Tue, 2016-10-11 00:29
8 ต.ค. 2559 จอห์น เฟฟเฟอร์ ผู้อำนวยการเว็บไซต์วิเคราะห์นโยบายการต่างประเทศ Foreign Policy In Focus (FPIF) เขียนบทความเกี่ยวกับการลงประชามติในประเด็นเรื่องความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาทั้งในโคลอมเบียและฮังการี รวมถึงกรณีการตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของอังกฤษที่เรียกว่า Brexit เมื่อช่วงกลางปีนี้ โดยมีคำถามว่าเราควรจะคิดกันใหม่อีกครั้งหรือไม่ในเรื่องที่จะให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีอิทธิพลตัดสินโดยตรงกับเรื่องเหล่านี้
เมื่อไม่นานมานี้มีกรณีการลงประชามติรับหรือไม่รับข้อตกลงสันติภาพที่รัฐบาลโคลอมเบียทำกับกลุ่มกบฏ FARC ซึ่งผลออกมาว่าฝ่ายไม่เห็นด้วยชนะอย่างฉิวเฉียดด้วยคะแนนร้อยละ 50.21 มีผู้โหวตเห็นด้วยร้อยละ 49.78 อีกกรณีหนึ่งของฮังการีเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ไปใช้สิทธิลงประชามติไม่ยอมรับแผนการจัดการผู้ลี้ภัยของสหภาพยุโรปโดยมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วยร้อยละ 98 แต่ก็มีผู้ไปใช้สิทธิเพียงร้อยละ 43 ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิทั้งหมดทำให้การลงประชามติในฮังการีถือว่าไม่เกิดผล
เฟฟเฟอร์เปรียบเทียบเรื่องการตัดสินใจเหล่านี้กับกรณีการเจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านเพื่อแลกกับการยกเลิกการคว่ำบาตรบางส่วน ถึงแม้ว่าจะมีแรงต้านจากสภาของสหรัฐฯ เอง แต่รัฐบาลโอบามาก็ทำให้การเจรจาในครั้งนี้กลายเป็นความสำเร็จด้านการต่างประเทศในที่สุด ถึงแม้จะมีผลโพลล์ระบุว่าประชาชนชาวอเมริกันร้อยละ 54 เห็นด้วยกับเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านและมีร้อยละ 38 คัดค้าน แต่เฟฟเฟอร์ก็มองว่าเป็นไปได้ที่ถ้าหากเรื่องนี้มีการทำประชามติในสหรัฐฯ ผลก็อาจจะออกมาเป็นอีกอย่างหนึ่งเพราะประชาชนทั่วไปก็มีความแปรปรวนเอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่
ไม่เพียงแค่กรณีโคลอมเบียหรือฮังการีเท่านั้นที่มีการให้ผู้คนออกไปลงประชามติในประเด็นที่เกี่ยวโยงกับนโยบายต่างประเทศ ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาก็มีกรณีที่อังกฤษโหวตลงประชามติซึ่งผู้ไปใช้สิทธิ์ส่วนใหญ่โหวตให้ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และก่อนหน้านั้นไม่นานก็มีกรณีผู้ลงประชามติไม่ยอมรับข้อตกลงทางการค้าของอียูกับยูเครน
เฟฟเฟอร์ระบุว่าถึงแม้ว่าแนวคิดเรื่องการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการลงประชามติเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาโดยตรงจะเป็นเรื่องที่ดีในเชิงหลักการและเป็นเรื่องที่ปฏิบัติ ในกรณีของข้อตกลงสันติภาพโคลอมเบียเพื่อถูกผลักดันมาจากเบื้องบนแล้วก็อาจจะกระตุ้นความขัดแย้งที่ซ่อนตัวอยู่ที่ทำให้สงครามกลางเมืองคงอยู่มาเป็นเวลานาน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการพยายามนำกลุ่มติดอาวุธเข้าสู่ระบบการเมืองในปี 2528
ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่าทั้งอังกฤษ ฮังการี และโคลอมเบีย ต่างก็เป็นประเทศระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรง เพราะงานของรัฐบาลมีจำนวนมากและมีหลายอย่างพวกเราจึงเลือกคนเป็นตัวแทนตามมุมมองของพวกเราเพื่อให้ทำหน้าที่แทนพวกเราในรัฐบาล เฟฟเฟอร์ระบุว่าการทำประชามตินั้นมีเป้าหมายเพื่อเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลตัวแทนที่พวกเขาเลือกเข้าไปว่าผู้แทนเหล่านั้นละเลยความรับผิดชอบหรือไม่ อย่างน้อยก็ในกรณีของสหรัฐฯ
