.
.
Wadi Faynan ใน Jordan
สถานที่นักวิจัยค้นพบ
เหตุการณ์มลพิษยุคโบราณ
ที่เกิดจากการถลุงแร่ทองแดง
Credit: Barqa Landscape Project
/University of Waterloo
.
.
มลพิษทางอุตสาหกรรม
ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติในยุคปัจจุบัน
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว
นักวิจัยนานาชาติได้ค้นพบหลักฐานใหม่ว่า
แม่น้ำแห่งแรกของโลก
เคยเกิดมลพิษเกิดขึ้นเมื่อราว 7,000 ปีก่อน
แม่น้ำในอดีตที่แห้งผากไปแล้ว
ใน Wadi Faynan เขตตอนใต้ของ Jordan
Professor Russell Adams จาก Department of Anthropology ของ University of Waterloo
กับทีมงานวิจัยได้ค้นพบหลักฐาน
มลพิษยุคแรกเริ่มที่ทำขึ้นโดยฝีมือมนุษย์
โดยมีสาเหตุมาจากการถลุงแร่โลหะทองแดง
เพื่อการใช้งานต่าง ๆ ของคนยุคนั้น
ยุคหินใหม่ของมนุษย์ คือ
ก้าวแรกของการเรียนรู้และพัฒนา
การหลอมเหลวโลหะด้วย
การถลุงแร่ทองแดงโดยฝีมือคน
รายงานวิจัยชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ใน
Science of the Total Environment
ได้จุดประกายแสงสว่าง
ให้เห็นหนทางประวัติศาสตร์
เมื่อคนได้เริ่มต้นผลิตเครื่องมือ
จากโลหะแทนที่ก้อนหิน
ในยุค Chalcolithic หรือยุคทองแดง
ที่เป็นรอยต่อระหว่างยุคหินใหม่กับยุคหินเก่า
ก่อนที่จะเริ่มต้นยุคสำริดในเวลาต่อมา
" ชาวบ้านเหล่านี้ได้ทดลองด้วย
ไฟ
ทดลองกับ
หม้อปั้นดินเผา
ทดลอง
บนแหล่งแร่ทองแดง ในพื้นที่
องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้รวมกัน
ทำให้เป็นจุดเริ่มต้น
การผลิตทองแดงจากแหล่งแร่แห่งนี้
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ที่
ถูกค้นพบโดยบังเอิญ นี้
ทำให้เกิดการแพร่หลายจนกลายเป็นที่ยอมรับ
และใช้โลหะเป็นสัญลักษณ์ทางชนชั้นในสังคม
เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมโลกยุคใหม่ในยุคนั้น "
Russell Adams ให้สัมภาษณ์
ชาวบ้านผลิตทองแดง
เป็นผลพลอยได้จากกองไฟโดยบังเอิญ
ในตอนที่เผาหม้อปั้นดินเผากับเหยือกบรรจุน้ำ
ในเวลาเดียวกันกองไฟได้เผาไหม้
แร่ทองแดงสีฟ้าเขียวในพื้นดินที่เป็นแหล่งแร่
ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่จนละลายตัว
กระบวนการถลุงแร่ทองแดงในยุคโบราณ
ต้องใช้ระยะเวลาที่นานมาก
พอ ๆ กับการใช้แรงงานคนจำนวนมาก
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้
จึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลาหลายพันปี
ก่อนที่ทองแดงจะหลายเป็น
ศูนย์กลางของสังคมมนุษย์/แบ่งแยกชนชั้น
วัตถุหลายอย่างในตอนต้น
ที่ทำจากทองแดงได้ถูกผลิตขึ้นมา
กลายเป็นสัญลักษณ์
และแสดงฐานะทางชนชั้นในสังคม
เพราะเป็นของหายาก
และเป็นของแปลกใหม่มากในยุคนั้น
จึงกลายเป็นข้าวของที่ยกระดับทางชนชั้น
เมื่อหลายปีผ่านไป
ชุมชนในเขตนี้มีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง
มีการถลุงแร่ทองแดงภายในเหมืองแร่ทองแดง
มีการทำเหมืองแร่ โรงงานถลุงแร่
และโรงงานผลิตสินค้าจากแร่ทองแดง
เริ่มต้นในราว 2,600 ปีก่อนคริสตศักราช
"
เขตนี้จึงเป็นหมู่บ้านแห่งแรกของโลก
ที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกในโลก
มันคือ ศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยี "
Russell Adams ให้สัมภาษณ์
.
