การประสูติของเจ้าฟ้าชายจอร์จแห่งเคมบริดจ์ พระโอรสในเจ้าฟ้าชายวิลเลียม ดยุคแห่งเคมบริดจ์ และแคเธอรีน ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ พระชายา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นที่จับตามองของคนทั่วโลก เนื่องจากทรงเป็นว่าที่ประมุขแห่งราชวงศ์อังกฤษในอนาคต ไม่เพียงเท่านั้นประเทศที่มีระบอบกษัตริย์อื่นในทวีปยุโรปต่างก็มีว่าที่กษัตริย์และราชินีในอนาคตด้วยเช่นกัน เรามาทำความรู้จักรัชทายาทรุ่นเยาว์ในแต่ละประเทศกันเลยดีกว่า
1. ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและกอธาแห่งเบลเยียม
เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งบราบันต์ (
พระนามเต็ม เอลิซาเบธ เธแรส มารี เอแลน) ประสูติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2001 (2544) ปัจจุบันมีพระชันษา 11 ปี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่และรัชทายาทในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปป์ และสมเด็จพระราชินีมาธิลด์แห่งเบลเยียม หลังจากที่พระบิดาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งเบลเยียมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา พระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็น
"ดัชเชสแห่งบราบันต์" (Duchess of Brabant) หรือ
มกุฎราชกุมารีแห่งเบลเยียม และในอนาคตพระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรก
ประเทศเบลเยียมได้เปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบสลเรื่องการสืบราชสมบัติโดยให้สิทธิรัชทายาทพระองค์แรกไม่ว่าเพศใดก็ตามเมื่อปี ค.ศ. 1991 (2534)
2. ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาแห่งเนเธอร์แลนด์
เจ้าฟ้าหญิงคาธารีนา-อามาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ (
พระนามเต็ม คาธารีนา-อามาเลีย เบียทริกซ์ คาร์เมน วิกตอเรีย) ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2546) ปัจจุบันมีพระชันษา 9 ปี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่และรัชทายาทในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็ม-อเล็กซานเดอร์ และสมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ หลังจากที่พระบิดาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา พระองค์ดำรงพระอิสริยยศรัชทายาทในตำแหน่ง
"เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์" (Princess of Orange) โดยในอนาคตจะทรงทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์กลับมามีสมเด็จพระราชินีนาถอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อปี ค.ศ. 1983 (2526) กฎมณเฑียรบาลในเรื่องการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ดัตช์ได้มีการปรับแก้เพื่อเปิดโอกาสให้รัชทายาทพระองค์แรกไม่ว่าเพศใดก็ตามได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์
3. ราชวงศ์โอลเด็นบูร์กแห่งนอร์เวย์
เจ้าฟ้าหญิงอิงกริด อเล็กซานดราแห่งนอร์เวย์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2004 (2547) ปัจจุบันมีพระชันษา 9 ปี เป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าฟ้าหญิงเม็ตเต-มาริต พระชายา ทรงมีสถานะเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชบัลลังก์นอร์เวย์
รัฐบาลนอร์เวย์ได้แก้ไขกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติเพื่อให้ความเท่าเทียมของพระโอรสและธิดาได้สืบราชบัลลังก์ได้ในปี ค.ศ. 1990 (2533)
4. ราชวงศ์โอลเด็นบูร์กแห่งเดนมาร์ก
เจ้าฟ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก (
พระนามเต็ม คริสเตียน วาลเดมาร์ อ็องรี จอห์น) ประสูติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2548 (2005) ปัจจุบันมีพระชันษา 7 ปี เป็นพระโอรสในเจ้าฟ้าชายเฟรเดริค มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก และเจ้าฟ้าหญิงแมรี่ พระชายา ในอนาคตจะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทั้งนี้ราชวงศ์เดนมาร์กมีธรรมเนียมการตั้งพระนามรัชยาทแห่งเดนมาร์กว่า "เฟรเดริค" และ "คริสเตียน" เพื่อให้ครองราชสมบัติสลับรัชกาลกันไปมา ดังจะเห็นได้จากอดีตคือ คริสเตียนที่ 9 --> เฟรเดริคที่ 8 --> คริสเตียนที่ 10 --> เฟรเดริคที่ 9 --> มาร์เกรเธที่ 2 ---> เฟรเดริค (ที่ 10) --> คริสเตียน (ที่ 11)
