*กระทู้นี้ไม่ได้ต้องการที่จะ ดูถูกหรือดุแคลน นักหมากรุก หมากฮอสหรือกีฬาอื่นๆนะครับ เพียงแต่ว่าต้องการใข้การเปรียบเทียบมากหน่อย หากทำให้เหมือนว่าเป็นการดูถูกกีฬาชนิดใดก็ตาม ก็ขออภัยไว้เลยละกันนะครับ *
สวัสดีครับชาวพันทิป พอดีว่าผมได้ไปอ่านบทความ ที่ชื่อว่าThe Mystery of Go, the Ancient Game That Computers Still Can’t Win หรือ แปลตรงตัวก็คือ ปริศนาแห่งโกะ(หมากล้อม)เกมส์ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเอาชนะได้ ซึ่งน่าสนใจมากๆ เลยอยากจะเอามาแบ่งปัน หากใครสนใจอ่านเองสามารถเข้าไปที่ลิ้งนี้ได้เลยนะครับ
http://www.wired.com/2014/05/the-world-of-computer-go/ และ
http://spectrum.ieee.org/robotics/artificial-intelligence/ais-have-mastered-chess-will-go-be-nextแต่ขอเตือนสักนิดนึงคือบทความค่อนข้างยาวมาก เลยอาจจะใช้เวลาในการอ่านมากหน่อย 555 และบทความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด สำหรับคนที่ภาษาปะกิดไม่ค่อยคล่องอาจจะมีเงิบ สักเล็กน้อย(รวมทั้งผมด้วย) 5555 ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านเอง ก็ลองอ่านที่ผมสรุปมาให้ละกันนะครับ
ขอเกริ่นสักเล็กน้อยคือโกะหรือหมากล้อมเนี่ย เป็นเกมโบราณที่ค่อนข้างเก่าแก่ อ้างอิงตามประวิติศาสตร์จีนก็ 3,000 ปีเห็นจะได้ เป็นที่นิยมมากในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ใต้หวัน รองลงมาก็คงจะเป็น ยุโรป และอเมริกา โดยในประเทศจีนนี่ถือว่าเป็น 1ใน4 ศิลปะประจำชาติเลยทีเดียว จำได้ว่า แต่ก่อนก็จะมีการ์ตูนเรื่องฮิคารุเซียนโกะ ทำให้วงการหมากล้อมทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยบูมขึ้นมากทีเดียว ตอนนั้นติดงอมแงม สนุกมั่ก คิดว่าหลายๆคนน่าจะทันนะ 5555 ตอนนี้จะขอเกริ่นคร่าวๆแค่นี้ก่อน เดี๋ยวกลัวจะเบื่อซะก่อน5 555
แต่ก่อนจะเข้าเรื่องเนี่ย เพื่อให้คนที่ไม่เข้าใจและไม่เคยสำผัสในเกมหมากล้อมเนี่ย ได้เก็ทไอเดียบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการงง เลยจะขออธิบาย กฏกติกาในการเล่นคร่าวๆสักเล็กน้อย หมากล้อมเนี่ย มีกฏที่ค่อนข้างง่ายมาก เทียบกับหมากรุก หรือ หมากกระดานหลายชนิด คือ
0.หมากล้อมจะเล่นบนกระดานที่มีจุดตัด 9x9 , 13x13 หรือ 19x19 ส่วนเกมที่เป็นทางการจะเป็น 19x19 หากใครนึกหน้าตาไม่ออก มันก็คือ กระดาน หมากรุก ที่มี 18x18 ช่องนั่นแหละครับ
1.ผู้เล่นแต่ละฝ่ายถือหมากดำและหมากขาว โดยหมากดำจะได้ เดินก่อน
2.ผู้เล่นจะผลัดกันเดินบนจุดตัดของกระดาน จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายนึงจะประกาศยอมแพ้ หรือจบเกม
3.สามารถจับกินกลุ่มหมากฝ่ายตรงข้ามได้โดยการล้อมกลุ่มหมากนั้นๆ
4.หมากที่เราจับกินได้ จะเอาไปถมพื่นที่ฝ่ายตรงข้าม
5.เมื่อจบเกม ฝ่ายที่สามารถล้อมพื้นที่(ล้อมจุดตัด)ได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ
เห็นมั้ยครับธรรมดามาก กฏการเล่นหลักก็มีเพียงเท่านี้เอง ซึ่งที่จริงก้อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม อีกนิดๆหน่อย แต่ปัญหาก็คือว่า ไอกฏการเล่นที่ธรรมด๊าธรรมดาเนี่ย สามารถ สร้างความเป็นไปได้หลัก ล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้าน… รูปแบบเลยทีเดียว ไอที่”… “นี่คือยังไม่หมดนะครับขี้เกียจมาล้านต่อ 55 ซึ่งถ้าตีเป็นตัวเลขคร่าวๆก็ประมาน 10ยก กำลัง 172 (10^172) หรือถ้าจะอ่านออกเสียงให้จบ ก็พูดคำว่า 10,000 แล้วต่อด้วยคำว่า ล้านไปอีก 28 ครั้งแค่นี้เองครับสั้นๆ (
) ความเป็นไปได้มหาศาลนี้ทำให้เกิด กลยุธลึกลับซับซ้อนมากมาย ยากที่จะหาตาเดินที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นเสน่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของหมากล้อมเลย
จุดเริ่มต้นของบทความนี้ก็ต้อง ย้อนนนนนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้วหรือก็คือปี 1994 โปรแกรมหมากฮอสที่ชื่อว่า ชินฮุค(shinhook) สามารถทุบเอาชนะ นักหมากฮอสระดับชั้นแนวหน้าโลกได้เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นเพียงแค่ 3 ปี แชมป์โลกหมากรุกสากล ชาวรัสเซีย “แกรี่ คัสปารอฟ” ก็ถูกโค่นลง โดย ดีพบลู(deepblue) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จนปัจจุบัน Othello, Scrabble, backgammon, poker, Jeopardy กีฬาใช้สมองทั้งหลายแหล่ ก็ถูกโค่นลงหมดแล้วเช่นเดียวกับหมากรุก และ หมากฮอส แต่ไม่ใช่สำหรับหมากล้อมนะครัช อิอิ
เชื่อมั้ยครับว่าขณะที่ deepblue กำลังวุ่นอยู่กับการเสยตูด แกรี่คัสปารอฟในเกมหมากรุกอยู่นโปรแกรมโกะที่เก่งที่สุดในขณะนั้น กลับไม่สามารถเอาชนะนักหมากล้อมมือสมัครเล่นได้ด้วยซ้ำไป
โปรแกรมหมากรุกเนี่ย แรกเริ่มเดิมทีถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกสมัยย 1950 นู่นน จนถึงปี 1962 เนี่ยโปรแกรมหมากรุกมากมายถูกสร้างขึ้น และก็ค่อนข้างเก่งทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน โปรแกรมหมากล้อมกลับมีเพียง 2 โปรแกรมเท่านั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาจนสำเร็จ แต่ไอ้คำว่าโปรแกรมที่สำเร็จเนี่ย มันไม่สามารถ เล่นกับมนุษย์ได้ด้วยซ้ำนะครับ จากที่อ่านเนี่ยผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นที่เอาไว้ให้เล่นระหว่างคนกับคนมากกว่า ที่จะเป้น คนกับคอมนะ
แต่แล้ว ในที่สุด!! ในปี 1968 Alfred Zobris ซึ่งผมก้ไม่รู้ว่าจะอ่านเป็นไทยว่าอะไร น่าจะเป้น อัลเฟรด โซบริส อะไรประมาณนี้ ขอเรียกว่า อัลเฟรดละกัน 555 อัลเฟรด เป็นอัจริยะเกี่ยวกับด้านทฤษฏีเกมซึ่งเค้าเป็นคนแรกที่ สามารถเขียนโปรแกรมหมากล้อม ที่สามารถ เอาชนะนักหมากล้อมมือใหม่เอี่ยมสุดๆได้แต่ ปัญหามันมีอยู่คือ มันต้องใช้ความอดทน เวลา และพลังประมวลผลมหาศาลลลลลมาก และแล้ว หลังจากนั้น อีก 40 ปีก็ยังไม่มีโปรแกรมใหนที่สามารถเสยตูด นักหมากล้อมสมัครเล่นระดับกลางไปได้