.
แต่ชาวบ้านในเขตนี้ต้องชดใช้
ให้กับธรรมชาติด้วยราคาแพง
เพราะผลผลิตสินค้าที่ได้ราคางาม
และการผลิตทองแดงอย่างมาก
ก่อให้เกิดขี้ตะกรัน
ของเสียจากการถลุงแร่โลหะ
ที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมากเช่นกัน
แร่โลหะเหล่านี้มักจะมีองค์ประกอบของ
ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี แคดเมี่ยม
แม้กระทั่งสารหนู ปรอท และ แทลเลี่ยม
พวกพืชต่างดูดซึมธาตุโลหะหนักเหล่านี้
แพะ แกะ ต่างกินพืชในพื้นที่
ที่มีสารปนเปื้อนโลหะหนักเหล่านี้
คนกินพืชผัก แพะ แกะ ที่มาจากบริเวณนี้
ต่างได้รับภัยพิบัติจากการสะสมในสิ่งมีชีวิต
จากสภาพแวดล้อมดังกล่าวในพื้นที่แห่งนี้
Russell Adams กับนักวิจัย
ต่างตั้งข้อสันนิษฐานและเชื่อว่า
มลพิษนับพัน ๆ ปีจากการทำเหมืองแร่ทองแดง
และการผลิตทองแดงจำนวนมากในเขตนี้
นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอย่างมาก
กับผู้คนในยุคโบราณ ก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
มีอาการผิดปกติ และตายก่อนวัยอันสมควร
เพราะบางคนไวต่อผลกระทบจากมลพิษ
ทั้งนี้นักวิจัยได้ค้นพบ
ระดับของแร่ทองแดงและตะกั่ว
อยู่ในกระดูกคนในเขตนี้
ย้อนหลังไปจนถึงยุคโรมัน
Russell Adams
กับทีมงานนักวิจัยระหว่างประเทศ
กำลังพยายามที่จะขยายผลการวิเคราะห์
เรื่องผลกระทบของมลพิษในเขตพื้นที่นี้
ย้อนหลังไปถึงยุคสำริด
ซึ่งเริ่มต้นใน 3,200 ปีก่อนคริสตกาล
ในเขตพื้นที่ Wadi Faynan
ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน
เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ทองแดงของมนุษย์
โดยจะตรวจสอบขอบเขต
และการแพร่กระจายของมลพิษ
ย้อนหลังไปถึงตอนที่เริ่มต้นถลุงแร่ทองแดง
ไปจนกระทั่งการผลิตในระดับอุตสาหกรรม
ที่ทำให้มีผู้คนในเขตนี้ที่เพิ่มจำนวนมากมายขึ้น
จนกระทั่งกลายเป็นศูนย์กลางสังคมมนุษย์
ในยุคสมัยหนึ่งก่อนที่จะหายสาบสูญไป
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/jsi03f
https://goo.gl/TimaVt
https://goo.gl/g49nlk
.
.