การลงประชามติ หรือ referendum ที่จัดโดยรัฐบาลเดนมาร์ก เมื่อปี ค.ศ. 2009 ได้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติโดยให้รัชทายาทไม่ว่าเพศใดก็ตามมีโอกาสสืบราชสมบัติได้เท่าเทียมกัน
5. ราชวงศ์บูร์บองแห่งสเปน
เจ้าฟ้าหญิงเลโอนอร์แห่งสเปน (
พระนามเต็ม เลโอนอร์ เด โตโดส โลส ซานโตส) ประสูติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 (2005) ปัจจุบันมีพระชันษา 7 ปี เป็นพระโอรสในเจ้าฟ้าชายเฟลิเป เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส (มกุฎราชกุมารแห่งสเปน) และเจ้าฟ้าหญิงเลติเซีย พระชายา ในอนาคตพระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกของสเปน
กฎมณเฑียรบาลการสืบราชบัลลังก์ของสเปนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรแต่อย่างใด แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่าพระราชธิดาจะสามารถเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ในกรณีที่ปราศจากพระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมสายพระโลหิตเท่านั้น
6. ราชวงศ์เบอร์นาด็อตแห่งสวีเดน
เจ้าฟ้าหญิงเอสแตลแห่งสวีเดน ดัชเชสแห่งเอิสเตอร์เกิตลันด์ (
พระนามเต็ม เอสแตล ซิลเวีย อีวา แมรี่) ประสูติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 (2555) ปัจจุบันมีพระชันษา 1 ปี เป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน และเจ้าฟ้าชายดาเนียล พระสวามี ทรงมีสถานะเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชบัลลังก์สวีเดน
รัฐบาลสวีเดนได้แก้ไขกฎมณเฑียรบาลการสืบราชสมบัติโดยให้สิทธิรัชทายาทพระองค์ใหญ่ไม่ว่าเพศใดก็ตามได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1980 (2523) ทำให้สิทธิการเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ตกเป็นของเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรียแทนเจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิป พระอนุชา
ดูท่าทางแล้วยุโรปในอนาคตจะมีสมเด็จพระราชินีนาถเกือบทุกราชวงศ์เลยนะคะ
รัชทายาทรุ่นใหม่ว่าที่กษัตริย์และราชินีแห่งยุโรปในอนาคต
1. ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและกอธาแห่งเบลเยียม
เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งบราบันต์ (พระนามเต็ม เอลิซาเบธ เธแรส มารี เอแลน) ประสูติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2001 (2544) ปัจจุบันมีพระชันษา 11 ปี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่และรัชทายาทในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปป์ และสมเด็จพระราชินีมาธิลด์แห่งเบลเยียม หลังจากที่พระบิดาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งเบลเยียมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา พระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็น "ดัชเชสแห่งบราบันต์" (Duchess of Brabant) หรือ มกุฎราชกุมารีแห่งเบลเยียม และในอนาคตพระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรก
ประเทศเบลเยียมได้เปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบสลเรื่องการสืบราชสมบัติโดยให้สิทธิรัชทายาทพระองค์แรกไม่ว่าเพศใดก็ตามเมื่อปี ค.ศ. 1991 (2534)
2. ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาแห่งเนเธอร์แลนด์
