หลังจากที่ Proud นักจัดระเบียบสิ่งของ ได้แนะนำวิธีการจัดระเบียบบ้านและสิ่งของกับ หนังสือ ชุดลดโละละ “ยิ่งทิ้ง ยิ่งได้” ของสำนักพิมพ์ อินสปายร์ ที่นำหลักการของ “ดันชะริ” ศาสตร์แห่งการจัดสรรความสุขให้ชีวิตและจิตใจซึ่งเน้นการคัดแยกข้าวของและจัดระเบียบสิ่งของด้วยการสร้าง “พื้นที่ว่าง” กันแล้ว
คงมีเพื่อนๆ หลายคนเริ่มต้นจัดสิ่งของสู่การเป็นนัก “ลด โละ ละ”กันบ้างแล้วนะคะ
คราวนี้ พอเรามาเป็นนักลด โละ ละกันแล้ว เชื่อเลยค่ะว่า เราจะต้องเจอปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งเลย คือ ข้าวของ(สุดแสนรก)ของสมาชิกภายในบ้าน หลายบ้านคงมีพ่อแม่พี่น้องสามีหรือภรรยาที่ยังเก็บของเอาไว้จนกองเป็นภูเขาทำให้รกหูรกตา (พราวก็เจอปัญหานี้เหมือนกันค่ะ ที่สมาชิกในครอบครัว เสียดายสิ่งของของตัวเอง และเอามากองไว้จนดูไม่สบายตา )
เราขอแนะนำ หนังสืออีกเล่มที่จะมาช่วยเพื่อนๆ เรื่องนี้กันค่ะ นั่นคือ หนังสือชุดลดโละละ เล่ม 2 เรื่อง “เลือกทิ้ง เลือกเก็บ” ของสำนักพิมพ์ อินสปายร์ เจ้าเก่าเจ้าเดิมเองค่ะ
หนังสือเล่มนี้จะมามอบเคล็ดลับง่ายๆ สำหรับ นักลดโละละที่ต้องเผชิญกับผู้คนรอบข้าง (พร้อมสิ่งของ) ว่าจะจัดสรรสิ่งของของแต่ละคนได้อย่างไร เพื่อให้ตัวเราหรือคนรอบข้างมีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่เป็นระเบียบพร้อมกับสิ่งของที่เป็นที่รัก ซึ่งหัวใจสำคัญคือ การเริ่มต้นที่ “ตัวเอง” และไม่ไปทิ้งสิ่งของของคนอื่นกันค่ะ
1. การลดโละละที่บ้านเกิด
คงมีหลายบ้านที่ลูกต้องมาทำงานในเมืองหลวง ปล่อยให้พ่อแม่อาศัยอยู่ที่บ้านเกิด บางครั้งเมื่อนักลดโละละ จัดการสิ่งของเสร็จในที่ตัวเองอาศัยแล้ว แต่บ้านเกิด(หรือบ้านของพ่อแม่) เรายังมีสิ่งของมากล้นอยู่ การกลับไปจัดระเบียบสิ่งของที่บ้านเกิดนั้นจะช่วยสร้างผลดีหลายประการ เพราะเป็นการกลับไปจัดการกับตัวตนของเราในอดีต การเก็บข้าวของบางอย่างเอาไว้ เป็นเพราะกลัวตัวตนของเราจะหายไป และการลดโละละที่บ้านเกิด ช่วยทำให้เห็นสายใยความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ ลูกอีกด้วยค่ะ เพราะพ่อแม่บางคนเก็บสิ่งของเอาไว้เพื่อเป็นตัวแทนของลูก แต่หากเราเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ของคนเราแข็งแกร่งพอ สิ่งของแทนตัวจะมีหรือไม่ ย่อมไม่สำคัญ (ทำให้เราจัดการลด โละละ สิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องได้ค่ะ)
2. อย่าเก็บทุกอย่าง แต่เตรียมให้พอเหมาะ
