คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
อย่างที่ คห.4 กล่าวครับ
นอกจากนี้จากงานเขียนของมิคกี้ ฮาร์ต (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์อิสระชาวพม่า ได้กล่าวว่า พระเจ้ามังระได้โปรดให้เจ้าฟ้ากุณฑลกับเจ้าฟ้ามงกุฎ พระธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งได้ทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่อง 'อิเหนา-ดาหลัง' ให้ช่วยถ่ายทอดศิลปะเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยในราชสำนักพม่าด้วย ทำให้นาฏศิลป์ในพม่าเริ่มเฟื่องฟู
ผมไม่แน่ใจว่าฮาร์ตใช้หลักฐานชิ้นใดอ้างอิงถึงเรื่องเจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้ามงกุฎบ้าง อาจจะมีหลักฐานพม่าที่ระบุอยู่เพียงแต่เราไม่มีโอกาสเห็น แต่อย่างไรก็มีงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของพม่าหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่าพม่าในยุคราชวงศ์กงบ่อง (Konbaung Dynasty) น่าจะได้รับอิทธิพลนาฏศิลป์ของไทยเข้าไปมาก โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ที่พม่าเรียกว่า "ยามะจาดด่อ (Yama Zatdaw - รามชาดก)" โดยน่าจะรับผ่านจากเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปจากสงครามเสียกรุงครั้งที่สองครับ ซึ่งผู้ถ่ายทอดเกี่ยวกับเรื่องนาฏศิลป์ก็น่าจะเป็นเจ้านายไทยที่มีพวกคนละครอยู่ในอุปถัมป์ครับ
นอกจากนี้จากงานเขียนของมิคกี้ ฮาร์ต (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์อิสระชาวพม่า ได้กล่าวว่า พระเจ้ามังระได้โปรดให้เจ้าฟ้ากุณฑลกับเจ้าฟ้ามงกุฎ พระธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งได้ทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่อง 'อิเหนา-ดาหลัง' ให้ช่วยถ่ายทอดศิลปะเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยในราชสำนักพม่าด้วย ทำให้นาฏศิลป์ในพม่าเริ่มเฟื่องฟู
ผมไม่แน่ใจว่าฮาร์ตใช้หลักฐานชิ้นใดอ้างอิงถึงเรื่องเจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้ามงกุฎบ้าง อาจจะมีหลักฐานพม่าที่ระบุอยู่เพียงแต่เราไม่มีโอกาสเห็น แต่อย่างไรก็มีงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของพม่าหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่าพม่าในยุคราชวงศ์กงบ่อง (Konbaung Dynasty) น่าจะได้รับอิทธิพลนาฏศิลป์ของไทยเข้าไปมาก โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ที่พม่าเรียกว่า "ยามะจาดด่อ (Yama Zatdaw - รามชาดก)" โดยน่าจะรับผ่านจากเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปจากสงครามเสียกรุงครั้งที่สองครับ ซึ่งผู้ถ่ายทอดเกี่ยวกับเรื่องนาฏศิลป์ก็น่าจะเป็นเจ้านายไทยที่มีพวกคนละครอยู่ในอุปถัมป์ครับ
แสดงความคิดเห็น
พวกเชื้อพระวงศ์สาวๆ ที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าในสมัยอยุธยา ประสบชะตากรรมเยี่ยงไรกันบ้างอ่ะครับ