อยากให้ชาวนาได้อ่าน (ทำไมข้าวถึงถูก) จากลูกชาวนาชนบท

ทำไมข้าวถึงถูก..??
   (ผมเขียนเองผมอยากให้ชาวนาได้อ่าน)

    เห็นข่าวในเนต ราคาข้าวขายได้ราคาน้อยมากเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ผมก็ลูกชาวนาคนนึง (ซึ่ง) ยังคิดเลยว่าทำไมข้าวมันถูกจังว่ะ...!!!
ประเด็น ...!!!  ชาวนาขายข้าวให้โรงสี >>โรงสีขายข้าวให้กับพ่อค้าคนกลาง >> พ่อค้าคนกลางขายข้าวให้กับ>> แม่ค้าปลีก>> แม่ค้าปลีกขายข้าวให้กับประชาชน

ปัญหา คือ
1. ชาวนาขายข้าวเปลือกได้ราคาถูก
2. แต่ราคาข้าวสารที่ออกมาขายให้กับประชาชนกลับราคาแพง

คำถาม..???: กำไรไปตกอยู่ที่ใคร หึหึ
(เจ้าของโรงสี กะ พ่อค้าคนกลางมั้ง)
  
สิ่งที่เกิดขึ้น..!!!
1.ช่วงนี้ข้าวใหม่กำลังจะได้เก็บเกี่ยว ชาวนาก็เลยต้องเอาข้าวเก่าปีที่แล้วออกมาขายเพื่อเก็บข้าวใหม่เยอะกว่าทุกเดือน
2.จึงทำให้คนรับซื้อข้าวมีอำนาจในการต่อรองราคา(คือยังไงชาวนาก็ต้องขาย) ทำให้กดราคาลงไปอยู่ที่ 5 บาท (ตามข่าวในเน็ต) ซึ่งปกติมันก็น่าจะอยู่ที่สิบบาทขึ้นนะ
3.น้ำท่วม มาทุกทาง
4.ฝนแล้งมาทุกปี
5.ปุ๋ยเคมีก็ราคาแพงแสนแพง
6.ค่าแรงก็แพงไป๊อีก
7.ส่วนใหญ่ ไม่ได้จดบันทึกรายรับ รายจ่ายว่าแต่ละปีใช้จ่ายไปเท่าไหร่
8.ไม่มีการลดต้นทุน แล้วเพิ่มรายได้

การแก้ไข....คือ(ในความคิดเห็นส่วนตัว)
1.สร้างความแข็งแรง อำนาจในการต่อรองราคา (คือเราไม่ขายข้าวให้โรงสีเราก็อยู่ได้)
2.การสร้างความแข็งแรง หรืออำนาจในการต่อรอง คือ ในความคิดผม ผมว่าเราควรมีมาตรฐานในการผลิตข้าวที่ดี มีคุณภาพ เมื่อเรามีมาตรฐาน ข้าวมีคุณภาพเราก็รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่ม กระจายเป็นสหกรณ์ จากนั้นก็ขายให้กับแม่ค้าปลีกหรือประชาชนได้โดยตรง อำนาจการกำหนดราคาก็อยู่ที่เราแล้ว
3.มาตรฐานในการผลิตข้าวที่ดีควรทำยังไง
คือ ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การคัดเมล็ดพันธุ์ต้องเป็นเมล็ดที่เต็มไม่แห้งลีบ การควบคุมการใช้ปุ๋ย การควบคุมมาตรฐานดิน การเก็บรักษาเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จ (มีการวัดค่าและควบคุมความชื้นประกอบด้วย) เป็นต้น
4.เมื่อข้าวของกลุ่มเราติดตลาด สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำและสำคัญมากคือการป้อนข้าวให้ได้ตามความต้องการของตลาดตลอดเวลา ไม่ให้ขาดช่วงเพราะถ้าขาดช่วง เมื่อไหร่ พ่อค้าแม่ค้าก็จะไปมองหาที่ใหม่ที่ป้อนได้ตลอดเวลา
5.จากนั้นเมื่อเรามีมาตรฐานแล้ว ก็ต้องหันมาจดบันทึกรายรับรายจ่าย ในแต่ละครั้งที่ทำนา (อันนี้จะเห็นว่าเราใช้จ่ายไปกับอะไรเป็นส่วนมาก แล้วจะเห็นว่าเราจะต้องลดต้นทุนที่ตรงไหนก่อน)
6.ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เมื่อเรามีการจดบันทึกรายรับรายจ่าย เราก็จะรู้แล้วว่าสิ่งที่ควรลดต้นทุนคืออะไร เช่น ปุ๋ยเคมีตอนนี้แพงขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรหาอะไรมาบำรุงดินก่อน เช่นปลูกถั่วปลูกข้าวโพด ปลูกโสนจากนั้นไถกลบ เพื่อบำรุงดินก่อน แต่ก็ไม่มีใครทำคนส่วนใหญ่ชอบความสบายไม่ชอบทำอะไรนานๆแล้วได้ผลช้าๆ
7.นาดำนาหว่านควรศึกษา ผลกำไรที่ได้ ทำอันไหนคุมกว่ากัน อันไหนน่าลงทุนแล้วได้กำไรเพิ่มขึ้น
9.ในทุกวันนี้ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคข้าวระบาด ศัตรูพืชก็เป็นส่วนหนึ่งเราต้องเผชิญ หรือเป็นปัญหาที่เราคาดการไม่ได้ ดังนั้น เราควรทำการวางแผนสองไว้ก่อนเสมอ เพื่อรับมือกับปัญหาที่คาดการณ์ไม่ได้ ถ้าหากเกิดพวกนี้ขึ้นเราจะมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะถ้าไม่มีแผนสำรอง บอกเลยการทำข้าวครั้งนี้ขาดทุนแน่นอนครับ

นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง จากที่เคยได้เห็นเคยผ่านประสบการณ์นั้นมาครับ

ฝากนิดนึง..!!!!
  ถ้าเราไม่ช่วยกันพัฒนาด้วยตัวเราเองแล้ว เราจะรอใครมาช่วย เราทำเองเราปลูกเอง เราก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ฝนแล้ง โทษเทวดา น้ำท่วมก็โทษเทวดา ซึ่งเราก็รู้อยู่แล้วว่ามันควบคุมไม่ได้ ควรเตรียมการรับมือก่อนปัญหาเกิด อย่าไปโทษนู้นโทษนี่เพียงอย่างเดียว อย่าไปหวังรออะไรกับคนอื่นเลยนะครับ ถ้าเริ่มที่ตัวเราได้ ก็ต้องเริ่มส่ะ...!!!!

"อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ลงมือทำจริง "
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่