยอย่างสิ้นเชิงหรือถาวร (คือตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่) ที่เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็น ส่วนจุดมุ่งหมายที่รองลงมาก็คือ การมีชีวิตที่มีความปกติสุข ไม่เดือดร้อน ถึงแม้จะยังคงมีความทุกข์ทางด้านจิตใจอยู่บ้างก็ตาม
๕. เรื่องกรรม-วิบาก
- ศาสนาพราหมณ์ สอนเรื่องว่า การกระทำ (กรรม) ของเราในชาตินี้ จะมีผล (วิบาก) ให้เราต้องไปรับผลกรรมนั้นในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป ใครทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดีในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ได้ขึ้นสวรรค์ หรือเกิดมาแล้วร่ำรวยสุขสบายและมีเกียรติ เป็นต้น) ส่วนใครทำกรรมชั่วก็จะได้รับผลชั่วในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ตกนรก หรือเกิดมาแล้วยากจนลำบากและต่ำต้อย เป็นต้น)
- ศาสนาพุทธ จะสอนเรื่อง การกระทำด้วยเจตนา (เจตนาก็คือกิเลส คือโลภ โกรธ ไม่แน่ใจ) ว่านี่คือกรรม ที่มีผลเป็นวิบาก คือเกิดความรู้สึกไปตามที่จิตใต้สำนึกมันรู้สึก คือเมื่อทำกรรมดี จิตใต้สำนึกมันก็จะรู้ว่านี่คือสิ่งที่ดี แล้วมันก็จะเกิดความสุขใจอิ่มใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว) หรือเมื่อทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกมันก็รู้อยู่ว่านี่คือสิ่งที่ชั่ว แล้วมันก็จะเกิดความทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็เสียใจ ไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว)
๖. เรื่องนรก-สวรรค์
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่อง นรก-สวรรค์ที่เป็นสถานที่ (ที่เราชอบเรียกกันว่า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเอาไว้รองรับจิตที่เป็นอมตะ ที่เมื่อใครทำความชั่วเมื่อตายไปแล้วจิตก็จะไปลงนรกที่มีแต่การลงโทษให้มีแต่ความทุกข์ทรมานที่คนทั่วไปหวาดกลัวกันอย่างยิ่ง (ที่มีแต่เรื่องการทรมาน เช่น ถูกต้ม ถูกตี ถูกแทง เป็นต้น แต่ก็ไม่ตายสักทีแต่จะอยู่เช่นนี้เป็นร้อยเป็นพันปี) แต่ถ้าทำความดีเมื่อตายไปแล้วก็จะได้ขึ้นสวรรค์ที่มีแต่ความสุขตามที่คนเราทั่วไปอยากจะได้ (ที่มีแต่เรื่องความสนุกสนานรื่นเริงและเรื่องทางเพศเป็นร้อยเป็นพันปี เช่น อยู่ในปราสาทที่สวยงามใหญ่โต มีสวนดอกไม้ที่น่ารื่นรมย์ มีเครื่องแต่งกายที่วิจิตรสวยงาม และมีนางฟ้าที่สวยงามอย่างยิ่งเป็นบริวารมากมาย เป็นต้น) ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นไสยศาสตร์ ที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ที่มีไว้สอนคนป่าคนดง หรือชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือสำหรับคนที่มีความรู้แต่ไม่สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง
- ศาสนาพุทธ สอนเรื่อง สวรรค์ในอก นรกในใจ คือจะสอนว่า เมื่อเราทำความดีเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจขึ้นมาในทันทีหรือเมื่อทำเสร็จ หรือเมื่อเราทำความชั่วเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความทุกข์ใน ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็เป็นความไม่สบายใจขึ้นมาทันทีหรือเมื่อทำเสร็จแล้ว ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือพิสูจน์ได้ มีเหตุผล ที่มีไว้สอนคนมีปัญญาที่สนใจจะศึกษาชีวิตหรือสนใจจะศึกษาเพื่อดับทุกข์
๗. เรื่องความเชื่อ
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนให้เชื่อมั่นเพียงอย่างเดียว ห้ามถามห้ามสงสัย ถ้าใครไม่เชื่อก็จะตกนรก ซึ่งหลักการนี้ก็นับว่าดีสำหรับคนรุ่นเก่าหรือคนป่าคนดงที่ไม่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือคนที่ไม่ได้สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง
- ศาสนาพุทธ ในระดับพื้นฐาน (คือศีลธรรม ที่เป็นคำสอนในเรื่องการดำเนินชีวิตที่ปกติสุข) จะไม่เน้นเรื่องความเชื่อ คือใครจะเชื่ออย่างไรก็ได้ ขอเพียงว่าอย่าทำความชั่วก็แล้วกัน แต่พุทธศาสนาระดับสูง (ปรมัตถธรรม ที่เป็นคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าหลักอริยสัจ ๔) จะสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือสงสัยได้ ถามได้ และต้องพิสูจน์ให้เห็นแจ้งก่อนจึงค่อยเชื่อ คือสรุปว่าพุทธศาสนาระดับสูงจะสอนว่า “อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเอง เมื่อพบคำสอนใดก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลจริงก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วได้ผลจริงก็ให้ปลงใจเชื่อได้ และให้นำเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป”