สืบเนื่องจากกระทู้นี้
http://ppantip.com/topic/35865818
เกร็ดประวัติศาสตร์เรื่องคนเปิดประตูเมืองให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าพระนครนี่ถูกเอ่ยถึงถี่ และถูกเอ่ยถึงในโทนเสียงประมาณว่าไม่รักชาติบ้าง หรือถ้าไม่เปิดประตูเราคงไม่แพ้บ้าง เรื่องเปิด/ปิดประตูเมืองนี่ผมไม่รู้เท็จจริงแค่ไหน แต่ผมเห็นใจคนที่เปิดประตูที่มักจะถูกยกมาประณามแทบทุกครั้งที่มีการปลุกเลือดรักชาติไทย ที่เห็นใจก็ด้วยว่าเราล้วนต่างก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์หนึ่ง(คนที่นั่งเขียนพงศาวดารได้เห็นกับตามาหรือไม่ก็ไม่รู้ นับประสาอะไรคนที่นั่งอ่านหลังเหตุการณ์เป็นร้อยๆ ปีผ่านมาอย่างเราๆ ท่านๆ) บริบทของตอนนั้นกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงอีกหนึ่ง(เช่นคำว่า "ชาติ" และ "เลือดรักชาติ" ตอนนั้นกับตอนนี้มันคืออะไร?)
กรณีของ "ชาวบ้านบางระจัน" ในคราวเสียกรุงที่ถูกยกให้เป็นไอดอลแห่งเลือดรักชาติชนิดละเลงเลือดทาแผ่นดิน นักประวิติหลายท่านและจากหลายสำนักกล่าวแทบจะตรงกันว่า พงศาวดารฉบับอื่นๆ ยกเว้นฉบับพระราชหัตเลขาเอ่ยถึงหมู่บ้านแห่งนี้ไม่กี่บรรทัด แต่ฉบับพระราชหัตเลขาซึ่งเขียนในรัชกาลที่๔ในยุคที่ชาติตะวันตกกำลังล่าอาณานิคมในแถบนี้เขียนบางระจันในแนวสดุดีไว้หลายหน้ากระดาษ(ต่อมา ไม้ เมืองเดิม ขยายออกไปอีกเป็นร้อยบรรทัดในแนวนิยายอิงประวัติศาสตร์) ผมมองว่าออกจะเป็นเรื่องแปลกอยู่สักหน่อยที่เห็นบทบาทของสามัญชนถูกยกย่องและโลดแล่นบนหน้าประวิตศาสตร์โดยเฉพาะในพงศาวดาร ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าส่วนใหญ่พงศาวดารกล่าวถึงเฉพาะกิจกรรมของพระมหากษัตริ์( เกี่ยวกับเผ่าพงศ์ของเทพที่อวตารลงมาปกครองโลกมนุษย์) อีกฟากหนึ่ง....อาจารย์สุเนตร นักประวัติศาสตร์จากจุฬาฯ บอกว่าหนังสือประวัติศาสตร์ของพม่าไม่ได้เอ่ยถึงบ้านบางระจันเลย แต่ในทางตรงกันข้าม กลับเอ่ยถึงเจ้าเมืองสุพรรณฯ ท่านหนึ่งที่แม่ทัพพม่ายกย่องว่าช่วยพม่ารบกับอยุธยาจนตัวตาย!!