การจัดระเบียบช่วยทำให้ชาวญี่ปุ่นสามารถจัดการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดภัยพิบัติได้ด้วย หลายคนมักจะเลือกตุนสิ่งของไว้ยามฉุกเฉินให้เยอะที่สุด แต่บางครั้งระหว่างที่เตรียมตัวทำให้เราต้องสะสมของมากเกินความจำเป็น ดังนั้น กระบวนการลดโละละ ไม่ได้เน้นเพียงการ “ทิ้ง” แต่เน้นกระบวนการ “คัดเลือก” ว่าสิ่งของชิ้นใดที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะนำมาใช้สอยให้เกิดประโยชน์ได้พอเหมาะ ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ใด
3. กฎ 7 : 5 : 1
เป็นการกำหนดสัดส่วนพื้นที่ในการจัดวางสิ่งของให้อย่างเหมาะสม หลายคนทำให้บ้านของตนเปลี่ยนจาก “ที่อยู่อาศัย” กลายเป็น “ที่เก็บของ” เพราะยังเห็นว่าในบ้านยังมมีพื้นที่ว่างเหลือพอจะใส่สิ่งของต่างๆ ได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว ในการจัดวางสิ่งของ เราจะกำหนดพื้นทีว่างเอาไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยจากสิ่งของร่วงหล่น รวมถึงฝุ่นและเชื้อโรค อีกทั้งทำให้สบายตา สบายใจด้วย โดยให้มีพื้นที่จัดวางสิ่งของ 7 ส่วน สำหรับตู้แบบ ปิด 5 ส่วนสำหรับตู้แบบเปิด และ 1 ส่วน สำหรับพื้นที่ต้องการโชว์
4. เก่าไป ใหม่มา
การลด โละ ละ เปรียบเหมือนการผลัดเปลี่ยน เพราะหลายคนมักจะมีความเชื่อว่าสิ่งของบางอย่างที่เก็บเอาไว้ในอนาคตมีโอกาสที่อาจจะได้ใช้มันอีก หรือเสื้อผ้าบางตัวที่เก็บไว้ อาจจะได้ใส่อีกทั้งๆ ที่พอถึงเวลาแล้วเรากลับไม่เคยใช้สิ่งของเหล่านั้นเลย ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณข้าวของ คือการจัดอันดับ (หรือจำนวน) สิ่งของที่ทำให้เรามีความสุขว่าควรมีปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม เช่น มีรองเท้าจำนวน 10 คู่ หรือกระโปรง 10 แบบ กางเกงยีน 3 ตัว เมื่อกำหนดปริมาณที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสมเรียบร้อยแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ต้องซื้อของชิ้นใหม่เข้ามา ก็ต้องเปลี่ยนของเก่าที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ซ่อมแซมในสิ่งที่ใส่ใจ
หลายบ้านมักพบสิ่งของที่เสียซึ่งมีทั้งสิ่งของที่ซ่อมแซมได้ และซ่อมแซมไม่ได้ ปล่อยทิ้งเอาไว้ สิ่งของที่เสียย่อมเปรียบเหมือนดอกไม้ที่ถึงวันโรยรา เราคงไม่มีวันเก็บเอาไว้ หลักการง่ายๆ คือการปล่อยสิ่งของที่เราไม่อาจซ่อมแซมได้อีกต่อไป ให้เป็นอิสระ อย่างไรก็ตามหากสิ่งของที่ซ่อมไม่ได้ ยังมีคุณค่าทางจิตใจอยู่ เราอาจจะเก็บไว้เพราะถือว่าเป็นสมบัติล้ำค่าทางใจได้ (โดยพิจารณาว่าของชิ้นนั้นยังมีคุณค่าหรือความน่าสนใจอยู่หรือไม่)
6. คัดสรรสิ่งของในชีวิตประจำวัน
เชื่อว่าหลายคนชอบเก็บของ “พิเศษ” เอาไว้เพื่อรอใช้ในโอกาสพิเศษ หรือกับแขกคนพิเศษ แต่จริงๆ แล้ว สิ่งของที่เราควรใส่ใจเป็นพิเศษ กลับเป็นของที่เราใช้ในชีวิตประจำวันต่างหาก เพราะสิ่งของเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของความสุข และเป็นสิ่งของที่เราต้องใช้เวลาอยู่ด้วยเกือบตลอดทั้งวันไม่ว่าจะเป็นที่นอน ปากกา แก้วน้ำ นอกจากจะมีสิ่งของเพื่อ “ใช้สอย”แล้ว เรายังมีไว้ใช้สร้าง “ความสุข” ให้แก่ตัวเราเองด้วย
