ละคร "ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน" เป็นเรื่องราวของเจ้าหญิงจัสมิน องค์รัชทายาทแห่งอาณาจักรซามา (ซึ่งตามเรื่องราวในเวอร์ชันนี้ เป็นอาณาจักรสมมติแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง) ผู้เดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยในฐานะสามัญชน และเรื่องราวต่างๆได้ถือกำเนิดขึ้น ณ จุดนี้
หากอาณาจักรซามานั้น เป็นอาณาจักรที่มีอยู่จริง และอยู่ในตะวันออกกลางจริง ก็ถือเป็นรูปแบบพิเศษมาก ที่จะมีอาณาจักรที่ให้ผู้หญิงเป็นรัชทายาทในบริเวณดังกล่าว
พิเศษอย่างไร เราจะได้มาติดตามในกระทู้นี้กัน
ก่อนอื่น เราควรมาทำความเข้าใจกันก่อน เกี่ยวกับคำว่ารัชทายาท
คำว่ารัชทายาท (Heir) นั้น มีอยู่สองประเภท ดังต่อไปนี้
1.รัชทายาทโดยตรง หรือ Heir Apparent คือรัชทายาทที่อยู่ลำดับที่ 1 ในลำดับของการสืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งตำแหน่งนั้น จะไม่ถูกแทนที่ โดยการประสูติของเจ้านายในลำดับที่ใกล้เคียงกว่า หรือด้วยกรณีอื่นๆ มีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติที่ค่อนข้างแน่นอน เว้นแต่จะสิ้นพระชนม์ไปก่อน หรือทรงถูกถอดจากตำแหน่ง
ตำแหน่งนี้ มักเป็นเชื้อสายโดยตรงขององค์พระประมุข (สมเด็จพระราชาธิบดี หรือสมเด็จพระราชินีนาถ) ซึ่งมักเป็นพระราชโอรส ทว่าในช่วงหลังได้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวในลำดับต่อไป โดยในกระทู้นี้ จะใช้ตัวย่อ HA
2.รัชทายาทโดยสันนิษฐาน หรือ Heir Presumptive คือรัชทายาทที่อยู่ในลำดับที่ 1 ในลำดับของการสืบราชสันตติวงศ์ แต่ตำแหน่งนั้น อาจถูกแทนที่ได้ โดยการประสูติของเจ้านายในลำดับที่ใกล้กับองค์พระประมุขมากกว่า หรือการ claim ที่ชัดเจนกว่า โดยในกระทู้นี้ จะใช้ตัวย่อ HP
ตำแหน่งรัชทายาท โดยเฉพาะรัชทายาทโดยตรงนั้น มักใช้คำเรียกว่า "มกุฎราชกุมาร (Crown Prince)" ทว่าในหลายประเทศนั้นมีคำเรียกตำแหน่งองค์รัชทายาทโดยตรง ที่แตกต่างออกไป เช่น เจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales) ของสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส (Prince of Asturias) ของสเปน เจ้าชายแห่งออเรนจ์ (Prince of Orange) ของเนเธอร์แลนด์ และดยุคแห่งบราบันท์ (Duke of Brabant) ของเบลเยียม เป็นต้น
(กรณีของสเปน ตำแหน่งนี้เป็นของรัชทายาทของสเปน ไม่ว่าจะเป็น HA หรือ HP ก็ตาม)
เมื่ออ่านแล้ว หลายคนอาจจะยังเข้าใจไม่ชัดเจน จำเป็นต้องทำความเข้าใจโดยการอ่านหัวข้อต่อไป นั่นคือ "ประเภทของการสืบราชสมบัติ"
ในแต่ละประเทศ มีระบบการสืบราชสมบัติที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้หลักการของ "ผู้ที่เกิดก่อน" หรือ "Primogeniture" ซึ่งจะมีสามประเภทย่อยหลัก ดังต่อไปนี้
1.Agnatic Primogeniture กรณีนี้ จะมีเฉพาะเจ้านายบุรุษเท่านั้น ที่สามารถสืบราชสมบัติต่อได้ ปัจจุบันยังใช้อยู่ในหลายประเทศของเอเชีย และกลุ่มประเทศมุสลิมใน "ตะวันออกกลาง"
