ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ด้วยอนุสสติ 10
(ยาวหน่อย แต่เป็นประโยชน์ครับ ใครมีเวลา ลองอ่านและพิจารณาดู)
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวไทยทุกคนรวมทั้งตัวผมเองด้วย ล้วนแต่ระลึกถึงพระองค์ด้วยความเคารพศรัทธาและอาลัยอย่างยิ่ง ผมเลยลองคิดพิจารณาดูว่า ไหนๆพวกเราทุกคนก็ระลึกและคิดถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แล้วจะมีวิธีไหนไหม ที่จะช่วยทำให้การระลึกถึงพระองค์ท่าน ไม่ใช่เป็นเพียงการระลึกแล้วร้องไห้เศร้าโศกอาลัยถึงพระองค์ทุกวันคืน (จนบางคนถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ ทำงานไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อตนเองและประเทศชาติต่อไปในอนาคต) แต่ทำให้การระลึกนั้นเปลี่ยนเป็นพลังงานบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเราที่ระลึกเอง และยังสามารถน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านได้ด้วย
เลยทำให้ผมนึกได้ว่า ในพระพุทธศาสนานั้น มีหลักปฏิบัติกรรมฐาน 40 กอง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม ซึ่งใน 40 กองนั้น มีหลัก “อนุสสติ 10” คือสิ่งที่พึงระลึกถึงอยู่เสมอ 10 อย่าง ที่สามารถนำมาใช้ในการฝึกกรรมฐานเพื่อเพิ่มกำลังแห่งบุญกุศลให้กับจิตของเราได้ และยังสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับการระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศของชาวไทยทุกคนในตอนนี้ได้เป็นอย่างดี อันจะช่วยเปลี่ยนให้การระลึกอย่างเศร้าโศกอาลัยนั้น ให้กลายเป็นการระลึกด้วยคุณความดีและบุญกุศล ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ประเทศชาติ และยังสามารถน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านที่เรารักและเทิดทูนยิ่งต่อไปได้ด้วย นั่นคือ
1. พุทธานุสติ - ระลึกถึงพระพุทธเจ้า – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ผู้มากด้วยบุญบารมียิ่ง ซึ่งพระโพธิสัตว์ก็คือผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต ดังนั้นการระลึกถึงพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จึงจัดอยู่ในหมวดของพุทธานุสสติ ด้วยเหตุนี้ หากเราหมั่นระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยระลึกว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญบุญบารมีมามากมายนับไม่ถ้วน เพื่อได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อรื้อขนสัตว์โลกทั้งปวงให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏฏสงสาร จึงจัดเป็นการระลึกในพุทธานุสสติกรรมฐานไปด้วย (โดยต้องระลึกถึงภาพพระองค์ แล้วน้อมขึ้นไปถึงภาพของพระพุทธเจ้าให้สว่างไสวเบาสบายในใจนะครับ ไม่ใช่ระลึกถึงภาพพระองค์ แล้วน้อมไปถึงความเศร้าโศกอาลัย)
2. ธัมมานุสติ - ระลึกถึงพระธรรม – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงบำเพ็ญตนตามหลัก “ทศพิธราชธรรม” อย่างหนักแน่นและมั่นคงมาตลอดการครองราชย์กว่า 70 ปีของท่าน หากเราระลึกถึงหลักทศพิธราชธรรมที่ท่านทรงปฏิบัติ และน้อมนำมาทำตาม ก็จัดว่าเราได้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ในข่ายของ ธัมมานุสสติ ด้วย