เพื่อที่จะทำให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ หมากรุกเนี่ย ในตาแรกหมากดำจะมีตาเดินที่เป็นไปได้ทั้งหมด 20 ตาเดิน และในตาถัดไป หมากขาวก็จะมีความเป้นไปได้ทั้งหมด 20 ตาเดินเช่นกัน ทำให้ความเป็นไปได้ทั้งหมดในการเดินรอบแรกของทั้งสองฝ่าย มีทั้งหมด 400 รูปแบบ ในขณะเดียวกันสำหรับหมากล้อม ในตาแรกหมากดำจะมีความเป้นไปได้ทั้งหมด 361 รูปแบบ ตามด้วยหมากขาว 360 รูปแบบ รวมกันมากถึง 129,960 รูปแบบ ในเพียงการเดินรอบแรกเท่านั้นเอง
ศัพทางเทคนิคเนี่ยมันจะมีคำนึงคือคำว่า branching factor ซึ่งผมก้ไม่รู้ว่าแปลเป็นไทยมันต้องแปลว่าอะไรนะ 555 แต่ถ้าเอาตรงๆตัวก็น่าจะประมาณ ดัชนีการแตกกิ่ง (มั้ง :p) ซึ่งไอตัวนี้เนี่ยจริงๆมันก็คือ ค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ในแต่ละตาเดินนั่นเองครับ สำหรับมากรุก branching factor ในแต่ละตาเดินจะอยู่ที่ 35 แต่สำหรับหมากล้อม branching factor จะสูงถึง 250 เลยทีเดียว และ ไอ้เจ้า branching factor ที่สูงถึง 250 เนี่ยแหละครับที่ทำให้นักพัฒนา AI ทั้งหลายต้องปวดหัวไม่จบไม่สิ้น
ครั้งหน้ามาพูดถึงว่าทำไม อัลกอริทึ่มที่ใช้กันในปัจจุบันซึ่งได้ผล กับหมากรุกหมากฮอสและโอเทลโล่ กลับใช้ไม่ได้ผลกับหมากล้อม และความยากลำบากในการพัฒนา อัลกอริทึ่ม รวมถึง remi coulomb อัจฉริยะผู้ซึ่งทำให้วงการนักพัฒนา algorithm ต้องสั่นสะเทือน O.o
**หากสนใจหมากล้อมอยากเล่น อยากเรียน เชิญได้ที่สมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทย ที่ชั้น 2 อาคาร สีลมพาร์ควิว ติดห้างสีลมคอมเพล็กส์และรถไฟฟ้าศาลาแดง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือ เยี่ยมชมได้ที่
http://www.thaigogenius.com/index.php และ
http://www.thaigo.org ครับ ขอบคุณครับ
ปริศนาแห่งหมากล้อม เกมที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเอาชนะมนุษย์ได้
สวัสดีครับชาวพันทิป พอดีว่าผมได้ไปอ่านบทความ ที่ชื่อว่าThe Mystery of Go, the Ancient Game That Computers Still Can’t Win หรือ แปลตรงตัวก็คือ ปริศนาแห่งโกะ(หมากล้อม)เกมส์ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเอาชนะได้ ซึ่งน่าสนใจมากๆ เลยอยากจะเอามาแบ่งปัน หากใครสนใจอ่านเองสามารถเข้าไปที่ลิ้งนี้ได้เลยนะครับ http://www.wired.com/2014/05/the-world-of-computer-go/ และ http://spectrum.ieee.org/robotics/artificial-intelligence/ais-have-mastered-chess-will-go-be-nextแต่ขอเตือนสักนิดนึงคือบทความค่อนข้างยาวมาก เลยอาจจะใช้เวลาในการอ่านมากหน่อย 555 และบทความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด สำหรับคนที่ภาษาปะกิดไม่ค่อยคล่องอาจจะมีเงิบ สักเล็กน้อย(รวมทั้งผมด้วย) 5555 ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านเอง ก็ลองอ่านที่ผมสรุปมาให้ละกันนะครับ
ขอเกริ่นสักเล็กน้อยคือโกะหรือหมากล้อมเนี่ย เป็นเกมโบราณที่ค่อนข้างเก่าแก่ อ้างอิงตามประวิติศาสตร์จีนก็ 3,000 ปีเห็นจะได้ เป็นที่นิยมมากในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ใต้หวัน รองลงมาก็คงจะเป็น ยุโรป และอเมริกา โดยในประเทศจีนนี่ถือว่าเป็น 1ใน4 ศิลปะประจำชาติเลยทีเดียว จำได้ว่า แต่ก่อนก็จะมีการ์ตูนเรื่องฮิคารุเซียนโกะ ทำให้วงการหมากล้อมทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยบูมขึ้นมากทีเดียว ตอนนั้นติดงอมแงม สนุกมั่ก คิดว่าหลายๆคนน่าจะทันนะ 5555 ตอนนี้จะขอเกริ่นคร่าวๆแค่นี้ก่อน เดี๋ยวกลัวจะเบื่อซะก่อน5 555