2.Male - preference Primogeniture กรณีนี้ เจ้านายสตรีสามารถสืบราชสมบัติได้ เพียงแต่สิทธิ์ในการสืบราชสมบัติ จะมาทีหลังเจ้านายบุรุษ แม้ว่าเจ้านายสตรีนั้นจะทรงมีอาวุโสมากกว่า เช่น พระประมุขทรงมีพระราชธิดาองค์โต พระราชโอรสองค์เล็ก สิทธิ์ของพระราชโอรสองค์เล็กจะมาก่อนพระราชธิดาองค์โต
3.Absolute Primogeniture กรณีนี้ เริ่มมีมาตั้งแต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ซึ่งกำหนดให้ First Child ขององค์พระประมุข ไม่ว่าจะทรงเป็นบุรุษหรือสตรี มีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติทันที ปัจจุบันหลายประเทศในยุโรปปรับมาใช้การสืบราชสมบัติแบบนี้
เมื่อนำความเข้าใจในส่วนนี้ มาประยุกต์กับความเข้าใจในส่วนแรก ก็อาจได้เป็นดังนี้
1.หากเป็น Agnatic แล้ว HA จะต้องเป็นพระราชโอรสองค์แรกเท่านั้น หากยังไม่ทรงมีพระราชโอรส พระราชอนุชาขององค์พระประมุข จะทรงเป็น HP จนกว่าจะทรงมีพระราชโอรส หากไม่มี และองค์พระประมุขเสด็จสวรรคตไปก่อน พระราชอนุชาก็จะได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระประมุของค์ใหม่
หากไม่ทรงมีพระราชอนุชา ก็จะมีการสืบทอดไปตามลำดับเครือญาติ ที่เป็นบุรุษ
2.หากเป็น Male - Preference แล้ว หาก First Child พระองค์แรกขององค์พระประมุข ทรงเป็นสตรีแล้ว จะทรงเป็น HP ไปตลอดจนกว่าพระประมุขจะทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรส คือพระอนุชาของ HP จะทรงเป็น HA
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กรณีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ทรงขึ้นครองราชสมบัติในปี 1952 หลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 พระราชบิดา โดยสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 ทรงมีพระราชธิดา 2 พระองค์ (อีกพระองค์คือเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคาท์เตสแห่งสโนวดอน)
กรณีนี้ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ จะทรงเป็น HP ของพระบิดา
มีหลายกรณีที่การแทนที่ของ HP นั้น ไม่ใช่ HA แต่เป็น HP ที่มีความใกล้ชิดกับพระประมุขมากกว่า เช่น กรณีของเดนมาร์ค ที่สมเด็จพระราชาธิบดี
เฟรเดอริกที่ 9 (ครองราชย์ 1947 - 1972) ทรงมีพระราชธิดา 3 พระองค์ ซึ่งในขณะนั้นเดนมาร์คยังใช้ระบบสืบราชสมบัติแบบ Agnatic ทำให้คาดการณ์ว่า หากสมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จสวรรคต ผู้ที่ทรงเป็น HP ในขณะนั้นคือ เจ้าชายคนุต พระอนุชา จะเป็นผู้สืบราชสมบัติ
ทว่าต่อมารัฐสภาเดนมาร์กได้มีการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติ มาเป็น Male - Preference ในปี 1953 ทำให้พระราชธิดาพระองค์แรก คือเจ้าหญิงมาร์เกรเธ ทรงเป็น HP แทนเจ้าชายคนุต และต่อมาได้สืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 ในปี 1972 หลังพระราชบิดาเสด็จสวรรคต โดยพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) พระองค์แรกของเดนมาร์กในรอบหลายร้อยปี หลังสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 ที่ทรงครองราชสมบัติในศตวรรษที่ 14 ในขณะที่เดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ร่วมกันเป็นสหภาพกัลมาร์ (Kalmar Union)