"แต่ในกรณีของเบร็กซิต ข้อตกลงสันติภาพโคลอมเบีย และเรื่องผู้อพยพของฮังการี เป็นกรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ส่งเสริมให้มีการทำประชามติ การทำประชามติเหล่านี้จึงไม่ได้เป็นการทำไปเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจแต่เป็นการทำเพื่อร้องขอความชอบธรรม" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ
บทความระบุต่อไปว่าในทั้งสามกรณีนี้ต้องมีการเจรจาต่อรองกันเป็นเวลานานและมีความสลับซับซ้อนมาก ต้องมีการประนีประนอมกันอย่างระมัดระวังและต้องมีความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงต่อความล้มเหลว ราวกับว่าต้องให้ผู้ไปลงประชามติต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาของนิยายเล่มหนาๆ อย่าง "สงครามและสันติภาพ" โดย ลิโอ ตอลสตอย แต่พวกเขาได้รับรู้เนื้อหาเพียงแค่คำโปรยปกหลังหนังสือ บทความในเดอะนิวยอร์กไทม์โดยอแมนดา เทาบ์ และแม็ก ฟิชเชอร์ระบุว่า "ผู้ลงคะแนนต้องตัดสินใจจากข้อมูลที่น้อยมาก บีบให้พวกเขาต้องอาศัยข้อความเชิงการเมืองแทน จนเป็นการให้อำนาจชนชั้นนำทางการเมืองมากกว่าจะเป็นการให้อำนาจแก่ผู้ลงคะแนนอย่างแท้จริง"
นั่นทำให้ต้องมาตั้งคำถามกันใหม่ว่าเราควรให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนในประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่
ระหว่างสันติภาพกับความยุติธรรม
บทความของเฟฟเฟอร์ระบุถึงกรณีการเจรจาข้อตกลงระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียกับกลุ่มกบฏ FARC ซึ่งมีรายละเอียดมากถึงขนาดว่าจะทำอย่างไรกับอาวุธทั้งหมดของกลุ่มกบฏ นั่นคือการนำเอาอาวุธพวกนั้นมาหลอมแล้วสร้างเป็นอนุสาวรีย์ในโคลอมเบีย, สำนักงานสหประชาชาติที่นิวยอร์ก และ คิวบา ซึ่งเป็นสถานที่เจรจา แต่นี่ก็ยังเป็นจุดที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงเพียงเล็กๆ เท่านั้น มีประเด็นอื่นที่ทำให้เกิดการต่อต้านข้อตกลงกับกลุ่ม FARC ซึ่งผู้ที่นำการต่อต้านคืออดีตประธานาธิบดี อัลวาโร อูริเบ
อูริเบ เน้นการต่อต้านที่สามประเด็นหลักๆ ประเด็นแรกคือ การเปลี่ยนผ่านจากกลุ่มติดอาวุธไปสู่เป็นพลเรือนซึ่งกลุ่มติดอาวุธส่วนใหญ่จะได้รับการนิรโทษกรรมและจะได้รับเงินสนับสนุนที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านให้พวกเขากลับสู่ชีวิตพลเรือนได้ ในประเด็นต่อมาคือเรื่องการเป็นตัวแทนทางการเมืองกลุ่ม FARC จะกลายเป็นพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่จะได้รับการันตีว่าจะมีที่นั่ง 5 ที่นั่งทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสองครั้งถัดไป ประเด็นที่สามคือการพัฒนาชนบท จะมีการลงทุนไปที่ชาวนาเพื่อให้พวกเขาหยุดปลูกพืชยาเสพติดและมีค่าชดเชยให้ชาวนาที่ถูกกลุ่มติดอาวุธขับไล่จากพื้นที่ของตน
บทความในเดอะนิวยอร์กไทม์ยังระบุไว้อีกว่า ข้อตกลงสันติภาพของโคลอมเบียในครั้งนี้ไม่เพียงเป็นแค่เรื่องการก้าวต่อไปข้างหน้าแต่ยังเป็นการพยายามเชื่อมความแตกแยกระหว่างพวกชนชั้นนำในเมืองกับคนจนในชนบทเข้าด้วยกัน รอดริโก อัพริมนี ศาตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเนชันแนลและสมาชิกของสถาบันวิจัยกฎหมายเดอจัสติเซียกล่าวว่า จากสภาพภูมิประเทศทำให้โคลอมเบียขาดอัตลักษณ์ของชาติแต่มีอัตลักษณ์ของภูมิภาคเข้มแข็ง ขณะเดียวกันก็ขาดตำนานเรื่องเล่าที่มายุคสมัยใหม่ของตัวเอง ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการสร้างเรื่องเล่าที่มาในแบบที่ดูไม่รุกล้ำแต่ฟังดูเป็นประชาธิปไตย ทำให้พวกเขาพยายามผลักดันให้ข้อตกลงสันติภาพสัมฤทธิ์ผลโดยไม่ได้ผ่านทางชัยชนะทางการทหารแต่เป็นผลจากการเจรจาหารือและต่อรองกัน
