ธุรกิจ TV รอดหรือไม่รอด?  จะเป็นยังไงต่อไป ในยุคที่คนดูแต่สตรีมมิ่ง (Streaming)

ธุรกิจ TV รอดหรือไม่รอด?  จะเป็นยังไงต่อไป ในยุคที่คนดูแต่สตรีมมิ่ง (Streaming) ...หรือ ไม่ปรับตัวก็รอวันตาย

คุณดูโทรทัศน์ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่…?

การพัฒนาอินเทอร์เน็ตทำให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ถือได้ว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมคนทั่วโลกไปโดยปริยาย จากผลการวิจัยปี 2019 เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคสื่อในประเทศไทย

ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยคือ เกิดความแตกต่างจากช่วงอายุของผู้ใช้ในไทย โดยพบว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 57 ปีขึ้นไป ยังคงรับชมรายการโทรทัศน์ตามที่มีการออกอากาศอยู่ ผู้ที่มีอายุ 41 ปี หรือน้อยกว่านั้น มีการบริโภคสื่อหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อในรูปแบบออนไลน์

ในยุคที่ผู้คนหันมาใช้สื่อและรับชมคอนเทนต์จากโลกออนไลน์เป็นกิจวัตรประจำวัน จนธุรกิจสตรีมมิ่งเปิดตลาดแข่งขันกันอย่างดุเดือด

Streaming มาแรง คนดูทีวีน้อยลง

สมัยก่อน โทรทัศน์เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักในการเปิดรับข่าวสารและความบันเทิงในชีวิตประจำวัน แต่ปัจจุบันนี้ รายการที่เคยอยู่เฉพาะในโทรทัศน์มีช่องทางการเผยแพร่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างบริการสตรีมมิ่งต่าง ๆ 

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่าคนไทยราว 26 ล้านคนหรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรไทยรับชมคอนเทนต์ผ่าน OTT (Over-The-Top) หรือบริการรับชมวิดีโอตามความต้องการ (Video on Demand) และคนไทย 92% ของคนไทยใช้บริการสตรีมมิ่งมากกว่า 1 แพลตฟอร์ม

ด้าน Nielsen บริษัทสำรวจและวิจัยด้านการตลาด พบว่าเทรนด์การรับชมสตรีมมิ่งของไทย กลับมีลักษณะเหมือนการรับชมโทรทัศน์ 

แพลตฟอร์มที่ให้บริการ Video on Demand อย่าง Netflix และ Disney+ Hotstar ประกาศเริ่มให้บริการแพ็กเกจแบบมีโฆษณาคั่นในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน

นอกจากนี้ เทรนด์ FAST (Free Ad Supported TV) หรือการรับชมโทรทัศน์ผ่านช่องทางออนไลน์ของสถานีโทรทัศน์ พร้อมโฆษณาแทรกระหว่างรายการ ในปี 2022 มีผู้ชมเพิ่มขึ้น 36% (จากจำนวนผู้ชม 32% ในปี 2021) สะท้อนว่าคนไทยยอมรับชมโฆษณาแลกกับการรับชมคอนเทนต์ฟรี

ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นถึงช่องว่างความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคระหว่างผู้ที่มีอายุน้อยและผู้สูงอายุ ที่สามารถส่อให้เห็นถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ระยะยาวได้อีกด้วย

ถึงแม้ว่าการบริโภคสื่อทางโทรทัศน์จะมีแนวโน้มที่ลดลงเรื่อยๆ ในอนาคตก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าสื่อโทรทัศน์จะล้มหายตายจากไปซะทีเดียว ถ้ามีการปรับรูปแบบคอนเทนต์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ก็สามารถ Engage ผู้ชมได้มากขึ้น และที่สำคัญคือ การสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ นอกจากโทรทัศน์ มีการปรับให้สามารถดูผ่านหน้าจอคอมและผ่านโทรศัพท์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถขยายฐานผู้บริโภคสื่อได้มากขึ้น

“อนาคตของธุรกิจโทรทัศน์จะไปต่อได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ รวมถึงนโยบายขององค์กรกำกับอย่างกสทช. ว่าจะมีทิศทางอย่างไร ธุรกิจโทรทัศน์อาจจะไม่สามารถอยู่ในรูปแบบเดิมได้ การขยายตัวของ OTT และการพัฒนาเนื้อหารายการ เพื่อให้สามารถอยู่ในตลาดของไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงอาจเป็นทิศทางหนึ่ง แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติ”

หลังจากนี้ต้องจับตาดูว่า ในปี 2572 ที่ทีวีดิจิทัลทั้ง 15 ช่องจะสิ้นสัญญาใบอนุญาตทีวีดิจิทัล บรรดาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลจะยังสนใจสถานีโทรทัศน์กันอยู่หรือไม่

เพี้ยนหืม    แล้วเพื่อนๆหลาะครับ ดู TV กันครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่  เพี้ยนหืม

ที่มา : Mission To The Moon , Workpointtoday
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่