7. ปล่อยวางเพื่อเติมเต็ม
บ่อยครั้งที่คนเราต้องการมีสิ่งของเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เช่น บัตรสมาชิกระดับ vip หรือสะสมของเพื่อความสบายใจ หรือปลอดภัย เช่นการมีหลอดไฟ หลายดวงหรือปากกาไว้หลายด้ามเกินความจำเป็น เพื่อจะได้มีไว้เปลี่ยนทันที “การเป็นเจ้าของสิ่งของต่างๆ เพราะการยึดติดย่อมแสดงว่าเราขาดความมั่นใจ” การลดโละละ จึงช่วยทำให้เราเห็นคุณค่าของตัวเราเอง ไม่ว่าจะมีสิ่งของนั้นหรือไม่ก็ตาม
8. เผชิญหน้ากับข้าวของของคนอื่น (ด้วยใจเบิกบาน)
สำหรับนักลดโละละมือใหม่ไฟแรง จะได้ต้องพบปัญหานี้กันทุกคนแน่นอน เมื่อพบว่าบริเวณห้องของเรา หรือรอบตัวๆ เรายังมีคนที่จัดของไม่เป็นระเบียบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้องหรือคนรัก บางทีเราอาจจะเห็นเขาวางเสื้อผ้าไม่เป็นระเบียบ หรือเก็บสะสมของเก่า จนทำให้เรารู้สึกเครียด ไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งกันระหว่างบ้านที่สวยเป็นระเบียบถูกใจ(เรา) กับ ความปรองดองของสมาชิกในครอบครัว (ที่มีรสนิยมการสะสมของแตกต่างกัน)
หัวใจสำคัญของการลดโละละ ไม่ให้ไปสนใจกับคนรอบข้าง แต่สนใจ “ตัวเอง” เป็นหลัก เพราะแต่ละคนจะมีจังหวะและเวลาในการเรียนรู้การจัดระเบียบสิ่งของที่แตกต่างกัน จึงไม่ได้มุ่งเน้นว่าจะต้องทิ้งสิ่งของได้เป็นจำนวนมาก แต่เป็นวิธีที่ทำให้เราได้เรียนรู้ “ตัวเอง” ว่าเราต้องการสิ่งใดเข้ามาสร้างความสุขในชีวิต และเมื่อถึงเวลาควรจะสละสิ่งใดออกไป ถ้าการต้องเสียสละสิ่งใดแล้วทำให้คนในครอบครัวหรือตัวเองเกิดความทุกข์ ย่อมเป็นเรื่องที่ต้องมานั่งทบทวน พูดคุยกัน เพื่อหาสมดุลในความสัมพันธ์
การฝึกลดโละละกับสิ่งของต่างๆ จึงไม่ใช่การฝึกการทิ้ง หรือรับเอาไว้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเผชิญหน้ากับตัวเอง รู้จักตัวเอง เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายว่า “เราเป็นใคร” และต้องการเป็นบุคคลแบบใดผ่านการเรียนรู้กับความสัมพันธ์จากสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
ในขณะที่เราเลือกสรรสิ่งของให้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา สิ่งของก็เลือกสรรความสุขมาให้เราด้วย
ขอให้ทุกคนโชคดีกับการจัดบ้านนะคะ สวัสดีค่ะ
เพจ Proud นักจัดระเบียบสิ่งของ
เปลี่ยนสิ่งของรอบตัวคุณให้ “พราว” จนรู้สึก “PROUD”
www.facebook.com/proud.tidy
http://proudtidy.wixsite.com/proudtidy
youtube ช่อง proud tidy
เครดิตภาพและเนื้อหา - หนังสือ ลดโละละ เล่ม 2
[CR] REVIEW ลด โละ ละ 2 : เรียนรู้ปล่อยวาง กับ“เลือกทิ้ง เลือกเก็บ”