3. สังฆานุสติ - ระลึกถึงพระสงฆ์ – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ได้เคยเสด็จออกผนวช และทรงปฏิบัติจริยวัตรของพระสงฆ์ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องและงดงาม หากเราระลึกถึงภาพและจริยวัตรอันสงบและงดงามของพระองค์ขณะทรงออกผนวชเป็นอารมณ์ ก็สามารถน้อมการปฏิบัติเข้ามาสู่ สังฆานุสสติกรรมฐาน ได้เช่นกัน
4. สีลานุสติ - ระลึกถึงศีล – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงครองตนอยู่ในศีลธรรมอันงดงามเป็นที่สุดตลอดพระชนม์ชีพของท่าน หากเราระลึกถึงศีลข้อต่างๆที่พระองค์ได้ทรงรักษามาตลอดชีวิต โดยเฉพาะหลักทศพิธราชธรรม อันเป็นหลักศีลธรรมระดับสูงที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติ ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติอย่างหนักแน่นมั่นคงมาตลอดระยะเวลาการครองราชย์ แล้วน้อมนำมาปฏิบัติตาม ก็ย่อมน้อมเข้ามาได้สู่การปฏิบัติในหลัก สีลานุสติกรรมฐาน
5. จาคานุสติ - ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงอุทิศพระองค์ในการให้ทาน คือการช่วยเหลือต่อประชาชนชาวไทยทั้งประเทศมาตลอดการครองราชย์ 70 ปีของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือด้วย ทุนทรัพย์ (อามิสทาน) การให้ความรู้ (ธรรมทาน) รวมไปถึงการให้อภัย (อภัยทาน) แม้แต่ต่อผู้ที่ไม่ได้รักพระองค์ พระองค์ก็ไม่เคยโกรธเคือง กลับให้อภัยและให้ความช่วยเหลือ จนเขายอมกลับใจ หากเราน้อมระลึกถึงการให้ทานของพระองค์ แล้วนำมาทำตามอยู่เสมอ ก็เท่ากับว่าเราได้ปฏิบัติธรรมอยู่ใน จาคานุสสติกรรมฐาน เช่นกัน (การระลึกถึงทศพิธราชธรรมของพระองค์ และน้อมนำไปปฏิบัติตาม ได้ทีเดียวครบทั้ง ธัมมานุสสติ สีลานุสติ และ จาคานุสสติ ไปในตัว)
6. เทวตานุสติ - ระลึกถึงเทวดา พิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงบำเพ็ญบุญบารมีและความดีมาอย่างมากมายไม่มีประมาณ จนทำให้พระองค์ทรงเป็นเทวดาแม้แต่ในขณะที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และเมื่อทรงสวรรคตไปแล้ว ก็ได้ทรงอุบัติเป็นพระโพธิสัตว์เทวดาชั้นสูงในดุสิตสวรรค์ หากเราน้อมระลึกถึงคุณธรรมต่างๆที่พระองค์เคยทรงสร้างไว้ จนทำให้พระองค์ได้กลายเป็นเทวดา และน้อมนำมาปฏิบัติตาม ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติธรรมในข้อ เทวตานุสสติกรรมฐาน ไปด้วย
7. มรณสติ - ระลึกถึงความตาย พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท – แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ จะทรงเป็นถึงพระมหากษัตริย์ผู้มากด้วยบุญบารมี พระองค์ก็ยังต้องสวรรคตไปตามกฏธรรมชาติ หากเราระลึกตรงนี้ แล้วน้อมนำมาดูตัวเองว่า ขนาดพระองค์ยังทรงต้องสวรรคต แล้วเราคนธรรมดา ก็ย่อมต้องตายเช่นกัน เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ที่อาจจะตายเมื่อไหร่ก็ได้ ควรสร้างบุญกุศลคุณความดีไว้อยู่เสมอทุกลมหายใจขณะยังมีชีวิตอยู่ เหมือนดังที่พระองค์ได้ทรงเป็นแบบอย่างในการสร้างคุณความดีไว้มากมายเหลือคณานับทุกวันทุกวินาทีด้วยความไม่ประมาทในชีวิต ก็จัดว่าเราได้ปฏิบัติธรรมตามหลัก มรณานุสสติกรรมฐาน ไปด้วย