แต่ก่อนจะเข้าเรื่องเนี่ย เพื่อให้คนที่ไม่เข้าใจและไม่เคยสำผัสในเกมหมากล้อมเนี่ย ได้เก็ทไอเดียบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการงง เลยจะขออธิบาย กฏกติกาในการเล่นคร่าวๆสักเล็กน้อย หมากล้อมเนี่ย มีกฏที่ค่อนข้างง่ายมาก เทียบกับหมากรุก หรือ หมากกระดานหลายชนิด คือ
0.หมากล้อมจะเล่นบนกระดานที่มีจุดตัด 9x9 , 13x13 หรือ 19x19 ส่วนเกมที่เป็นทางการจะเป็น 19x19 หากใครนึกหน้าตาไม่ออก มันก็คือ กระดาน หมากรุก ที่มี 18x18 ช่องนั่นแหละครับ
1.ผู้เล่นแต่ละฝ่ายถือหมากดำและหมากขาว โดยหมากดำจะได้ เดินก่อน
2.ผู้เล่นจะผลัดกันเดินบนจุดตัดของกระดาน จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายนึงจะประกาศยอมแพ้ หรือจบเกม
3.สามารถจับกินกลุ่มหมากฝ่ายตรงข้ามได้โดยการล้อมกลุ่มหมากนั้นๆ
4.หมากที่เราจับกินได้ จะเอาไปถมพื่นที่ฝ่ายตรงข้าม
5.เมื่อจบเกม ฝ่ายที่สามารถล้อมพื้นที่(ล้อมจุดตัด)ได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ
เห็นมั้ยครับธรรมดามาก กฏการเล่นหลักก็มีเพียงเท่านี้เอง ซึ่งที่จริงก้อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม อีกนิดๆหน่อย แต่ปัญหาก็คือว่า ไอกฏการเล่นที่ธรรมด๊าธรรมดาเนี่ย สามารถ สร้างความเป็นไปได้หลัก ล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้าน… รูปแบบเลยทีเดียว ไอที่”… “นี่คือยังไม่หมดนะครับขี้เกียจมาล้านต่อ 55 ซึ่งถ้าตีเป็นตัวเลขคร่าวๆก็ประมาน 10ยก กำลัง 172 (10^172) หรือถ้าจะอ่านออกเสียงให้จบ ก็พูดคำว่า 10,000 แล้วต่อด้วยคำว่า ล้านไปอีก 28 ครั้งแค่นี้เองครับสั้นๆ () ความเป็นไปได้มหาศาลนี้ทำให้เกิด กลยุธลึกลับซับซ้อนมากมาย ยากที่จะหาตาเดินที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นเสน่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของหมากล้อมเลย
จุดเริ่มต้นของบทความนี้ก็ต้อง ย้อนนนนนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้วหรือก็คือปี 1994 โปรแกรมหมากฮอสที่ชื่อว่า ชินฮุค(shinhook) สามารถทุบเอาชนะ นักหมากฮอสระดับชั้นแนวหน้าโลกได้เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นเพียงแค่ 3 ปี แชมป์โลกหมากรุกสากล ชาวรัสเซีย “แกรี่ คัสปารอฟ” ก็ถูกโค่นลง โดย ดีพบลู(deepblue) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จนปัจจุบัน Othello, Scrabble, backgammon, poker, Jeopardy กีฬาใช้สมองทั้งหลายแหล่ ก็ถูกโค่นลงหมดแล้วเช่นเดียวกับหมากรุก และ หมากฮอส แต่ไม่ใช่สำหรับหมากล้อมนะครัช อิอิ
เชื่อมั้ยครับว่าขณะที่ deepblue กำลังวุ่นอยู่กับการเสยตูด แกรี่คัสปารอฟในเกมหมากรุกอยู่นโปรแกรมโกะที่เก่งที่สุดในขณะนั้น กลับไม่สามารถเอาชนะนักหมากล้อมมือสมัครเล่นได้ด้วยซ้ำไป
โปรแกรมหมากรุกเนี่ย แรกเริ่มเดิมทีถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกสมัยย 1950 นู่นน จนถึงปี 1962 เนี่ยโปรแกรมหมากรุกมากมายถูกสร้างขึ้น และก็ค่อนข้างเก่งทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน โปรแกรมหมากล้อมกลับมีเพียง 2 โปรแกรมเท่านั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาจนสำเร็จ แต่ไอ้คำว่าโปรแกรมที่สำเร็จเนี่ย มันไม่สามารถ เล่นกับมนุษย์ได้ด้วยซ้ำนะครับ จากที่อ่านเนี่ยผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นที่เอาไว้ให้เล่นระหว่างคนกับคนมากกว่า ที่จะเป้น คนกับคอมนะ
แต่แล้ว ในที่สุด!! ในปี 1968 Alfred Zobris ซึ่งผมก้ไม่รู้ว่าจะอ่านเป็นไทยว่าอะไร น่าจะเป้น อัลเฟรด โซบริส อะไรประมาณนี้ ขอเรียกว่า อัลเฟรดละกัน 555 อัลเฟรด เป็นอัจริยะเกี่ยวกับด้านทฤษฏีเกมซึ่งเค้าเป็นคนแรกที่ สามารถเขียนโปรแกรมหมากล้อม ที่สามารถ เอาชนะนักหมากล้อมมือใหม่เอี่ยมสุดๆได้แต่ ปัญหามันมีอยู่คือ มันต้องใช้ความอดทน เวลา และพลังประมวลผลมหาศาลลลลลมาก และแล้ว หลังจากนั้น อีก 40 ปีก็ยังไม่มีโปรแกรมใหนที่สามารถเสยตูด นักหมากล้อมสมัครเล่นระดับกลางไปได้
เพื่อที่จะทำให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ หมากรุกเนี่ย ในตาแรกหมากดำจะมีตาเดินที่เป็นไปได้ทั้งหมด 20 ตาเดิน และในตาถัดไป หมากขาวก็จะมีความเป้นไปได้ทั้งหมด 20 ตาเดินเช่นกัน ทำให้ความเป็นไปได้ทั้งหมดในการเดินรอบแรกของทั้งสองฝ่าย มีทั้งหมด 400 รูปแบบ ในขณะเดียวกันสำหรับหมากล้อม ในตาแรกหมากดำจะมีความเป้นไปได้ทั้งหมด 361 รูปแบบ ตามด้วยหมากขาว 360 รูปแบบ รวมกันมากถึง 129,960 รูปแบบ ในเพียงการเดินรอบแรกเท่านั้นเอง
ศัพทางเทคนิคเนี่ยมันจะมีคำนึงคือคำว่า branching factor ซึ่งผมก้ไม่รู้ว่าแปลเป็นไทยมันต้องแปลว่าอะไรนะ 555 แต่ถ้าเอาตรงๆตัวก็น่าจะประมาณ ดัชนีการแตกกิ่ง (มั้ง :p) ซึ่งไอตัวนี้เนี่ยจริงๆมันก็คือ ค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ในแต่ละตาเดินนั่นเองครับ สำหรับมากรุก branching factor ในแต่ละตาเดินจะอยู่ที่ 35 แต่สำหรับหมากล้อม branching factor จะสูงถึง 250 เลยทีเดียว และ ไอ้เจ้า branching factor ที่สูงถึง 250 เนี่ยแหละครับที่ทำให้นักพัฒนา AI ทั้งหลายต้องปวดหัวไม่จบไม่สิ้น
ครั้งหน้ามาพูดถึงว่าทำไม อัลกอริทึ่มที่ใช้กันในปัจจุบันซึ่งได้ผล กับหมากรุกหมากฮอสและโอเทลโล่ กลับใช้ไม่ได้ผลกับหมากล้อม และความยากลำบากในการพัฒนา อัลกอริทึ่ม รวมถึง remi coulomb อัจฉริยะผู้ซึ่งทำให้วงการนักพัฒนา algorithm ต้องสั่นสะเทือน O.o
**หากสนใจหมากล้อมอยากเล่น อยากเรียน เชิญได้ที่สมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทย ที่ชั้น 2 อาคาร สีลมพาร์ควิว ติดห้างสีลมคอมเพล็กส์และรถไฟฟ้าศาลาแดง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือ เยี่ยมชมได้ที่ http://www.thaigogenius.com/index.php และ http://www.thaigo.org ครับ ขอบคุณครับ