สำหรับใครที่คิดอยากจะทำดีอะไรสักอย่างในวันนี้ (และจากวันนี้ไป) แต่ไม่รู้จะทำอะไรให้มันเป็นชิ้นเป็นอัน
เราลองมาช่วยกันคิดเรื่องนี้กันดีไหมครับ เผื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
แต่ขอให้จำไว้ให้ขึ้นใจ การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิม ต้องใช้พลังที่มากพอที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ข้อความจากนี้ไป ผมขอโยนความคิดเพื่อเริ่มต้น มันอาจจะไม่ดีหรือไม่ครบถ้วน ก็ขอให้ท่านที่เจริญช่วยกันระดมสมอง โดยเฉพาะท่านที่มีความรู้ความสามารถ มีอำนาจหน้าที่มีพลังที่จะไปต่อยอด ช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ เงินจำนวนที่ถูกเบียดบังไปอาจจะไม่มากสำหรับบางคน แต่กับผู้มีรายได้ไม่มากมันส่งผลกระทบต่อแรงงานที่ต้องทุ่มเทเพื่อให้ได้ค่าแรง 1 วัน หรือเท่ากับค่าอาหารลูกน้อยหลายวัน ไม่รวมถึงความรู้สึกของคนอีกนับหมื่นนับแสนที่ต้องโดนหลอกไปอย่างไม่ยุติธรรม
หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัย และขอเริ่มต้นดังนี้ครับ
จากนี้ขอเรียกชื่อดังนี้เพื่อความสะดวกนะครับ
consumer ขอแทนผู้บริโภคที่ใช้บริการหมายเลขมือถือ จ่ายเงินเพื่อได้มาซึ่ง การโทร การรับส่งข้อมูล
operator ขอแทนผู้ให้บริการเครือข่าย ที่ให้บริการการโทร การรับส่งข้อมูล และเรียกเก็บค่าบริการการรับส่งข้อมูล จาก consumer
content provider ขอแทนผู้ให้บริการข้อมูล มีทั้งแบบที่ต้องจ่ายเงินซื้อข้อมูล และฟรี ในกระทู้นี้จะเน้นพวกที่ไม่ฟรีและอาจมีวิธีไม่ถูกต้อง
regulator ขอแทน ภาครัฐ หน่วยงานที่ต้องกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ก่อนอื่นขอพูดถึงประเด็นปัญหาสั้นๆ
1. consumer ถูกเรียกเก็บค่าบริการข้อมูลที่ content provider บางกลุ่มอ้างว่ามีการซื้อข้อมูล โดยเรียกเก็บผ่าน operator
ขอแยกปัญหาตามข้อ 1
1.1 consumer ถูกเรียกเก็บเงินจากการที่ไปซื้อข้อมูล โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นการเรียกเก็บ ข้อมูลใดที่ซื้อไป
1.2 consumer ไม่รู้ว่าถูกเรียกเก็บตาม 1.1 ที่ไปซื้อมากับใคร (1.2.1) วันเวลาใด (1.2.2) ขั้นตอนอย่างไร (1.2.3)
1.3 ขั้นตอนการสั่งซื้อที่ consumer สั่งซื้อ (1.2.3) ในข้อ 1.2 นั้น เหมาะสม ถูกต้องหรือไม่
1.4 operator ทำหน้าที่เก็บเงินตามที่ content provider บางรายแจ้งให้เก็บกับ consumer มีหลักฐานที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจาก content provider ที่เรียกเก็บเงินนั้นหรือไม่ หรือเรียกเก็บตามยอดที่ content provider เรียกเก็บเพียงเท่านั้น