เฟฟเฟอร์ระบุว่าการที่จะทำให้คนยอมรับเรื่องเล่าที่มาแห่งชาติในยุคสมัยใหม่ในแบบนี้ได้ต้องอาศัยวิธีการให้ประชาชนลงนามเห็นชอบด้วยเท่านั้น จึงมีการอาศัยการทำประชามติแบบครั้งล่าสุดแต่มันก็สะท้อนให้เห็นว่าประเทศโคลอมเบียยังคงแบ่งแยกกันมากเกินไปแม้กระทั่งแค่จะยอมตกลงให้เห็นต่างกันต่อไป
เฟฟเฟอร์มองว่าข้อตกลงสันติของโคลอมเบียก็ไม่ได้ให้ประโยชน์กับ FARC มากโดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้เจ็บปวดกับความพ่ายแพ้ในสนามรบเพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้พวกเขาชนะในประเด็นใดๆ ที่ยกขึ้นมาเป็นเหตุผลของการต่อสู้ตั้งแต่แรกเลย ไม่มีข้อตกลงแบ่งสรรอำนาจ การเปลี่ยนผ่านก็ไม่ได้ถึงขั้นปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอะไร กลุ่มกบฏไม่ได้ถือครองพื้นที่หรือสถาบันการเมืองใดๆ เลย อีกทั้งยังไม่มีการปฏิรูปแบ่งสรรที่ดินให้กับคนยากจนและคนไม่มีที่ดินในระดับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อะไร ฝ่าย FARC จะรู้สึกได้ประโยชน์บ้างแต่จากการที่พวกเขาจะไม่ต้องถูกจำคุก
ทว่าการวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงนี้ดูเหมือนจะเน้นเรื่องการที่ FARC ได้รับนิรโทษกรรมมากที่สุด ผู้ไปลงคะแนนส่วนใหญ่ไม่ต้องการยกโทษให้กับ FARC แต่ไม่เพียงแค่การยกโทษให้ FARC เท่านั้นประชาชนเองดูเหมือนจะไม่พอใจที่ข้อตกลงนี้ยกโทษให้กับกองกำลังฝ่ายขวาและรัฐบาลโคลอมเบียที่ก่อเหตุเลวร้ายเช่นกัน
อย่างไรก็ตามฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่าข้อตกลงนี้เน้นเรื่องการชดเชย ฟื้นฟู เยียวยา ผู้เสียหายมากกว่าจะเน้นการลงโทษ อย่างไรก็ตามไม่มีการยกโทษให้กับ "อาชญากรรมสงคราม" อยู่ในข้อตกลง ข้อตกลงในครั้งนี้ยังมีตัวแทนของเหยื่อในสงครามกลางเมืองร่วมหารือด้วย พวกเขาเป็นผู้เสนอวิธีการดำเนินการในด้านการให้ความยุติธรรมแต่ในที่ประชุมหารือก็ต้องประหลาดใจเมื่อตัวแทนเหยื่อเหล่านี้ต้องการให้สงครามจบสิ้นลงมากกว่าอย่างอื่น รวมถึงมีการค้นหาความจริงเกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวของพวกเขาที่สูญหาย และมีการชดเชยมากกว่าจะเป็นการลงโทษผู้ใช้ความรุนแรงให้หนัก
แต่อูริบเบไม่ได้มองแบบเดียวกัน เขาเน้นเอาเรื่องการไม่ลงโทษกลุ่มกบฏมาเป็นประเด็นหลักในการชักจูงฝูงชนต่อต้านข้อตกลงสันติภาพซึ่งเฟฟเฟอร์มองว่าอูริบเบต้องการปกป้องผลประโยชน์ตัวเองเท่านั้น กลุ่มคณาธิปไตยที่หนุนอูริเบในช่วงที่เขายังเป็นผู้นำไม่สนใจการปฏิรูปที่ดินเลยแม้แต่น้อย พวกเขาไม่ต้องการให้ฝ่ายซ้ายอดีตกลุ่มติดอาวุธมีส่วนร่วมในรัฐสภา พวกเขาไม่ต้องการการบูรณาการ พวกเขาต้องการการกำจัดให้พ้นไป
เรื่องนี้ ฮวน เซบาสเตียน ชาร์วาโร จากสภากิจการซีคโลกตะวันตก (Council on Hemispheric Affairs หรือ COHA) ระบุว่าอูริบเบต้องการกำจัดกลุ่มติดอาวุธฝ่ายซ้ายโดยสิ้นเชิงไม่ให้พวกเขามีสิทธิมีเสียงหรือมีส่วนร่วมในประเทศโคลอมเบียแบบใหม่ ซึ่งชาร์วาโรมองว่าอูริบเบคือผู้ที่เป็นพันธมิตรอย่างแท้จริงของสหรัฐฯ และเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ถือครองที่ดินที่ร่ำรวยจึงไม่น่าแปลกใจที่อูริบเบจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในเชิงมีส่วนร่วม