หลังจากที่ Proud นักจัดระเบียบสิ่งของ ได้แนะนำวิธีการจัดระเบียบบ้านและสิ่งของกับ หนังสือ ชุดลดโละละ “ยิ่งทิ้ง ยิ่งได้” ของสำนักพิมพ์ อินสปายร์ ที่นำหลักการของ “ดันชะริ” ศาสตร์แห่งการจัดสรรความสุขให้ชีวิตและจิตใจซึ่งเน้นการคัดแยกข้าวของและจัดระเบียบสิ่งของด้วยการสร้าง “พื้นที่ว่าง” กันแล้ว
คงมีเพื่อนๆ หลายคนเริ่มต้นจัดสิ่งของสู่การเป็นนัก “ลด โละ ละ”กันบ้างแล้วนะคะ
คราวนี้ พอเรามาเป็นนักลด โละ ละกันแล้ว เชื่อเลยค่ะว่า เราจะต้องเจอปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งเลย คือ ข้าวของ(สุดแสนรก)ของสมาชิกภายในบ้าน หลายบ้านคงมีพ่อแม่พี่น้องสามีหรือภรรยาที่ยังเก็บของเอาไว้จนกองเป็นภูเขาทำให้รกหูรกตา (พราวก็เจอปัญหานี้เหมือนกันค่ะ ที่สมาชิกในครอบครัว เสียดายสิ่งของของตัวเอง และเอามากองไว้จนดูไม่สบายตา )
เราขอแนะนำ หนังสืออีกเล่มที่จะมาช่วยเพื่อนๆ เรื่องนี้กันค่ะ นั่นคือ หนังสือชุดลดโละละ เล่ม 2 เรื่อง “เลือกทิ้ง เลือกเก็บ” ของสำนักพิมพ์ อินสปายร์ เจ้าเก่าเจ้าเดิมเองค่ะ
หนังสือเล่มนี้จะมามอบเคล็ดลับง่ายๆ สำหรับ นักลดโละละที่ต้องเผชิญกับผู้คนรอบข้าง (พร้อมสิ่งของ) ว่าจะจัดสรรสิ่งของของแต่ละคนได้อย่างไร เพื่อให้ตัวเราหรือคนรอบข้างมีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่เป็นระเบียบพร้อมกับสิ่งของที่เป็นที่รัก ซึ่งหัวใจสำคัญคือ การเริ่มต้นที่ “ตัวเอง” และไม่ไปทิ้งสิ่งของของคนอื่นกันค่ะ
1. การลดโละละที่บ้านเกิด
คงมีหลายบ้านที่ลูกต้องมาทำงานในเมืองหลวง ปล่อยให้พ่อแม่อาศัยอยู่ที่บ้านเกิด บางครั้งเมื่อนักลดโละละ จัดการสิ่งของเสร็จในที่ตัวเองอาศัยแล้ว แต่บ้านเกิด(หรือบ้านของพ่อแม่) เรายังมีสิ่งของมากล้นอยู่ การกลับไปจัดระเบียบสิ่งของที่บ้านเกิดนั้นจะช่วยสร้างผลดีหลายประการ เพราะเป็นการกลับไปจัดการกับตัวตนของเราในอดีต การเก็บข้าวของบางอย่างเอาไว้ เป็นเพราะกลัวตัวตนของเราจะหายไป และการลดโละละที่บ้านเกิด ช่วยทำให้เห็นสายใยความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ ลูกอีกด้วยค่ะ เพราะพ่อแม่บางคนเก็บสิ่งของเอาไว้เพื่อเป็นตัวแทนของลูก แต่หากเราเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ของคนเราแข็งแกร่งพอ สิ่งของแทนตัวจะมีหรือไม่ ย่อมไม่สำคัญ (ทำให้เราจัดการลด โละละ สิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องได้ค่ะ)
2. อย่าเก็บทุกอย่าง แต่เตรียมให้พอเหมาะ
