เป็นการตั้งข้อสังเกตจากชื่อเรียกของตัวหมากบางตัว ที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมิใช่บังเอิญ
ตัวแรกเลยคือ"เรือ" ที่มาอ้างอิงของตัวหมากตัวนี้แรกเริ่มเดิมทีมาจากรถม้าศึก(chariot) ซึ่งในภาษาเปอร์เซียใช้คำว่า "Rukh" อันแผลงมาเป็น "Rook" อย่างในปัจจุบัน หมากรุกจีนเองก็เรียกตัวนี้ว่า 車 ซึ่งก็แปลได้ว่าเป็นรถม้าศึกเช่นกัน แต่ก็มีเรียกแตกต่างออกไปบ้างในฝั่งตะวันตกเช่นเนื่องจากคำว่า "Rukh" ไปพ้องเสียงกับคำว่า "Rocca" ที่เป็นศัพท์ของอิตาลีอันแปลว่าป้อมปราการ ซึ่งตรงนี้เป็นที่มาของรูปลักษณ์ที่เหมือนป้อมปราการของตัวหมากตัวนี้
ทว่าไม่มีชนชาติใดเรียกตัวนี้ว่าเรือเลยนอกจากรัสเซีย รัสเซียใช้คำว่า "Ладья" (แล๊ดดิย่า) แทนตัวหมากตัวนี้ ซึ่งความหมายของมันหมายถึง เรือยาวของพวกไวกิ้ง แต่ก่อนหน้าที่เรียก "Ладья" รัสเซียก็เคยใช้คำว่า "тура"
ทูร่า) ซึ่งแปลว่า หอคอย ตามอย่างฝั่งตะวันตก แต่ก็เปลี่ยนมาเรียกว่าเรือแทนจวบจนปัจจุบัน
หมากตัวที่สองคือ"เม็ด" หมากตัวนี้เป็นหมากโดดที่อยู่ข้างตัวขุน ทางฝั่งรัสเซียเรียกตัวหมากโดดที่อยู่ข้าง King นี้ว่า "Ферзь" (เฟี๊ยด) ซึ่งสันนิษฐานว่าไทยรับเข้ามาแต่คำนี้ออกเสียงยาก จึงแผลงไปเป็นคำว่า"เม็ด" แทน
ซึ่งการศึกษาหมากตัวนี้อาจทำให้เราระบุ period ได้ว่าไทยรับเข้ามาในช่วงสมัยไหน เนื่องจากวิธีการเดินของหมากตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ทว่าหมากรุกไทยใช้วิธีการเดินหมากตัวนี้แบบโบราณที่สุด ซึ่งก็คือเดินทแยงช่องเดียว ซึ่งในระดับสากลเป็นวิธีเดินก่อนปีคริสต์ศักราชที่ 1300~
ตัวที่สามก็คือ"โคน" ตัวนี้ค่อนข้างชัดเจน เพราะในภาษารัสเซีย หมากตัวนี้ถูกเรียกว่า "Слон" (โฟน) ซึ่งแปลว่าช้าง ตรงนี้ที่มาก็คงมาจากช้างศึกในเกมจตุรังกา(chaturanga)ของอินเดีย
ในส่วนของการออกเสียง "Слон" ก็ออกเสียงยากสำหรับคนไทยเช่นกัน จึงอาจจะแผลงไปเป็นคำว่า "โคน"
ถ้าใครมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็แชร์ความรู้กันมาได้นะครับ
หมากรุกไทยเรารับและดัดแปลงมาจากรัสเซียหรือเปล่า?
ตัวแรกเลยคือ"เรือ" ที่มาอ้างอิงของตัวหมากตัวนี้แรกเริ่มเดิมทีมาจากรถม้าศึก(chariot) ซึ่งในภาษาเปอร์เซียใช้คำว่า "Rukh" อันแผลงมาเป็น "Rook" อย่างในปัจจุบัน หมากรุกจีนเองก็เรียกตัวนี้ว่า 車 ซึ่งก็แปลได้ว่าเป็นรถม้าศึกเช่นกัน แต่ก็มีเรียกแตกต่างออกไปบ้างในฝั่งตะวันตกเช่นเนื่องจากคำว่า "Rukh" ไปพ้องเสียงกับคำว่า "Rocca" ที่เป็นศัพท์ของอิตาลีอันแปลว่าป้อมปราการ ซึ่งตรงนี้เป็นที่มาของรูปลักษณ์ที่เหมือนป้อมปราการของตัวหมากตัวนี้
ทว่าไม่มีชนชาติใดเรียกตัวนี้ว่าเรือเลยนอกจากรัสเซีย รัสเซียใช้คำว่า "Ладья" (แล๊ดดิย่า) แทนตัวหมากตัวนี้ ซึ่งความหมายของมันหมายถึง เรือยาวของพวกไวกิ้ง แต่ก่อนหน้าที่เรียก "Ладья" รัสเซียก็เคยใช้คำว่า "тура"ทูร่า) ซึ่งแปลว่า หอคอย ตามอย่างฝั่งตะวันตก แต่ก็เปลี่ยนมาเรียกว่าเรือแทนจวบจนปัจจุบัน
หมากตัวที่สองคือ"เม็ด" หมากตัวนี้เป็นหมากโดดที่อยู่ข้างตัวขุน ทางฝั่งรัสเซียเรียกตัวหมากโดดที่อยู่ข้าง King นี้ว่า "Ферзь" (เฟี๊ยด) ซึ่งสันนิษฐานว่าไทยรับเข้ามาแต่คำนี้ออกเสียงยาก จึงแผลงไปเป็นคำว่า"เม็ด" แทน
ซึ่งการศึกษาหมากตัวนี้อาจทำให้เราระบุ period ได้ว่าไทยรับเข้ามาในช่วงสมัยไหน เนื่องจากวิธีการเดินของหมากตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ทว่าหมากรุกไทยใช้วิธีการเดินหมากตัวนี้แบบโบราณที่สุด ซึ่งก็คือเดินทแยงช่องเดียว ซึ่งในระดับสากลเป็นวิธีเดินก่อนปีคริสต์ศักราชที่ 1300~
ตัวที่สามก็คือ"โคน" ตัวนี้ค่อนข้างชัดเจน เพราะในภาษารัสเซีย หมากตัวนี้ถูกเรียกว่า "Слон" (โฟน) ซึ่งแปลว่าช้าง ตรงนี้ที่มาก็คงมาจากช้างศึกในเกมจตุรังกา(chaturanga)ของอินเดีย
ในส่วนของการออกเสียง "Слон" ก็ออกเสียงยากสำหรับคนไทยเช่นกัน จึงอาจจะแผลงไปเป็นคำว่า "โคน"
ถ้าใครมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็แชร์ความรู้กันมาได้นะครับ