เจ้าฟ้าหญิงคาธารีนา-อามาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ (พระนามเต็ม คาธารีนา-อามาเลีย เบียทริกซ์ คาร์เมน วิกตอเรีย) ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2546) ปัจจุบันมีพระชันษา 9 ปี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่และรัชทายาทในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็ม-อเล็กซานเดอร์ และสมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ หลังจากที่พระบิดาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา พระองค์ดำรงพระอิสริยยศรัชทายาทในตำแหน่ง "เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์" (Princess of Orange) โดยในอนาคตจะทรงทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์กลับมามีสมเด็จพระราชินีนาถอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อปี ค.ศ. 1983 (2526) กฎมณเฑียรบาลในเรื่องการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ดัตช์ได้มีการปรับแก้เพื่อเปิดโอกาสให้รัชทายาทพระองค์แรกไม่ว่าเพศใดก็ตามได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์
3. ราชวงศ์โอลเด็นบูร์กแห่งนอร์เวย์
เจ้าฟ้าหญิงอิงกริด อเล็กซานดราแห่งนอร์เวย์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2004 (2547) ปัจจุบันมีพระชันษา 9 ปี เป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าฟ้าหญิงเม็ตเต-มาริต พระชายา ทรงมีสถานะเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชบัลลังก์นอร์เวย์
รัฐบาลนอร์เวย์ได้แก้ไขกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติเพื่อให้ความเท่าเทียมของพระโอรสและธิดาได้สืบราชบัลลังก์ได้ในปี ค.ศ. 1990 (2533)
4. ราชวงศ์โอลเด็นบูร์กแห่งเดนมาร์ก
เจ้าฟ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก (พระนามเต็ม คริสเตียน วาลเดมาร์ อ็องรี จอห์น) ประสูติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2548 (2005) ปัจจุบันมีพระชันษา 7 ปี เป็นพระโอรสในเจ้าฟ้าชายเฟรเดริค มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก และเจ้าฟ้าหญิงแมรี่ พระชายา ในอนาคตจะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทั้งนี้ราชวงศ์เดนมาร์กมีธรรมเนียมการตั้งพระนามรัชยาทแห่งเดนมาร์กว่า "เฟรเดริค" และ "คริสเตียน" เพื่อให้ครองราชสมบัติสลับรัชกาลกันไปมา ดังจะเห็นได้จากอดีตคือ คริสเตียนที่ 9 --> เฟรเดริคที่ 8 --> คริสเตียนที่ 10 --> เฟรเดริคที่ 9 --> มาร์เกรเธที่ 2 ---> เฟรเดริค (ที่ 10) --> คริสเตียน (ที่ 11)
การลงประชามติ หรือ referendum ที่จัดโดยรัฐบาลเดนมาร์ก เมื่อปี ค.ศ. 2009 ได้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสมบัติโดยให้รัชทายาทไม่ว่าเพศใดก็ตามมีโอกาสสืบราชสมบัติได้เท่าเทียมกัน
5. ราชวงศ์บูร์บองแห่งสเปน
เจ้าฟ้าหญิงเลโอนอร์แห่งสเปน (พระนามเต็ม เลโอนอร์ เด โตโดส โลส ซานโตส) ประสูติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 (2005) ปัจจุบันมีพระชันษา 7 ปี เป็นพระโอรสในเจ้าฟ้าชายเฟลิเป เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส (มกุฎราชกุมารแห่งสเปน) และเจ้าฟ้าหญิงเลติเซีย พระชายา ในอนาคตพระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกของสเปน
กฎมณเฑียรบาลการสืบราชบัลลังก์ของสเปนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรแต่อย่างใด แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่าพระราชธิดาจะสามารถเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ในกรณีที่ปราศจากพระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมสายพระโลหิตเท่านั้น
6. ราชวงศ์เบอร์นาด็อตแห่งสวีเดน
เจ้าฟ้าหญิงเอสแตลแห่งสวีเดน ดัชเชสแห่งเอิสเตอร์เกิตลันด์ (พระนามเต็ม เอสแตล ซิลเวีย อีวา แมรี่) ประสูติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 (2555) ปัจจุบันมีพระชันษา 1 ปี เป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน และเจ้าฟ้าชายดาเนียล พระสวามี ทรงมีสถานะเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชบัลลังก์สวีเดน
รัฐบาลสวีเดนได้แก้ไขกฎมณเฑียรบาลการสืบราชสมบัติโดยให้สิทธิรัชทายาทพระองค์ใหญ่ไม่ว่าเพศใดก็ตามได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1980 (2523) ทำให้สิทธิการเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ตกเป็นของเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรียแทนเจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิป พระอนุชา
ดูท่าทางแล้วยุโรปในอนาคตจะมีสมเด็จพระราชินีนาถเกือบทุกราชวงศ์เลยนะคะ