ขั้นตอนการทำมัมมี่ในปาปัวนิวกินี



มุมมองจากหน้าผาลงมายังหมู่บ้าน


ในปี 2003 ตอนที่ Ulla Lohmann ช่างภาพและนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม
ได้พบกับชนเผ่า Anga ใน Papua New Guinea เป็นครั้งแรก
ผู้สูงอายุของชนเผ่าหลายคนได้บอกอย่างสุภาพให้เธอออกไปจากที่นั่น
แม้ว่าเธอจะต้องใช้เวลาขับรถยนต์ทั้งวัน ก่อนที่จะต้องปีนเขาอีก 3 ชั่วโมง
เป็นการเดินทางอย่างช้า ๆ และยากลำบากมาก
กว่าจะเข้าไปถึงที่ราบสูงฝั่งตะวันตกของเกาะก็ตาม
เพราะชนเผ่านี้ไม่คุ้นเคยกับนักท่องเที่ยว
และไม่ชื่นชอบที่วัฒนธรรมของพวกตนจะถูกคนภายนอกพบเห็น

เหตุผลที่ชนเผ่านี้ไม่ชอบผู้มาเยือนก็เป็นเหตุผลเดียวกัน
ที่ทำให้ Lohmann มุ่งมั่นตั้งใจที่จะไปเยี่ยมเยือนพวกเขา
ชนเผ่า Anga เป็นที่รู้จักกันดีถึงการทำศพไม่ให้เน่า
ด้วยพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ
คนในครอบครัวต่างมีตำนานที่ยาวนาน
ในการทำให้ศพญาติพี่น้องมัดติดกับแคร่(เก้าอี้)
ในท่านั่งแล้ววางอยู่บนภูผาหินใกล้กับหมู่บ้าน
จากจุดที่สูง ณ ที่แห่งนั้นจะทำให้มัมมี่รมควันของครอบครัวได้มองเห็นลูกหลานของพวกเขา  
เสมือนหนึ่งว่าผู้เฒ่าผู้แก่กำลังจ้องมองและคุ้มครองปกป้องพวกเขา






ผู้ชาย  7 คนของครอบครัว Gemtasu  ทำหน้าที่ทำมัมมี่ศพที่ต้องอยู่เหนือกองไฟ  
และห้ามทุกคนที่ทำพิธีนี้ออกจากกระต๊อบและอาบน้ำ


Lohmann ยอมถอยออกมาหลังจากที่เธอได้รับการขอร้องจากคนในชนเผ่า
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เธอกลับมาอีกและไป ๆ มา ๆ เป็นประจำร่วม 10 ปี
เพราะเธอเพียงแต่ต้องการจะเรียนรู้จากชนเผ่า
เรื่องการใช้ชีวิตและเรื่องทำศพว่าคนในครอบครัวทำกันอย่างไร

ในช่วงแรก ๆ ของการไปเยี่ยมเยือน
เธอเริ่มเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อยถึงโครงสร้างชนเผ่าที่เปราะบาง
และหลังจากการเดินทางที่ยากลำบากหลายครั้งเข้าไปในพื้นที่
Gemtasu หนึ่งในผู้สูงอายุของชนเผ่า Anga ได้ปรับทุกข์กับเธอ
และบอกเธอว่า เมื่อเขาตาย  เขาต้องการให้ทำมัมมี่ศพของเขา






ชนเผ่า Anga มีอยู่ราว 45,000 คน
มีวิธีการทำมัมมี่ที่แตกต่างจากชาวอียิปต์ยุคโบราณ
ที่ควักอวัยวะภายในทั้งหมดออกมาแล้วห่อด้วยผ้า
แต่มัมมี่ของชนเผ่า Anga จะอยู่ในท่านั่ง
และต้องใช้เวลากว่า 3 เดือน
บนกองไฟเพื่อรมควันศพอย่างต่อเนื่อง
ควันไฟจะช่วยในการรักษาศพในเขตพื้นที่ชุ่มชื้น
ซึ่งปกติมักจะย่อยสลายไปได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการทำมัมมี่มีพิธีกรรมที่เคร่งครัดมาก
ศพจะวางอยู่เหนือกองไฟ
และถ้าศพพองตัวขึ้นมา
จะถูกไม้ทิ่มให้ของเหลวในศพหยดลงมา
และขั้นตอนสุดท้ายคือใช้ไม้ทิ่มเข้าไปในรูก้น
เพื่อให้อวัยวะภายในร่วงหล่นหลุดลงมาเผาไหม้บนกองไฟ

ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนจบวันจนสิ้นพิธีกรรมนี้
คนทำมัมมี่ต้องผลัดกันเฝ้าศพตลอดเวลา
เพราะของเหลวในศพ ลำไส้/อวัยวะภายใน
และร่างผู้ตายจะต้องไม่แตะพื้นดิน
มันเป็นข้อห้ามเพื่อไม่ให้เจอโชคร้าย




