ยูทูป ยึดโมเดลผลักดันผู้ผลิตคอนเทนต์สร้างรายได้ผ่านโฆษณา หลังเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่รับชมยูทูป ใช้ระยะเวลาในการรับชมผ่านอุปกรณ์พกพาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนราว 65% พร้อมเผย 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยติดยูทูป คือ การเปลี่ยนแปลงทางอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมมากขึ้น คอนเทนต์ที่หลากหลาย มีคุณภาพ และระบบจัดการโฆษณาที่ไม่ก่อกวนผู้ใช้
ไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด กูเกิล ประเทศไทย กล่าวว่า ยูทูป ประเทศไทย ยังคงยึดการเดินหน้าสร้าง Youtube Creator ด้วยการแสดงให้ผู้ผลิตคอนเทนต์เห็นถึงโอกาสในการสร้างรายได้จากโฆษณาบนยูทูป ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเห็นผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยที่เริ่มรับชมยูทูป มากกว่าทีวี ซึ่งเชื่อว่า ในอนาคตอาจจะมีโมเดลที่หลากหลายขึ้นอย่างที่เริ่มทดลองใช้งานในสหรัฐฯ
จากข้อมูลล่าสุด ของทางยูทูป ระบุว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการยูทูป ประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี 2014 ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน สัดส่วนการรับชมยูทูป บนอุปกรณ์พกพามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 65% แต่ถ้าคำนวณในแง่ของระยะเวลาในการรับชมยูทูป ผ่านมือถือจะสูงถึง 85% จากที่ก่อนหน้านี้จะมีการรับชมผ่านพีซี และแท็บเล็ต
ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีจำนวนผู้ติดตามเกิน 1 ล้านคน (Gold Channel) ก็เพิ่มขึ้นเป็น 25 ช่อง และจำนวนช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนคน (Silver Channel) อีกมากกว่า 460 ช่องโดยประเภทคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคไทยให้ความสนใจจะอยู่ในกลุ่มคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง เพลง และคอนเทนต์เกี่ยวกับเด็ก ไม่นับรวมช่องเกมที่ได้รับความนิยมมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ทางยูทูป ได้มีการจ้างบริษัทสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค TNS ที่ทำการสำรวจผู้ที่ใช้งานรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เชิงลึกในประเทศไทย จากกลุ่มตัวอย่างหลักพันคนพบว่า มี 4 ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ยูทูป ได้รับความนิยมในประเทศไทย และติดเป็น 1 ใน 10 ของโลก
โดยประกอบไปด้วย 1.การที่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว (Changing Consumers) ในแง่ของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย เมื่อมีการแข่งขันก็ทำให้การเข้าถึงทั้งในแง่ความครอบคลุม และราคาผู้บริโภคสามารถจับต้องได้
“การใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเติบโตจาก 40% ในปี 2013 มาเป็น 62% ในปี 2016 และมากกว่า 53% ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน และยังพบว่า 66% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยใช้งานมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ที่สำคัญ คือ 51% ใช้เวลาอยู่บนยูทูป เป็นหลัก”
ขณะเดียวกัน ยังพบว่า การรับชมยูทูป บนพีซี เริ่มลดลงจาก 77% ในปี 2014 เหลือ 71% ในปีนี้ ส่วนแท็บเล็ตจาก 37% เหลือ 28% ในขณะที่สมาร์ทโฟนมีการใช้งานเพิ่มขึ้นจาก 81% เป็น 87% ซึ่งการที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานบนมือถือมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เวลาใช้งานเฉลี่ยต่อครั้งลดลงมาอยู่ที่ 34 นาทีจากเดิม 38 นาที แต่จำนวนการดูในแต่ละวันถี่ขึ้น จากเดิม 3 ครั้ง เป็น 3.3 ครั้งต่อวัน