พฤติกรรมที่แตกต่างกันระหว่างชาวบ้านบางระจันกับเจ้าเมืองสุพรรณ(ซึ่งอาจจะรวมถึงชาวสุพรรณฯ อีกส่วนหนึ่งด้วย)ในช่วงพม่ายกทัพล้อมกรุงฯ จะจริงเท็จอย่างไรก็แล้วแต่เราๆ ท่านๆ จะใคร่ครวญ แต่สองเหตุการณ์นี้ก็พอจะทำให้เรามองเห็นภาพของ "ชาติ” และการ "รักชาติ” ในยุคนั้นได้อย่างเลือนลางหรือแทบจะไม่มี เพราะนอกเหนือจากเหตการณ์เจ้าเมืองสุพรรณฯ ช่วยพม่ารบไทยแล้ว เอาเข้าจริงๆ.......ทหารแนวหน้าที่ล้อมกรุงฯ และเผารากกำแพงแล้วกรูเข้าพระนครนั้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนไทยเสียด้วยซ้ำ ต้องไม่ลืมว่า....เนเมียวสีหบดียกทัพขึ้นทางเหนือกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก แพร่ น่าน กำแพงเพชรเรื่อยลงมา ส่วนหนึ่งคนไทยเหล่านั้นก็ต้องถูกเกณฑ์ไปเสริมกองทัพพม่าเป็นทหารชั้นเลวออกแนวหน้าบ้าง เป็นกองเสบียงจัดหาอาหารบ้าง ฯลฯ เนเมียวฯ ใช้เวลาเกือบสามปีที่กวาดต้อนผู้คน(ไทย)จากหัวเมืองด้านเหนือลงมาล้อมอยุธยา อย่างขี้หมูขี้หมา...ก็คงจะได้เชลยคน(ไทย)มาเสริมกำลังหลายหมื่น อีกด้านหนึ่ง...มหามังนรธาก็เคลื่อนทัพจากทวายทางใต้ขึ้นมากวาดต้อนผู้คน(ไทย) ไล่ตั้งแต่เพชรบุรี กาญจน์ สุพรรณฯ ก่อนจะเข้ามาสมทบกับกองทัพของเนเมียวฯ ประวัติศาสตร์ไทยก็พูดเอาไว้ว่ามีคนไทยเข้าร่วมกับพม่าจำนวนหนึ่ง เขาคนไทยเหล่านั้นสมควรจะถูกประณามด้วยไหม?
ผมว่าเราเรื่องรักชาตินี่...เพลาๆ ลงบ้าง เอากันพอประมาณน่าจะดีต่อสุขภาพจิตนะครับ อย่าถึงขั้นต้องหอบหิ้วอารมณ์ข้ามภพข้ามชาติไปก่นด่าหรือประณามคนไทย(ในอดีต)ด้วยกันเลย....
....ว่าด้วยเลือดรักชาติ กับคนเปิดประตูพระนครให้พม่า....
เกร็ดประวัติศาสตร์เรื่องคนเปิดประตูเมืองให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าพระนครนี่ถูกเอ่ยถึงถี่ และถูกเอ่ยถึงในโทนเสียงประมาณว่าไม่รักชาติบ้าง หรือถ้าไม่เปิดประตูเราคงไม่แพ้บ้าง เรื่องเปิด/ปิดประตูเมืองนี่ผมไม่รู้เท็จจริงแค่ไหน แต่ผมเห็นใจคนที่เปิดประตูที่มักจะถูกยกมาประณามแทบทุกครั้งที่มีการปลุกเลือดรักชาติไทย ที่เห็นใจก็ด้วยว่าเราล้วนต่างก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์หนึ่ง(คนที่นั่งเขียนพงศาวดารได้เห็นกับตามาหรือไม่ก็ไม่รู้ นับประสาอะไรคนที่นั่งอ่านหลังเหตุการณ์เป็นร้อยๆ ปีผ่านมาอย่างเราๆ ท่านๆ) บริบทของตอนนั้นกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงอีกหนึ่ง(เช่นคำว่า "ชาติ" และ "เลือดรักชาติ" ตอนนั้นกับตอนนี้มันคืออะไร?)
