สัปดาห์แห่งความผันผวนของหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=60442
วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคุณไม่สามารถทนเห็นหุ้นที่คุณถืออยู่ตกลงไป 50% โดยที่ไม่รู้สึกขวัญผวาได้ คุณก็ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น” นี่เป็นคำกล่าวที่บ่งบอกให้เห็นว่าราคาหุ้นนั้นมักจะมีความผันผวนหนัก ๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเสมอ และเวลานั้นจะเป็นเวลาที่ทดสอบจิตใจว่าคุณพร้อมที่จะเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นหรือไม่ กล่าวโดยเฉพาะก็คือ ถ้าหุ้นตกลงมาอย่างหนักจนถึงระดับ 50% โดยที่คุณมั่นใจว่าพื้นฐานของตัวหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก คุณจะยังสามารถถือมันไว้ไม่รีบขายไปเสียก่อนได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่! เพราะคุณกลัวว่ามันจะตกลงต่อไปอีก ถ้าเป็นแบบนี้ คุณก็ไม่ควรจะลงทุนในตลาดหุ้น เหตุผลก็เพราะว่าคุณจะพลาดและเสียหายหนักเมื่อพบในภายหลังว่าหุ้นตัวนั้นก็จะปรับตัวกลับขึ้นมา—ตามพื้นฐานที่ควรจะเป็นของมัน ดังนั้น สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว การที่หุ้นตกโดยที่วิเคราะห์ชัดเจนแล้วว่าพื้นฐานของกิจการไม่ได้เปลี่ยน เราก็ไม่ควรที่จะขายหุ้น ทางที่ดีก็คือ ไม่ต้องไปทำอะไร หรือทางที่อาจจะดีกว่าก็คือ เข้าไปซื้อหุ้นที่ตกลงมามาก ๆ นั้น แต่นี่ก็เป็นเรื่องที่คิดง่ายแต่ทำยากสำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรม “หนีตาย” เวลาอยู่ใน “อันตรายร้ายแรง” ในยีนของทุกคน
สัปดาห์ก่อนช่วงวันที่ 10-14 ตุลาคม 59 นั้น ตลาดหุ้นไทยเกิดความ “ผันผวน” รุนแรงมาก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 59 ที่ 1,504 จุด พอเปิดตลาดในวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม ดัชนีตลาดก็ปรับลดลงอย่างรุนแรงเนื่องจากเหตุการณ์ “ปัจจัยภายในประเทศ” ที่ไม่น่าจะไม่เกี่ยวกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโดยตรง ดัชนีปิดที่ 1,457 จุด ลดลงมา 47 จุดหรือลดลง 3.1% โดยที่กลุ่มนักลงทุนที่ขายหุ้น “อย่างหนัก” ก็คือนักลงทุนสถาบัน ที่ขายสุทธิถึงกว่า 7 พันล้านบาทซึ่งถือว่าสูงมากเนื่องจากนักลงทุนสถาบันนั้นเป็นนักลงทุนกลุ่มที่มักมีการซื้อขายต่อวันน้อยเพียงประมาณ 10% ของการซื้อขายหุ้นทั้งหมดของตลาด และโดยปกติก็มักจะมีการซื้อขายรวมเพียงประมาณ 4-5 พันล้านบาทต่อวันเท่านั้น
วันที่ 11 ตุลาคม 59 ดัชนีหุ้นไทยยังคงผันผวนแรงและปรับตัวลดลงหลายสิบจุดในช่วงเช้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีก็กระเตื้องขึ้นมากและปิดตลาดที่ 1,442 จุด หรือลดลงเพียง 15 จุด หรือปรับตัวลง 1% คนที่ “กล้า” เข้าไปซื้อตอนเช้าและขายตอนบ่ายก็จะสามารถทำกำไรได้หลายเปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้น วันนี้ก็อีกเช่นกันที่กลุ่มนักลงทุนสถาบันเป็นผู้ขายสุทธิค่อนข้างมากที่ 3,345 ล้านบาท ดูเหมือนว่านักลงทุนสถาบันจะยังกังวลและขายหุ้นต่อเนื่องจากวันก่อนหน้า