“ในส่วนของระยะเวลาการดูยูทูป เฉลี่ยต่อวันจะอยู่ที่ 1.9 ชั่วโมง แต่เมื่อแยกผู้ใช้งานยูทูป ในต่างจังหวัดออกมาจะพบว่า มีการใช้งานมากกว่าคนที่ใช้งานภายในตัวเมือง โดยผู้ที่รับชมในเมืองจะใช้งานเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 33 นาที หรือ 1.8 ชั่วโมงต่อวัน และต่างจังหวัดอยู่ที่ 39 นาทีต่อครั้ง หรือ 2.1 ชั่วโมงต่อวัน
นอกจากนี้ ยังพบว่า 61% ของผู้บริโภคชอบที่จะดูบนยูทูป มากกว่าทีวี และมีเพียง 11% ที่ชอบดูทีวีมากกว่ายูทูป ขณะที่ข้อมูลการรับชมในวันทำงานยูทูป จะมีชั่วโมงการดูที่สูงกว่าดูบนทีวี ในหลายช่วงเวลารวมๆ แล้วต่อวันอยู่ที่ 14 ชั่วโมง ที่มีการดูคอนเทนต์วิดีโอบนยูทูป มากกว่าดูบนทีวีส่วนในวันหยุด จะมีเวลาการรับชมที่ใกล้เคียงกันเพียงแต่ถ้าแยกช่วงอายุ 16-24 ปี ออกมาจะพบว่า เกือบ 24 ชั่วโมง ดูยูทูปมากกว่าทีวี
ถัดมา คือ ปัจจัยในเรื่องของคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ (Quality Content) ที่มีจำนวนที่หลากหลาย ค้นหาได้ง่ายขึ้น โดยผู้บริโภคให้ข้อมูลว่า 79% มองว่า การหาคอนเทนต์บนยูทูป ง่ายกว่าทีวี 80% ให้ความเห็นว่า บนยูทูป มีคอนเทนต์ที่หลากหลายกว่า 81% ยูทูป เป็นที่แรกที่เข้าถึงเมื่อต้องการหาคอนเทนต์วิดีโอ โดย 3 อันดับคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ จะอยู่ที่ 63% เลือกฟังเพลงไทย 61% รับชมช่องเกี่ยวกับความบันเทิง และ 60% รับชมภาพยนตร์
อีกส่วน คือ การเป็นแพลตฟอร์มที่เปิด (Engaging Platform) ที่ให้ผู้บริโภคสามารถพูดคุยกับผู้ผลิตคอนเทนต์ หรือเพื่อนๆ ภายในคอมมูนิตีโดยมีผลสำรวจเกี่ยวกับการค้นหาวิดีโอบนยูทูป พบว่า 42% เข้าดูจากช่องที่ Subscribe 41% หาบนยูทูป 31% หาจากกูเกิล 25% เข้าจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป และ 21% เข้าชมจากโซเชียลมีเดีย ส่วนเมื่อรับชมวิดีโอบนยูทูปจบ 79% จะค้นหาวิดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อรับชมต่อ 75% ทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ที่ได้รับชมไป 74% ดูวิดีโอต่อเนื่องที่ยูทูป จัดการให้
สุดท้าย คือ เรื่องของระบบโฆษณาที่ดีกว่าเดิม (Better Advertising) จากการที่ผู้บริโภคให้ความรู้สึกว่ามีประโยชน์ และไม่เป็นอะไรที่น่ารำคาญ โดยลูกค้า 71% บอกว่ายูทูป ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และแบรนด์ 67% เรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ 59% ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อ
โดยในส่วนของรูปแบบการโฆษณาบนยูทูป ที่ผู้บริโภคชอบที่สุด คือ การกดข้าม (Skip) โฆษณาได้ซึ่งผู้ที่ทำแบบสำรวจ 69% มองว่า การข้ามโฆษณาได้เป็นฟีเจอร์ที่ดี ขณะเดียวกัน 67% เชื่อว่าการเปิดให้ Skip ทำให้ผู้บริโภคเลือกชมแต่โฆษณาที่คนสนใจได้ และยังพบว่า 52% ของคนที่ดูโฆษณาที่สามารถกดข้ามได้จนจบ 48% กดข้ามทุกโฆษณาที่กดข้ามได้ แต่ 47% แม้ว่าจะ Skip แต่จำได้ว่าโฆษณาอะไร
ไมค์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การแข่งขันในตลาดวิดีโอแพลตฟอร์ม แม้ว่าจะมีผู้เล่นมากขึ้น แต่จะมีพื้นที่ให้หลายๆ แพลตฟอร์มอยู่ด้วยกันได้ เพราะแต่ละเจ้ามีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ทำให้แบ่งแยกกันไปว่า สำหรับผู้บริโภคแล้วอยากรับชมคอนเทนต์แบบไหน ในช่วงเวลาไหน ซึ่งยูทูป จะโดดเด่นอยู่ที่ความหลากหลายที่กว้างที่สุด ถัดมา คือ คุณภาพของคอนเทนต์ ที่เห็นได้จากผลสำรวจ
Company Relate Link :
Youtube
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000102514