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 และเชื้อพระวงศ์เดนมาร์ก
(เสริม มีเกร็ดประการหนึ่งของราชวงศ์เดนมาร์กคือ ตั้งแต่ปี 1513 พระประมุขจะทรงใช้พระนามว่า Frederick และ Christian สลับกัน สมเด็จพระราชินีนาถทรงรักษาธรรมเนียมนี้ โดยทรงสมมุติพระนามว่า Christian และทรงตั้งพระนามพระราชโอรสพระองค์แรกว่า Frederick พระโอรสองค์แรกของเจ้าชาย Frederick ก็มีพระนามว่า Christian ตามธรรมเนียมเช่นกัน)
ในระยะหลัง มีกระแสความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในเรื่องความตระหนักถึงความเท่าเทียมกันทางเพศ ระหว่างชายกับหญิง โดยเฉพาะในยุโป ซึ่งประเด็นนี้รวมไปถึงความพยายามในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติด้วย ทำให้หลายประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลมาเป็น Absolute Primogeniture มากขึ้น ในแต่ละประเทศเรียงตามลำดับต่อไปนี้
1.สวีเดน เปลี่ยนจาก Agnatic เป็น Absolute ปี 1980
2.เนเธอร์แลนด์ เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 1983
ก่อนหน้านี้ในปี 1814 - 1887 เนเธอร์แลนด์ใช้ระบบ Semi - Salic ที่ต่างจาก Agnatic คือสตรีมีสิทธิ์ในกรณีที่เชื้อสายที่เป็นชายหมดไปแล้วเท่านั้น
เนเธอร์แลนด์เปลี่ยนมาใช้ระบบ Male - Preference ปี 1887
3.นอร์เวย์ เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 1990
ก่อนหน้านี้นอร์เวย์ใช้ระบบ Agnatic ตั้งแต่อดีตจนปี 1971 จึงเปลี่ยนเป็น Male - Preference
4.เบลเยียม เปลี่ยนจาก Agnatic เป็น Absolute ปี 1991
5.เดนมาร์ค เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 2009
6.ลักเซมเบิร์ก เปลี่ยนจาก Agnatic เป็น Absolute ปี 2011
ก่อนหน้าปี 1880 ลักเซมเบิร์กเคยเป็น Union กับเนเธอร์แลนด์ ปี 1880 สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาขึ้นครองราชย์ ซึ่งในลักเซมเบิร์กขณะนั้นยังไม่อนุญาตให้เจ้านายสตรีขึ้นครองราชสมบัติ การเป็น Union จึงยุติไป
7.สหราชอาณาจักร เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 2015
(เริ่มการแก้ไขตั้งแต่ 2013)
ในยุโรป เหลือประเทศเดียวที่ยังใช้ Agnatic คือลิกเตนสไตน์ ราชรัฐเล็กๆที่อยู่ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย
รัฐที่ยังเป็น Male - Preference มีโมนาโคและสเปน
ที่เหลือจะเป็นแบบอื่น คือวาติกันนั้นพระประมุขคือองค์พระสันตะปาปาจะทรงได้รับการเลือกตั้งจากเหล่าพระคาร์ดินัล ที่เรียกว่า Papal Conclave ที่จะมีขึ้นหลังองค์พระสันตะปาปาพระองค์ก่อนหน้าสิ้นพระชนม์หรือทรงลาออกจากตำแหน่ง (กรณีหลังมีไม่บ่อยนัก ล่าสุดปี 2013 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษ) อีกประเทศคืออันดอร์รา จะมีประมุขร่วม 2 คน คือ ตำแหน่ง Bishop of Urgell ที่จะได้รับการแต่งตั้งจากวาติกัน และตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีในปี 2017 ที่จะถึงนี้