1.5 regulator มีการกำกับดูแลตั้งแต่ กระบวนการ 1.1-1.4 หรือไม่อย่างไร (1.5.1) โดยหน่วยงานใด (1.5.2)
จากปัญหาตามที่เขียน 1.1 - 1.5 ขอสรุปเป็นแผนภาพกระบวนการง่ายๆ ดังนี้
จากปัญหาจะเห็นว่าปัญหาถูกแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
ดังนั้นการเรียกร้องต่อการแก้ปัญหาเชิงระบบจะเรียกร้องเป็น 2 ระดับ โดยเน้นไปที่หน่วยงานกำกับดูแล เพราะปัญหาในปัจจุบันนี้เกิดจากความตั้งใจของผู้ได้ประโยชน์ ในขณะที่ consumer เป็นผู้เสียประโยชน์ การจะให้ผู้ได้ประโยชน์เป็นผู้ริเริ่มปรับเปลี่ยนคงเป็นเรื่องที่ยาก และถ้าทำได้คงไม่มีกระทู้ร้องเรียนจำนวนมาก รวมถึงกระทู้นี้
ตัวอย่างข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหามีดังนี้นะครับ หากท่านไหนเห็นว่าควรปรับเปลี่ยนเชิญเลยครับ
แนวทางบางอย่างอาจต้องมีการศึกษาเพิ่ม และรับฟังข้อคิดเห็นหลายฝ่าย แต่ในบางแนวทางสามารถดำเนินการได้เลยเช่น
a. การขึ้นทะเบียน content provider
- มีที่อยู่ชัดเจน มีเบอร์ติดต่อชัดเจน สามารถติดตามได้ ไม่ใช่ให้หาว่าเป็นใคร หรือมีแค่เพียงหมายเลขไม่กี่ตัว
- ขึ้นทะเบียนชัดเจนว่าขาย content ผ่านเว็บใด ช่องทางใด ต้องตรวจสอบย้อนหลังได้ หากไม่ขึ้นถือเป็นช่องทางเถื่อนที่อาจใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง
ิb. ขั้นตอนยืนยันคำสั่งซื้อผ่านการส่ง sms กลับ หรือกดยืนยันตามเมล์ที่แจ้งมา
- เพื่อลดรายการที่ consumer ไม่ประสงค์จะสั่งซื้อ แต่ content provider หาวิธีต่างๆ เสมือนว่า consumer ตกลงซื้อ
c. Operator ต้องมีหลักฐานหรือแสดงหลักฐานการเรียกเก็บด้วยการยืนยันคำสั่งซื้อของ consumer
- เพื่อร่วมตรวจสอบรายการสั่งซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย เสมือนธุรกิจรับทวงเงิน ต้องแสดงหลักฐานที่ผู้ถูกทวงไปก่อหนี้ไว้ ไม่ใช่ทวงตามการกล่าวอ้างเท่านั้น (หลักฐานนี้คือหลักฐานตามข้อ b ไม่ใช่ที่ content provider จะใช้กล่าวอ้างในปัจจุบัน)
ปัญหาอย่างนึงของแนวทางที่ยกตัวอย่างคือ ปัญหา 1.5.2 และ 1.5.1 เกี่ยวกับภาครัฐที่กำกับดูแลเรื่องนี้
เพราะแนวทางไหนๆ ก็ไม่อาจผลักดันผ่าน content provider และ operator หากปราศจากภาครัฐ
คำถามคือ ใครมีหน้าที่ และ ปัจจุบันได้ทำหน้าที่แล้วหรือไม่อย่างไร
อันนี้จะเป็น จุดสำคัญ ที่ทำไม พลังฝั่ง consumer จะต้องรวมกันมากพอเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ผมขอโยนไอเดียเบื้องต้นไว้เท่านี้ ใครมีอะไรลองเสนอนะครับ