Gemtasu กำลังทดลองนั่งบนเก้าอี้ทำมัมมี่


ส่วนที่สำคัญมากที่สุดคือรักษาใบหน้าศพให้เหมือนเดิม
ในวัฒนธรรมเดิมที่ไม่มีภาพถ่ายมีวิธีเดียวที่จะจดจำภาพผู้ตาย
ก็ด้วยการรักษาศพและใบหน้าไว้ให้นานที่สุด

" เราใช้ภาพถ่าย พวกเขาใช้มัมมี่
ชนเผ่า Anga เชื่อว่าวิญญานจะล่องลอยไปทั่วทั้งวัน
แล้วกลับเข้าร่างมัมมี่ในตอนเวลากลางคืน
ถ้ามองไม่เห็นใบหน้าตนเอง
ก็จะไม่เจอร่างของตนเอง
วิญญาณจะร่อนเร่ไปตลอดกาล " Lohmann กล่าว

ครั้งหนึ่ง กระบวนการทำมัมมี่เคยเป็นที่แพร่หลายกัน
ในปาปัวนิวกินีและหมู่เกาะอื่น ๆ  ในแปซิฟิกตอนใต้
และประสบความสำเร็จมากที่สุดในศตวรรษที่ 19 และช่วงตอนต้นศตวรรษที่ 20
เพราะการหาวิธีที่จะรักษาศพไว้ได้ จะทำให้พวกเขามองเห็นคนตายได้
แทนการฝังร่างไว้ใต้ดินจะทำให้พวกเขาลืมเลือนคนตายไปได้อย่างง่ายดาย






หลานชาย Gemtasu ทำพิธีรับศีลก่อนหน้า Gemtasu จะตายไม่นานนัก


แต่การมาถึงของนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์
และเจ้าหน้าที่รัฐบาลอังกฤษและออสเตรเลีย
ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20
การกระทำดังกล่าวกลายเป็นเรื่องอัปยศผิดหลักศาสนาคริสต์
รวมทั้งมีเรื่องของคุณธรรมและสุขอนามัยเข้ามาปะปน
จึงห้ามทำประเพณีและวัฒนธรรมเดิมที่เคยทำกันมานมนาน

แม้ว่า Gemtasu จะไม่ทราบอายุที่แน่นอนของเขา
แต่ความรู้สึกในบั้นปลายของชีวิตของเขา
เขาเชื่อว่าเรื่องสำคัญคือ ให้ประเพณีนี้ยังคงอยู่
การทำมัมมี่ตัวเขาจะช่วยให้เขาคุ้มครองปกป้องครอบครัวของเขาได้

ดังนั้นเขาจึงสอนลูกที่โตแล้ว
ถึงวิธีการรักษาศพไว้ไม่ให้เน่า
โดยเขาสาธิตวิธีทำกับหมูป่าตาย

และด้วยความช่วยเหลือจากนักมานุษยวิทยา
Ronald Beckett กับ Andrew Nelson
ที่ทั้งคู่ต่างตอบรับคำขอร้องจาก Lohmann
ให้ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ศพรมควันในอดีต
ที่มีสภาพผุพังชำรุดมากให้กลับมามีสภาพดีกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยสอนวิธีการอนุรักษ์ให้กับลูกหลานในชนเผ่า Anga

Gemtasu ได้ขอร้องให้ Lohmann
ถ่ายภาพวิธีการทำมัมมี่ศพของตน
แล้วเผยแพร่เรื่องราวของเขาด้วย






ทุกคืน ครอบครัว Gemtasu ต่างนั่งล้อมวงกันเพื่อรับไออุ่นจากกองไฟ
แล้วพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ กันกับเล่าเรื่องตลกขบขันที่ Gemtasu ชื่นชอบ
บางครั้งทุกคนต้องเงียบเพราะพวกเขาคิดว่าได้ยินเสียง Gemtasu หัวเราะ


บุตรชายหลายคนของเขา
กับคนหลายคนของชนเผ่าต่างต่อต้านในตอนแรก
ชนเผ่านี้ได้เลิกราการทำมัมมี่ไปเป็นเวลานานมากแล้ว
และเรื่องที่ร้ายแรงอย่างแรงคือ
ไม่มีอะไรที่มีกลิ่นฉุนกว่าเนื้อคนที่รมควันอย่างช้า ๆ

ชนเผ่าที่มีประสบการณ์ทำมัมมี่ยังหลงเหลือจำนวนเล็กน้อย
พอ ๆ กับวัยรุ่นในชนเผ่าที่ถูกผลักไสไปทำงานที่ท่าเรือ/ในเมือง
ที่พวกเขาได้สัมผัสกับโลกาภิวัตน์มากขึ้นกว่าในอดีต
แต่ Gemtasu ได้ย้ำเตือนบุตรชายของเขาอย่างต่อเนื่องว่า
การทำมัมมี่ อย่างน้อยก็เพื่อเขา และเป็นเรื่องสำคัญ