เผย 4 ปัจจัยหลักทำคนไทยติด “ยูทูป”
ยูทูป ยึดโมเดลผลักดันผู้ผลิตคอนเทนต์สร้างรายได้ผ่านโฆษณา หลังเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่รับชมยูทูป ใช้ระยะเวลาในการรับชมผ่านอุปกรณ์พกพาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนราว 65% พร้อมเผย 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยติดยูทูป คือ การเปลี่ยนแปลงทางอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมมากขึ้น คอนเทนต์ที่หลากหลาย มีคุณภาพ และระบบจัดการโฆษณาที่ไม่ก่อกวนผู้ใช้
ไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด กูเกิล ประเทศไทย กล่าวว่า ยูทูป ประเทศไทย ยังคงยึดการเดินหน้าสร้าง Youtube Creator ด้วยการแสดงให้ผู้ผลิตคอนเทนต์เห็นถึงโอกาสในการสร้างรายได้จากโฆษณาบนยูทูป ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเห็นผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยที่เริ่มรับชมยูทูป มากกว่าทีวี ซึ่งเชื่อว่า ในอนาคตอาจจะมีโมเดลที่หลากหลายขึ้นอย่างที่เริ่มทดลองใช้งานในสหรัฐฯ
จากข้อมูลล่าสุด ของทางยูทูป ระบุว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการยูทูป ประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี 2014 ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน สัดส่วนการรับชมยูทูป บนอุปกรณ์พกพามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 65% แต่ถ้าคำนวณในแง่ของระยะเวลาในการรับชมยูทูป ผ่านมือถือจะสูงถึง 85% จากที่ก่อนหน้านี้จะมีการรับชมผ่านพีซี และแท็บเล็ต
ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีจำนวนผู้ติดตามเกิน 1 ล้านคน (Gold Channel) ก็เพิ่มขึ้นเป็น 25 ช่อง และจำนวนช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนคน (Silver Channel) อีกมากกว่า 460 ช่องโดยประเภทคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคไทยให้ความสนใจจะอยู่ในกลุ่มคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง เพลง และคอนเทนต์เกี่ยวกับเด็ก ไม่นับรวมช่องเกมที่ได้รับความนิยมมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ทางยูทูป ได้มีการจ้างบริษัทสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค TNS ที่ทำการสำรวจผู้ที่ใช้งานรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เชิงลึกในประเทศไทย จากกลุ่มตัวอย่างหลักพันคนพบว่า มี 4 ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ยูทูป ได้รับความนิยมในประเทศไทย และติดเป็น 1 ใน 10 ของโลก
โดยประกอบไปด้วย 1.การที่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว (Changing Consumers) ในแง่ของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย เมื่อมีการแข่งขันก็ทำให้การเข้าถึงทั้งในแง่ความครอบคลุม และราคาผู้บริโภคสามารถจับต้องได้
“การใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเติบโตจาก 40% ในปี 2013 มาเป็น 62% ในปี 2016 และมากกว่า 53% ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน และยังพบว่า 66% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยใช้งานมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ที่สำคัญ คือ 51% ใช้เวลาอยู่บนยูทูป เป็นหลัก”
ขณะเดียวกัน ยังพบว่า การรับชมยูทูป บนพีซี เริ่มลดลงจาก 77% ในปี 2014 เหลือ 71% ในปีนี้ ส่วนแท็บเล็ตจาก 37% เหลือ 28% ในขณะที่สมาร์ทโฟนมีการใช้งานเพิ่มขึ้นจาก 81% เป็น 87% ซึ่งการที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานบนมือถือมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เวลาใช้งานเฉลี่ยต่อครั้งลดลงมาอยู่ที่ 34 นาทีจากเดิม 38 นาที แต่จำนวนการดูในแต่ละวันถี่ขึ้น จากเดิม 3 ครั้ง เป็น 3.3 ครั้งต่อวัน