ยังไม่มีใครรู้ว่าอนาคตโคลอมเบียจะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งผู้นำฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏต่างก็ให้คำมั่นว่าจะคงสนธิสัญญาหยุดยิงต่อไปและหาทางออกเชิงสันติ กลุ่มติดอาวุธก็เริ่มกระบวนการกลับเข้าสู่สังคมแล้ว และผู้นำรัฐบาลซานโตสก็ยังคงเสียงข้างมากในสภาและจะดำเนินการเจรจาต่อรองเพื่อสันติภาพต่อไป เฟฟเฟอร์ประเมินว่าสิ่งที่จะทำให้ข้อตกลงครั้งต่อไปบรรลุผลได้อาจจะอยู่ที่การรณรงค์ให้คนออกมาลงประชามติมากขึ้นและอาจจะมีการแก้ไขข้อตกลงบางส่วนเพื่อดึงดูดการสนับสนุนจากฝ่ายต่อต้านข้อตกลงส่วนหนึ่งที่มีเหตุมีผล
นอกจากนี้ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องจำนวนผู้ไปลงประชามติ ในกรณีของฮังการีเฟฟเฟอร์ระบุว่าที่ประกาศให้การลงมติครั้งนี้ไม่มีผลเพราะผู้มาลงคะแนนไม่ถึงร้อยละ 50 ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ในกรณีโคลอมเบียมีผู้ไปลงคะแนนราวร้อยละ 38 ของผู้มีสิทธิลงคะแนนทั้งหมดกลับทำให้การลงประชามติส่งผล แม้ว่าอาจจะมีชาวโคลอมเบียหลายหมื่นคนที่สนับสนุนข้อตกลงแต่รู้สึกแย่อยู่ลึกๆ ที่ไม่ได้ไปลงคะแนน
ไม่จำเป็นต้องใช้ประชาธิปไตยทางตรงกับทุกเรื่อง
เฟฟเฟอร์ออกตัวว่าถึงแม้เขาจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องให้คนที่เรียกตัวเองว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" เป็นผู้ตัดสินใจทุกเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงเพียงเพราะคนทั่วไปไม่รู้เนื้อหารายละเอียดซึ่งอาจจะส่งผลต่อเรื่องนโยบายได้ แต่ใช่ว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" เองจะสามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฟฟเฟอร์ยกตัวอย่างกรณีสงครามอิรักซึ่งเหล่าชนชั้นนำทางการเมืองส่งเสริมให้มีการแทรกแซงโดยสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ในช่วงก่อนการแทรกแซงในปี 2556 ก็สนับสนุนการทำสงครามเช่นกัน "ปัญญาเป็นของหายากทั้งในหมู่ผู้นำและผู้ถูกชักจูง" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ
"ประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมืองอย่างหนึ่ง มันไม่ใช่ระบบป้องกันยามขัดข้องที่จะใช้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ในเรื่องของสันติภาพและความมั่นคงระดับนานาชาติ การเสริมประสิทธิภาพเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ หรือเรื่องเชิงจรรยาบรรณ" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ
เฟฟเฟอร์เสนอว่าจริงอยู่ที่บางเรื่องก็ต้องการความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ แต่ในบางเรื่องเช่นการเจรจาสันติภาพมันมีเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นของแต่ละฝ่ายอยู่ด้วย หรือเรื่องอย่างการเจรจานิวเคลียร์อิหร่านซึ่งจะป้องกันการเกิดสงครามก็สำคัญเกินกว่าจะทำประชามติ อย่างไรก็ตามส่วนที่ดีที่สุดของประชาธิปไตยคือความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ผู้เสนอให้เกิดความก้าวหน้าต้องทำอะไรที่เป็นการจูงใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับชาวอเมริกันก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้
....