หมายเหตุ
สำริด ทำมาจากการผสมทองแดงกับดีบุก
แล้วเผาจนหลอมเหลวผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ก่อนมาตีขึ้นรูปต่าง ๆ หรือหล่อในเบ้าที่ทำจากหิน/ดินเผาตามรูปทรงต่าง ๆ
โบราณวัตถุที่ทำจากสำริดมีมากมาย แต่มักจะบุบสลาย/เป็นสนิมโลหะชำรุดเสื่อมสภาพ
ของไทยแต่เดิมมักจะมีส่วนผสมทองคำหรือแก่ทองคำ จึงมักเรียกว่า ทองสำริด
สำริดที่มีมานานมากแล้วก่อนมีรัฐชาติสยามคือ กลองมโหระทึก
สำริดมีความเหนียว/ความแข็งแกร่ง/ความคมสู้เหล็กไม่ได้
ทำให้ชนชาติที่ตีเหล็กได้ ต่อมาพัฒนาใช้เหล็กทำอาวุธ
เดินทางมารุกรานชนชาติที่ทำอาวุธจากสำริดจนสิ้นชาติ
เช่น ชนเผ่าอารยันที่มาโจมตีชนพื้นเมืองในชมพูทวีป
พอมีชัยชนะก็จับผู้แพ้มาเป็นทาส/เชลย
พร้อมกับเหยียดหยามคนพวกนี้เป็นวรรณะศูทร/จัณฑาล
ในขณะเดียวกันก็พากันอวย/ยกยอชนชั้นตนเอง
ให้เหนือกว่าชนชั้นอื่นจนเป็นที่มาของระบบวรรณะ/ยศฐาบรรดาศักดิ์
การรุกรานจากพวกชนเผ่าอารยันในชมพูทวีป
มีผลทำให้ชนพื้นเมืองเดิมหลายกลุ่มต้องอพยพ
โยกย้ายหนีตายหนีจากการเป็นทาสหลายระลอก
ตามตำนานแหลายแห่งระบุว่า บางส่วนก็หนีมาแถวเอเซียอาคเนย์หลายครั้ง
เช่น มาเลย์ อินโดนีเซีย ขอม ทวารดี ศรีวิชัย หรือ ตามหมู่เกาะแปซิฟิค
ก่อนที่พวกชนเผ่าอารยันแถวชมพูทวีปจะบุกรุก/รุกรานทางวัฒนธรรมตามมาอีกครั้ง
ในรูปของศาสนา พิธีกรรม ไสยศาสตร์ ความเชื่อ ความรู้ด้านต่าง ๆ
จนต่อมาผสมกลมกลืนกลายเป็นคนพื้นเมืองแถวนี้ไป
จนแทบแยกแยะไม่ออกว่ามีชาติพันธุ์เดิมจากชมพูทวีป
ส่วนพวกจีน/พวกมองโกลรุกรานลงมาแถวเอเซียอาคเนย์ลำบากมาก
เพราะมีทิวเขาสูงขวางกั้น พร้อมกับภัยพิบัติไข้ป่า สัตว์ป่า เป็นตัวทำลายชีวิตทหาร
ทั้งในสมัยก่อนพวกนี้เดินเรือไม่ค่อยเก่ง มักจะเมาเรือได้ง่าย ๆ
มีการเดินเรือครั้งยิ่งใหญ่ของจีนคือ ซำเปากง หรือ เจิ้งเหอ
มีเรื่องเล่าในสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ ขณะอยู่บริเวณแม่น้ำใหญ่
เลยถูกบังทองจารชนสองหน้าหลอกให้ผูกเรือเข้าด้วยกันเป็นแพใหญ่
ทำให้ในที่สุดขงเบ้งกับจิวยี่เผาทัพเรือหลวงโจโฉได้
ในยุคก่อน พวกจีน/พวกมงโกลมักเป็นพวกนักรบช่ำชองการรบบนหลังม้า
ทางตอนใต้ชนชาติจีนลงมาจะมีป้อมปราการธรรมชาติ
ที่มักจะเป็นเทือกเขาที่มีป่าไม้รกคลึ้มขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
ยากกับการเดินทาง/ขนส่งเสบียงกรัง/อาวุธยุทโธปกรณ์
ระหว่างการเดินทัพจะต้องสู้รบกับสัตว์ร้าย/โรคภัยไข้เจ็บ/คนป่า
ส่วนพวกชนเผ่าต่าง ๆ ทางฝั่งชมพูทวีป
จะเดินทางสะดวกกว่าโดยมาทางทะเล/เลียบชายฝั่งทะเล
การเดินทางด้วยเรือจะเปรียบเสมือนกับ
การเดินทางบนทางหลวงแผ่นดิน/ทางหลวงชนบทในปัจจุบัน
ที่คล่องตัวกว่าสิ่งกีดขวางทางเดินน้อยกว่า
เรื่องย่อเกี่ยวกับวรรณะในอินเดีย
พระบรมศาสดาเคยตรัสไว้ในพระสูตรว่า
พวกพราหมณ์โกหกว่าเกิดมาจากปากพระพรหม
เพราะพราหมณ์ทุกคนต่างเกิดมาจากโยนี
ผู้ใดปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็เป็นพระพรหมได้
ด้วยการยึดถือหลักพรหมวิหาร 4
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
อนึ่ง วรรณะกษัตริย์(บุรุษ)มีบุตรกับวรรณะใด
ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นวรรณะกษัตริย์สถานเดียว
ตามคำเฉลยในพระสูตรของพระบรมศาสดา
มีกษัตริย์หลายพระองค์ที่มีมารดามาจากวรรณะอื่น
ที่โด่งดังและเขียนจารึกไว้ในพระไตรปิฏก คือ
พระวิฑูฑภะที่เป็นบุตรนางทาสีกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
ที่ทำลายล้างสกุลศากยะวงศ์ของพระบรมศาสดาจนสิ้นชาติ
เพราะพวกศากยะวงศ์ดูถูกพระองค์เรื่องชาติตระกูล
ทางฝั่งมารดาที่ต่ำต้อยกว่าพวกศากยะวงศ์
ธรรมดาโลก ผู้ถืออาวุธสุดจักร้ายประหารชีวิตใครก็ได้
อาวุธ คือ อำนาจที่ชอบธรรมในการปกครองและกดขี่
ถ้ามีเพียบพร้อมกับกองกำลังติดอาวุธของผู้มีชัยและเป็นพาล
มีในพระธรรมกถาของพระบรมศาสดา
ข้อมูลเพิ่มเติม/ไทย
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
https://goo.gl/FDj0jS
นักวิจัยพบแม่น้ำมีมลพิษก่อนยุคสำริดเมื่อ 7,000 ปีก่อน
.
Wadi Faynan ใน Jordan
สถานที่นักวิจัยค้นพบ
เหตุการณ์มลพิษยุคโบราณ
ที่เกิดจากการถลุงแร่ทองแดง
Credit: Barqa Landscape Project
/University of Waterloo
.
มลพิษทางอุตสาหกรรม
ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติในยุคปัจจุบัน
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว
นักวิจัยนานาชาติได้ค้นพบหลักฐานใหม่ว่า
แม่น้ำแห่งแรกของโลก
เคยเกิดมลพิษเกิดขึ้นเมื่อราว 7,000 ปีก่อน
แม่น้ำในอดีตที่แห้งผากไปแล้ว
ใน Wadi Faynan เขตตอนใต้ของ Jordan
Professor Russell Adams จาก Department of Anthropology ของ University of Waterloo
กับทีมงานวิจัยได้ค้นพบหลักฐาน
มลพิษยุคแรกเริ่มที่ทำขึ้นโดยฝีมือมนุษย์
โดยมีสาเหตุมาจากการถลุงแร่โลหะทองแดง
เพื่อการใช้งานต่าง ๆ ของคนยุคนั้น
ยุคหินใหม่ของมนุษย์ คือ
ก้าวแรกของการเรียนรู้และพัฒนา
การหลอมเหลวโลหะด้วย
การถลุงแร่ทองแดงโดยฝีมือคน
รายงานวิจัยชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ใน
Science of the Total Environment
ได้จุดประกายแสงสว่าง
ให้เห็นหนทางประวัติศาสตร์
เมื่อคนได้เริ่มต้นผลิตเครื่องมือ
จากโลหะแทนที่ก้อนหิน
ในยุค Chalcolithic หรือยุคทองแดง
ที่เป็นรอยต่อระหว่างยุคหินใหม่กับยุคหินเก่า
ก่อนที่จะเริ่มต้นยุคสำริดในเวลาต่อมา
" ชาวบ้านเหล่านี้ได้ทดลองด้วย ไฟ
ทดลองกับ หม้อปั้นดินเผา
ทดลอง บนแหล่งแร่ทองแดง ในพื้นที่
องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้รวมกัน
ทำให้เป็นจุดเริ่มต้น
การผลิตทองแดงจากแหล่งแร่แห่งนี้
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ที่ ถูกค้นพบโดยบังเอิญ นี้
ทำให้เกิดการแพร่หลายจนกลายเป็นที่ยอมรับ
และใช้โลหะเป็นสัญลักษณ์ทางชนชั้นในสังคม
เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมโลกยุคใหม่ในยุคนั้น "
Russell Adams ให้สัมภาษณ์
ชาวบ้านผลิตทองแดง
เป็นผลพลอยได้จากกองไฟโดยบังเอิญ
ในตอนที่เผาหม้อปั้นดินเผากับเหยือกบรรจุน้ำ
ในเวลาเดียวกันกองไฟได้เผาไหม้
แร่ทองแดงสีฟ้าเขียวในพื้นดินที่เป็นแหล่งแร่
ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่จนละลายตัว