เรายังไม่รู้ว่าเราจะได้อะไรจากการระดมสมองนี้ และจะเดินไปถึงจุดไหนได้บ้าง ดังนั้น อย่าเพิ่งกังวล ไม่ว่าจะเรื่องการหาแนวทางที่ต้องปฏิบัติได้ หรือ ใครจะเป็นผู้ดำเนินการ
อีกอย่างนะครับ เทคนิคในการระดมสมอง ไม่ควรโจมตีความเห็นไหนๆเลย ถ้ามีความเห็นที่เติมเต็ม หรือเห็นต่าง ก็เสนอได้เลย การมุ่งโจมตีความเห็นที่ไม่เหมือนกับตน โดยเฉพาะการใช้คำ ข้อความรุนแรง จะทำให้หลายคนไม่กล้าแสดงความเห็นออกมานะครับ ช่วยกันส่งเสริมบรรยากาศด้วย
ผมฝากไว้ตรงนี้ก่อน ถ้ากระทู้นี้พอไปได้ ความเห็นแตกแขนง ก็น่าจะมีประโยชน์แล้ว จะต่อยังไงก็ว่ากันอีกที
ถ้ากระทู้นี้เงียบๆ ผมจะลองหาวิธีและช่องทางอื่น
ขอบคุณมากครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Update4 - 2016-12-07 07:56pm (ถึงความเห็นที่ 76)
ผมตั้งกระทู้นี้เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว พรุ่งนี้จะครบ 1 สัปดาห์ มีคนตอบกระทู้ 76 โหวต 197 แชร์ 1 พัน
ผมสรุปความคิดเบื้องต้นแบ่งเป็น 5 กลุ่ม จำนวน 33 ความคิด (ไม่นับที่คล้าย/ซ้ำ)
ปกติหลังจากได้ความคิดที่ระดมกันมาจากหลายๆ หัว เราจะมาออกความเห็นกลั่นกรอง เปรียบเทียบ วิเคราะห์
เพื่อได้ความคิดที่เรากำลังค้นหา วิธีแก้ การถูกเอาเปรียบสมัคร SMS หลอกกินตังค์
โดยจากความคิดที่ระดมได้นั้นเกี่ยวข้องเชิงลึกกับผู้ได้เสียผลประโยชน์
เกี่ยวข้องกับยกระดับปัญหาให้สังคมเห็นวงกว้าง การรณรงค์ ตลอดจนแนวทางที่เกี่ยวกับด้านกฎหมาย
มีแนวทางที่ควรพิจารณาก่อนหลัง หนักเบา และอาศัยความเชี่ยวชาญ ความทุ่มเทโดยเฉพาะ และเกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการ
จากนี้ไปจะเป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ
สิ่งแรกที่ผมคิดว่าควรดำเนินการคือการ "ให้เห็นความชัดเจนของปัญหา"
การเปลี่ยนแปลงจากผู้ได้ประโยชน์อย่าง content provider และ operator คงทำได้ยาก
แม้กระทั้งพื้นที่สื่ออย่างบอร์ดเองก็คงต้องคำนึงถึงผลกระทบกับ operator
การจะหวังกับ กสทช. หน่วยงานกำกับ ก็คงจะยาก ส่วนเรื่องการดำเนินการทางกฎหมายทั้งหมดต้องเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายและหลักฐาน
ดังนั้นสิ่งที่ควรกำหนดกลยุทธ์น่าจะพุ่งเป้าไปที่
ภาคประชาชน และ
ภาครัฐที่มีอำนาจที่สามารถลงมาตรวจสอบ/เปลี่ยนแปลง
ไม่ว่าทางไหน ก็ต้องอาศัยสิ่งที่เห็นตรงกันว่า ปัญหานี้รุนแรงแค่ไหน
ถ้าปัญหานี้ถูกมองว่าเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ ไม่ว่าภาคประชาชนและภาครัฐที่มีอำนาจก็คงจะนิ่งเฉย
