La La Land : นครดารา
Conducted by Justin Hurwitz
Performed by Thailand Philharmonic Orchestra
ไม่คิดไม่ฝันว่า เราจะได้มีโอกาสมาเข้าร่วมงาน La La Land in Concert เนื่องจากบัตรเต็มไวมาก (แต่ดันกดมาได้ 😂) แถมคอนเสิร์ตนี้ Justin Hurwitz ผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบของ La La Land (2016) ยังบินมาเป็นคอนดักเตอร์เอง เป็นเหตุผลว่า
"ทำไมเราถึงไม่ควรพลาดคอนเสิร์ตในครั้งนี้"
เกริ่นนำเกี่ยวกับ La La Land
- La La Land (2016) ได้รับการกำกับและเขียนบทโดย Damien Chazelle
เนื้อเรื่องเล่าถึงชีวิตของ
"มีอา" (Emma Stone) หญิงสาวบาริสต้าที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดงหญิงชื่อดัง ขณะที่เธอได้พบกับ
"เซบาสเตียน" (Ryan Gosling) นักดนตรีไส้แห้งที่หลงรักในแจ๊สและใฝ่ฝันอยากเปิดบาร์แจ๊สเป็นของตัวเอง
La La Land นครดารา - Official Trailer
- ความดีงามของหนังเรื่องนี้ คือ
การเล่าถึง "ละครชีวิต" ของหนุ่มสาวผู้มีฝันที่สวยงามอย่างน่าเจ็บปวด
"มีอา" และ
"เซบาสเตียน" เป็นหนึ่งในหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตเพื่อคว้าฝันใน
LA (Los Angeles) มหานครแห่งดวงดาวที่ทุกสิ่งเป็นจริงได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อความฝันมีสิ่งที่ต้องแลก ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจว่า
"ความรักและความฝันมีราคาที่ต้องจ่ายมากขนาดไหน ?"
นี่คือสิ่งที่หนังสื่อว่า ในโลกความเป็นจริง ความรักและความฝันอาจไม่ได้ลงเอยจบด้วยความสวยงามอย่างเทพนิยายในจินตนาการ แต่มันผสมทั้งความสุขและความขมขื่น จนสุดท้ายอาจเหลือไว้เพียงความทรงจำดี ๆ ที่เราสร้างมันเอาไว้
นอกจากนี้ หลายครั้งชีวิตก็เต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามทำให้การเดินตามฝันไม่ได้ง่าย เพราะ ในมหานครแห่งดวงดาว ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็น
"ผู้ชนะ"
หนังเรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนจดหมายปลอบประโลมถึง "นักฝัน" ผู้ไม่จำนนต่อความพ่ายแพ้ ซึ่งหวังว่าสักวันพวกเขาเหล่านั้นจะได้ไปฝันที่ตั้งใจไว้จริง ๆ โดยไม่สูญเสียอะไรไปมากกว่านี้
La La Land (2016) - Audition (The Fools Who Dream) Scene
- ความดีงามถัดมา
การผสมผสานภาพยนตร์และมิวสิคัลที่ลงตัว
อีกจุดที่เป็นความว้าวของหนัง คือ อาร์ตและมิวสิคัลในเรื่องถูกผสมผสานลงในภาพยนตร์ได้อย่างประณีตงดงาม ไม่ว่าจะทั้งมุมกล้อง งานดีไซน์ คอสตูม ดนตรีประกอบที่โดดเด่น ทำให้ผู้ชมได้เห็นทั้งโลกแห่ง
"ความเป็นจริง" (Realism) จากตัวภาพยนตร์จริง และโลกแห่ง
"ความเหนือจริง" (Surealism) จากความเป็นมิวสิคัลที่ถูกผสมกันอย่างกลมกล่อม ซึ่งไม่ใช่งานง่ายที่จะทำได้เยี่ยมในระดับนี้
La La Land (2016) - A Lovely Night Scene
- ส่วนสุดท้าย
การสร้างหนัง Tribute ถึงวงการภาพยนตร์และดนตรีแจ๊ส
ในหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยการ Tribute ถึงวงการภาพยนตร์และดนตรีแจ๊ส โดยเฉพาะแพสชั่นที่ตัวละครทั้งสองบ้าคลั่งอย่างน่าเหลือเชื่อ
นอกจากนี้ฉากต่าง ๆ ในเรื่อง มี Reference มาจากหนังคลาสสิคสำคัญ ทำให้หนังเรื่องนี้เปี่ยมด้วยมนต์ขลังและมีเสน่ห์มาก ๆ
La La Land (2016) - Dancing in the Stars Scene
-
จากความดีงามที่ว่ามา ก็ทำให้หนังสร้างความฮือฮาในหมู่นักวิจารณ์ การันตีคุณภาพด้วยการเข้าชิงออสการ์ถึง 14 รางวัล และคว้าไปถึง 7 รางวัล รวมสาขา "เพลงประกอบภาพยนตร์" และ "ดนตรีประกอบภาพยนตร์"
เสียดายที่พลาดคว้ารางวัล "ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม" ไปนิดเดียว
ความรู้สึกหลังชมในคอนเสิร์ต
- สำหรับ
La La Land in Concert ณ มหิดลสิทธาคาร ถูกจัดในเป็นรูปแบบคอนเสิร์ตฉายดนตรีประกอบ (Soundtrack) ควบคู่กับภาพยนตร์จริง
- ลักษณะคอนเสิร์ตค่อนข้างเหมาะกับคนที่เคยชมภาพยนตร์มาก่อนและมีความเป็นแฟนภาพยนตร์พอสมควร
- ในพาร์ทดนตรีและอารมณ์ร่วม ยอมรับว่า ไม่ได้ประทับใจเท่ากับครั้งที่ได้ชม La La Land ในโรงภาพยนตร์ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่างของคอนเสิร์ตรูปแบบนี้ที่อาจผสมกันไม่ลงตัว
--
ถ้ามองในแง่มาชมภาพยนตร์
จอที่ฉายไม่ได้คมชัดอย่างที่ดูในโรงหนัง ถ้าเกิดนั่งไกลจะเห็นหนังไม่ชัดเท่าไร ยิ่งถ้าไม่คล่องภาษาอังกฤษ ซับไทยอาจตัวเล็กนิดเดียวจนมองไม่ทัน นอกจากนี้เสียงพูดของตัวละครก็ไม่ได้ชัดมาก (เพราะโฟกัสดนตรีสดมากกว่า)
--
ถ้ามองในแง่มาฟังดนตรีประกอบ
ขึ้นชื่อว่า
"ดนตรีประกอบภาพยนตร์" มันจะทำงานได้สมบูรณ์ที่สุดยามอยู่ในโรงภาพยนตร์ เพราะ ดนตรีถูกดีไซน์มาเพื่อภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
พอถูกย้ายมาแสดงเป็นดนตรีในฮอลล์แทน ความคมชัดและความเป๊ะของดนตรีก็จะถูกลดทอนลงไป ซึ่งเราต้องเผื่อใจตรงนี้
-- ดังนั้นคิดว่า ถ้าเกิดจัดเป็น
"คอนเสิร์ตดนตรี" ไปเลย ทำการ Rearrange ดนตรีใหม่ให้เป็นคอนเสิร์ตออร์เครสตร้าล้วน ๆ เปลี่ยนจากฉายหนังมาเป็นฉายรีแอ็คชั่นอินเนอร์ของคอนดักเตอร์หรือฟุตเทจบางส่วนของหนังแทน อาจจะทำให้มีอารมณ์ร่วมมากขึ้น
(หรืออย่างน้อยในคอนเสิร์ต อยากให้มีฉายอินเนอร์คอนดักเตอร์ คิดว่าน่าจะตอบโจทย์คนที่มาชมมาก)
- ดนตรีประกอบในเรื่องเพราะเหมือนเดิม ไม่ว่าจะธีมเพลงของ
Another Day Of Sun, Someone In The Crowd, Mia & Sebastian’s Theme ที่ติดหูและทำงานได้ดีกับผู้ชมมาก
ขณะที่เพลงประกอบก็ทำหน้าที่ได้เยี่ยมอย่าง
Audition (The Fools Who Dream) ที่ระเบิดพลังในช่วงท้าย,
Epilogue รวมธีมดนตรีใน La La Land บนเรื่องราว What-if ถ้าทุกสิ่งเป็นไปได้จริงอย่างที่มีอาและเซบาสเตียนวาดฝันไว้
และจบด้วย
City Of Stars ที่เป็นเหมือนบทสรุปของเรื่องราว
โดยรวมยังคงยกให้ ดนตรีประกอบของ La La Land เป็นหนึ่งในดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ฟังง่ายและทรงพลังที่สุดเทียบกับภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่เคยฟังมา..