กระบวนการถลุงแร่ทองแดงในยุคโบราณ
ต้องใช้ระยะเวลาที่นานมาก
พอ ๆ กับการใช้แรงงานคนจำนวนมาก
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้
จึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลาหลายพันปี
ก่อนที่ทองแดงจะหลายเป็น
ศูนย์กลางของสังคมมนุษย์/แบ่งแยกชนชั้น
วัตถุหลายอย่างในตอนต้น
ที่ทำจากทองแดงได้ถูกผลิตขึ้นมา
กลายเป็นสัญลักษณ์
และแสดงฐานะทางชนชั้นในสังคม
เพราะเป็นของหายาก
และเป็นของแปลกใหม่มากในยุคนั้น
จึงกลายเป็นข้าวของที่ยกระดับทางชนชั้น
เมื่อหลายปีผ่านไป
ชุมชนในเขตนี้มีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง
มีการถลุงแร่ทองแดงภายในเหมืองแร่ทองแดง
มีการทำเหมืองแร่ โรงงานถลุงแร่
และโรงงานผลิตสินค้าจากแร่ทองแดง
เริ่มต้นในราว 2,600 ปีก่อนคริสตศักราช
" เขตนี้จึงเป็นหมู่บ้านแห่งแรกของโลก
ที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกในโลก
มันคือ ศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยี "
Russell Adams ให้สัมภาษณ์
.
.
แต่ชาวบ้านในเขตนี้ต้องชดใช้
ให้กับธรรมชาติด้วยราคาแพง
เพราะผลผลิตสินค้าที่ได้ราคางาม
และการผลิตทองแดงอย่างมาก
ก่อให้เกิดขี้ตะกรัน
ของเสียจากการถลุงแร่โลหะ
ที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมากเช่นกัน
แร่โลหะเหล่านี้มักจะมีองค์ประกอบของ
ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี แคดเมี่ยม
แม้กระทั่งสารหนู ปรอท และ แทลเลี่ยม
พวกพืชต่างดูดซึมธาตุโลหะหนักเหล่านี้
แพะ แกะ ต่างกินพืชในพื้นที่
ที่มีสารปนเปื้อนโลหะหนักเหล่านี้
คนกินพืชผัก แพะ แกะ ที่มาจากบริเวณนี้
ต่างได้รับภัยพิบัติจากการสะสมในสิ่งมีชีวิต
จากสภาพแวดล้อมดังกล่าวในพื้นที่แห่งนี้
Russell Adams กับนักวิจัย
ต่างตั้งข้อสันนิษฐานและเชื่อว่า
มลพิษนับพัน ๆ ปีจากการทำเหมืองแร่ทองแดง
และการผลิตทองแดงจำนวนมากในเขตนี้
นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอย่างมาก
กับผู้คนในยุคโบราณ ก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
มีอาการผิดปกติ และตายก่อนวัยอันสมควร
เพราะบางคนไวต่อผลกระทบจากมลพิษ
ทั้งนี้นักวิจัยได้ค้นพบ
ระดับของแร่ทองแดงและตะกั่ว
อยู่ในกระดูกคนในเขตนี้
ย้อนหลังไปจนถึงยุคโรมัน
Russell Adams
กับทีมงานนักวิจัยระหว่างประเทศ
กำลังพยายามที่จะขยายผลการวิเคราะห์
เรื่องผลกระทบของมลพิษในเขตพื้นที่นี้
ย้อนหลังไปถึงยุคสำริด
ซึ่งเริ่มต้นใน 3,200 ปีก่อนคริสตกาล
ในเขตพื้นที่ Wadi Faynan
ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน
เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ทองแดงของมนุษย์
โดยจะตรวจสอบขอบเขต
และการแพร่กระจายของมลพิษ
ย้อนหลังไปถึงตอนที่เริ่มต้นถลุงแร่ทองแดง
ไปจนกระทั่งการผลิตในระดับอุตสาหกรรม
ที่ทำให้มีผู้คนในเขตนี้ที่เพิ่มจำนวนมากมายขึ้น
จนกระทั่งกลายเป็นศูนย์กลางสังคมมนุษย์
ในยุคสมัยหนึ่งก่อนที่จะหายสาบสูญไป
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/jsi03f
https://goo.gl/TimaVt
https://goo.gl/g49nlk
.
