ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วนะครับสำหรับหนังอย่าง La La Land (2016) ผมก็เลยอยากจะมาพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนังซักหน่อย.. ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็เริ่มมีกระแสเรื่อง La La Land แรงขึ้นเรื่อยๆแล้วด้วยครับ.. คือที่จริงผมกะจะพูดถึงเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงที่เขียนเรื่อง Arrival แล้วนะครับ (
http://ppantip.com/topic/35524467) แต่เห็นว่าช่วงนั้นกระแส La La Land ในไทยค่อนข้างเงียบเกินไปหน่อย.. แล้วตัวหนังเองก็ไม่ได้มีเอเลี่ยนมาดึงดูดให้คนสนใจด้วย.. ผมก็เลยรอจนกระทั่งกระแสมันเริ่มมา.. แล้วพูดทีเดียวเลยดีกว่า..
พรีวิวแบบวิดีโอครับ (มีภาพประกอบเยอะกว่าและสอดคล้องกับเนื้อหา)
เอาละครับ.. ก่อนจะเข้าเรื่องแบบจริงจัง.. สิ่งนึงที่ผมอยากให้ทุกคนรู้เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้เลยก็คือ... “นี่เป็นหนังเพลง” นะครับ ซึ่ง หนังเพลง ก็ไม่ใช่หนังที่จะเข้าถึงคนดูกลุ่มใหญ่อยู่แล้ว เป็นหนังโบราณน่ะแหละ.. เคยได้รับความนิยมในสมัยก่อน.. ซึ่งปัจจุบันก็มีคนที่พยายามทำหนังเพลงออกมาอยู่เสมอครับ แต่น้อยและไม่ได้รับความนิยมเท่าแต่ก่อน.. โดยหนังเพลงที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้ไม่ใช่หนังแบบพวก Begin Again (2013) นะครับ... แล้วมันต่างกันยังไงน่ะเหรอ ? เดี๋ยวผมจะพาคุณไปรู้จักกับหนังเพลงแบบคร่าวๆกันก่อนละกัน..
สำหรับ หนังเพลง นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากละครเวที Musical นั่นแหละครับ พูดแบบบ้านๆเลยก็คือ.. เราจะได้เห็นการนำเสนอที่ดูเป็นละครเวทีมากกว่าหนังแบบปกตินั่นเอง และเนี่ยแหละครับที่ผมบอกว่ามันจะไม่เหมือนกับหนังอย่างพวก Begin Again.. เพราะธรรมชาติของหนังเพลงจะมีความ “เหนือจริง” อยู่ครับ ความเหนือจริงที่ผมพูดถึงก็คือ.. จากที่หนังเล่าเรื่องแบบปกติ.. หนังก็จะเปลี่ยนไปเล่าเรื่องผ่าน “การขับร้องและการแสดง” ของเหล่านักแสดงแทน แล้วทุกอย่างที่อยู่รายล้อมก็เปลี่ยนไปเพื่อสอดรับกับ “ช่วงของการขับร้อง” นั้นๆ.. เป็น Moment ที่เหมือนเราหลุดออกจากหนังน่ะครับ เปลี่ยนไปเป็นดูการแสดงโชว์บนเวที.. และถึงแม้มันอาจจะดูประหลาดซักหน่อยที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปแบบนี้.. แต่นี่ก็เป็นจุดเด่นสำคัญของหนังเพลงเลยนะครับ เพราะนั่นหมายความว่า.. นักแสดงต้องผันบทบาทตัวเองจากบทปกติเป็นอีกแบบนึงไปเลย.. ฉากหลังหรือตัวละครอื่นก็ต้องผันตามด้วย.. ดังนั้นเราก็มักจะเห็นฉากหลังของหนังเพลงมีการจัดองค์ประกอบที่โดดเด่น.. เพื่อสอดรับกับช่วงของการขับร้องครับ
