ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา

ในสมัยพุทธกาล
มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งจำพรรษา
อยู่ในเขตชนบทของเมืองสาวัตถี
เกรงจะเกิดการขัดแย้งกัน
จนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา
จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากันเลยตลอดสามเดือน
---
เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้น
พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร
กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ
พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ
แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาต
ให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า (ว่ากล่าวตักเตือนกันได้)
---
มีหลักปฏิบัติ คือ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้
ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย
1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา
ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน
เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา
และทางใจ ก่อนที่จะตักเตือน
---
2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง
มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน
ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้
เมื่อทำได้อย่างนี้ การปวารณา
จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคี
และดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์
---
การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์
ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน
เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว
ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
แม้ว่าวิธีการปราวารณานี้จะทำได้ยาก
แต่ก็ควรให้เกิดขึ้น เพราะแต่ละคนต่างก็มีข้อบกพร่อง
การเปิดโอกาสตักเตือนซึ่งกันแล้ว
ก็จะทำให้ได้เห็นข้อบกพร่องของตนเอง
แล้วปรัปปรุงแก้ ความสามัคคีปรองดอง
ก็จะเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่