.
.
ที่มา https://goo.gl/TimaVt
.
.
.
.
.
.
.
การขุดค้นโบราณคดี
ใน Wadi Faynan ที่ Jordan
ที่มาของทั้ง 3 ภาพ https://goo.gl/k1UP2Y
.
.
.
.
.
บริเวณที่ตั้งแหล่งโบราณคดี
ใน Wadi Faynan ที่ Jordan
ที่มาของทั้ง 2 ภาพ https://goo.gl/B3Hzg4
.
.
แร่ธาตุที่เป็นโลหะหนักพบในทองแดง
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
หมายเหตุ
สำริด ทำมาจากการผสมทองแดงกับดีบุก
แล้วเผาจนหลอมเหลวผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ก่อนมาตีขึ้นรูปต่าง ๆ หรือหล่อในเบ้าที่ทำจากหิน/ดินเผาตามรูปทรงต่าง ๆ
โบราณวัตถุที่ทำจากสำริดมีมากมาย แต่มักจะบุบสลาย/เป็นสนิมโลหะชำรุดเสื่อมสภาพ
ของไทยแต่เดิมมักจะมีส่วนผสมทองคำหรือแก่ทองคำ จึงมักเรียกว่า ทองสำริด
สำริดที่มีมานานมากแล้วก่อนมีรัฐชาติสยามคือ กลองมโหระทึก
สำริดมีความเหนียว/ความแข็งแกร่ง/ความคมสู้เหล็กไม่ได้
ทำให้ชนชาติที่ตีเหล็กได้ ต่อมาพัฒนาใช้เหล็กทำอาวุธ
เดินทางมารุกรานชนชาติที่ทำอาวุธจากสำริดจนสิ้นชาติ
เช่น ชนเผ่าอารยันที่มาโจมตีชนพื้นเมืองในชมพูทวีป
พอมีชัยชนะก็จับผู้แพ้มาเป็นทาส/เชลย
พร้อมกับเหยียดหยามคนพวกนี้เป็นวรรณะศูทร/จัณฑาล
ในขณะเดียวกันก็พากันอวย/ยกยอชนชั้นตนเอง
ให้เหนือกว่าชนชั้นอื่นจนเป็นที่มาของระบบวรรณะ/ยศฐาบรรดาศักดิ์
การรุกรานจากพวกชนเผ่าอารยันในชมพูทวีป
มีผลทำให้ชนพื้นเมืองเดิมหลายกลุ่มต้องอพยพ
โยกย้ายหนีตายหนีจากการเป็นทาสหลายระลอก
ตามตำนานแหลายแห่งระบุว่า บางส่วนก็หนีมาแถวเอเซียอาคเนย์หลายครั้ง
เช่น มาเลย์ อินโดนีเซีย ขอม ทวารดี ศรีวิชัย หรือ ตามหมู่เกาะแปซิฟิค
ก่อนที่พวกชนเผ่าอารยันแถวชมพูทวีปจะบุกรุก/รุกรานทางวัฒนธรรมตามมาอีกครั้ง
ในรูปของศาสนา พิธีกรรม ไสยศาสตร์ ความเชื่อ ความรู้ด้านต่าง ๆ
จนต่อมาผสมกลมกลืนกลายเป็นคนพื้นเมืองแถวนี้ไป
จนแทบแยกแยะไม่ออกว่ามีชาติพันธุ์เดิมจากชมพูทวีป
ส่วนพวกจีน/พวกมองโกลรุกรานลงมาแถวเอเซียอาคเนย์ลำบากมาก
เพราะมีทิวเขาสูงขวางกั้น พร้อมกับภัยพิบัติไข้ป่า สัตว์ป่า เป็นตัวทำลายชีวิตทหาร
ทั้งในสมัยก่อนพวกนี้เดินเรือไม่ค่อยเก่ง มักจะเมาเรือได้ง่าย ๆ