“ในส่วนของระยะเวลาการดูยูทูป เฉลี่ยต่อวันจะอยู่ที่ 1.9 ชั่วโมง แต่เมื่อแยกผู้ใช้งานยูทูป ในต่างจังหวัดออกมาจะพบว่า มีการใช้งานมากกว่าคนที่ใช้งานภายในตัวเมือง โดยผู้ที่รับชมในเมืองจะใช้งานเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 33 นาที หรือ 1.8 ชั่วโมงต่อวัน และต่างจังหวัดอยู่ที่ 39 นาทีต่อครั้ง หรือ 2.1 ชั่วโมงต่อวัน
นอกจากนี้ ยังพบว่า 61% ของผู้บริโภคชอบที่จะดูบนยูทูป มากกว่าทีวี และมีเพียง 11% ที่ชอบดูทีวีมากกว่ายูทูป ขณะที่ข้อมูลการรับชมในวันทำงานยูทูป จะมีชั่วโมงการดูที่สูงกว่าดูบนทีวี ในหลายช่วงเวลารวมๆ แล้วต่อวันอยู่ที่ 14 ชั่วโมง ที่มีการดูคอนเทนต์วิดีโอบนยูทูป มากกว่าดูบนทีวีส่วนในวันหยุด จะมีเวลาการรับชมที่ใกล้เคียงกันเพียงแต่ถ้าแยกช่วงอายุ 16-24 ปี ออกมาจะพบว่า เกือบ 24 ชั่วโมง ดูยูทูปมากกว่าทีวี
ถัดมา คือ ปัจจัยในเรื่องของคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ (Quality Content) ที่มีจำนวนที่หลากหลาย ค้นหาได้ง่ายขึ้น โดยผู้บริโภคให้ข้อมูลว่า 79% มองว่า การหาคอนเทนต์บนยูทูป ง่ายกว่าทีวี 80% ให้ความเห็นว่า บนยูทูป มีคอนเทนต์ที่หลากหลายกว่า 81% ยูทูป เป็นที่แรกที่เข้าถึงเมื่อต้องการหาคอนเทนต์วิดีโอ โดย 3 อันดับคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ จะอยู่ที่ 63% เลือกฟังเพลงไทย 61% รับชมช่องเกี่ยวกับความบันเทิง และ 60% รับชมภาพยนตร์
อีกส่วน คือ การเป็นแพลตฟอร์มที่เปิด (Engaging Platform) ที่ให้ผู้บริโภคสามารถพูดคุยกับผู้ผลิตคอนเทนต์ หรือเพื่อนๆ ภายในคอมมูนิตีโดยมีผลสำรวจเกี่ยวกับการค้นหาวิดีโอบนยูทูป พบว่า 42% เข้าดูจากช่องที่ Subscribe 41% หาบนยูทูป 31% หาจากกูเกิล 25% เข้าจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป และ 21% เข้าชมจากโซเชียลมีเดีย ส่วนเมื่อรับชมวิดีโอบนยูทูปจบ 79% จะค้นหาวิดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อรับชมต่อ 75% ทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ที่ได้รับชมไป 74% ดูวิดีโอต่อเนื่องที่ยูทูป จัดการให้
สุดท้าย คือ เรื่องของระบบโฆษณาที่ดีกว่าเดิม (Better Advertising) จากการที่ผู้บริโภคให้ความรู้สึกว่ามีประโยชน์ และไม่เป็นอะไรที่น่ารำคาญ โดยลูกค้า 71% บอกว่ายูทูป ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และแบรนด์ 67% เรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ 59% ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อ
โดยในส่วนของรูปแบบการโฆษณาบนยูทูป ที่ผู้บริโภคชอบที่สุด คือ การกดข้าม (Skip) โฆษณาได้ซึ่งผู้ที่ทำแบบสำรวจ 69% มองว่า การข้ามโฆษณาได้เป็นฟีเจอร์ที่ดี ขณะเดียวกัน 67% เชื่อว่าการเปิดให้ Skip ทำให้ผู้บริโภคเลือกชมแต่โฆษณาที่คนสนใจได้ และยังพบว่า 52% ของคนที่ดูโฆษณาที่สามารถกดข้ามได้จนจบ 48% กดข้ามทุกโฆษณาที่กดข้ามได้ แต่ 47% แม้ว่าจะ Skip แต่จำได้ว่าโฆษณาอะไร
ไมค์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การแข่งขันในตลาดวิดีโอแพลตฟอร์ม แม้ว่าจะมีผู้เล่นมากขึ้น แต่จะมีพื้นที่ให้หลายๆ แพลตฟอร์มอยู่ด้วยกันได้ เพราะแต่ละเจ้ามีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ทำให้แบ่งแยกกันไปว่า สำหรับผู้บริโภคแล้วอยากรับชมคอนเทนต์แบบไหน ในช่วงเวลาไหน ซึ่งยูทูป จะโดดเด่นอยู่ที่ความหลากหลายที่กว้างที่สุด ถัดมา คือ คุณภาพของคอนเทนต์ ที่เห็นได้จากผลสำรวจ
Company Relate Link :
Youtube
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000102514