อยากตัดสินใจในชีวิตได้ดีขึ้น ต้องรู้จักคำว่า "ต้นทุนจม - sunk cost"
หลายคนอาจจะเคยได้ยินเหตุการณ์ที่นักธุรกิจบางคนยื้อกับธุรกิจที่ดูไม่น่าจะเป็นไปได้จนหมดสิ้นประดาตัว หมดทั้งเงิน หมดทั้งชีวิตส่วนตัว เหตุการณ์นี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากเขานำเอาหลักการของต้นทุนจมมาใช้ครับ
ต้นทุนจมหรือ sunk cost คือ "ต้นทุนที่จ่ายไปแล้วและไม่สามารถเอาคืนมาได้อีก" ให้ลองคิดเหมือนทำมือถือหรือของที่จมน้ำตกทะเลเราก็ต้องถอดใจจริงไหมครับ ซึ่งในทางธุรกิจหรือเศรษฐศาสตร์มีบอกไว้ว่า - เราไม่ควรเอาต้นทุนจม (sunk cost) มาพิจารณาในการตัดสินใจเพราะเราทำอะไรกับมันไม่ได้อีกแล้ว สิ่งที่เราควรจะพิจารณาควรจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกับปัจจุบันและอนาคตต่างหาก ซึ่งหลักของต้นทุนในที่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนเงินเสมอไปสามารถปรับใช้ได้ในแง่ของการลงทุนทางด้านเวลาหรือความพยายามได้เช่นกัน เดี๋ยวจะยกตัวอย่างให้ดูครับ
หลายๆคนอาจจะบอกว่ามันก็ common sense นะ ใครๆก็รู้ ... จริงครับ แต่คนเรามักจะลืมจุดนี้ไป ลองดูนะว่าเราเคยมีความรู้สึกหรือเคยเห็นเหตุการณ์ต่างๆด้านล่างนี้ไหม
- เราลงทุนลงแรงกับโครงการนี้ไปเยอะแล้วนะ ต้องทำมันให้สำเร็จให้ได้ ไม่ว่าอนาคตจะเป้นยังไง ต้องอย่าให้เงินเราสูญเปล่า!
- ดูหนังเรื่องนี้มาครึ่งเรื่องแล้ว ถึงแม้มันจะห่วยแตกก็ดูๆมันให้จบไปเหอะ!
- โอ้ยเสียเวลาชีวิตไปกับบริษัทนี้มาตั้งห้าหกปีแล้ว ถึงมันจะดูไม่น่าจะทำกำไรได้ ก็ต้องพยายามให้มันขาดทุนให้น้อยที่สุดหละน่า ไปกู้เพิ่มก็ยอม!
- ถึงจะไดเอทอยู่แต่ดันซื้ออาหารมาเยอะขนาดนี้แล้ว ก็กินๆมันให้หมดแหละเสียดายเงินที่จ่ายไปแล้ว
- เดินมาครึ่งทางแล้ว ถึงจะหมดแรงแล้วก็… เดินให้ครบละกันหน่า อุตส่าห์เดินมาขนาดนี้แล้ว แต่โอ้ยไกลจังง
หรือแม้กระทั่งเรื่องความรักเช่น
- โอ้ยไม่มีความสุขเลยกับ ผช ผญ คนนี้ แต่ดันคบเป็นแฟนมาตั้งห้าปี เสียดายเวลาจริงๆ คบๆต่อไปเหอะ
เห็นมั้ยครับว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้นั้นใกล้ตัวกว่าที่เราคิดมากและเราเจอเรื่องต่างๆเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน การเรียน หรือ การทำงานอยู่เป็นประจำ โดยการที่เราเอา sunk cost มาตัดสินใจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดนั้นเรียกว่า "sunk cost fallacy"