ดังนั้นคำถามที่ต้องถามเพื่อชี้ให้ชัดว่าปัญหานี้รุนแรงขนาดไหน ตัวอย่างเช่น
1. มีประชาชนกี่คน ที่เดือดร้อนจากการเอาเปรียบนี้
2. มูลค่าความเสียหายจากการเอาเปรียบนี้เป็นมูลค่ากี่สิบกี่ร้อยกี่พันล้านบาท
3. คนที่ได้เงินจากการเอาเปรียบนี้ไปเข้ากระเป๋าใคร มูลค่าเท่าไร
ยกตัวอย่าง ลองนึกเทียบเคียงปัญหาอื่นๆ เช่น ถูกโกงแชร์ลูกโซ่ ผู้เสียหายหลัก สิบ หลักร้อย รวมมูลค่าเสียหาย 50 ล้านบาท แค่นี้ก็ออกข่าวค่ำแล้ว
หรือ ผู้ถูกหลอกกรณีใดกรณีหนึ่งทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย เราก็จะรู้สึกถึงความรุนแรง ข้นแค้นที่เขาต้องเจอ
ทั้งสื่อ สังคมชุมชน และหน่วยงานรัฐ ก็จะกระตือรือร้นขึ้นมา (แม้หลายกรณีจะแค่ไฟไหม้ฟางก็ตาม)
แต่กรณีการถูกเอาเปรียบนี้ เสมือนปลิงดูดเลือด ดูดเงียบๆ เอาเปรียบไปเท่าไร เราไม่สามารถระบุความรุนแรงได้เลย (แม้ว่าจะคำนวณด้วยการประมาณก็ไม่ใช่ข้อมูลเชิงประจักษ์)
ไม่มีสื่อไหนสนใจ ไม่มีภาคประชาชนไหนตื่นตัว ไม่มีเพจไหนใส่ใจ ไปเสนอภาครัฐ ก็ไม่มีน้ำหนัก ผู้มีอำนาจก็คงจะไม่ใส่ใจ
แนวทางแรกที่ผมคิดคือการพยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหานี้รุนแรงแค่ไหน แม้ไม่รู้ว่าจะได้แค่ไหน แต่ผมจะลองดูนะครับ
ถ้าใครมีไอเดียอะไรเพิ่ม หรือใครอยากทำแนวทางไหนก็แชร์กันได้นะครับ
กระดานความเห็น (ดิบ) เรียงตามลำดับความเห็น (ความเห็นจากการระดมสมองทั้งหมดจะแปะลงไว้เพื่อพูดคุยกันต่อนะครับ)
แปะไว้ก่อน เดี๋ยวจัดกลุ่มให้นะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Update3 - 2016-12-07 07:56pm (ถึงความเห็นที่ 53)
เข้าประจำตำแหน่ง เดี๋ยวจะ update ข้อคิดเห็นเพื่อนๆ เพิ่มเติม (ข้อคิดเห็นที่ซ้ำกับคห.ก่อนหน้าผมอาจจะขอข้ามเพื่อลดความซ้ำซ้อน)
ในตอนนี้มีหัวข้อหลายเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ และต้องการทำการบ้านเพิ่ม ทั้งในแง่ ผู้เกี่ยวข้องเป็นใคร ขั้นตอน/กฎระเบียบ แง่มุมกฎหมาย
สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัย สติ ปัญญา เวลา ของเพื่อนๆ ที่จะช่วยกัน
ส่วนตัวผมได้ทดลองสืบค้นเพื่อตอบคำถามบางอย่างที่ถามกับตัวเอง เดี๋ยวสรุปเสร็จจะแชร์ให้ทุกคนดูอีกทีนะครับ
เรื่องการระดมสมองครั้งนี้ อยากให้นำไปสู่ การจับมือกันในภาค consumer ทั้งหลายที่มีพลัง และช่วยกันส่งพลังกันคนละนิด ออกเสียงคนละหน่อย
ไม่อย่างนั้นมันคงจะแปลกนัก ที่เราส่วนใหญ่ก็รู้ว่ามีปัญหาอยู่ ปัญหานั้นก็รู้ว่ากระทบพวกเราในวงกว้างเดือดร้อนถ้วนหน้า