บทความ FPIF ตั้งคำถามประชามติใช้ตัดสินได้ทุกเรื่องจริงหรือ..??
8 ต.ค. 2559 จอห์น เฟฟเฟอร์ ผู้อำนวยการเว็บไซต์วิเคราะห์นโยบายการต่างประเทศ Foreign Policy In Focus (FPIF) เขียนบทความเกี่ยวกับการลงประชามติในประเด็นเรื่องความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาทั้งในโคลอมเบียและฮังการี รวมถึงกรณีการตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของอังกฤษที่เรียกว่า Brexit เมื่อช่วงกลางปีนี้ โดยมีคำถามว่าเราควรจะคิดกันใหม่อีกครั้งหรือไม่ในเรื่องที่จะให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีอิทธิพลตัดสินโดยตรงกับเรื่องเหล่านี้
เมื่อไม่นานมานี้มีกรณีการลงประชามติรับหรือไม่รับข้อตกลงสันติภาพที่รัฐบาลโคลอมเบียทำกับกลุ่มกบฏ FARC ซึ่งผลออกมาว่าฝ่ายไม่เห็นด้วยชนะอย่างฉิวเฉียดด้วยคะแนนร้อยละ 50.21 มีผู้โหวตเห็นด้วยร้อยละ 49.78 อีกกรณีหนึ่งของฮังการีเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ไปใช้สิทธิลงประชามติไม่ยอมรับแผนการจัดการผู้ลี้ภัยของสหภาพยุโรปโดยมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วยร้อยละ 98 แต่ก็มีผู้ไปใช้สิทธิเพียงร้อยละ 43 ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิทั้งหมดทำให้การลงประชามติในฮังการีถือว่าไม่เกิดผล
เฟฟเฟอร์เปรียบเทียบเรื่องการตัดสินใจเหล่านี้กับกรณีการเจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านเพื่อแลกกับการยกเลิกการคว่ำบาตรบางส่วน ถึงแม้ว่าจะมีแรงต้านจากสภาของสหรัฐฯ เอง แต่รัฐบาลโอบามาก็ทำให้การเจรจาในครั้งนี้กลายเป็นความสำเร็จด้านการต่างประเทศในที่สุด ถึงแม้จะมีผลโพลล์ระบุว่าประชาชนชาวอเมริกันร้อยละ 54 เห็นด้วยกับเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านและมีร้อยละ 38 คัดค้าน แต่เฟฟเฟอร์ก็มองว่าเป็นไปได้ที่ถ้าหากเรื่องนี้มีการทำประชามติในสหรัฐฯ ผลก็อาจจะออกมาเป็นอีกอย่างหนึ่งเพราะประชาชนทั่วไปก็มีความแปรปรวนเอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่
ไม่เพียงแค่กรณีโคลอมเบียหรือฮังการีเท่านั้นที่มีการให้ผู้คนออกไปลงประชามติในประเด็นที่เกี่ยวโยงกับนโยบายต่างประเทศ ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาก็มีกรณีที่อังกฤษโหวตลงประชามติซึ่งผู้ไปใช้สิทธิ์ส่วนใหญ่โหวตให้ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และก่อนหน้านั้นไม่นานก็มีกรณีผู้ลงประชามติไม่ยอมรับข้อตกลงทางการค้าของอียูกับยูเครน
เฟฟเฟอร์ระบุว่าถึงแม้ว่าแนวคิดเรื่องการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการลงประชามติเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาโดยตรงจะเป็นเรื่องที่ดีในเชิงหลักการและเป็นเรื่องที่ปฏิบัติ ในกรณีของข้อตกลงสันติภาพโคลอมเบียเพื่อถูกผลักดันมาจากเบื้องบนแล้วก็อาจจะกระตุ้นความขัดแย้งที่ซ่อนตัวอยู่ที่ทำให้สงครามกลางเมืองคงอยู่มาเป็นเวลานาน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการพยายามนำกลุ่มติดอาวุธเข้าสู่ระบบการเมืองในปี 2528
ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่าทั้งอังกฤษ ฮังการี และโคลอมเบีย ต่างก็เป็นประเทศระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรง เพราะงานของรัฐบาลมีจำนวนมากและมีหลายอย่างพวกเราจึงเลือกคนเป็นตัวแทนตามมุมมองของพวกเราเพื่อให้ทำหน้าที่แทนพวกเราในรัฐบาล เฟฟเฟอร์ระบุว่าการทำประชามตินั้นมีเป้าหมายเพื่อเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลตัวแทนที่พวกเขาเลือกเข้าไปว่าผู้แทนเหล่านั้นละเลยความรับผิดชอบหรือไม่ อย่างน้อยก็ในกรณีของสหรัฐฯ