เจ้าหญิงจัสมิน องค์รัชทายาทแห่งซามา? (เกร็ดความรู้เรื่องรัชทายาท)
หากอาณาจักรซามานั้น เป็นอาณาจักรที่มีอยู่จริง และอยู่ในตะวันออกกลางจริง ก็ถือเป็นรูปแบบพิเศษมาก ที่จะมีอาณาจักรที่ให้ผู้หญิงเป็นรัชทายาทในบริเวณดังกล่าว
พิเศษอย่างไร เราจะได้มาติดตามในกระทู้นี้กัน
ก่อนอื่น เราควรมาทำความเข้าใจกันก่อน เกี่ยวกับคำว่ารัชทายาท
คำว่ารัชทายาท (Heir) นั้น มีอยู่สองประเภท ดังต่อไปนี้
1.รัชทายาทโดยตรง หรือ Heir Apparent คือรัชทายาทที่อยู่ลำดับที่ 1 ในลำดับของการสืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งตำแหน่งนั้น จะไม่ถูกแทนที่ โดยการประสูติของเจ้านายในลำดับที่ใกล้เคียงกว่า หรือด้วยกรณีอื่นๆ มีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติที่ค่อนข้างแน่นอน เว้นแต่จะสิ้นพระชนม์ไปก่อน หรือทรงถูกถอดจากตำแหน่ง
ตำแหน่งนี้ มักเป็นเชื้อสายโดยตรงขององค์พระประมุข (สมเด็จพระราชาธิบดี หรือสมเด็จพระราชินีนาถ) ซึ่งมักเป็นพระราชโอรส ทว่าในช่วงหลังได้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวในลำดับต่อไป โดยในกระทู้นี้ จะใช้ตัวย่อ HA
2.รัชทายาทโดยสันนิษฐาน หรือ Heir Presumptive คือรัชทายาทที่อยู่ในลำดับที่ 1 ในลำดับของการสืบราชสันตติวงศ์ แต่ตำแหน่งนั้น อาจถูกแทนที่ได้ โดยการประสูติของเจ้านายในลำดับที่ใกล้กับองค์พระประมุขมากกว่า หรือการ claim ที่ชัดเจนกว่า โดยในกระทู้นี้ จะใช้ตัวย่อ HP
ตำแหน่งรัชทายาท โดยเฉพาะรัชทายาทโดยตรงนั้น มักใช้คำเรียกว่า "มกุฎราชกุมาร (Crown Prince)" ทว่าในหลายประเทศนั้นมีคำเรียกตำแหน่งองค์รัชทายาทโดยตรง ที่แตกต่างออกไป เช่น เจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales) ของสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส (Prince of Asturias) ของสเปน เจ้าชายแห่งออเรนจ์ (Prince of Orange) ของเนเธอร์แลนด์ และดยุคแห่งบราบันท์ (Duke of Brabant) ของเบลเยียม เป็นต้น
(กรณีของสเปน ตำแหน่งนี้เป็นของรัชทายาทของสเปน ไม่ว่าจะเป็น HA หรือ HP ก็ตาม)
เมื่ออ่านแล้ว หลายคนอาจจะยังเข้าใจไม่ชัดเจน จำเป็นต้องทำความเข้าใจโดยการอ่านหัวข้อต่อไป นั่นคือ "ประเภทของการสืบราชสมบัติ"
ในแต่ละประเทศ มีระบบการสืบราชสมบัติที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้หลักการของ "ผู้ที่เกิดก่อน" หรือ "Primogeniture" ซึ่งจะมีสามประเภทย่อยหลัก ดังต่อไปนี้
1.Agnatic Primogeniture กรณีนี้ จะมีเฉพาะเจ้านายบุรุษเท่านั้น ที่สามารถสืบราชสมบัติต่อได้ ปัจจุบันยังใช้อยู่ในหลายประเทศของเอเชีย และกลุ่มประเทศมุสลิมใน "ตะวันออกกลาง"