และพวกเราก็รู้ว่าปัญหานี้มีทางแก้ไข แถมเราก็มีพลังพอหากรวมพลังสามัคคีกันทั้งหมด แต่สุดท้ายก็เราก็จมกับการเอาเปรียบซ้ำๆ เพียงเพราะเรารวมพลังกันไม่ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Update2 - 2016-12-06 09:14pm (ถึงความเห็นที่ 39)
ขอบคุณทุกคนมากนะครับ มีแนวคิดที่มีประโยชน์อย่างสูงมากมาย ผมขอรวบรวมไว้ หากสรุปผิด ขาดตกบอกได้เลยครับ
ความเห็นที่ยังไม่จัดกลุ่ม เดี๋ยวความเห็นเยอะขึ้นอาจจะจัดกลุ่มเพิ่มขึ้นครับ
ผมจัดกลุ่มให้ดูง่าย และจะได้พูดคุยเป็นกลุ่มก้อนความคิด อันนี้จะทยอยลงนะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Update1 - 2016-12-05 10:27pm (ถึงความเห็นที่ 11)
ขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบกระทู้ครับ ขอแปะไอเดียเพื่อนๆ ไว้ตรงนี้
I1/คห.4 - การยื่นฟ้อง กสทช. ตามมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่
I2/คห.7 - ควรรวมเรื่องการย้ายค่ายด้วย
หลังจากคืนนี้ พรุ่งนี้ผมคงจะยุ่งมาก ว่างอีกทีคงหัวค่ำ ไม่ได้หายไปไหนนะครับ
ความคิดเห็นที่แปะนี้ ถ้าเยอะขึ้นเดี๋ยวมาจัดกลุ่ม และสรุปให้อีกที ขอบคุณครับ
ระดมสมอง แก้การถูกเอาเปรียบสมัคร SMS หลอกกินตังค์ กันดีกว่าครับ
เราลองมาช่วยกันคิดเรื่องนี้กันดีไหมครับ เผื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
แต่ขอให้จำไว้ให้ขึ้นใจ การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิม ต้องใช้พลังที่มากพอที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ข้อความจากนี้ไป ผมขอโยนความคิดเพื่อเริ่มต้น มันอาจจะไม่ดีหรือไม่ครบถ้วน ก็ขอให้ท่านที่เจริญช่วยกันระดมสมอง โดยเฉพาะท่านที่มีความรู้ความสามารถ มีอำนาจหน้าที่มีพลังที่จะไปต่อยอด ช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ เงินจำนวนที่ถูกเบียดบังไปอาจจะไม่มากสำหรับบางคน แต่กับผู้มีรายได้ไม่มากมันส่งผลกระทบต่อแรงงานที่ต้องทุ่มเทเพื่อให้ได้ค่าแรง 1 วัน หรือเท่ากับค่าอาหารลูกน้อยหลายวัน ไม่รวมถึงความรู้สึกของคนอีกนับหมื่นนับแสนที่ต้องโดนหลอกไปอย่างไม่ยุติธรรม
หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัย และขอเริ่มต้นดังนี้ครับ
จากนี้ขอเรียกชื่อดังนี้เพื่อความสะดวกนะครับ
consumer ขอแทนผู้บริโภคที่ใช้บริการหมายเลขมือถือ จ่ายเงินเพื่อได้มาซึ่ง การโทร การรับส่งข้อมูล
operator ขอแทนผู้ให้บริการเครือข่าย ที่ให้บริการการโทร การรับส่งข้อมูล และเรียกเก็บค่าบริการการรับส่งข้อมูล จาก consumer
content provider ขอแทนผู้ให้บริการข้อมูล มีทั้งแบบที่ต้องจ่ายเงินซื้อข้อมูล และฟรี ในกระทู้นี้จะเน้นพวกที่ไม่ฟรีและอาจมีวิธีไม่ถูกต้อง