ทีนี้ หนังเพลง จะมีความยืดหยุ่นกว่าละครเวที Musical ก็ตรงที่มีพื้นที่ในการนำเสนอมากกว่าครับ คือบนเวทีก็จะมีพื้นที่แค่เวทีถูกมั้ยครับ ส่วนผู้ชมนั่งตรงไหนก็เห็นผ่านแค่มุมมองนั้น แต่หนังเพลงสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างอิสระกว่า สามารถกำกับมุมมองที่คนดูจะเห็นได้ แล้วก็ยังสามารถโฟกัสใบหน้าของนักแสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนด้วย.. สำหรับภาพยนตร์แล้ว.. ใบหน้าของนักแสดงก็เป็นเหมือนฉากหน้าของเวทีนั่นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นมุมปาก ดวงตา คิ้ว หรืออะไรก็ตาม.. ล้วนส่งผลทั้งนั้นครับเวลาอยู่ในหนัง แต่ละครเวทีอาจจะไม่ต้องละเอียดเท่า เพราะคนดูไม่ได้เห็นชัดขนาดนั้นครับ ความยากของการแสดงที่ต่างกันก็คือ.. ละครเวทีซ้อมมาแล้วเล่นสดบนเวทีเลย.. ส่วนหนังถ่ายกี่เทคก็ได้ครับ
ซึ่ง.. สิ่งที่โดดเด่นมากๆของงานประเภทนี้ก็คือ บทเพลง... สำหรับบทเพลงในที่นี้ไม่ได้ถูกใส่เข้ามาเพื่อความไพเราะหรือสร้างบรรยากาศเพียงอย่างเดียวครับ แต่จะต้องบอกเล่าบางอย่างด้วย เป็นหัวใจหลักสำคัญนั่นแหละว่าง่ายๆ เวลาตัวละครร้องเพลง.. เราก็เลยได้เห็นการแสดงที่ดูโอเว่อกว่าปกติด้วย อันนี้ก็เป็นหนึ่งในความเหนือจริงที่ผมพูดถึงนะครับ ซึ่งถ้าเราลองไปเทียบกับหนังอย่างพวก Begin Again ที่ผมยกตัวอย่างไป.. ก็จะเห็นชัดเจนเลยครับว่าต่างกันยังไง.. ดังนั้นถ้าใครคิดจะไปดูหนังเพลงแล้วคิดว่า.. มันจะเป็นหนังแบบพวก Begin Again นี่.. ก็ลองคิดดูให้ดีก่อนนะครับ... ลองไปหาหนังเพลงที่ดังๆอย่างพวก Singin' in the Rain (1952) หรือหนังออสการ์อย่าง Chicago (2002) มาดูก่อนก็ได้ครับ.. จะได้รู้แนวของหนังเพลงแบบคร่าวๆ
โอเคครับ.. มาพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนังกันซักที... สิ่งแรกเลยก็คือหนังเรื่อง La La Land ได้รับการกำกับและเขียนบทโดย Damien Chazelle เจ้าของผลงานแจ้งเกิดอย่าง Whiplash (2014) นั่นแหละครับ สำหรับบางคนอาจจะคิดว่า La La Land คืองานทดลองครั้งใหม่ของ Chazelle ที่เปลี่ยนจากการเน้นดราม่าและจังหวะอันเข้มข้นใน Whiplash มาเป็นหนังเพลงที่ดูสบายแบบผ่อนคลาย.. แต่ที่จริงแล้วผลงานเรื่องแรกของแกอย่าง Guy and Madeline on a Park Bench (2009) ก็เป็นหนังเพลงนะครับ.. อย่างที่ผมบอกไปว่ามีคนทำหนังเพลงอยู่เสมอ.. แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร.. ซึ่ง Chazelle เองก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นครับ.. คือเรื่อง Guy and Madeline on a Park Bench เนี่ย.. ถูกใจเทศกาลหนังและเหล่านักวิจารณ์อยู่.. แต่สำหรับคนดูทั่วไปไม่ค่อยปลื้มกันเท่าไหร่ครับ..