วันที่ 12 ตุลาคม 59 ดูเหมือนว่าความผันผวนของตลาดหุ้นจะเข้าสู่ภาวะสูงสุดและไม่ใช่นักลงทุนสถาบันเท่านั้นที่อาจจะกังวลต่อปัจจัยภายในประเทศ นักลงทุนแทบทุกกลุ่มต่างก็ “แพนิก” และซื้อ-ขายหุ้นกันอย่างที่อาจจะไม่คิดถึงเหตุผล ดัชนีตลาดหุ้นช่วงหนึ่งนั้นลดลงไปอยู่ที่ 1,343 จุด ลดลงจากราคาปิดวันก่อนหน้าถึง 99 จุดหรือ 6.9% อย่างไรก็ตาม ก่อนปิดตลาด แรงเก็งกำไรก็กลับเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ดัชนีกระเตื้องขึ้นมากและปิดตลาดที่ดัชนี 1,406 จุด หรือเป็นการลดลงจากวันก่อนหน้าเพียง 36 จุด หรือ 2.5% ปริมาณการซื้อขายหุ้นในวันนี้สูงถึง 130,000 ล้านบาทซึ่งน่าจะเป็นปริมาณการซื้อขายปกติที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย
วันที่ 13 ตุลาคม 59 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จสวรรคต ดัชนีตลาดหุ้นในช่วงระหว่างวันยังคงมีความผันผวนแรงมาก ช่วงหนึ่งดัชนีตกลงไปเหลือ 1,357 จุด ลดลงถึง 49 จุด หรือลดลง 3.5% อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนปิดตลาดดัชนีกลับกระเตื้องขึ้นอย่างเร็วและแรงมากดัชนีปิดที่ 1,413 จุด บวกมาประมาณ 6.6 จุดหรือ 0.5% จากวันก่อนหน้า โดยมีกลุ่มนักลงทุนสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิถึง 9,716 ล้านบาทแทนที่จะเป็นฝ่ายที่ขายในช่วง 3 วันก่อนหน้านี้ ปริมาณการซื้อขายของตลาดในวันนี้ก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงแรงเก็งกำไรมหาศาลที่กว่า 1 แสนล้านบาท
วันที่ 14 ตุลาคม 59 ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นแรงตั้งแต่เปิดตลาดและคงเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาจากช่วงก่อนปิดตลาดวันก่อนหน้านั้น ดัชนีปิดตลาดที่ 1,478 จุด เพิ่มขึ้น 65 จุดหรือเพิ่มขึ้นถึง 4.6% และด้วยปริมาณการซื้อขายรวมถึงกว่า 1 แสนล้านบาท และก็เช่นเดิม นักลงทุนสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิถึง 13,525 ล้านบาท และนี่ก็คือเหตุการณ์ “สัปดาห์แห่งความผันผวนของตลาดหุ้นไทย” ที่ทำให้นักลงทุนหลายคนเสียหายหนักเพราะ “กลัว” และได้เข้าไปซื้อขายหุ้นผิดจังหวะหรือผิดเวลา ในอีกด้านหนึ่งก็มีคนที่ “กล้า” และซื้อขายหุ้นถูกจังหวะและทำกำไรได้มากในเวลาอันสั้น
แต่ในมุมของนักลงทุนระยะยาวที่เน้นที่พื้นฐานและราคาหุ้นของกิจการโดยเฉพาะที่เป็น VI “พันธุ์แท้” นั้น เหตุการณ์ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วให้บทเรียนอะไรบ้าง?