regulator ขอแทน ภาครัฐ หน่วยงานที่ต้องกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ก่อนอื่นขอพูดถึงประเด็นปัญหาสั้นๆ
1. consumer ถูกเรียกเก็บค่าบริการข้อมูลที่ content provider บางกลุ่มอ้างว่ามีการซื้อข้อมูล โดยเรียกเก็บผ่าน operator
ขอแยกปัญหาตามข้อ 1
1.1 consumer ถูกเรียกเก็บเงินจากการที่ไปซื้อข้อมูล โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นการเรียกเก็บ ข้อมูลใดที่ซื้อไป
1.2 consumer ไม่รู้ว่าถูกเรียกเก็บตาม 1.1 ที่ไปซื้อมากับใคร (1.2.1) วันเวลาใด (1.2.2) ขั้นตอนอย่างไร (1.2.3)
1.3 ขั้นตอนการสั่งซื้อที่ consumer สั่งซื้อ (1.2.3) ในข้อ 1.2 นั้น เหมาะสม ถูกต้องหรือไม่
1.4 operator ทำหน้าที่เก็บเงินตามที่ content provider บางรายแจ้งให้เก็บกับ consumer มีหลักฐานที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจาก content provider ที่เรียกเก็บเงินนั้นหรือไม่ หรือเรียกเก็บตามยอดที่ content provider เรียกเก็บเพียงเท่านั้น
1.5 regulator มีการกำกับดูแลตั้งแต่ กระบวนการ 1.1-1.4 หรือไม่อย่างไร (1.5.1) โดยหน่วยงานใด (1.5.2)
จากปัญหาตามที่เขียน 1.1 - 1.5 ขอสรุปเป็นแผนภาพกระบวนการง่ายๆ ดังนี้
จากปัญหาจะเห็นว่าปัญหาถูกแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
ดังนั้นการเรียกร้องต่อการแก้ปัญหาเชิงระบบจะเรียกร้องเป็น 2 ระดับ โดยเน้นไปที่หน่วยงานกำกับดูแล เพราะปัญหาในปัจจุบันนี้เกิดจากความตั้งใจของผู้ได้ประโยชน์ ในขณะที่ consumer เป็นผู้เสียประโยชน์ การจะให้ผู้ได้ประโยชน์เป็นผู้ริเริ่มปรับเปลี่ยนคงเป็นเรื่องที่ยาก และถ้าทำได้คงไม่มีกระทู้ร้องเรียนจำนวนมาก รวมถึงกระทู้นี้
ตัวอย่างข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหามีดังนี้นะครับ หากท่านไหนเห็นว่าควรปรับเปลี่ยนเชิญเลยครับ
แนวทางบางอย่างอาจต้องมีการศึกษาเพิ่ม และรับฟังข้อคิดเห็นหลายฝ่าย แต่ในบางแนวทางสามารถดำเนินการได้เลยเช่น
a. การขึ้นทะเบียน content provider
- มีที่อยู่ชัดเจน มีเบอร์ติดต่อชัดเจน สามารถติดตามได้ ไม่ใช่ให้หาว่าเป็นใคร หรือมีแค่เพียงหมายเลขไม่กี่ตัว
- ขึ้นทะเบียนชัดเจนว่าขาย content ผ่านเว็บใด ช่องทางใด ต้องตรวจสอบย้อนหลังได้ หากไม่ขึ้นถือเป็นช่องทางเถื่อนที่อาจใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง
ิb. ขั้นตอนยืนยันคำสั่งซื้อผ่านการส่ง sms กลับ หรือกดยืนยันตามเมล์ที่แจ้งมา