8. กายคตาสติ - สติระลึกถึงร่างกาย กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆคือ อาการ32 มิให้หลงใหลมัวเมา – แม้พระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่สามารถมีความเป็นอยู่ทางกายได้อย่างสุขสบาย แต่พระองค์ก็ไม่ได้หลงมัวเมาในความสุขทางกายนั้น ทรงเป็นอยู่อย่างง่าย เสด็จไปได้ทุกที่ บรรทมได้ทุกแห่ง แม้ว่าจะทุรกันดารเพียงใด ทรงมองว่าพระวรกายของพระองค์นี้ไม่ได้มีค่าที่ความสุขสบาย แต่มีค่าเพราะได้นำพระวรกายส่วนต่างๆมาทำงานเพื่อบุญกุศล เพื่อความสุขสบายของประชาชนชาวไทย เมื่อน้อมนำความไม่ทรงยึดติดในความสวยงามความสุขสบายพระวรกายของพระองค์มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติใน กายคตานุสสติกรรมฐาน ไปด้วย
9. อานาปานสติ – สติกำหนดลมหายใจเข้าออก – ไหนๆทุกคนก็ระลึกถึงพระองค์ท่านอย่างชัดเจนในใจอยู่แล้ว ก็ให้ผูกภาพของท่าน ระลึกไปพร้อมกับลมหายใจเข้าออกของตนเอง กำหนดดูลมหายใจเข้าออก ไปพร้อมกับมีภาพของพระองค์เข้าออกไปพร้อมกับลมหายใจ ก็จะทำให้อานาปานุสติกรรมฐานนั้น ได้กำลังเพิ่มของ พุทธานุสสติกรรมฐานไปด้วย และระลึกไว้เสมอว่า เมื่อเราบอกว่าจะเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ก็ต้องหายใจเข้าออกเป็นพระองค์ ก็ต้องทำความดีตามรอยพระะองค์ทุกลมหายใจเข้าออกให้ได้ด้วยตลอดชีวิต ก็จะได้บวกกำลังของ ธัมมานุสสติเพิ่มเติมขึ้นไปอีกด้วย
10. อุปสมานุสติ - ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน ดับกิเลสเหตุแห่งทุกข์โดยสิ้นเชิง – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงบำเพ็ญบุญบารมีอย่างเข้มข้นในบารมี 30 ทัศน์ มาหลายชาติภพ ด้วยปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ที่จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อสั่งสอนพระองค์เอง และสัตว์โลกทั้งหลายให้สำเร็จซึ่งพระนิพพาน รื้อขนพระองค์เองและสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ภัยจากกิเลสในวัฏฏสงสาร หากเราน้อมนำเป้าหมายของพระองค์ และหลักธรรมที่พระองค์ทรงปฏิบัติมาตลอด มาน้อมนำปฏิบัติตาม โดยตั้งเป้าไปที่การบรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อดับทุกข์และกิเลสทั้งปวงได้หมดสิ้นเช่นเดียวกับพระองค์ ก็เท่ากับเป็นการได้ปฏิบัติใน อุปสมานุสติกรรมฐานเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า หากระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยอาศัยหลัก อนุสสติ 10 ในพระพุทธศาสนามาเป็นตัวช่วยแล้ว การระลึกถึงพระองค์ จะไม่เป็นแค่การระลึกแล้วโศกเศร้าอาลัยจนไม่เป็นอันทำอะไรอีกต่อไป แต่การระลึกนั้นจะแปรสภาพกลายเป็นพลังบวก ที่จะช่วยเพิ่มบุญกุศลและความสะอาดสว่างสงบเย็นทางใจ ทั้งต่อตนเอง ต่อประเทศชาติ และยังสามารถน้อมนำอนุสสติ 10 ที่ระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอนี้ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านได้อย่างไม่มีประมาณอีกด้วย
ขอเพียงระลึกถึงพระองค์ให้เป็น อย่าเพียงระลึกแล้วหยุดที่ความเศร้าโศก แต่ให้ระลึกแล้วเดินหน้าต่อ โดยทำความดีเดินตามรอยพระบาทที่พระองค์ทรงเคยทำเป็นตัวอย่างให้ดูมาตลอดพระชนม์ชีพ หากระลึกถึงภาพของพระองค์ได้เช่นนี้ ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้สำเร็จใน “อนุสสติกรรมฐาน” ทั้ง 10 กองในครั้งเดียวเลย ซึ่งจะเป็นการระลึกถึงพระองค์อย่างมีประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเอง ต่อประเทศชาติ และต่อพระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ที่พวกเราเคารพรักและเทิดทูนยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดครับ ลองดูครับ