"แต่ในกรณีของเบร็กซิต ข้อตกลงสันติภาพโคลอมเบีย และเรื่องผู้อพยพของฮังการี เป็นกรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ส่งเสริมให้มีการทำประชามติ การทำประชามติเหล่านี้จึงไม่ได้เป็นการทำไปเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจแต่เป็นการทำเพื่อร้องขอความชอบธรรม" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ
บทความระบุต่อไปว่าในทั้งสามกรณีนี้ต้องมีการเจรจาต่อรองกันเป็นเวลานานและมีความสลับซับซ้อนมาก ต้องมีการประนีประนอมกันอย่างระมัดระวังและต้องมีความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงต่อความล้มเหลว ราวกับว่าต้องให้ผู้ไปลงประชามติต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาของนิยายเล่มหนาๆ อย่าง "สงครามและสันติภาพ" โดย ลิโอ ตอลสตอย แต่พวกเขาได้รับรู้เนื้อหาเพียงแค่คำโปรยปกหลังหนังสือ บทความในเดอะนิวยอร์กไทม์โดยอแมนดา เทาบ์ และแม็ก ฟิชเชอร์ระบุว่า "ผู้ลงคะแนนต้องตัดสินใจจากข้อมูลที่น้อยมาก บีบให้พวกเขาต้องอาศัยข้อความเชิงการเมืองแทน จนเป็นการให้อำนาจชนชั้นนำทางการเมืองมากกว่าจะเป็นการให้อำนาจแก่ผู้ลงคะแนนอย่างแท้จริง"
นั่นทำให้ต้องมาตั้งคำถามกันใหม่ว่าเราควรให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนในประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่
ระหว่างสันติภาพกับความยุติธรรม
บทความของเฟฟเฟอร์ระบุถึงกรณีการเจรจาข้อตกลงระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียกับกลุ่มกบฏ FARC ซึ่งมีรายละเอียดมากถึงขนาดว่าจะทำอย่างไรกับอาวุธทั้งหมดของกลุ่มกบฏ นั่นคือการนำเอาอาวุธพวกนั้นมาหลอมแล้วสร้างเป็นอนุสาวรีย์ในโคลอมเบีย, สำนักงานสหประชาชาติที่นิวยอร์ก และ คิวบา ซึ่งเป็นสถานที่เจรจา แต่นี่ก็ยังเป็นจุดที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงเพียงเล็กๆ เท่านั้น มีประเด็นอื่นที่ทำให้เกิดการต่อต้านข้อตกลงกับกลุ่ม FARC ซึ่งผู้ที่นำการต่อต้านคืออดีตประธานาธิบดี อัลวาโร อูริเบ
อูริเบ เน้นการต่อต้านที่สามประเด็นหลักๆ ประเด็นแรกคือ การเปลี่ยนผ่านจากกลุ่มติดอาวุธไปสู่เป็นพลเรือนซึ่งกลุ่มติดอาวุธส่วนใหญ่จะได้รับการนิรโทษกรรมและจะได้รับเงินสนับสนุนที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านให้พวกเขากลับสู่ชีวิตพลเรือนได้ ในประเด็นต่อมาคือเรื่องการเป็นตัวแทนทางการเมืองกลุ่ม FARC จะกลายเป็นพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่จะได้รับการันตีว่าจะมีที่นั่ง 5 ที่นั่งทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสองครั้งถัดไป ประเด็นที่สามคือการพัฒนาชนบท จะมีการลงทุนไปที่ชาวนาเพื่อให้พวกเขาหยุดปลูกพืชยาเสพติดและมีค่าชดเชยให้ชาวนาที่ถูกกลุ่มติดอาวุธขับไล่จากพื้นที่ของตน
บทความในเดอะนิวยอร์กไทม์ยังระบุไว้อีกว่า ข้อตกลงสันติภาพของโคลอมเบียในครั้งนี้ไม่เพียงเป็นแค่เรื่องการก้าวต่อไปข้างหน้าแต่ยังเป็นการพยายามเชื่อมความแตกแยกระหว่างพวกชนชั้นนำในเมืองกับคนจนในชนบทเข้าด้วยกัน รอดริโก อัพริมนี ศาตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเนชันแนลและสมาชิกของสถาบันวิจัยกฎหมายเดอจัสติเซียกล่าวว่า จากสภาพภูมิประเทศทำให้โคลอมเบียขาดอัตลักษณ์ของชาติแต่มีอัตลักษณ์ของภูมิภาคเข้มแข็ง ขณะเดียวกันก็ขาดตำนานเรื่องเล่าที่มายุคสมัยใหม่ของตัวเอง ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการสร้างเรื่องเล่าที่มาในแบบที่ดูไม่รุกล้ำแต่ฟังดูเป็นประชาธิปไตย ทำให้พวกเขาพยายามผลักดันให้ข้อตกลงสันติภาพสัมฤทธิ์ผลโดยไม่ได้ผ่านทางชัยชนะทางการทหารแต่เป็นผลจากการเจรจาหารือและต่อรองกัน