2.Male - preference Primogeniture กรณีนี้ เจ้านายสตรีสามารถสืบราชสมบัติได้ เพียงแต่สิทธิ์ในการสืบราชสมบัติ จะมาทีหลังเจ้านายบุรุษ แม้ว่าเจ้านายสตรีนั้นจะทรงมีอาวุโสมากกว่า เช่น พระประมุขทรงมีพระราชธิดาองค์โต พระราชโอรสองค์เล็ก สิทธิ์ของพระราชโอรสองค์เล็กจะมาก่อนพระราชธิดาองค์โต
3.Absolute Primogeniture กรณีนี้ เริ่มมีมาตั้งแต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ซึ่งกำหนดให้ First Child ขององค์พระประมุข ไม่ว่าจะทรงเป็นบุรุษหรือสตรี มีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติทันที ปัจจุบันหลายประเทศในยุโรปปรับมาใช้การสืบราชสมบัติแบบนี้
เมื่อนำความเข้าใจในส่วนนี้ มาประยุกต์กับความเข้าใจในส่วนแรก ก็อาจได้เป็นดังนี้
1.หากเป็น Agnatic แล้ว HA จะต้องเป็นพระราชโอรสองค์แรกเท่านั้น หากยังไม่ทรงมีพระราชโอรส พระราชอนุชาขององค์พระประมุข จะทรงเป็น HP จนกว่าจะทรงมีพระราชโอรส หากไม่มี และองค์พระประมุขเสด็จสวรรคตไปก่อน พระราชอนุชาก็จะได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระประมุของค์ใหม่
หากไม่ทรงมีพระราชอนุชา ก็จะมีการสืบทอดไปตามลำดับเครือญาติ ที่เป็นบุรุษ
2.หากเป็น Male - Preference แล้ว หาก First Child พระองค์แรกขององค์พระประมุข ทรงเป็นสตรีแล้ว จะทรงเป็น HP ไปตลอดจนกว่าพระประมุขจะทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรส คือพระอนุชาของ HP จะทรงเป็น HA
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กรณีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ทรงขึ้นครองราชสมบัติในปี 1952 หลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 พระราชบิดา โดยสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 ทรงมีพระราชธิดา 2 พระองค์ (อีกพระองค์คือเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคาท์เตสแห่งสโนวดอน)
กรณีนี้ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ จะทรงเป็น HP ของพระบิดา
มีหลายกรณีที่การแทนที่ของ HP นั้น ไม่ใช่ HA แต่เป็น HP ที่มีความใกล้ชิดกับพระประมุขมากกว่า เช่น กรณีของเดนมาร์ค ที่สมเด็จพระราชาธิบดี
เฟรเดอริกที่ 9 (ครองราชย์ 1947 - 1972) ทรงมีพระราชธิดา 3 พระองค์ ซึ่งในขณะนั้นเดนมาร์คยังใช้ระบบสืบราชสมบัติแบบ Agnatic ทำให้คาดการณ์ว่า หากสมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จสวรรคต ผู้ที่ทรงเป็น HP ในขณะนั้นคือ เจ้าชายคนุต พระอนุชา จะเป็นผู้สืบราชสมบัติ
ทว่าต่อมารัฐสภาเดนมาร์กได้มีการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติ มาเป็น Male - Preference ในปี 1953 ทำให้พระราชธิดาพระองค์แรก คือเจ้าหญิงมาร์เกรเธ ทรงเป็น HP แทนเจ้าชายคนุต และต่อมาได้สืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 ในปี 1972 หลังพระราชบิดาเสด็จสวรรคต โดยพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) พระองค์แรกของเดนมาร์กในรอบหลายร้อยปี หลังสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 ที่ทรงครองราชสมบัติในศตวรรษที่ 14 ในขณะที่เดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ร่วมกันเป็นสหภาพกัลมาร์ (Kalmar Union)