การได้มาเห็น Justin Hurwitz อำนวยการเพลงในคอนเสิร์ตนี้ก็นับว่าทำให้ชุ่มชื่นใจทีเดียว
- ชอบดับเบิลเบส เปียโน กลอง ทรัมเป็ต ฟลู๊ตมาก เหล่าพระเอกประจำงาน
- การดู La La Land รอบนี้น่าจะเป็นการดูรอบที่ 3 หลังจากผ่านมาแล้ว 8 ปี
การดูในครั้งนี้ทำให้เข้าใจหลาย ๆ อย่างในหนังมากขึ้น ยิ่งเมื่อเรามีประสบการณ์เข้าใจในโลกความเป็นจริงมากกว่าในอดีต ก็ทำให้เรารู้ว่าบทสรุปของ La La Land และบทเพลง
City of the Stars เป็นอะไรที่สมจริง ทรงพลัง และน่าเจ็บปวด
นั่นทำให้หนังเรื่องนี้คงความคลาสสิคอยู่เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร
Epilogue
City Of Stars (Humming)
สรุป
ถือเป็นคอนเสิร์ตดนตรีประกอบภาพยนตร์ครั้งสำคัญในเมืองไทยที่ได้ผู้แต่งเพลงระดับออสการ์มาอำนวยการเพลงเอง อย่างไรก็ตาม ด้วยความลูกผสมของคอนเสิร์ตทำให้มีหลายส่วนที่ไปไม่สุด
นอกจากนี้ ถ้าจะอินกับคอนเสิร์ตนี้ ควรมีความคุ้นเคยหรืออินมากับหนังประมาณหนึ่ง ไม่เช่นนั้นเราอาจไม่เข้าใจหรือไม่เอนจอยถึงสิ่งที่ดนตรีกำลังสื่ออยู่
คอนเสิร์ตจัดแค่ 2 วัน คือ วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2567 แต่ถ้าใครสนใจอยากอินไปกับ La La Land ต่อ สามารถรับชมภาพยนตร์ได้ใน Netflix !
____________________________________
ป.ล. อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพูดคุยติดต่อ
Lemon8: BENJI Review
IG: benjireview
La La Land in Concert (2024) - เปิดประสบการณ์ฟังคอนเสิร์ต La La Land โดย Justin Hurwitz
"มีอา" และ "เซบาสเตียน" เป็นหนึ่งในหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตเพื่อคว้าฝันใน LA (Los Angeles) มหานครแห่งดวงดาวที่ทุกสิ่งเป็นจริงได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อความฝันมีสิ่งที่ต้องแลก ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจว่า
นอกจากนี้ หลายครั้งชีวิตก็เต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามทำให้การเดินตามฝันไม่ได้ง่าย เพราะ ในมหานครแห่งดวงดาว ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็น "ผู้ชนะ"
หนังเรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนจดหมายปลอบประโลมถึง "นักฝัน" ผู้ไม่จำนนต่อความพ่ายแพ้ ซึ่งหวังว่าสักวันพวกเขาเหล่านั้นจะได้ไปฝันที่ตั้งใจไว้จริง ๆ โดยไม่สูญเสียอะไรไปมากกว่านี้
อีกจุดที่เป็นความว้าวของหนัง คือ อาร์ตและมิวสิคัลในเรื่องถูกผสมผสานลงในภาพยนตร์ได้อย่างประณีตงดงาม ไม่ว่าจะทั้งมุมกล้อง งานดีไซน์ คอสตูม ดนตรีประกอบที่โดดเด่น ทำให้ผู้ชมได้เห็นทั้งโลกแห่ง "ความเป็นจริง" (Realism) จากตัวภาพยนตร์จริง และโลกแห่ง "ความเหนือจริง" (Surealism) จากความเป็นมิวสิคัลที่ถูกผสมกันอย่างกลมกล่อม ซึ่งไม่ใช่งานง่ายที่จะทำได้เยี่ยมในระดับนี้
ในหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยการ Tribute ถึงวงการภาพยนตร์และดนตรีแจ๊ส โดยเฉพาะแพสชั่นที่ตัวละครทั้งสองบ้าคลั่งอย่างน่าเหลือเชื่อ
นอกจากนี้ฉากต่าง ๆ ในเรื่อง มี Reference มาจากหนังคลาสสิคสำคัญ ทำให้หนังเรื่องนี้เปี่ยมด้วยมนต์ขลังและมีเสน่ห์มาก ๆ