ดร.รอบทิศ ไวยสุศรี
การระลึกถึงในหลวงผ่านอนุสติ
(ยาวหน่อย แต่เป็นประโยชน์ครับ ใครมีเวลา ลองอ่านและพิจารณาดู)
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวไทยทุกคนรวมทั้งตัวผมเองด้วย ล้วนแต่ระลึกถึงพระองค์ด้วยความเคารพศรัทธาและอาลัยอย่างยิ่ง ผมเลยลองคิดพิจารณาดูว่า ไหนๆพวกเราทุกคนก็ระลึกและคิดถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แล้วจะมีวิธีไหนไหม ที่จะช่วยทำให้การระลึกถึงพระองค์ท่าน ไม่ใช่เป็นเพียงการระลึกแล้วร้องไห้เศร้าโศกอาลัยถึงพระองค์ทุกวันคืน (จนบางคนถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ ทำงานไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อตนเองและประเทศชาติต่อไปในอนาคต) แต่ทำให้การระลึกนั้นเปลี่ยนเป็นพลังงานบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเราที่ระลึกเอง และยังสามารถน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านได้ด้วย
เลยทำให้ผมนึกได้ว่า ในพระพุทธศาสนานั้น มีหลักปฏิบัติกรรมฐาน 40 กอง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม ซึ่งใน 40 กองนั้น มีหลัก “อนุสสติ 10” คือสิ่งที่พึงระลึกถึงอยู่เสมอ 10 อย่าง ที่สามารถนำมาใช้ในการฝึกกรรมฐานเพื่อเพิ่มกำลังแห่งบุญกุศลให้กับจิตของเราได้ และยังสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับการระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศของชาวไทยทุกคนในตอนนี้ได้เป็นอย่างดี อันจะช่วยเปลี่ยนให้การระลึกอย่างเศร้าโศกอาลัยนั้น ให้กลายเป็นการระลึกด้วยคุณความดีและบุญกุศล ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ประเทศชาติ และยังสามารถน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านที่เรารักและเทิดทูนยิ่งต่อไปได้ด้วย นั่นคือ
1. พุทธานุสติ - ระลึกถึงพระพุทธเจ้า – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ผู้มากด้วยบุญบารมียิ่ง ซึ่งพระโพธิสัตว์ก็คือผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต ดังนั้นการระลึกถึงพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จึงจัดอยู่ในหมวดของพุทธานุสสติ ด้วยเหตุนี้ หากเราหมั่นระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยระลึกว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญบุญบารมีมามากมายนับไม่ถ้วน เพื่อได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อรื้อขนสัตว์โลกทั้งปวงให้พ้นจากทุกข์ภัยในวัฏฏสงสาร จึงจัดเป็นการระลึกในพุทธานุสสติกรรมฐานไปด้วย (โดยต้องระลึกถึงภาพพระองค์ แล้วน้อมขึ้นไปถึงภาพของพระพุทธเจ้าให้สว่างไสวเบาสบายในใจนะครับ ไม่ใช่ระลึกถึงภาพพระองค์ แล้วน้อมไปถึงความเศร้าโศกอาลัย)
2. ธัมมานุสติ - ระลึกถึงพระธรรม – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงบำเพ็ญตนตามหลัก “ทศพิธราชธรรม” อย่างหนักแน่นและมั่นคงมาตลอดการครองราชย์กว่า 70 ปีของท่าน หากเราระลึกถึงหลักทศพิธราชธรรมที่ท่านทรงปฏิบัติ และน้อมนำมาทำตาม ก็จัดว่าเราได้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ในข่ายของ ธัมมานุสสติ ด้วย