ข้อแรกก็คือ แม้ว่าทุกวันของสัปดาห์ที่แล้วตลาดจะมีการปรับตัวขึ้นลงอย่างรุนแรงมากและมีการซื้อขายเปลี่ยนมือของหุ้นเฉลี่ยเกือบแสนล้านบาทต่อวัน ซึ่งน่าจะทำให้มีคนได้และเสียจากการเล่นหุ้นมหาศาล แต่สำหรับนักลงทุนระยะยาวที่ “ไม่ได้ทำอะไรเลย” เพราะเห็นว่าพื้นฐานของตลาดและหุ้นที่ตนเองถืออยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาก็อาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรกับความผันผวนนี้มากนัก เหตุผลก็เพราะว่า ถ้าดูดัชนีหุ้นก่อนสัปดาห์ที่แล้วในวันที่ 7 ตุลาคม 59 ที่ 1,504 เทียบกับวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 59 ที่1,478 ก็เท่ากับว่าหุ้นลดลง 26 จุดหรือเพียง 1.7% ในหนึ่งสัปดาห์ซึ่งแทบจะไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย
ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้ทำอะไรเลยและมูลค่าหุ้นในพอร์ตก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรแม้ว่าในช่วงหนึ่งก็คิดอยากจะเข้าไปซื้อหุ้นที่ตกลงมาหนักและคิดว่าพอที่จะลงทุนได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้ซื้อ ผมเองเป็นคนที่ไม่ชอบ “รีบซื้อหุ้น” ผมไม่ชอบต้องรีบซื้อหุ้นเพราะคิดว่ามันจะ “เด้ง” หุ้นที่ผมซื้อนั้น ผมมักจะรอให้มัน “นิ่ง” ซักระยะหนึ่งมากกว่า การซื้อหุ้นเพราะคิดว่ามันจะ “เด้ง” นั้น ผมคิดว่ามันเป็นวิธีการแบบ “เก็งกำไร” ซึ่งผมไม่อยากทำ ในความรู้สึกของผม มันเป็นเรื่องที่คล้าย ๆ กับการ “ผิดศีล” ในฐานะของการเป็น VI อีกอย่างหนึ่ง ผมไม่อยากที่จะพบว่าซื้อแล้วมันกลับลงไปอีกซึ่งมันเกิดขึ้นได้เสมอ ผมไม่อยาก “เจ็บ” การ “พลาด” เพราะไม่ได้ซื้อนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับผม ผมพลาดมาตลอด แต่ผลการลงทุนระยะยาวของผมก็ยังคงดีอยู่โดยการลงทุนในหุ้นธรรมดา ๆ ในภาวะตลาดหุ้นที่ “ธรรมดา ๆ”
บทเรียนข้อสองก็คือ นักลงทุนสถาบันที่ได้ชื่อว่ามีความรู้และความสามารถในการลงทุนมากกว่าคนทั่วไป รวมทั้งน่าจะเป็นคนที่น่าจะมีอารมณ์หรือ EQ ที่มั่นคงกว่านักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาเนื่องจากเป็นคนที่บริหารเงินที่ไม่ใช่เงินของตัวเองและไม่ต้องกลัวว่าจะขาดทุนเป็นส่วนตัวนั้น เหตุการณ์ความผันผวนในสัปดาห์ที่แล้วอาจจะเป็นเครื่องฟ้องว่า นักบริหารเงินมืออาชีพในฐานะที่เป็นกลุ่มนั้น อาจจะไม่ได้เป็นนักลงทุนที่ดีกว่านักลงทุนสมัครเล่นหรือบุคคลธรรมดา การซื้อขายหุ้นของนักลงทุนสถาบันดูเหมือนจะเป็นแนว “ตาม ๆ กันไป” ไม่ได้มีลักษณะที่เป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเองอย่างที่ “มืออาชีพ” ควรเป็น และถ้าถามว่าในตลาดหุ้นไทยใครควรจะได้รับตำแหน่งว่าเป็น “Mr. Market” หรือ “นายตลาด” ในความหมายของเบน เกรแฮม ที่เปรียบเหมือนเป็นคนที่อารมณ์ขึ้นลงแรงพร้อมซื้อหรือขายหุ้นตามอารมณ์แล้วละก็ ผมก็คิดว่านักลงทุนสถาบันก็น่าจะมีสิทธิได้รับเลือกคนหนึ่ง