เฟฟเฟอร์ระบุว่าการที่จะทำให้คนยอมรับเรื่องเล่าที่มาแห่งชาติในยุคสมัยใหม่ในแบบนี้ได้ต้องอาศัยวิธีการให้ประชาชนลงนามเห็นชอบด้วยเท่านั้น จึงมีการอาศัยการทำประชามติแบบครั้งล่าสุดแต่มันก็สะท้อนให้เห็นว่าประเทศโคลอมเบียยังคงแบ่งแยกกันมากเกินไปแม้กระทั่งแค่จะยอมตกลงให้เห็นต่างกันต่อไป
เฟฟเฟอร์มองว่าข้อตกลงสันติของโคลอมเบียก็ไม่ได้ให้ประโยชน์กับ FARC มากโดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้เจ็บปวดกับความพ่ายแพ้ในสนามรบเพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้พวกเขาชนะในประเด็นใดๆ ที่ยกขึ้นมาเป็นเหตุผลของการต่อสู้ตั้งแต่แรกเลย ไม่มีข้อตกลงแบ่งสรรอำนาจ การเปลี่ยนผ่านก็ไม่ได้ถึงขั้นปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอะไร กลุ่มกบฏไม่ได้ถือครองพื้นที่หรือสถาบันการเมืองใดๆ เลย อีกทั้งยังไม่มีการปฏิรูปแบ่งสรรที่ดินให้กับคนยากจนและคนไม่มีที่ดินในระดับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อะไร ฝ่าย FARC จะรู้สึกได้ประโยชน์บ้างแต่จากการที่พวกเขาจะไม่ต้องถูกจำคุก
ทว่าการวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงนี้ดูเหมือนจะเน้นเรื่องการที่ FARC ได้รับนิรโทษกรรมมากที่สุด ผู้ไปลงคะแนนส่วนใหญ่ไม่ต้องการยกโทษให้กับ FARC แต่ไม่เพียงแค่การยกโทษให้ FARC เท่านั้นประชาชนเองดูเหมือนจะไม่พอใจที่ข้อตกลงนี้ยกโทษให้กับกองกำลังฝ่ายขวาและรัฐบาลโคลอมเบียที่ก่อเหตุเลวร้ายเช่นกัน
อย่างไรก็ตามฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่าข้อตกลงนี้เน้นเรื่องการชดเชย ฟื้นฟู เยียวยา ผู้เสียหายมากกว่าจะเน้นการลงโทษ อย่างไรก็ตามไม่มีการยกโทษให้กับ "อาชญากรรมสงคราม" อยู่ในข้อตกลง ข้อตกลงในครั้งนี้ยังมีตัวแทนของเหยื่อในสงครามกลางเมืองร่วมหารือด้วย พวกเขาเป็นผู้เสนอวิธีการดำเนินการในด้านการให้ความยุติธรรมแต่ในที่ประชุมหารือก็ต้องประหลาดใจเมื่อตัวแทนเหยื่อเหล่านี้ต้องการให้สงครามจบสิ้นลงมากกว่าอย่างอื่น รวมถึงมีการค้นหาความจริงเกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวของพวกเขาที่สูญหาย และมีการชดเชยมากกว่าจะเป็นการลงโทษผู้ใช้ความรุนแรงให้หนัก
แต่อูริบเบไม่ได้มองแบบเดียวกัน เขาเน้นเอาเรื่องการไม่ลงโทษกลุ่มกบฏมาเป็นประเด็นหลักในการชักจูงฝูงชนต่อต้านข้อตกลงสันติภาพซึ่งเฟฟเฟอร์มองว่าอูริบเบต้องการปกป้องผลประโยชน์ตัวเองเท่านั้น กลุ่มคณาธิปไตยที่หนุนอูริเบในช่วงที่เขายังเป็นผู้นำไม่สนใจการปฏิรูปที่ดินเลยแม้แต่น้อย พวกเขาไม่ต้องการให้ฝ่ายซ้ายอดีตกลุ่มติดอาวุธมีส่วนร่วมในรัฐสภา พวกเขาไม่ต้องการการบูรณาการ พวกเขาต้องการการกำจัดให้พ้นไป
เรื่องนี้ ฮวน เซบาสเตียน ชาร์วาโร จากสภากิจการซีคโลกตะวันตก (Council on Hemispheric Affairs หรือ COHA) ระบุว่าอูริบเบต้องการกำจัดกลุ่มติดอาวุธฝ่ายซ้ายโดยสิ้นเชิงไม่ให้พวกเขามีสิทธิมีเสียงหรือมีส่วนร่วมในประเทศโคลอมเบียแบบใหม่ ซึ่งชาร์วาโรมองว่าอูริบเบคือผู้ที่เป็นพันธมิตรอย่างแท้จริงของสหรัฐฯ และเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ถือครองที่ดินที่ร่ำรวยจึงไม่น่าแปลกใจที่อูริบเบจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในเชิงมีส่วนร่วม
