ว่าด้วยวิญญาณฐิติ 7

กระทู้สนทนา
ลทฺธปฺปจิจยมิติ  ธมฺม      มตฺตเมตํ  ภวนฺตรมุเปติ
                        นาสฺส  ตโต  สงฺกนฺติ       น  ตโต  เหตํ  วินา  โหติ                        
                               วิญญาณนี้   เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย (อายตนะ 6 อย่างไร คือผัสสะ)
                        อันได้แล้ว  ย่อมเข้าถึงภพอื่น 3 ด้วยประการ
                        ฉะนี้วิญญาณนั้น    จึงไม่มีการเคลื่อนไปจาก
                        ภพนี้  เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หา
                        ปรากฏไม่.
         จริงอยู่   วิญญาณนี้   มีปัจจัยอันได้แล้ว    สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและ
อรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่   เรียกว่า  ย่อมเข้าถึงภพอื่น  วิญญาณนี้  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่
ชีวะ  วิญญาณนั้น    จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้    เว้นเหตุแต่ภพอดีต  
แล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้.  เราจักประกาศวิญญาณนี้   โดยลำดับ
แห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์  ตามที่ปรากฏต่อไป.

ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ
         ความจริง    เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย    โดยสภาวะตามปรกติ   หรือ
โดยความพยายามในภพอดีต  อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา    
ซึ่งมีเวทนาอันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง
ซึ่งใคร ๆ  ก็ทนไม่ได้  เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด  
เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว  เมื่อกายินทรีย์  มนินทรีย์    และชีวิตินทรีย์
อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ  วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น
ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง   บรรดา
ครุกรรม  อาจิณณกรรม  อาสันนกรรม   และกรรมที่ทำไว้ก่อน   หรือปรารภ
อารมณ์กล่าวคือกรรม   กรรมนิมิต   คตินิมิต  ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น  เป็นไป
วิญญาณนั้นนั่นแหละ  เมื่อเป็นไป  เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้  จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป   สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น    วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป  อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่   ด้วยอำนาจการสืบต่อ    ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน  จะยินดีอยู่
ก็ตาม   ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก    ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้น    ทีเดียว     เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
         อนึ่ง  ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้   วิญญาณดวงก่อน   เรียกว่า  จุติ  
เพราะเคลื่อนไป   ดวงหลัง   เรียกว่า   ปฏิสนธิ  เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น  บัณฑิตพึงทราบว่า  มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้  แม้เว้น
เหตุมีกรรม   สังขาร  คติ   และอารมณ์เป็นต้น    แต่ภพก่อนนั้น    ก็ไม่ปรากฏ.
                    สิยํ  นิสฺสนาเนตฺถ               ปฏิโฆสาทิกา   อถ
                    สนฺตานพนฺธโต   นตฺถิ        เอกตา  นาปิ  นานตาสว่าง
เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น
               พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้  ก็เสียงสะท้อน
               นั้น     มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน     มิใช่เป็นเสียง  
               ต่างกัน  ( กับเสียงเดิม)   เพราะเนื่องกันด้วย
               ความสืบต่อ.  
         ก็ธรรมที่จำแนกโดยเสียงสะท้อน  แสงประทีป   รอยประทับตรา และ
เงาพึงเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องนี้   คือ ในการที่วิญญาณนี้  ไม่มาในภพนี้แต่ภพก่อน
และความที่วิญญาณนี้เกิดขึ้นเหตุที่นับเนื่องด้วยอดีตภพ  ดังนี้    เหมือนอย่างว่า
เสียงสะท้อน     แสงประทีป     รอยประทับตรา   และเงา   มีเหตุมาแต่เสียงเป็น
เบื้องต้น   มิได้แยกกันไปในที่ใด  ฉันใด  จิตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  ก็ในฐานะนี้  
จิตนี้มิใช่เป็นดวงเดียวกัน     ทั้งมิใช่ต่างกัน     เพราะเนื่องกันโดยความสืบต่อ
จริงอยู่   ถ้าว่า  เมื่อมีความเนื่องกันด้วยความสืบต่อ    ความเป็นอย่างเดียวกัน
พึงมีโดยส่วนเดียวไซร้  นมส้ม ก็ไม่พึงเกิดแต่นม  ก็ถ้าว่า ความต่างกันพึงมี
โดยส่วนเดียวไซร้    นมส้มก็ไม่พึงมีเพราะนมสดเป็นใหญ่.    ในเหตุที่เกิดขึ้น[วิญญาณฐิติ 7 ]

[284] วิญญาณฐิติ 7 (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ — abodes or supports of consciousness)
       1. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า
วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า (beings different in body and in perception)
       2. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม
ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (beings different in body, but equal in perception)
       3. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ
(beings equal in body, but different in perception)
       4. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
(beings equal in body and in perception)
       5. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Space)
       6. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Consciousness)
       7. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Nothingness)

D.III.253;
A.IV.39.     ที.ปา. 11/335/265;
องฺ.สตฺตก. 23/41/41
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่