บทเรียนสุดท้ายสำหรับคนที่ได้กำไรจากความผันผวนรอบนี้ก็คือ อย่าคิดว่าตนเองเก่งหรือมีความสามารถและ “กล้าหาญ” ในการลงทุน มันอาจจะเป็นเรื่องของโชคที่ไม่สามารถนำไปใช้กับเหตุการณ์อื่น ว่าที่จริงการทำกำไรได้อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราติดใจและติดนิสัยในการเก็งกำไรซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาวก็ได้
สัปดาห์แห่งความผันผวนของหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=60442
วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคุณไม่สามารถทนเห็นหุ้นที่คุณถืออยู่ตกลงไป 50% โดยที่ไม่รู้สึกขวัญผวาได้ คุณก็ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น” นี่เป็นคำกล่าวที่บ่งบอกให้เห็นว่าราคาหุ้นนั้นมักจะมีความผันผวนหนัก ๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเสมอ และเวลานั้นจะเป็นเวลาที่ทดสอบจิตใจว่าคุณพร้อมที่จะเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นหรือไม่ กล่าวโดยเฉพาะก็คือ ถ้าหุ้นตกลงมาอย่างหนักจนถึงระดับ 50% โดยที่คุณมั่นใจว่าพื้นฐานของตัวหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก คุณจะยังสามารถถือมันไว้ไม่รีบขายไปเสียก่อนได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่! เพราะคุณกลัวว่ามันจะตกลงต่อไปอีก ถ้าเป็นแบบนี้ คุณก็ไม่ควรจะลงทุนในตลาดหุ้น เหตุผลก็เพราะว่าคุณจะพลาดและเสียหายหนักเมื่อพบในภายหลังว่าหุ้นตัวนั้นก็จะปรับตัวกลับขึ้นมา—ตามพื้นฐานที่ควรจะเป็นของมัน ดังนั้น สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว การที่หุ้นตกโดยที่วิเคราะห์ชัดเจนแล้วว่าพื้นฐานของกิจการไม่ได้เปลี่ยน เราก็ไม่ควรที่จะขายหุ้น ทางที่ดีก็คือ ไม่ต้องไปทำอะไร หรือทางที่อาจจะดีกว่าก็คือ เข้าไปซื้อหุ้นที่ตกลงมามาก ๆ นั้น แต่นี่ก็เป็นเรื่องที่คิดง่ายแต่ทำยากสำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรม “หนีตาย” เวลาอยู่ใน “อันตรายร้ายแรง” ในยีนของทุกคน
สัปดาห์ก่อนช่วงวันที่ 10-14 ตุลาคม 59 นั้น ตลาดหุ้นไทยเกิดความ “ผันผวน” รุนแรงมาก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 59 ที่ 1,504 จุด พอเปิดตลาดในวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม ดัชนีตลาดก็ปรับลดลงอย่างรุนแรงเนื่องจากเหตุการณ์ “ปัจจัยภายในประเทศ” ที่ไม่น่าจะไม่เกี่ยวกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโดยตรง ดัชนีปิดที่ 1,457 จุด ลดลงมา 47 จุดหรือลดลง 3.1% โดยที่กลุ่มนักลงทุนที่ขายหุ้น “อย่างหนัก” ก็คือนักลงทุนสถาบัน ที่ขายสุทธิถึงกว่า 7 พันล้านบาทซึ่งถือว่าสูงมากเนื่องจากนักลงทุนสถาบันนั้นเป็นนักลงทุนกลุ่มที่มักมีการซื้อขายต่อวันน้อยเพียงประมาณ 10% ของการซื้อขายหุ้นทั้งหมดของตลาด และโดยปกติก็มักจะมีการซื้อขายรวมเพียงประมาณ 4-5 พันล้านบาทต่อวันเท่านั้น