(เสริม มีเกร็ดประการหนึ่งของราชวงศ์เดนมาร์กคือ ตั้งแต่ปี 1513 พระประมุขจะทรงใช้พระนามว่า Frederick และ Christian สลับกัน สมเด็จพระราชินีนาถทรงรักษาธรรมเนียมนี้ โดยทรงสมมุติพระนามว่า Christian และทรงตั้งพระนามพระราชโอรสพระองค์แรกว่า Frederick พระโอรสองค์แรกของเจ้าชาย Frederick ก็มีพระนามว่า Christian ตามธรรมเนียมเช่นกัน)
ในระยะหลัง มีกระแสความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในเรื่องความตระหนักถึงความเท่าเทียมกันทางเพศ ระหว่างชายกับหญิง โดยเฉพาะในยุโป ซึ่งประเด็นนี้รวมไปถึงความพยายามในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติด้วย ทำให้หลายประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลมาเป็น Absolute Primogeniture มากขึ้น ในแต่ละประเทศเรียงตามลำดับต่อไปนี้
1.สวีเดน เปลี่ยนจาก Agnatic เป็น Absolute ปี 1980
2.เนเธอร์แลนด์ เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 1983
ก่อนหน้านี้ในปี 1814 - 1887 เนเธอร์แลนด์ใช้ระบบ Semi - Salic ที่ต่างจาก Agnatic คือสตรีมีสิทธิ์ในกรณีที่เชื้อสายที่เป็นชายหมดไปแล้วเท่านั้น
เนเธอร์แลนด์เปลี่ยนมาใช้ระบบ Male - Preference ปี 1887
3.นอร์เวย์ เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 1990
ก่อนหน้านี้นอร์เวย์ใช้ระบบ Agnatic ตั้งแต่อดีตจนปี 1971 จึงเปลี่ยนเป็น Male - Preference
4.เบลเยียม เปลี่ยนจาก Agnatic เป็น Absolute ปี 1991
5.เดนมาร์ค เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 2009
6.ลักเซมเบิร์ก เปลี่ยนจาก Agnatic เป็น Absolute ปี 2011
ก่อนหน้าปี 1880 ลักเซมเบิร์กเคยเป็น Union กับเนเธอร์แลนด์ ปี 1880 สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาขึ้นครองราชย์ ซึ่งในลักเซมเบิร์กขณะนั้นยังไม่อนุญาตให้เจ้านายสตรีขึ้นครองราชสมบัติ การเป็น Union จึงยุติไป
7.สหราชอาณาจักร เปลี่ยนจาก Male - Preference เป็น Absolute ปี 2015
(เริ่มการแก้ไขตั้งแต่ 2013)
ในยุโรป เหลือประเทศเดียวที่ยังใช้ Agnatic คือลิกเตนสไตน์ ราชรัฐเล็กๆที่อยู่ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย
รัฐที่ยังเป็น Male - Preference มีโมนาโคและสเปน
ที่เหลือจะเป็นแบบอื่น คือวาติกันนั้นพระประมุขคือองค์พระสันตะปาปาจะทรงได้รับการเลือกตั้งจากเหล่าพระคาร์ดินัล ที่เรียกว่า Papal Conclave ที่จะมีขึ้นหลังองค์พระสันตะปาปาพระองค์ก่อนหน้าสิ้นพระชนม์หรือทรงลาออกจากตำแหน่ง (กรณีหลังมีไม่บ่อยนัก ล่าสุดปี 2013 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษ) อีกประเทศคืออันดอร์รา จะมีประมุขร่วม 2 คน คือ ตำแหน่ง Bishop of Urgell ที่จะได้รับการแต่งตั้งจากวาติกัน และตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีในปี 2017 ที่จะถึงนี้