ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
----------------------
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ตติยสมาธิสูตร
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
และไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่
ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เรียนถามอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขารอย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’
บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตาม ที่รู้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขารอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่
ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน เรียนถามอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิตไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร’
บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่ รู้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งและได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
เรียนถามอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิตไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร
พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขารอย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’
บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่รู้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิอย่างนี้
พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขารอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สมาธิสูตร : บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
----------------------
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ตติยสมาธิสูตร
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
และไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เรียนถามอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขารอย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’
บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตาม ที่รู้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขารอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน เรียนถามอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิตไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร’
บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่ รู้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งและได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
เรียนถามอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิตไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร
พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขารอย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’
บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่รู้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิอย่างนี้
พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขารอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=21&siri=94
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (ฉบับหลวง)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=2566&Z=2601
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=94
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[94] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=21&item=94&Roman=0
**************************
วิธีปฏิบัติ ๔ แบบ
๑ ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น จนได้มรรค แล้วเสพ เจริญมรรคนั้น
ทำให้มากจนละสังโยชน์ได้ อนุสัยหมดสิ้นไป
๒ ภิกษุผู้เจริญสมถะ อันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น จนได้มรรค แล้วเสพ เจริญมรรคนั้น
ทำให้มากจนละสังโยชน์ได้ อนุสัยหมดสิ้นไป
๓ ภิกษุผู้เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป จนได้มรรค แล้วเสพ เจริญมรรคนั้น
๔ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกลั้นไว้ในเวลาที่จิตตั้งมั่น สงบภายใน
มึภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ
เธอจึงเสพ เจริญมรรคนั้น ทำให้มากจนละสังโยชน์ได้ อนุสัยหมดสิ้นไป
ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=7564&Z=7861