แต่หลังจากที่พี่แกได้ชื่อเสียงจาก Whiplash ก็เป็นโอกาสอันดีที่แกจะสานฝันอีกครั้ง.. ซึ่งถ้าเราสังเกตผลงานของแกดีๆ.. ก็จะเห็นว่าหนังทุกเรื่องของแกจะมีการพูดถึงการทำความฝันทั้งนั้นครับ ตัว Chazelle เองเนี่ย.. เป็นคนที่ชอบและพยายามผลักดันดนตรี แจ๊ส อยู่แล้วด้วย หนังทุกเรื่องที่แกทำก็จะมีแจ๊สผสมอยู่.. ใน La La Land เองก็มีเหมือนกันครับ.. ซึ่งสิ่งน่าสนใจที่ตามมาก็คือคนคุมเพลงทั้งหมดในหนังทุกเรื่องของแกก็คือ Justin Hurwitz ครับ เขาคนนี้ก็เป็นเพื่อนที่ผลักดันฝันเคียงข้างกันมากับ Chazelle และชอบอะไรคล้ายกันด้วย…
นั่นหมายความว่า.. หัวใจหลักสำคัญของหนังอย่างเรื่องของการกำกับ การเขียนบท และเพลง ใน La La Land ก็เป็นคนที่เคยฝากผลงานไว้ใน Whiplash นั่นเอง.. ซึ่งมันค่อนข้างเป็นการการันตีคุณภาพได้ระดับนึงอยู่แล้วนะครับว่าผลงานนี้ “เป็นงานที่มาจากความต้องการและตั้งใจของพวกเขาจริงๆ” โอกาสที่หนังเรื่องนี้จะเยี่ยมกว่า Whiplash ก็มีความเป็นไปได้อยู่ครับ..
นอกจากนี้.. สิ่งที่โดดเด่นมากในหนังอย่าง La La Land จนทำให้ผมหลงใหลในครั้งแรกที่เห็นเลยก็คือ “งานด้านภาพ” ครับ อันนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมล้วนๆ คือปกติผมเป็นคนที่ชอบหนังงานภาพเด่นๆอยู่แล้วน่ะ.. ภาพสวยโดดเด่นองค์ประกอบเยี่ยมและแสงสีเลิศก็ได้ใจผมไปเลย.. ซึ่ง La La Land มีอะไรเหล่านี้อย่างเห็นได้ชัดครับ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับฉากหลังที่เป็น 2 มิติ แต่เหล่านักแสดงมีความลึกเป็น 3 มิติวิ่งเต้นกันราวกับอยู่บนละครเวที อาจจะเป็นการเคารพหนังเพลงหรือเป็นฉากหลังจริงๆในหนังอันนี้ผมไม่แน่ใจนะ แล้วก็การใช้แสงของฉากหลังตัดกับชุดของตัวละคร.. หรือการทำให้ทั้งตัวละครและฉากหลังกลมกลืนกันเพื่อส่งอารมณ์และบรรยากาศในขณะนั้น.. หรือมีการทำเป็นภาพสีขาวและดำ 2 มิติทั้งฉากหลังทั้งตัวละครด้วยนะครับ ถือว่าแจ่มมาก..
แล้วภาพฉากหลังที่นำมาใช้เนี่ย..บางอันก็เป็นผลงานศิลปะของศิลปินชื่อดัง บางอันก็มีรูปคนในวงการภาพยนตร์ที่มีบทบาทสำคัญด้วย.. อันนี้เท่าที่ผมเห็นจากตัวอย่างนะครับ ไม่รู้ว่าในหนังจริงมีมากแค่ไหน.. แต่บอกเลยว่าคนชอบเสพงานภาพแบบผมคงอิ่มไปกับการเสพอะไรเหล่านี้ระดับนึงละครับ
ทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่ผมอยากนำมาแชร์ครับ สำหรับเรื่องของเพลงและการแสดง.. อันนี้ผมคงไม่ขอพูดถึงเท่าไหร่นะ คือเพลงเพราะหรือไม่เพราะคงแล้วแต่คนฟังน่ะครับ ผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไงให้รู้สึกด้วยได้ อีกอย่างก็ยังไม่ได้ดูหนังด้วย.. คงได้แต่บอกว่าเพลงเพราะดีครับ แต่เข้ากับเนื้อหาหรือใช้เล่าเรื่องดีมั้ย.. อันนี้คงต้องได้ดูน่ะแหละถึงจะตอบได้.. ส่วนการแสดงแน่นอนว่าเหล่านักแสดงต้องทุ่มเทกันมากๆอยู่แล้ว นักแสดงเองก็มืออาชีพด้วย.. ผู้กำกับก็ฝีมือดี.. ดังนั้นเขาไม่ปล่อยการแสดงชุ่ยๆออกมาอยู่แล้วแหละ.. อย่าลืมนะครับว่า Chazelle ทำให้ J.K. Simmons ดังเป็นพลุแตกมาแล้ว.. ดังนั้นหายห่วงได้เลยครับ..