วันที่ 11 ตุลาคม 59 ดัชนีหุ้นไทยยังคงผันผวนแรงและปรับตัวลดลงหลายสิบจุดในช่วงเช้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีก็กระเตื้องขึ้นมากและปิดตลาดที่ 1,442 จุด หรือลดลงเพียง 15 จุด หรือปรับตัวลง 1% คนที่ “กล้า” เข้าไปซื้อตอนเช้าและขายตอนบ่ายก็จะสามารถทำกำไรได้หลายเปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้น วันนี้ก็อีกเช่นกันที่กลุ่มนักลงทุนสถาบันเป็นผู้ขายสุทธิค่อนข้างมากที่ 3,345 ล้านบาท ดูเหมือนว่านักลงทุนสถาบันจะยังกังวลและขายหุ้นต่อเนื่องจากวันก่อนหน้า
วันที่ 12 ตุลาคม 59 ดูเหมือนว่าความผันผวนของตลาดหุ้นจะเข้าสู่ภาวะสูงสุดและไม่ใช่นักลงทุนสถาบันเท่านั้นที่อาจจะกังวลต่อปัจจัยภายในประเทศ นักลงทุนแทบทุกกลุ่มต่างก็ “แพนิก” และซื้อ-ขายหุ้นกันอย่างที่อาจจะไม่คิดถึงเหตุผล ดัชนีตลาดหุ้นช่วงหนึ่งนั้นลดลงไปอยู่ที่ 1,343 จุด ลดลงจากราคาปิดวันก่อนหน้าถึง 99 จุดหรือ 6.9% อย่างไรก็ตาม ก่อนปิดตลาด แรงเก็งกำไรก็กลับเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ดัชนีกระเตื้องขึ้นมากและปิดตลาดที่ดัชนี 1,406 จุด หรือเป็นการลดลงจากวันก่อนหน้าเพียง 36 จุด หรือ 2.5% ปริมาณการซื้อขายหุ้นในวันนี้สูงถึง 130,000 ล้านบาทซึ่งน่าจะเป็นปริมาณการซื้อขายปกติที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย
วันที่ 13 ตุลาคม 59 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จสวรรคต ดัชนีตลาดหุ้นในช่วงระหว่างวันยังคงมีความผันผวนแรงมาก ช่วงหนึ่งดัชนีตกลงไปเหลือ 1,357 จุด ลดลงถึง 49 จุด หรือลดลง 3.5% อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนปิดตลาดดัชนีกลับกระเตื้องขึ้นอย่างเร็วและแรงมากดัชนีปิดที่ 1,413 จุด บวกมาประมาณ 6.6 จุดหรือ 0.5% จากวันก่อนหน้า โดยมีกลุ่มนักลงทุนสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิถึง 9,716 ล้านบาทแทนที่จะเป็นฝ่ายที่ขายในช่วง 3 วันก่อนหน้านี้ ปริมาณการซื้อขายของตลาดในวันนี้ก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงแรงเก็งกำไรมหาศาลที่กว่า 1 แสนล้านบาท
วันที่ 14 ตุลาคม 59 ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นแรงตั้งแต่เปิดตลาดและคงเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาจากช่วงก่อนปิดตลาดวันก่อนหน้านั้น ดัชนีปิดตลาดที่ 1,478 จุด เพิ่มขึ้น 65 จุดหรือเพิ่มขึ้นถึง 4.6% และด้วยปริมาณการซื้อขายรวมถึงกว่า 1 แสนล้านบาท และก็เช่นเดิม นักลงทุนสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิถึง 13,525 ล้านบาท และนี่ก็คือเหตุการณ์ “สัปดาห์แห่งความผันผวนของตลาดหุ้นไทย” ที่ทำให้นักลงทุนหลายคนเสียหายหนักเพราะ “กลัว” และได้เข้าไปซื้อขายหุ้นผิดจังหวะหรือผิดเวลา ในอีกด้านหนึ่งก็มีคนที่ “กล้า” และซื้อขายหุ้นถูกจังหวะและทำกำไรได้มากในเวลาอันสั้น
แต่ในมุมของนักลงทุนระยะยาวที่เน้นที่พื้นฐานและราคาหุ้นของกิจการโดยเฉพาะที่เป็น VI “พันธุ์แท้” นั้น เหตุการณ์ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วให้บทเรียนอะไรบ้าง?