- เพื่อลดรายการที่ consumer ไม่ประสงค์จะสั่งซื้อ แต่ content provider หาวิธีต่างๆ เสมือนว่า consumer ตกลงซื้อ
c. Operator ต้องมีหลักฐานหรือแสดงหลักฐานการเรียกเก็บด้วยการยืนยันคำสั่งซื้อของ consumer
- เพื่อร่วมตรวจสอบรายการสั่งซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย เสมือนธุรกิจรับทวงเงิน ต้องแสดงหลักฐานที่ผู้ถูกทวงไปก่อหนี้ไว้ ไม่ใช่ทวงตามการกล่าวอ้างเท่านั้น (หลักฐานนี้คือหลักฐานตามข้อ b ไม่ใช่ที่ content provider จะใช้กล่าวอ้างในปัจจุบัน)
ปัญหาอย่างนึงของแนวทางที่ยกตัวอย่างคือ ปัญหา 1.5.2 และ 1.5.1 เกี่ยวกับภาครัฐที่กำกับดูแลเรื่องนี้
เพราะแนวทางไหนๆ ก็ไม่อาจผลักดันผ่าน content provider และ operator หากปราศจากภาครัฐ
คำถามคือ ใครมีหน้าที่ และ ปัจจุบันได้ทำหน้าที่แล้วหรือไม่อย่างไร
อันนี้จะเป็น จุดสำคัญ ที่ทำไม พลังฝั่ง consumer จะต้องรวมกันมากพอเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ผมขอโยนไอเดียเบื้องต้นไว้เท่านี้ ใครมีอะไรลองเสนอนะครับ
เรายังไม่รู้ว่าเราจะได้อะไรจากการระดมสมองนี้ และจะเดินไปถึงจุดไหนได้บ้าง ดังนั้น อย่าเพิ่งกังวล ไม่ว่าจะเรื่องการหาแนวทางที่ต้องปฏิบัติได้ หรือ ใครจะเป็นผู้ดำเนินการ
อีกอย่างนะครับ เทคนิคในการระดมสมอง ไม่ควรโจมตีความเห็นไหนๆเลย ถ้ามีความเห็นที่เติมเต็ม หรือเห็นต่าง ก็เสนอได้เลย การมุ่งโจมตีความเห็นที่ไม่เหมือนกับตน โดยเฉพาะการใช้คำ ข้อความรุนแรง จะทำให้หลายคนไม่กล้าแสดงความเห็นออกมานะครับ ช่วยกันส่งเสริมบรรยากาศด้วย
ผมฝากไว้ตรงนี้ก่อน ถ้ากระทู้นี้พอไปได้ ความเห็นแตกแขนง ก็น่าจะมีประโยชน์แล้ว จะต่อยังไงก็ว่ากันอีกที
ถ้ากระทู้นี้เงียบๆ ผมจะลองหาวิธีและช่องทางอื่น
ขอบคุณมากครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Update4 - 2016-12-07 07:56pm (ถึงความเห็นที่ 76)
ผมตั้งกระทู้นี้เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว พรุ่งนี้จะครบ 1 สัปดาห์ มีคนตอบกระทู้ 76 โหวต 197 แชร์ 1 พัน
ผมสรุปความคิดเบื้องต้นแบ่งเป็น 5 กลุ่ม จำนวน 33 ความคิด (ไม่นับที่คล้าย/ซ้ำ)
ปกติหลังจากได้ความคิดที่ระดมกันมาจากหลายๆ หัว เราจะมาออกความเห็นกลั่นกรอง เปรียบเทียบ วิเคราะห์
เพื่อได้ความคิดที่เรากำลังค้นหา วิธีแก้ การถูกเอาเปรียบสมัคร SMS หลอกกินตังค์
โดยจากความคิดที่ระดมได้นั้นเกี่ยวข้องเชิงลึกกับผู้ได้เสียผลประโยชน์
เกี่ยวข้องกับยกระดับปัญหาให้สังคมเห็นวงกว้าง การรณรงค์ ตลอดจนแนวทางที่เกี่ยวกับด้านกฎหมาย