3. สังฆานุสติ - ระลึกถึงพระสงฆ์ – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ได้เคยเสด็จออกผนวช และทรงปฏิบัติจริยวัตรของพระสงฆ์ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องและงดงาม หากเราระลึกถึงภาพและจริยวัตรอันสงบและงดงามของพระองค์ขณะทรงออกผนวชเป็นอารมณ์ ก็สามารถน้อมการปฏิบัติเข้ามาสู่ สังฆานุสสติกรรมฐาน ได้เช่นกัน
4. สีลานุสติ - ระลึกถึงศีล – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงครองตนอยู่ในศีลธรรมอันงดงามเป็นที่สุดตลอดพระชนม์ชีพของท่าน หากเราระลึกถึงศีลข้อต่างๆที่พระองค์ได้ทรงรักษามาตลอดชีวิต โดยเฉพาะหลักทศพิธราชธรรม อันเป็นหลักศีลธรรมระดับสูงที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติ ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติอย่างหนักแน่นมั่นคงมาตลอดระยะเวลาการครองราชย์ แล้วน้อมนำมาปฏิบัติตาม ก็ย่อมน้อมเข้ามาได้สู่การปฏิบัติในหลัก สีลานุสติกรรมฐาน
5. จาคานุสติ - ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงอุทิศพระองค์ในการให้ทาน คือการช่วยเหลือต่อประชาชนชาวไทยทั้งประเทศมาตลอดการครองราชย์ 70 ปีของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือด้วย ทุนทรัพย์ (อามิสทาน) การให้ความรู้ (ธรรมทาน) รวมไปถึงการให้อภัย (อภัยทาน) แม้แต่ต่อผู้ที่ไม่ได้รักพระองค์ พระองค์ก็ไม่เคยโกรธเคือง กลับให้อภัยและให้ความช่วยเหลือ จนเขายอมกลับใจ หากเราน้อมระลึกถึงการให้ทานของพระองค์ แล้วนำมาทำตามอยู่เสมอ ก็เท่ากับว่าเราได้ปฏิบัติธรรมอยู่ใน จาคานุสสติกรรมฐาน เช่นกัน (การระลึกถึงทศพิธราชธรรมของพระองค์ และน้อมนำไปปฏิบัติตาม ได้ทีเดียวครบทั้ง ธัมมานุสสติ สีลานุสติ และ จาคานุสสติ ไปในตัว)
6. เทวตานุสติ - ระลึกถึงเทวดา พิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงบำเพ็ญบุญบารมีและความดีมาอย่างมากมายไม่มีประมาณ จนทำให้พระองค์ทรงเป็นเทวดาแม้แต่ในขณะที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และเมื่อทรงสวรรคตไปแล้ว ก็ได้ทรงอุบัติเป็นพระโพธิสัตว์เทวดาชั้นสูงในดุสิตสวรรค์ หากเราน้อมระลึกถึงคุณธรรมต่างๆที่พระองค์เคยทรงสร้างไว้ จนทำให้พระองค์ได้กลายเป็นเทวดา และน้อมนำมาปฏิบัติตาม ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติธรรมในข้อ เทวตานุสสติกรรมฐาน ไปด้วย
7. มรณสติ - ระลึกถึงความตาย พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท – แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ จะทรงเป็นถึงพระมหากษัตริย์ผู้มากด้วยบุญบารมี พระองค์ก็ยังต้องสวรรคตไปตามกฏธรรมชาติ หากเราระลึกตรงนี้ แล้วน้อมนำมาดูตัวเองว่า ขนาดพระองค์ยังทรงต้องสวรรคต แล้วเราคนธรรมดา ก็ย่อมต้องตายเช่นกัน เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ที่อาจจะตายเมื่อไหร่ก็ได้ ควรสร้างบุญกุศลคุณความดีไว้อยู่เสมอทุกลมหายใจขณะยังมีชีวิตอยู่ เหมือนดังที่พระองค์ได้ทรงเป็นแบบอย่างในการสร้างคุณความดีไว้มากมายเหลือคณานับทุกวันทุกวินาทีด้วยความไม่ประมาทในชีวิต ก็จัดว่าเราได้ปฏิบัติธรรมตามหลัก มรณานุสสติกรรมฐาน ไปด้วย