การจัดระเบียบช่วยทำให้ชาวญี่ปุ่นสามารถจัดการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดภัยพิบัติได้ด้วย หลายคนมักจะเลือกตุนสิ่งของไว้ยามฉุกเฉินให้เยอะที่สุด แต่บางครั้งระหว่างที่เตรียมตัวทำให้เราต้องสะสมของมากเกินความจำเป็น ดังนั้น กระบวนการลดโละละ ไม่ได้เน้นเพียงการ “ทิ้ง” แต่เน้นกระบวนการ “คัดเลือก” ว่าสิ่งของชิ้นใดที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะนำมาใช้สอยให้เกิดประโยชน์ได้พอเหมาะ ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ใด
3. กฎ 7 : 5 : 1
เป็นการกำหนดสัดส่วนพื้นที่ในการจัดวางสิ่งของให้อย่างเหมาะสม หลายคนทำให้บ้านของตนเปลี่ยนจาก “ที่อยู่อาศัย” กลายเป็น “ที่เก็บของ” เพราะยังเห็นว่าในบ้านยังมมีพื้นที่ว่างเหลือพอจะใส่สิ่งของต่างๆ ได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว ในการจัดวางสิ่งของ เราจะกำหนดพื้นทีว่างเอาไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยจากสิ่งของร่วงหล่น รวมถึงฝุ่นและเชื้อโรค อีกทั้งทำให้สบายตา สบายใจด้วย โดยให้มีพื้นที่จัดวางสิ่งของ 7 ส่วน สำหรับตู้แบบ ปิด 5 ส่วนสำหรับตู้แบบเปิด และ 1 ส่วน สำหรับพื้นที่ต้องการโชว์
4. เก่าไป ใหม่มา
การลด โละ ละ เปรียบเหมือนการผลัดเปลี่ยน เพราะหลายคนมักจะมีความเชื่อว่าสิ่งของบางอย่างที่เก็บเอาไว้ในอนาคตมีโอกาสที่อาจจะได้ใช้มันอีก หรือเสื้อผ้าบางตัวที่เก็บไว้ อาจจะได้ใส่อีกทั้งๆ ที่พอถึงเวลาแล้วเรากลับไม่เคยใช้สิ่งของเหล่านั้นเลย ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณข้าวของ คือการจัดอันดับ (หรือจำนวน) สิ่งของที่ทำให้เรามีความสุขว่าควรมีปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม เช่น มีรองเท้าจำนวน 10 คู่ หรือกระโปรง 10 แบบ กางเกงยีน 3 ตัว เมื่อกำหนดปริมาณที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสมเรียบร้อยแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ต้องซื้อของชิ้นใหม่เข้ามา ก็ต้องเปลี่ยนของเก่าที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ซ่อมแซมในสิ่งที่ใส่ใจ
หลายบ้านมักพบสิ่งของที่เสียซึ่งมีทั้งสิ่งของที่ซ่อมแซมได้ และซ่อมแซมไม่ได้ ปล่อยทิ้งเอาไว้ สิ่งของที่เสียย่อมเปรียบเหมือนดอกไม้ที่ถึงวันโรยรา เราคงไม่มีวันเก็บเอาไว้ หลักการง่ายๆ คือการปล่อยสิ่งของที่เราไม่อาจซ่อมแซมได้อีกต่อไป ให้เป็นอิสระ อย่างไรก็ตามหากสิ่งของที่ซ่อมไม่ได้ ยังมีคุณค่าทางจิตใจอยู่ เราอาจจะเก็บไว้เพราะถือว่าเป็นสมบัติล้ำค่าทางใจได้ (โดยพิจารณาว่าของชิ้นนั้นยังมีคุณค่าหรือความน่าสนใจอยู่หรือไม่)
6. คัดสรรสิ่งของในชีวิตประจำวัน
เชื่อว่าหลายคนชอบเก็บของ “พิเศษ” เอาไว้เพื่อรอใช้ในโอกาสพิเศษ หรือกับแขกคนพิเศษ แต่จริงๆ แล้ว สิ่งของที่เราควรใส่ใจเป็นพิเศษ กลับเป็นของที่เราใช้ในชีวิตประจำวันต่างหาก เพราะสิ่งของเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของความสุข และเป็นสิ่งของที่เราต้องใช้เวลาอยู่ด้วยเกือบตลอดทั้งวันไม่ว่าจะเป็นที่นอน ปากกา แก้วน้ำ นอกจากจะมีสิ่งของเพื่อ “ใช้สอย”แล้ว เรายังมีไว้ใช้สร้าง “ความสุข” ให้แก่ตัวเราเองด้วย