เสียดายที่พลาดคว้ารางวัล "ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม" ไปนิดเดียว
- ลักษณะคอนเสิร์ตค่อนข้างเหมาะกับคนที่เคยชมภาพยนตร์มาก่อนและมีความเป็นแฟนภาพยนตร์พอสมควร
- ในพาร์ทดนตรีและอารมณ์ร่วม ยอมรับว่า ไม่ได้ประทับใจเท่ากับครั้งที่ได้ชม La La Land ในโรงภาพยนตร์ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่างของคอนเสิร์ตรูปแบบนี้ที่อาจผสมกันไม่ลงตัว
-- ถ้ามองในแง่มาชมภาพยนตร์
จอที่ฉายไม่ได้คมชัดอย่างที่ดูในโรงหนัง ถ้าเกิดนั่งไกลจะเห็นหนังไม่ชัดเท่าไร ยิ่งถ้าไม่คล่องภาษาอังกฤษ ซับไทยอาจตัวเล็กนิดเดียวจนมองไม่ทัน นอกจากนี้เสียงพูดของตัวละครก็ไม่ได้ชัดมาก (เพราะโฟกัสดนตรีสดมากกว่า)
-- ถ้ามองในแง่มาฟังดนตรีประกอบ
ขึ้นชื่อว่า "ดนตรีประกอบภาพยนตร์" มันจะทำงานได้สมบูรณ์ที่สุดยามอยู่ในโรงภาพยนตร์ เพราะ ดนตรีถูกดีไซน์มาเพื่อภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
พอถูกย้ายมาแสดงเป็นดนตรีในฮอลล์แทน ความคมชัดและความเป๊ะของดนตรีก็จะถูกลดทอนลงไป ซึ่งเราต้องเผื่อใจตรงนี้
-- ดังนั้นคิดว่า ถ้าเกิดจัดเป็น "คอนเสิร์ตดนตรี" ไปเลย ทำการ Rearrange ดนตรีใหม่ให้เป็นคอนเสิร์ตออร์เครสตร้าล้วน ๆ เปลี่ยนจากฉายหนังมาเป็นฉายรีแอ็คชั่นอินเนอร์ของคอนดักเตอร์หรือฟุตเทจบางส่วนของหนังแทน อาจจะทำให้มีอารมณ์ร่วมมากขึ้น
(หรืออย่างน้อยในคอนเสิร์ต อยากให้มีฉายอินเนอร์คอนดักเตอร์ คิดว่าน่าจะตอบโจทย์คนที่มาชมมาก)
ขณะที่เพลงประกอบก็ทำหน้าที่ได้เยี่ยมอย่าง Audition (The Fools Who Dream) ที่ระเบิดพลังในช่วงท้าย,
Epilogue รวมธีมดนตรีใน La La Land บนเรื่องราว What-if ถ้าทุกสิ่งเป็นไปได้จริงอย่างที่มีอาและเซบาสเตียนวาดฝันไว้
และจบด้วย City Of Stars ที่เป็นเหมือนบทสรุปของเรื่องราว
โดยรวมยังคงยกให้ ดนตรีประกอบของ La La Land เป็นหนึ่งในดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ฟังง่ายและทรงพลังที่สุดเทียบกับภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่เคยฟังมา..
การได้มาเห็น Justin Hurwitz อำนวยการเพลงในคอนเสิร์ตนี้ก็นับว่าทำให้ชุ่มชื่นใจทีเดียว
- ชอบดับเบิลเบส เปียโน กลอง ทรัมเป็ต ฟลู๊ตมาก เหล่าพระเอกประจำงาน
- การดู La La Land รอบนี้น่าจะเป็นการดูรอบที่ 3 หลังจากผ่านมาแล้ว 8 ปี
การดูในครั้งนี้ทำให้เข้าใจหลาย ๆ อย่างในหนังมากขึ้น ยิ่งเมื่อเรามีประสบการณ์เข้าใจในโลกความเป็นจริงมากกว่าในอดีต ก็ทำให้เรารู้ว่าบทสรุปของ La La Land และบทเพลง City of the Stars เป็นอะไรที่สมจริง ทรงพลัง และน่าเจ็บปวด
นั่นทำให้หนังเรื่องนี้คงความคลาสสิคอยู่เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร
นอกจากนี้ ถ้าจะอินกับคอนเสิร์ตนี้ ควรมีความคุ้นเคยหรืออินมากับหนังประมาณหนึ่ง ไม่เช่นนั้นเราอาจไม่เข้าใจหรือไม่เอนจอยถึงสิ่งที่ดนตรีกำลังสื่ออยู่
คอนเสิร์ตจัดแค่ 2 วัน คือ วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2567 แต่ถ้าใครสนใจอยากอินไปกับ La La Land ต่อ สามารถรับชมภาพยนตร์ได้ใน Netflix !