แต่อย่างไรก็ตามต้องอย่าลืมว่าในการตัดสินใจมีปัจจัยอื่นๆซึ่งเราควรเอามาพิจารณาเพราะมันส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคต เช่น ถึงแม้แฟนกันคู่หนึ่งจะไม่มีความสุขกัน ระยะเวลาที่คบกันมานานอาจจะถือเป็น sunk cost "แต่!!" ปัจจัยอื่นๆเช่น อีกฝ่ายจะรู้สึกแย่ไหม เราจะรู้สึกอย่างไร เหตุการณ์นี้แฟร์ไหมสำหรับทั้งเขาและเรา มันบาปไหม ปัจจุบันมีลูกไหม ชีวิตพวกเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป จะมีเรื่องในศาลอีกนานไหม และอื่นๆอีกมากมายสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคตและไม่ใช่ sunk cost จึงต้องแยกให้ออกว่าปัจจัยไหนควรเอามาใช้ในการตัดสินใจด้วยครับ
ทั้งนี้การเข้าใจถึงหัวใจหลักของคำว่า sunk cost หรือต้นทุนจมนี้ จะช่วยให้เราไม่เผลอเอาค่าใช้จ่ายหรือสิ่งที่ทำลงไปแล้วและแก้ไขอะไรไม่ได้มาพิจารณาให้เราตัดสินใจผิดพลาด เช่น ถ้าเราคิดว่าบริษัทของตัวเองหรือโปรเจคที่ทำอยู่ไม่น่าจะทำกำไรได้ในอนาคต ก็ควรๆจะจบๆมันซะ แล้วเอาทุนเอาแรงไปทำอย่างอื่นดีกว่าอย่าให้มันดึงเราลงเหวไปกับมัน
สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า อะไรที่ทำไปแล้ว จ่ายไปแล้ว เสียเวลาไปแล้ว ก็อย่าไปคิดมากกับมัน และมองถึงสิ่งที่ทำได้ในปัจจุบันและอนาคตเพื่อทำวันข้างหน้าให้สดใสดีกว่าครับ ดังคำกล่าวที่ว่า สู้ต่อไปทาเคชิ !
ไว้พบกันใหม่
คิดเห็นยังไง ชอบไม่ชอบมาพูดคุยกันได้นะครับผมชอบอ่านหนังสือและบทความธุรกิจครับ มาแชร์กันได้ ^^
https://www.facebook.com/nickphakorn.sooksompong
ตอนนี้โพสบทความแนวนี้ประมาณสัปดาห์ละหนึ่งถึงสองบทความครับ
Nick
อยากตัดสินใจในชีวิตได้ดีขึ้น ต้องรู้จักคำว่า "ต้นทุนจม - sunk cost"
หลายคนอาจจะเคยได้ยินเหตุการณ์ที่นักธุรกิจบางคนยื้อกับธุรกิจที่ดูไม่น่าจะเป็นไปได้จนหมดสิ้นประดาตัว หมดทั้งเงิน หมดทั้งชีวิตส่วนตัว เหตุการณ์นี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากเขานำเอาหลักการของต้นทุนจมมาใช้ครับ
ต้นทุนจมหรือ sunk cost คือ "ต้นทุนที่จ่ายไปแล้วและไม่สามารถเอาคืนมาได้อีก" ให้ลองคิดเหมือนทำมือถือหรือของที่จมน้ำตกทะเลเราก็ต้องถอดใจจริงไหมครับ ซึ่งในทางธุรกิจหรือเศรษฐศาสตร์มีบอกไว้ว่า - เราไม่ควรเอาต้นทุนจม (sunk cost) มาพิจารณาในการตัดสินใจเพราะเราทำอะไรกับมันไม่ได้อีกแล้ว สิ่งที่เราควรจะพิจารณาควรจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกับปัจจุบันและอนาคตต่างหาก ซึ่งหลักของต้นทุนในที่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนเงินเสมอไปสามารถปรับใช้ได้ในแง่ของการลงทุนทางด้านเวลาหรือความพยายามได้เช่นกัน เดี๋ยวจะยกตัวอย่างให้ดูครับ
หลายๆคนอาจจะบอกว่ามันก็ common sense นะ ใครๆก็รู้ ... จริงครับ แต่คนเรามักจะลืมจุดนี้ไป ลองดูนะว่าเราเคยมีความรู้สึกหรือเคยเห็นเหตุการณ์ต่างๆด้านล่างนี้ไหม
- เราลงทุนลงแรงกับโครงการนี้ไปเยอะแล้วนะ ต้องทำมันให้สำเร็จให้ได้ ไม่ว่าอนาคตจะเป้นยังไง ต้องอย่าให้เงินเราสูญเปล่า!