7. ปล่อยวางเพื่อเติมเต็ม
บ่อยครั้งที่คนเราต้องการมีสิ่งของเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เช่น บัตรสมาชิกระดับ vip หรือสะสมของเพื่อความสบายใจ หรือปลอดภัย เช่นการมีหลอดไฟ หลายดวงหรือปากกาไว้หลายด้ามเกินความจำเป็น เพื่อจะได้มีไว้เปลี่ยนทันที “การเป็นเจ้าของสิ่งของต่างๆ เพราะการยึดติดย่อมแสดงว่าเราขาดความมั่นใจ” การลดโละละ จึงช่วยทำให้เราเห็นคุณค่าของตัวเราเอง ไม่ว่าจะมีสิ่งของนั้นหรือไม่ก็ตาม
8. เผชิญหน้ากับข้าวของของคนอื่น (ด้วยใจเบิกบาน)
สำหรับนักลดโละละมือใหม่ไฟแรง จะได้ต้องพบปัญหานี้กันทุกคนแน่นอน เมื่อพบว่าบริเวณห้องของเรา หรือรอบตัวๆ เรายังมีคนที่จัดของไม่เป็นระเบียบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้องหรือคนรัก บางทีเราอาจจะเห็นเขาวางเสื้อผ้าไม่เป็นระเบียบ หรือเก็บสะสมของเก่า จนทำให้เรารู้สึกเครียด ไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งกันระหว่างบ้านที่สวยเป็นระเบียบถูกใจ(เรา) กับ ความปรองดองของสมาชิกในครอบครัว (ที่มีรสนิยมการสะสมของแตกต่างกัน)
หัวใจสำคัญของการลดโละละ ไม่ให้ไปสนใจกับคนรอบข้าง แต่สนใจ “ตัวเอง” เป็นหลัก เพราะแต่ละคนจะมีจังหวะและเวลาในการเรียนรู้การจัดระเบียบสิ่งของที่แตกต่างกัน จึงไม่ได้มุ่งเน้นว่าจะต้องทิ้งสิ่งของได้เป็นจำนวนมาก แต่เป็นวิธีที่ทำให้เราได้เรียนรู้ “ตัวเอง” ว่าเราต้องการสิ่งใดเข้ามาสร้างความสุขในชีวิต และเมื่อถึงเวลาควรจะสละสิ่งใดออกไป ถ้าการต้องเสียสละสิ่งใดแล้วทำให้คนในครอบครัวหรือตัวเองเกิดความทุกข์ ย่อมเป็นเรื่องที่ต้องมานั่งทบทวน พูดคุยกัน เพื่อหาสมดุลในความสัมพันธ์
การฝึกลดโละละกับสิ่งของต่างๆ จึงไม่ใช่การฝึกการทิ้ง หรือรับเอาไว้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเผชิญหน้ากับตัวเอง รู้จักตัวเอง เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายว่า “เราเป็นใคร” และต้องการเป็นบุคคลแบบใดผ่านการเรียนรู้กับความสัมพันธ์จากสิ่งของต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
ในขณะที่เราเลือกสรรสิ่งของให้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา สิ่งของก็เลือกสรรความสุขมาให้เราด้วย
ขอให้ทุกคนโชคดีกับการจัดบ้านนะคะ สวัสดีค่ะ
เพจ Proud นักจัดระเบียบสิ่งของ
เปลี่ยนสิ่งของรอบตัวคุณให้ “พราว” จนรู้สึก “PROUD”
www.facebook.com/proud.tidy
http://proudtidy.wixsite.com/proudtidy
youtube ช่อง proud tidy
เครดิตภาพและเนื้อหา - หนังสือ ลดโละละ เล่ม 2