มีการเดินเรือครั้งยิ่งใหญ่ของจีนคือ ซำเปากง หรือ เจิ้งเหอ
มีเรื่องเล่าในสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ ขณะอยู่บริเวณแม่น้ำใหญ่
เลยถูกบังทองจารชนสองหน้าหลอกให้ผูกเรือเข้าด้วยกันเป็นแพใหญ่
ทำให้ในที่สุดขงเบ้งกับจิวยี่เผาทัพเรือหลวงโจโฉได้
ในยุคก่อน พวกจีน/พวกมงโกลมักเป็นพวกนักรบช่ำชองการรบบนหลังม้า
ทางตอนใต้ชนชาติจีนลงมาจะมีป้อมปราการธรรมชาติ
ที่มักจะเป็นเทือกเขาที่มีป่าไม้รกคลึ้มขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
ยากกับการเดินทาง/ขนส่งเสบียงกรัง/อาวุธยุทโธปกรณ์
ระหว่างการเดินทัพจะต้องสู้รบกับสัตว์ร้าย/โรคภัยไข้เจ็บ/คนป่า
ส่วนพวกชนเผ่าต่าง ๆ ทางฝั่งชมพูทวีป
จะเดินทางสะดวกกว่าโดยมาทางทะเล/เลียบชายฝั่งทะเล
การเดินทางด้วยเรือจะเปรียบเสมือนกับ
การเดินทางบนทางหลวงแผ่นดิน/ทางหลวงชนบทในปัจจุบัน
ที่คล่องตัวกว่าสิ่งกีดขวางทางเดินน้อยกว่า
เรื่องย่อเกี่ยวกับวรรณะในอินเดีย
พระบรมศาสดาเคยตรัสไว้ในพระสูตรว่า
พวกพราหมณ์โกหกว่าเกิดมาจากปากพระพรหม
เพราะพราหมณ์ทุกคนต่างเกิดมาจากโยนี
ผู้ใดปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็เป็นพระพรหมได้
ด้วยการยึดถือหลักพรหมวิหาร 4
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
อนึ่ง วรรณะกษัตริย์(บุรุษ)มีบุตรกับวรรณะใด
ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นวรรณะกษัตริย์สถานเดียว
ตามคำเฉลยในพระสูตรของพระบรมศาสดา
มีกษัตริย์หลายพระองค์ที่มีมารดามาจากวรรณะอื่น
ที่โด่งดังและเขียนจารึกไว้ในพระไตรปิฏก คือ
พระวิฑูฑภะที่เป็นบุตรนางทาสีกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
ที่ทำลายล้างสกุลศากยะวงศ์ของพระบรมศาสดาจนสิ้นชาติ
เพราะพวกศากยะวงศ์ดูถูกพระองค์เรื่องชาติตระกูล
ทางฝั่งมารดาที่ต่ำต้อยกว่าพวกศากยะวงศ์
ธรรมดาโลก ผู้ถืออาวุธสุดจักร้ายประหารชีวิตใครก็ได้
อาวุธ คือ อำนาจที่ชอบธรรมในการปกครองและกดขี่
ถ้ามีเพียบพร้อมกับกองกำลังติดอาวุธของผู้มีชัยและเป็นพาล
มีในพระธรรมกถาของพระบรมศาสดา
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ https://goo.gl/FDj0jS