แล้วก็ในส่วนของการกวาดรางวัล.. อันนี้ผมเองก็ไม่ค่อยอยากพูดถึงมากเท่าไหร่เหมือนกัน คือผมไม่อยากจะเอาการได้รางวัลหรือดีกรีของหนังมาล่อให้คุณอยากดูหรือสนใจเป็นพิเศษน่ะครับ ผมอยากให้คุณตัดสินเอาเองจากสิ่งที่ผมได้พูดไปว่าน่าสนใจหรือไม่ ซึ่งผมคงไม่ได้พูดอย่างครบถ้วนทุกอย่าง.. อันนี้ก็ต้องขออภัยด้วย ผมก็พูดเฉพาะที่ผมคิดว่าเด่นและน่าสนใจน่ะแหละครับ ดังนั้นนี่เป็นเพียงข้อมูลและสิ่งที่น่าสนใจในมุมมองของผมเท่านั้นนะ ส่วนคุณควรดูรึเปล่า... “ก็ไปตัดสินกันเอาเองเหมือนเดิมครับว่าเหมาะกับคุณหรือไม่...” เลือกที่คิดว่าใช่สำหรับคุณ.. แล้วจะไม่เสียใจในภายหลังครับ ^^
[Preview] สิ่งที่น่าสนใจใน La La Land (2016) น่าดูหรือไม่ ? พร้อมทำความรู้จักกับ “หนังเพลง” แบบคร่าวๆ
Edit* คำผิด
[Preview] สิ่งที่น่าสนใจใน La La Land (2016) น่าดูหรือไม่ ? พร้อมทำความรู้จักกับ “หนังเพลง” แบบคร่าวๆ
ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วนะครับสำหรับหนังอย่าง La La Land (2016) ผมก็เลยอยากจะมาพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนังซักหน่อย.. ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็เริ่มมีกระแสเรื่อง La La Land แรงขึ้นเรื่อยๆแล้วด้วยครับ.. คือที่จริงผมกะจะพูดถึงเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงที่เขียนเรื่อง Arrival แล้วนะครับ (http://ppantip.com/topic/35524467) แต่เห็นว่าช่วงนั้นกระแส La La Land ในไทยค่อนข้างเงียบเกินไปหน่อย.. แล้วตัวหนังเองก็ไม่ได้มีเอเลี่ยนมาดึงดูดให้คนสนใจด้วย.. ผมก็เลยรอจนกระทั่งกระแสมันเริ่มมา.. แล้วพูดทีเดียวเลยดีกว่า..
พรีวิวแบบวิดีโอครับ (มีภาพประกอบเยอะกว่าและสอดคล้องกับเนื้อหา)
เอาละครับ.. ก่อนจะเข้าเรื่องแบบจริงจัง.. สิ่งนึงที่ผมอยากให้ทุกคนรู้เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้เลยก็คือ... “นี่เป็นหนังเพลง” นะครับ ซึ่ง หนังเพลง ก็ไม่ใช่หนังที่จะเข้าถึงคนดูกลุ่มใหญ่อยู่แล้ว เป็นหนังโบราณน่ะแหละ.. เคยได้รับความนิยมในสมัยก่อน.. ซึ่งปัจจุบันก็มีคนที่พยายามทำหนังเพลงออกมาอยู่เสมอครับ แต่น้อยและไม่ได้รับความนิยมเท่าแต่ก่อน.. โดยหนังเพลงที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้ไม่ใช่หนังแบบพวก Begin Again (2013) นะครับ... แล้วมันต่างกันยังไงน่ะเหรอ ? เดี๋ยวผมจะพาคุณไปรู้จักกับหนังเพลงแบบคร่าวๆกันก่อนละกัน..