ข้อแรกก็คือ แม้ว่าทุกวันของสัปดาห์ที่แล้วตลาดจะมีการปรับตัวขึ้นลงอย่างรุนแรงมากและมีการซื้อขายเปลี่ยนมือของหุ้นเฉลี่ยเกือบแสนล้านบาทต่อวัน ซึ่งน่าจะทำให้มีคนได้และเสียจากการเล่นหุ้นมหาศาล แต่สำหรับนักลงทุนระยะยาวที่ “ไม่ได้ทำอะไรเลย” เพราะเห็นว่าพื้นฐานของตลาดและหุ้นที่ตนเองถืออยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาก็อาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรกับความผันผวนนี้มากนัก เหตุผลก็เพราะว่า ถ้าดูดัชนีหุ้นก่อนสัปดาห์ที่แล้วในวันที่ 7 ตุลาคม 59 ที่ 1,504 เทียบกับวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 59 ที่1,478 ก็เท่ากับว่าหุ้นลดลง 26 จุดหรือเพียง 1.7% ในหนึ่งสัปดาห์ซึ่งแทบจะไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย
ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้ทำอะไรเลยและมูลค่าหุ้นในพอร์ตก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรแม้ว่าในช่วงหนึ่งก็คิดอยากจะเข้าไปซื้อหุ้นที่ตกลงมาหนักและคิดว่าพอที่จะลงทุนได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้ซื้อ ผมเองเป็นคนที่ไม่ชอบ “รีบซื้อหุ้น” ผมไม่ชอบต้องรีบซื้อหุ้นเพราะคิดว่ามันจะ “เด้ง” หุ้นที่ผมซื้อนั้น ผมมักจะรอให้มัน “นิ่ง” ซักระยะหนึ่งมากกว่า การซื้อหุ้นเพราะคิดว่ามันจะ “เด้ง” นั้น ผมคิดว่ามันเป็นวิธีการแบบ “เก็งกำไร” ซึ่งผมไม่อยากทำ ในความรู้สึกของผม มันเป็นเรื่องที่คล้าย ๆ กับการ “ผิดศีล” ในฐานะของการเป็น VI อีกอย่างหนึ่ง ผมไม่อยากที่จะพบว่าซื้อแล้วมันกลับลงไปอีกซึ่งมันเกิดขึ้นได้เสมอ ผมไม่อยาก “เจ็บ” การ “พลาด” เพราะไม่ได้ซื้อนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับผม ผมพลาดมาตลอด แต่ผลการลงทุนระยะยาวของผมก็ยังคงดีอยู่โดยการลงทุนในหุ้นธรรมดา ๆ ในภาวะตลาดหุ้นที่ “ธรรมดา ๆ”
บทเรียนข้อสองก็คือ นักลงทุนสถาบันที่ได้ชื่อว่ามีความรู้และความสามารถในการลงทุนมากกว่าคนทั่วไป รวมทั้งน่าจะเป็นคนที่น่าจะมีอารมณ์หรือ EQ ที่มั่นคงกว่านักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาเนื่องจากเป็นคนที่บริหารเงินที่ไม่ใช่เงินของตัวเองและไม่ต้องกลัวว่าจะขาดทุนเป็นส่วนตัวนั้น เหตุการณ์ความผันผวนในสัปดาห์ที่แล้วอาจจะเป็นเครื่องฟ้องว่า นักบริหารเงินมืออาชีพในฐานะที่เป็นกลุ่มนั้น อาจจะไม่ได้เป็นนักลงทุนที่ดีกว่านักลงทุนสมัครเล่นหรือบุคคลธรรมดา การซื้อขายหุ้นของนักลงทุนสถาบันดูเหมือนจะเป็นแนว “ตาม ๆ กันไป” ไม่ได้มีลักษณะที่เป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเองอย่างที่ “มืออาชีพ” ควรเป็น และถ้าถามว่าในตลาดหุ้นไทยใครควรจะได้รับตำแหน่งว่าเป็น “Mr. Market” หรือ “นายตลาด” ในความหมายของเบน เกรแฮม ที่เปรียบเหมือนเป็นคนที่อารมณ์ขึ้นลงแรงพร้อมซื้อหรือขายหุ้นตามอารมณ์แล้วละก็ ผมก็คิดว่านักลงทุนสถาบันก็น่าจะมีสิทธิได้รับเลือกคนหนึ่ง
บทเรียนสุดท้ายสำหรับคนที่ได้กำไรจากความผันผวนรอบนี้ก็คือ อย่าคิดว่าตนเองเก่งหรือมีความสามารถและ “กล้าหาญ” ในการลงทุน มันอาจจะเป็นเรื่องของโชคที่ไม่สามารถนำไปใช้กับเหตุการณ์อื่น ว่าที่จริงการทำกำไรได้อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราติดใจและติดนิสัยในการเก็งกำไรซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาวก็ได้