" เขาทะเลาะกับพวกผมมานานพอควร
ดังนั้นในที่สุดผมก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีก (ทนรำคาญไม่ได้)
นอกจากสัญญากับเขาว่า
จะทำให้ความปรารถนาของเขาเป็นจริงขึ้นมา "
Awateng ลูกชาย Gemtasu กล่าว

หลังจากนั้นในปี 2015 Gemtasu ก็เสียชีวิต






ศพของ Gemtasu ระหว่างการทำมัมมี่ในกระต๊อบรมควัน


เพื่อรักษาคำสัญญาที่จะทำตามคำสั่งเสียของผู้ตาย
Lohmann ได้เดินทางกลับไปยังปาปัวนิวกินี
เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานและถ่ายภาพวิธีการทำมัมมี่
บุตรชายกับหลานชายของ Gemtasu ทั้ง 7 คน
เริ่มพิธีกรรมด้วยการเอาดินเหนียวสีขาวป้ายบนใบหน้า
เพื่อเป็นสัญลักษณ์การแสดงถึงความเศร้าโศก
ช่วงระยะเวลาที่ทำพิธีกรรมทำมัมมี่นี้
ห้ามดื่มน้ำชนิดอื่น ๆ ยกเว้นน้ำอ้อยที่ใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่
ต้องกินอาหารที่ปรุงสุกในกองไฟที่รมควันศพ Gemtasu
และเมื่อผิวหนังของ Gemtasu ผุพองหรือลุกไหม้
พวกเขาต้องรีบใช้ไม้ปาดด้านบนสุดออกทันที






Gemtasu กับข่างภาพ Ulla Lohmann


Lohmann ได้ตั้งข้อสังเกตในช่วงสังเกตการณ์ว่า
ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการรมควันศพ
ศพจะมีลักษณะพองแล้วค่อย ๆ ยุบ
ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำ  จนในที่สุดก็จะแข็งตัว
ผู้ทำพิธีมัมมี่ทั้ง 7 คนต่างต้องป้ายของเหลว
ที่ไหลออกจากศพ Gemtasu ใส่ร่างของตนเอง
เพื่อเป็นการรักษาจิตวิญญาณของผู้ตาย
ภายใต้กฎระเบียบพิธีกรรมที่เคร่งครัด
ทุกคนที่ทำพิธีมัมมี่นี้ห้ามอาบน้ำล้างตัว
และออกจากกระต๊อบรมควันศพเป็นเวลา 3 เดือน

วัตถุประสงค์หลักของวัฒนธรรมการทำมัมมี่
คือ การแสวงหาของชีวิตนิรันดร์
หรืออย่างน้อยที่สุดคือการเห็นคนตายอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับชนเผ่า Anga คือ
การขนย้ายศพที่รมควันให้เป็นมัมมี่
มัดไว้กับเก้าอี้พิงไว้กับหน้าผาหิน
เพื่อให้ผู้ตายสามารถมองเห็นหมู่บ้าน
และผู้ตายจะได้เข้าร่วมวงกับ
ผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่ตายไปก่อนหน้านี้แล้ว
บางศพก็กลายเป็นโครงกระดูกที่เน่าเฟะ
ไม่เหลือร่องรอยความยั่งยืนในอดีตแต่อย่างใด




เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/8RNlwo

Credit ภาพ ULLA LOHMANN

Facebook : https://goo.gl/Iiwj6F










หลังจากเสร็จสิ้นบูรณะศพภายในหมู่บ้านแล้ว มัมมี่ของ Moymango
พ่อของ Gemtasu ก็ถูกนำกลับไปยังหน้าผาของหมู่บ้านอีกครั้งโดยคนในครอบครัว



การดูแลรักษาและฟื้นฟูมัมมี่เป็นพิธีกรรมประจำปี



ในปี 2008  Gemtasu ประกาศต่อหน้าบุตรชายและครอบครัวของเขาว่า
เขาต้องการทำศพเป็นมัมมี่และนั่งติดกับพ่อของเขาหลังตาย



เพื่อให้มั่นใจว่าทุกอย่างพร้อมแล้วหลังการตาย
Gemtasu ได้สร้างกระต๊อบรมควันศพก่อนเขาตายเพียง 1 ปี



ครอบครัว Gemtasu ดูศพช่วงการทำมัมมี่



ความฝันของ Gemtasu คือการได้เป็นมัมมี่เพื่อปกป้องครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่
ครอบครัวที่ตนรักผ่านวิญญาณในร่างของมัมมี่



คนใกล้ชิดจับมือ Gemtasu ระหว่างพิธีกรรมทำมัมมี่



หลานชายคนโตร่ำไห้กับการตายของ Gemtasu




เรื่องเดิม

http://ppantip.com/topic/33696870   มัมมี่รมควัน




คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
The mummies of the Kukukuku
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่