สำหรับ หนังเพลง นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากละครเวที Musical นั่นแหละครับ พูดแบบบ้านๆเลยก็คือ.. เราจะได้เห็นการนำเสนอที่ดูเป็นละครเวทีมากกว่าหนังแบบปกตินั่นเอง และเนี่ยแหละครับที่ผมบอกว่ามันจะไม่เหมือนกับหนังอย่างพวก Begin Again.. เพราะธรรมชาติของหนังเพลงจะมีความ “เหนือจริง” อยู่ครับ ความเหนือจริงที่ผมพูดถึงก็คือ.. จากที่หนังเล่าเรื่องแบบปกติ.. หนังก็จะเปลี่ยนไปเล่าเรื่องผ่าน “การขับร้องและการแสดง” ของเหล่านักแสดงแทน แล้วทุกอย่างที่อยู่รายล้อมก็เปลี่ยนไปเพื่อสอดรับกับ “ช่วงของการขับร้อง” นั้นๆ.. เป็น Moment ที่เหมือนเราหลุดออกจากหนังน่ะครับ เปลี่ยนไปเป็นดูการแสดงโชว์บนเวที.. และถึงแม้มันอาจจะดูประหลาดซักหน่อยที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปแบบนี้.. แต่นี่ก็เป็นจุดเด่นสำคัญของหนังเพลงเลยนะครับ เพราะนั่นหมายความว่า.. นักแสดงต้องผันบทบาทตัวเองจากบทปกติเป็นอีกแบบนึงไปเลย.. ฉากหลังหรือตัวละครอื่นก็ต้องผันตามด้วย.. ดังนั้นเราก็มักจะเห็นฉากหลังของหนังเพลงมีการจัดองค์ประกอบที่โดดเด่น.. เพื่อสอดรับกับช่วงของการขับร้องครับ
ทีนี้ หนังเพลง จะมีความยืดหยุ่นกว่าละครเวที Musical ก็ตรงที่มีพื้นที่ในการนำเสนอมากกว่าครับ คือบนเวทีก็จะมีพื้นที่แค่เวทีถูกมั้ยครับ ส่วนผู้ชมนั่งตรงไหนก็เห็นผ่านแค่มุมมองนั้น แต่หนังเพลงสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างอิสระกว่า สามารถกำกับมุมมองที่คนดูจะเห็นได้ แล้วก็ยังสามารถโฟกัสใบหน้าของนักแสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนด้วย.. สำหรับภาพยนตร์แล้ว.. ใบหน้าของนักแสดงก็เป็นเหมือนฉากหน้าของเวทีนั่นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นมุมปาก ดวงตา คิ้ว หรืออะไรก็ตาม.. ล้วนส่งผลทั้งนั้นครับเวลาอยู่ในหนัง แต่ละครเวทีอาจจะไม่ต้องละเอียดเท่า เพราะคนดูไม่ได้เห็นชัดขนาดนั้นครับ ความยากของการแสดงที่ต่างกันก็คือ.. ละครเวทีซ้อมมาแล้วเล่นสดบนเวทีเลย.. ส่วนหนังถ่ายกี่เทคก็ได้ครับ
ซึ่ง.. สิ่งที่โดดเด่นมากๆของงานประเภทนี้ก็คือ บทเพลง... สำหรับบทเพลงในที่นี้ไม่ได้ถูกใส่เข้ามาเพื่อความไพเราะหรือสร้างบรรยากาศเพียงอย่างเดียวครับ แต่จะต้องบอกเล่าบางอย่างด้วย เป็นหัวใจหลักสำคัญนั่นแหละว่าง่ายๆ เวลาตัวละครร้องเพลง.. เราก็เลยได้เห็นการแสดงที่ดูโอเว่อกว่าปกติด้วย อันนี้ก็เป็นหนึ่งในความเหนือจริงที่ผมพูดถึงนะครับ ซึ่งถ้าเราลองไปเทียบกับหนังอย่างพวก Begin Again ที่ผมยกตัวอย่างไป.. ก็จะเห็นชัดเจนเลยครับว่าต่างกันยังไง.. ดังนั้นถ้าใครคิดจะไปดูหนังเพลงแล้วคิดว่า.. มันจะเป็นหนังแบบพวก Begin Again นี่.. ก็ลองคิดดูให้ดีก่อนนะครับ... ลองไปหาหนังเพลงที่ดังๆอย่างพวก Singin' in the Rain (1952) หรือหนังออสการ์อย่าง Chicago (2002) มาดูก่อนก็ได้ครับ.. จะได้รู้แนวของหนังเพลงแบบคร่าวๆ
โอเคครับ.. มาพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนังกันซักที... สิ่งแรกเลยก็คือหนังเรื่อง La La Land ได้รับการกำกับและเขียนบทโดย Damien Chazelle เจ้าของผลงานแจ้งเกิดอย่าง Whiplash (2014) นั่นแหละครับ สำหรับบางคนอาจจะคิดว่า La La Land คืองานทดลองครั้งใหม่ของ Chazelle ที่เปลี่ยนจากการเน้นดราม่าและจังหวะอันเข้มข้นใน Whiplash มาเป็นหนังเพลงที่ดูสบายแบบผ่อนคลาย.. แต่ที่จริงแล้วผลงานเรื่องแรกของแกอย่าง Guy and Madeline on a Park Bench (2009) ก็เป็นหนังเพลงนะครับ.. อย่างที่ผมบอกไปว่ามีคนทำหนังเพลงอยู่เสมอ.. แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร.. ซึ่ง Chazelle เองก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นครับ.. คือเรื่อง Guy and Madeline on a Park Bench เนี่ย.. ถูกใจเทศกาลหนังและเหล่านักวิจารณ์อยู่.. แต่สำหรับคนดูทั่วไปไม่ค่อยปลื้มกันเท่าไหร่ครับ..
แต่หลังจากที่พี่แกได้ชื่อเสียงจาก Whiplash ก็เป็นโอกาสอันดีที่แกจะสานฝันอีกครั้ง.. ซึ่งถ้าเราสังเกตผลงานของแกดีๆ.. ก็จะเห็นว่าหนังทุกเรื่องของแกจะมีการพูดถึงการทำความฝันทั้งนั้นครับ ตัว Chazelle เองเนี่ย.. เป็นคนที่ชอบและพยายามผลักดันดนตรี แจ๊ส อยู่แล้วด้วย หนังทุกเรื่องที่แกทำก็จะมีแจ๊สผสมอยู่.. ใน La La Land เองก็มีเหมือนกันครับ.. ซึ่งสิ่งน่าสนใจที่ตามมาก็คือคนคุมเพลงทั้งหมดในหนังทุกเรื่องของแกก็คือ Justin Hurwitz ครับ เขาคนนี้ก็เป็นเพื่อนที่ผลักดันฝันเคียงข้างกันมากับ Chazelle และชอบอะไรคล้ายกันด้วย…
นั่นหมายความว่า.. หัวใจหลักสำคัญของหนังอย่างเรื่องของการกำกับ การเขียนบท และเพลง ใน La La Land ก็เป็นคนที่เคยฝากผลงานไว้ใน Whiplash นั่นเอง.. ซึ่งมันค่อนข้างเป็นการการันตีคุณภาพได้ระดับนึงอยู่แล้วนะครับว่าผลงานนี้ “เป็นงานที่มาจากความต้องการและตั้งใจของพวกเขาจริงๆ” โอกาสที่หนังเรื่องนี้จะเยี่ยมกว่า Whiplash ก็มีความเป็นไปได้อยู่ครับ..