8. กายคตาสติ - สติระลึกถึงร่างกาย กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆคือ อาการ32 มิให้หลงใหลมัวเมา – แม้พระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่สามารถมีความเป็นอยู่ทางกายได้อย่างสุขสบาย แต่พระองค์ก็ไม่ได้หลงมัวเมาในความสุขทางกายนั้น ทรงเป็นอยู่อย่างง่าย เสด็จไปได้ทุกที่ บรรทมได้ทุกแห่ง แม้ว่าจะทุรกันดารเพียงใด ทรงมองว่าพระวรกายของพระองค์นี้ไม่ได้มีค่าที่ความสุขสบาย แต่มีค่าเพราะได้นำพระวรกายส่วนต่างๆมาทำงานเพื่อบุญกุศล เพื่อความสุขสบายของประชาชนชาวไทย เมื่อน้อมนำความไม่ทรงยึดติดในความสวยงามความสุขสบายพระวรกายของพระองค์มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติใน กายคตานุสสติกรรมฐาน ไปด้วย
9. อานาปานสติ – สติกำหนดลมหายใจเข้าออก – ไหนๆทุกคนก็ระลึกถึงพระองค์ท่านอย่างชัดเจนในใจอยู่แล้ว ก็ให้ผูกภาพของท่าน ระลึกไปพร้อมกับลมหายใจเข้าออกของตนเอง กำหนดดูลมหายใจเข้าออก ไปพร้อมกับมีภาพของพระองค์เข้าออกไปพร้อมกับลมหายใจ ก็จะทำให้อานาปานุสติกรรมฐานนั้น ได้กำลังเพิ่มของ พุทธานุสสติกรรมฐานไปด้วย และระลึกไว้เสมอว่า เมื่อเราบอกว่าจะเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ก็ต้องหายใจเข้าออกเป็นพระองค์ ก็ต้องทำความดีตามรอยพระะองค์ทุกลมหายใจเข้าออกให้ได้ด้วยตลอดชีวิต ก็จะได้บวกกำลังของ ธัมมานุสสติเพิ่มเติมขึ้นไปอีกด้วย
10. อุปสมานุสติ - ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน ดับกิเลสเหตุแห่งทุกข์โดยสิ้นเชิง – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงบำเพ็ญบุญบารมีอย่างเข้มข้นในบารมี 30 ทัศน์ มาหลายชาติภพ ด้วยปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ที่จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อสั่งสอนพระองค์เอง และสัตว์โลกทั้งหลายให้สำเร็จซึ่งพระนิพพาน รื้อขนพระองค์เองและสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ภัยจากกิเลสในวัฏฏสงสาร หากเราน้อมนำเป้าหมายของพระองค์ และหลักธรรมที่พระองค์ทรงปฏิบัติมาตลอด มาน้อมนำปฏิบัติตาม โดยตั้งเป้าไปที่การบรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อดับทุกข์และกิเลสทั้งปวงได้หมดสิ้นเช่นเดียวกับพระองค์ ก็เท่ากับเป็นการได้ปฏิบัติใน อุปสมานุสติกรรมฐานเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า หากระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยอาศัยหลัก อนุสสติ 10 ในพระพุทธศาสนามาเป็นตัวช่วยแล้ว การระลึกถึงพระองค์ จะไม่เป็นแค่การระลึกแล้วโศกเศร้าอาลัยจนไม่เป็นอันทำอะไรอีกต่อไป แต่การระลึกนั้นจะแปรสภาพกลายเป็นพลังบวก ที่จะช่วยเพิ่มบุญกุศลและความสะอาดสว่างสงบเย็นทางใจ ทั้งต่อตนเอง ต่อประเทศชาติ และยังสามารถน้อมนำอนุสสติ 10 ที่ระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอนี้ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านได้อย่างไม่มีประมาณอีกด้วย
ขอเพียงระลึกถึงพระองค์ให้เป็น อย่าเพียงระลึกแล้วหยุดที่ความเศร้าโศก แต่ให้ระลึกแล้วเดินหน้าต่อ โดยทำความดีเดินตามรอยพระบาทที่พระองค์ทรงเคยทำเป็นตัวอย่างให้ดูมาตลอดพระชนม์ชีพ หากระลึกถึงภาพของพระองค์ได้เช่นนี้ ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้สำเร็จใน “อนุสสติกรรมฐาน” ทั้ง 10 กองในครั้งเดียวเลย ซึ่งจะเป็นการระลึกถึงพระองค์อย่างมีประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเอง ต่อประเทศชาติ และต่อพระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ที่พวกเราเคารพรักและเทิดทูนยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดครับ ลองดูครับ
ดร.รอบทิศ ไวยสุศรี