ยังไม่มีใครรู้ว่าอนาคตโคลอมเบียจะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งผู้นำฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏต่างก็ให้คำมั่นว่าจะคงสนธิสัญญาหยุดยิงต่อไปและหาทางออกเชิงสันติ กลุ่มติดอาวุธก็เริ่มกระบวนการกลับเข้าสู่สังคมแล้ว และผู้นำรัฐบาลซานโตสก็ยังคงเสียงข้างมากในสภาและจะดำเนินการเจรจาต่อรองเพื่อสันติภาพต่อไป เฟฟเฟอร์ประเมินว่าสิ่งที่จะทำให้ข้อตกลงครั้งต่อไปบรรลุผลได้อาจจะอยู่ที่การรณรงค์ให้คนออกมาลงประชามติมากขึ้นและอาจจะมีการแก้ไขข้อตกลงบางส่วนเพื่อดึงดูดการสนับสนุนจากฝ่ายต่อต้านข้อตกลงส่วนหนึ่งที่มีเหตุมีผล
นอกจากนี้ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องจำนวนผู้ไปลงประชามติ ในกรณีของฮังการีเฟฟเฟอร์ระบุว่าที่ประกาศให้การลงมติครั้งนี้ไม่มีผลเพราะผู้มาลงคะแนนไม่ถึงร้อยละ 50 ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ในกรณีโคลอมเบียมีผู้ไปลงคะแนนราวร้อยละ 38 ของผู้มีสิทธิลงคะแนนทั้งหมดกลับทำให้การลงประชามติส่งผล แม้ว่าอาจจะมีชาวโคลอมเบียหลายหมื่นคนที่สนับสนุนข้อตกลงแต่รู้สึกแย่อยู่ลึกๆ ที่ไม่ได้ไปลงคะแนน
ไม่จำเป็นต้องใช้ประชาธิปไตยทางตรงกับทุกเรื่อง
เฟฟเฟอร์ออกตัวว่าถึงแม้เขาจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องให้คนที่เรียกตัวเองว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" เป็นผู้ตัดสินใจทุกเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงเพียงเพราะคนทั่วไปไม่รู้เนื้อหารายละเอียดซึ่งอาจจะส่งผลต่อเรื่องนโยบายได้ แต่ใช่ว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" เองจะสามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฟฟเฟอร์ยกตัวอย่างกรณีสงครามอิรักซึ่งเหล่าชนชั้นนำทางการเมืองส่งเสริมให้มีการแทรกแซงโดยสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ในช่วงก่อนการแทรกแซงในปี 2556 ก็สนับสนุนการทำสงครามเช่นกัน "ปัญญาเป็นของหายากทั้งในหมู่ผู้นำและผู้ถูกชักจูง" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ
"ประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมืองอย่างหนึ่ง มันไม่ใช่ระบบป้องกันยามขัดข้องที่จะใช้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ในเรื่องของสันติภาพและความมั่นคงระดับนานาชาติ การเสริมประสิทธิภาพเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ หรือเรื่องเชิงจรรยาบรรณ" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ
เฟฟเฟอร์เสนอว่าจริงอยู่ที่บางเรื่องก็ต้องการความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ แต่ในบางเรื่องเช่นการเจรจาสันติภาพมันมีเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นของแต่ละฝ่ายอยู่ด้วย หรือเรื่องอย่างการเจรจานิวเคลียร์อิหร่านซึ่งจะป้องกันการเกิดสงครามก็สำคัญเกินกว่าจะทำประชามติ อย่างไรก็ตามส่วนที่ดีที่สุดของประชาธิปไตยคือความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ผู้เสนอให้เกิดความก้าวหน้าต้องทำอะไรที่เป็นการจูงใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับชาวอเมริกันก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้
....