- ดูหนังเรื่องนี้มาครึ่งเรื่องแล้ว ถึงแม้มันจะห่วยแตกก็ดูๆมันให้จบไปเหอะ!
- โอ้ยเสียเวลาชีวิตไปกับบริษัทนี้มาตั้งห้าหกปีแล้ว ถึงมันจะดูไม่น่าจะทำกำไรได้ ก็ต้องพยายามให้มันขาดทุนให้น้อยที่สุดหละน่า ไปกู้เพิ่มก็ยอม!
- ถึงจะไดเอทอยู่แต่ดันซื้ออาหารมาเยอะขนาดนี้แล้ว ก็กินๆมันให้หมดแหละเสียดายเงินที่จ่ายไปแล้ว
- เดินมาครึ่งทางแล้ว ถึงจะหมดแรงแล้วก็… เดินให้ครบละกันหน่า อุตส่าห์เดินมาขนาดนี้แล้ว แต่โอ้ยไกลจังง
หรือแม้กระทั่งเรื่องความรักเช่น
- โอ้ยไม่มีความสุขเลยกับ ผช ผญ คนนี้ แต่ดันคบเป็นแฟนมาตั้งห้าปี เสียดายเวลาจริงๆ คบๆต่อไปเหอะ
เห็นมั้ยครับว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้นั้นใกล้ตัวกว่าที่เราคิดมากและเราเจอเรื่องต่างๆเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน การเรียน หรือ การทำงานอยู่เป็นประจำ โดยการที่เราเอา sunk cost มาตัดสินใจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดนั้นเรียกว่า "sunk cost fallacy"
แต่อย่างไรก็ตามต้องอย่าลืมว่าในการตัดสินใจมีปัจจัยอื่นๆซึ่งเราควรเอามาพิจารณาเพราะมันส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคต เช่น ถึงแม้แฟนกันคู่หนึ่งจะไม่มีความสุขกัน ระยะเวลาที่คบกันมานานอาจจะถือเป็น sunk cost "แต่!!" ปัจจัยอื่นๆเช่น อีกฝ่ายจะรู้สึกแย่ไหม เราจะรู้สึกอย่างไร เหตุการณ์นี้แฟร์ไหมสำหรับทั้งเขาและเรา มันบาปไหม ปัจจุบันมีลูกไหม ชีวิตพวกเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป จะมีเรื่องในศาลอีกนานไหม และอื่นๆอีกมากมายสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคตและไม่ใช่ sunk cost จึงต้องแยกให้ออกว่าปัจจัยไหนควรเอามาใช้ในการตัดสินใจด้วยครับ
ทั้งนี้การเข้าใจถึงหัวใจหลักของคำว่า sunk cost หรือต้นทุนจมนี้ จะช่วยให้เราไม่เผลอเอาค่าใช้จ่ายหรือสิ่งที่ทำลงไปแล้วและแก้ไขอะไรไม่ได้มาพิจารณาให้เราตัดสินใจผิดพลาด เช่น ถ้าเราคิดว่าบริษัทของตัวเองหรือโปรเจคที่ทำอยู่ไม่น่าจะทำกำไรได้ในอนาคต ก็ควรๆจะจบๆมันซะ แล้วเอาทุนเอาแรงไปทำอย่างอื่นดีกว่าอย่าให้มันดึงเราลงเหวไปกับมัน
สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า อะไรที่ทำไปแล้ว จ่ายไปแล้ว เสียเวลาไปแล้ว ก็อย่าไปคิดมากกับมัน และมองถึงสิ่งที่ทำได้ในปัจจุบันและอนาคตเพื่อทำวันข้างหน้าให้สดใสดีกว่าครับ ดังคำกล่าวที่ว่า สู้ต่อไปทาเคชิ !
ไว้พบกันใหม่
คิดเห็นยังไง ชอบไม่ชอบมาพูดคุยกันได้นะครับผมชอบอ่านหนังสือและบทความธุรกิจครับ มาแชร์กันได้ ^^
https://www.facebook.com/nickphakorn.sooksompong
ตอนนี้โพสบทความแนวนี้ประมาณสัปดาห์ละหนึ่งถึงสองบทความครับ
Nick