นอกจากนี้.. สิ่งที่โดดเด่นมากในหนังอย่าง La La Land จนทำให้ผมหลงใหลในครั้งแรกที่เห็นเลยก็คือ “งานด้านภาพ” ครับ อันนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมล้วนๆ คือปกติผมเป็นคนที่ชอบหนังงานภาพเด่นๆอยู่แล้วน่ะ.. ภาพสวยโดดเด่นองค์ประกอบเยี่ยมและแสงสีเลิศก็ได้ใจผมไปเลย.. ซึ่ง La La Land มีอะไรเหล่านี้อย่างเห็นได้ชัดครับ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับฉากหลังที่เป็น 2 มิติ แต่เหล่านักแสดงมีความลึกเป็น 3 มิติวิ่งเต้นกันราวกับอยู่บนละครเวที อาจจะเป็นการเคารพหนังเพลงหรือเป็นฉากหลังจริงๆในหนังอันนี้ผมไม่แน่ใจนะ แล้วก็การใช้แสงของฉากหลังตัดกับชุดของตัวละคร.. หรือการทำให้ทั้งตัวละครและฉากหลังกลมกลืนกันเพื่อส่งอารมณ์และบรรยากาศในขณะนั้น.. หรือมีการทำเป็นภาพสีขาวและดำ 2 มิติทั้งฉากหลังทั้งตัวละครด้วยนะครับ ถือว่าแจ่มมาก..
แล้วภาพฉากหลังที่นำมาใช้เนี่ย..บางอันก็เป็นผลงานศิลปะของศิลปินชื่อดัง บางอันก็มีรูปคนในวงการภาพยนตร์ที่มีบทบาทสำคัญด้วย.. อันนี้เท่าที่ผมเห็นจากตัวอย่างนะครับ ไม่รู้ว่าในหนังจริงมีมากแค่ไหน.. แต่บอกเลยว่าคนชอบเสพงานภาพแบบผมคงอิ่มไปกับการเสพอะไรเหล่านี้ระดับนึงละครับ
ทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่ผมอยากนำมาแชร์ครับ สำหรับเรื่องของเพลงและการแสดง.. อันนี้ผมคงไม่ขอพูดถึงเท่าไหร่นะ คือเพลงเพราะหรือไม่เพราะคงแล้วแต่คนฟังน่ะครับ ผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไงให้รู้สึกด้วยได้ อีกอย่างก็ยังไม่ได้ดูหนังด้วย.. คงได้แต่บอกว่าเพลงเพราะดีครับ แต่เข้ากับเนื้อหาหรือใช้เล่าเรื่องดีมั้ย.. อันนี้คงต้องได้ดูน่ะแหละถึงจะตอบได้.. ส่วนการแสดงแน่นอนว่าเหล่านักแสดงต้องทุ่มเทกันมากๆอยู่แล้ว นักแสดงเองก็มืออาชีพด้วย.. ผู้กำกับก็ฝีมือดี.. ดังนั้นเขาไม่ปล่อยการแสดงชุ่ยๆออกมาอยู่แล้วแหละ.. อย่าลืมนะครับว่า Chazelle ทำให้ J.K. Simmons ดังเป็นพลุแตกมาแล้ว.. ดังนั้นหายห่วงได้เลยครับ..
แล้วก็ในส่วนของการกวาดรางวัล.. อันนี้ผมเองก็ไม่ค่อยอยากพูดถึงมากเท่าไหร่เหมือนกัน คือผมไม่อยากจะเอาการได้รางวัลหรือดีกรีของหนังมาล่อให้คุณอยากดูหรือสนใจเป็นพิเศษน่ะครับ ผมอยากให้คุณตัดสินเอาเองจากสิ่งที่ผมได้พูดไปว่าน่าสนใจหรือไม่ ซึ่งผมคงไม่ได้พูดอย่างครบถ้วนทุกอย่าง.. อันนี้ก็ต้องขออภัยด้วย ผมก็พูดเฉพาะที่ผมคิดว่าเด่นและน่าสนใจน่ะแหละครับ ดังนั้นนี่เป็นเพียงข้อมูลและสิ่งที่น่าสนใจในมุมมองของผมเท่านั้นนะ ส่วนคุณควรดูรึเปล่า... “ก็ไปตัดสินกันเอาเองเหมือนเดิมครับว่าเหมาะกับคุณหรือไม่...” เลือกที่คิดว่าใช่สำหรับคุณ.. แล้วจะไม่เสียใจในภายหลังครับ ^^
[Preview] สิ่งที่น่าสนใจใน La La Land (2016) น่าดูหรือไม่ ? พร้อมทำความรู้จักกับ “หนังเพลง” แบบคร่าวๆ
Edit* คำผิด