กรณีของ "ชาวบ้านบางระจัน" ในคราวเสียกรุงที่ถูกยกให้เป็นไอดอลแห่งเลือดรักชาติชนิดละเลงเลือดทาแผ่นดิน นักประวิติหลายท่านและจากหลายสำนักกล่าวแทบจะตรงกันว่า พงศาวดารฉบับอื่นๆ ยกเว้นฉบับพระราชหัตเลขาเอ่ยถึงหมู่บ้านแห่งนี้ไม่กี่บรรทัด แต่ฉบับพระราชหัตเลขาซึ่งเขียนในรัชกาลที่๔ในยุคที่ชาติตะวันตกกำลังล่าอาณานิคมในแถบนี้เขียนบางระจันในแนวสดุดีไว้หลายหน้ากระดาษ(ต่อมา ไม้ เมืองเดิม ขยายออกไปอีกเป็นร้อยบรรทัดในแนวนิยายอิงประวัติศาสตร์) ผมมองว่าออกจะเป็นเรื่องแปลกอยู่สักหน่อยที่เห็นบทบาทของสามัญชนถูกยกย่องและโลดแล่นบนหน้าประวิตศาสตร์โดยเฉพาะในพงศาวดาร ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าส่วนใหญ่พงศาวดารกล่าวถึงเฉพาะกิจกรรมของพระมหากษัตริ์( เกี่ยวกับเผ่าพงศ์ของเทพที่อวตารลงมาปกครองโลกมนุษย์) อีกฟากหนึ่ง....อาจารย์สุเนตร นักประวัติศาสตร์จากจุฬาฯ บอกว่าหนังสือประวัติศาสตร์ของพม่าไม่ได้เอ่ยถึงบ้านบางระจันเลย แต่ในทางตรงกันข้าม กลับเอ่ยถึงเจ้าเมืองสุพรรณฯ ท่านหนึ่งที่แม่ทัพพม่ายกย่องว่าช่วยพม่ารบกับอยุธยาจนตัวตาย!!
พฤติกรรมที่แตกต่างกันระหว่างชาวบ้านบางระจันกับเจ้าเมืองสุพรรณ(ซึ่งอาจจะรวมถึงชาวสุพรรณฯ อีกส่วนหนึ่งด้วย)ในช่วงพม่ายกทัพล้อมกรุงฯ จะจริงเท็จอย่างไรก็แล้วแต่เราๆ ท่านๆ จะใคร่ครวญ แต่สองเหตุการณ์นี้ก็พอจะทำให้เรามองเห็นภาพของ "ชาติ” และการ "รักชาติ” ในยุคนั้นได้อย่างเลือนลางหรือแทบจะไม่มี เพราะนอกเหนือจากเหตการณ์เจ้าเมืองสุพรรณฯ ช่วยพม่ารบไทยแล้ว เอาเข้าจริงๆ.......ทหารแนวหน้าที่ล้อมกรุงฯ และเผารากกำแพงแล้วกรูเข้าพระนครนั้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนไทยเสียด้วยซ้ำ ต้องไม่ลืมว่า....เนเมียวสีหบดียกทัพขึ้นทางเหนือกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก แพร่ น่าน กำแพงเพชรเรื่อยลงมา ส่วนหนึ่งคนไทยเหล่านั้นก็ต้องถูกเกณฑ์ไปเสริมกองทัพพม่าเป็นทหารชั้นเลวออกแนวหน้าบ้าง เป็นกองเสบียงจัดหาอาหารบ้าง ฯลฯ เนเมียวฯ ใช้เวลาเกือบสามปีที่กวาดต้อนผู้คน(ไทย)จากหัวเมืองด้านเหนือลงมาล้อมอยุธยา อย่างขี้หมูขี้หมา...ก็คงจะได้เชลยคน(ไทย)มาเสริมกำลังหลายหมื่น อีกด้านหนึ่ง...มหามังนรธาก็เคลื่อนทัพจากทวายทางใต้ขึ้นมากวาดต้อนผู้คน(ไทย) ไล่ตั้งแต่เพชรบุรี กาญจน์ สุพรรณฯ ก่อนจะเข้ามาสมทบกับกองทัพของเนเมียวฯ ประวัติศาสตร์ไทยก็พูดเอาไว้ว่ามีคนไทยเข้าร่วมกับพม่าจำนวนหนึ่ง เขาคนไทยเหล่านั้นสมควรจะถูกประณามด้วยไหม?
ผมว่าเราเรื่องรักชาตินี่...เพลาๆ ลงบ้าง เอากันพอประมาณน่าจะดีต่อสุขภาพจิตนะครับ อย่าถึงขั้นต้องหอบหิ้วอารมณ์ข้ามภพข้ามชาติไปก่นด่าหรือประณามคนไทย(ในอดีต)ด้วยกันเลย....