มีแนวทางที่ควรพิจารณาก่อนหลัง หนักเบา และอาศัยความเชี่ยวชาญ ความทุ่มเทโดยเฉพาะ และเกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการ
จากนี้ไปจะเป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ
สิ่งแรกที่ผมคิดว่าควรดำเนินการคือการ "ให้เห็นความชัดเจนของปัญหา"
การเปลี่ยนแปลงจากผู้ได้ประโยชน์อย่าง content provider และ operator คงทำได้ยาก
แม้กระทั้งพื้นที่สื่ออย่างบอร์ดเองก็คงต้องคำนึงถึงผลกระทบกับ operator
การจะหวังกับ กสทช. หน่วยงานกำกับ ก็คงจะยาก ส่วนเรื่องการดำเนินการทางกฎหมายทั้งหมดต้องเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายและหลักฐาน
ดังนั้นสิ่งที่ควรกำหนดกลยุทธ์น่าจะพุ่งเป้าไปที่ ภาคประชาชน และ ภาครัฐที่มีอำนาจที่สามารถลงมาตรวจสอบ/เปลี่ยนแปลง
ไม่ว่าทางไหน ก็ต้องอาศัยสิ่งที่เห็นตรงกันว่า ปัญหานี้รุนแรงแค่ไหน
ถ้าปัญหานี้ถูกมองว่าเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ ไม่ว่าภาคประชาชนและภาครัฐที่มีอำนาจก็คงจะนิ่งเฉย
ดังนั้นคำถามที่ต้องถามเพื่อชี้ให้ชัดว่าปัญหานี้รุนแรงขนาดไหน ตัวอย่างเช่น
1. มีประชาชนกี่คน ที่เดือดร้อนจากการเอาเปรียบนี้
2. มูลค่าความเสียหายจากการเอาเปรียบนี้เป็นมูลค่ากี่สิบกี่ร้อยกี่พันล้านบาท
3. คนที่ได้เงินจากการเอาเปรียบนี้ไปเข้ากระเป๋าใคร มูลค่าเท่าไร
ยกตัวอย่าง ลองนึกเทียบเคียงปัญหาอื่นๆ เช่น ถูกโกงแชร์ลูกโซ่ ผู้เสียหายหลัก สิบ หลักร้อย รวมมูลค่าเสียหาย 50 ล้านบาท แค่นี้ก็ออกข่าวค่ำแล้ว
หรือ ผู้ถูกหลอกกรณีใดกรณีหนึ่งทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย เราก็จะรู้สึกถึงความรุนแรง ข้นแค้นที่เขาต้องเจอ
ทั้งสื่อ สังคมชุมชน และหน่วยงานรัฐ ก็จะกระตือรือร้นขึ้นมา (แม้หลายกรณีจะแค่ไฟไหม้ฟางก็ตาม)
แต่กรณีการถูกเอาเปรียบนี้ เสมือนปลิงดูดเลือด ดูดเงียบๆ เอาเปรียบไปเท่าไร เราไม่สามารถระบุความรุนแรงได้เลย (แม้ว่าจะคำนวณด้วยการประมาณก็ไม่ใช่ข้อมูลเชิงประจักษ์)
ไม่มีสื่อไหนสนใจ ไม่มีภาคประชาชนไหนตื่นตัว ไม่มีเพจไหนใส่ใจ ไปเสนอภาครัฐ ก็ไม่มีน้ำหนัก ผู้มีอำนาจก็คงจะไม่ใส่ใจ
แนวทางแรกที่ผมคิดคือการพยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหานี้รุนแรงแค่ไหน แม้ไม่รู้ว่าจะได้แค่ไหน แต่ผมจะลองดูนะครับ
ถ้าใครมีไอเดียอะไรเพิ่ม หรือใครอยากทำแนวทางไหนก็แชร์กันได้นะครับ
กระดานความเห็น (ดิบ) เรียงตามลำดับความเห็น (ความเห็นจากการระดมสมองทั้งหมดจะแปะลงไว้เพื่อพูดคุยกันต่อนะครับ)
แปะไว้ก่อน เดี๋ยวจัดกลุ่มให้นะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้