มัมมี่รมควัน

ในปี 2008
นักวิจัยจากอเมริกาเหนือได้เดินทางร่วมครึ่งโลก
เพื่อช่วยยืดอายุ/อนุรักษ์มัมมี่ตามคำร้องขอจากชาวบ้าน
ผ่านการร้องขอจาก Ulla Lohmann
ช่างภาพและนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม
ที่เคยทำงานร่วมกันมาแล้ว
ให้ไปทำงานในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใน Papua New Guinea
เพื่ออนุรักษ์  Moimango
อดีตหัวหน้าเผ่า หมอผี และนักรบ
ที่ได้ทำมัมมี่รมควันแล้วในปี 1950(2493)

พวกเขาร่วมมือทำงานกับชาวบ้าน
ด้วยการหาวัตถุดิบพื้นเมืองในป่า
มาทำการอนุรักษ์มัมมี่
ทั้งนี้เพราะทีมงานอยากให้ชาวบ้าน
สามารถยืดอายุ/อนุรักษ์ศพได้ต่อไป
แม้ว่าทีมงานจะกลับประเทศแล้ว

หมู่บ้านเป้าหมายหลัก

Moimango ถูกทำเป็นมัมมี่หลังจากเสียชีวิตในปี 1950(2493)
พร้อมกับวางอยู่ร่วมกับมัมมี่รายอื่น ๆ ของเผ่า  Anga
ด้วยการจัดวางไว้บนจุดสูงของหน้าผา
เพื่อช่วยสอดส่องดูแลปกป้องรักษาหมู่บ้าน Koke
ใน Papua New Guinea
หลายสิบปีต่อมา ร่างมัมมี่เริ่มดูไม่สมศักดิ์ศรีความยิ่งใหญ่ในอดีต
พร้อมกับการที่หัวของ Moimango อยู่ในสภาพอันตราย
พร้อมที่จะหลุดออกจากคอได้ทุกเมื่อ
.

.



การเดินทางที่ยาวไกล

นักมานุษยวิทยา Ronald Beckett
จาก Quinnipiac University รัฐ Connecticut
ได้ทราบข่าวครั้งแรกว่าชาวบ้านต้องการอนุรักษ์/ยืดอายุมัมมี่
จาก Ulla Lohman เพื่อนร่วมงาน
ที่เป็นนักถ่ายภาพวารสารศาสตร์
ที่เคยไปเยี่ยมเยือนชาวบ้านแห่งนี้หลายครั้งแล้ว
หมู่บ้าน Koke อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
และทุรกันดารมากใน Papua New Guinea
ห่างจากเมืองชายฝั่งทะเลที่ค่อนข้างเจริญ

ทีมงานต้องใช้รถยนต์ลุยน้ำลุยโคลน
เข้าไปให้ใกล้กับพื้นที่หมู่บ้านให้ได้มากที่สุด
ก่อนที่จะต้องเดินเท้าเข้าไปในหมู่บ้าน
ต้องผ่านพื้นที่ที่เคยทำเหมืองแร่บนเทือกเขาสูงหลายแห่ง
เส้นทางที่ Beckett เดินผ่านเส้นทางไปยัง Yeakunga
บนสายทางที่จะไปยังหมู่บ้าน Koke
.

.



มุมมองจากหน้าผา

มุมมองจากหน้าผาด้านบน
มองลงไปยังหมู่บ้าน Koke
สภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้น
คือสาเหตุหลักที่ทำให้ศพเน่าเปื่อยได้ค่อนข้างรวดเร็ว
แต่วิธีการทำมัมมี่รมควันจะป้องกันศพเน่าเปื่อยได้
.

.



การอนุรักษ์มัมมี่ในปาปัวนิวกีนี

ในปี 2008 นักวิจัยได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว
นักวิจัยคาดหวังว่าจะใช้วัตถุดิบท้องถิ่นอนุรักษ์ศพ
โดยชาวบ้านสามารถจัดหาวัสดุกันได้ง่าย ๆ
และสามารถทำกันเองได้อีกในภายหลัง
หลังจากนักวิจัยเดินทางกลับประเทศแล้ว
โดยพวกเขาได้ขอให้ชาวบ้าน
นำทางเข้าไปยังป่าไม้รอบหมู่บ้าน
เพื่อหาวัตถุดิบพื้นเมืองที่เหมาะสม

จากภาพ Andrew Nelson (ซ้าย)
นักวิจัยจาก University of Western Ontario
และ Beckett (คนกลาง)
มัมมี่ Moimango นั่งอยู่
ส่วนลูกชาย Gemtasu กำลังมองศพ  (ขวา)
.

.



พืชพื้นเมือง

ทีมงานพบว่า Tapa เป็นเปลือกไม้ที่ทำผ้าได้
เหมาะสมกับการใช้กับศพและใช้เป็นวัตถุดิบได้
ส่วนยางจากต้น Kumaka เป็นกาวชั้นดีทีเดียว
ดังจะเห็นได้จากงานซ่อมแซมบนหลังมัมมี่ Moimango
ที่ซ่อมแซมบริเวณด้านหลังของหัวศพ
.

.



โฉมหน้าใหม่

หัวศพบนแคร่ (A) ได้รับการซ่อมแซม
ด้วย Tapa กับ Kumaka
Gemtasu กล่าวว่า นับเป็นอีกครั้ง
หลังจากหลายปีที่ผ่านมาแล้ว
ที่เขาสามารถเห็นใบหน้าของพ่อได้ (B)
สำหรับชาวเผ่า Anga การมองเห็นใบหน้าศพ
คือ วิถีรับรู้ว่าวิญญาณผู้ตายยังล่องลอย
คอยอยู่ดูลูกหลานกับชาวเผ่าพื้นเมืองได้
.

.



การซ่อมขากรรไกร

ทีมงานได้ใช้ Tapa ในการซ่อมแซมขากรรไกร
ที่เคลื่อนออกจากสภาพเดิมมาร่วมหลายปีแล้ว
.

.



พืชสีเขียวงอก

เปลือกหอย Suca ที่บดละเอียด
ใช้ฟอกขาวศพเพราะมีค่า pH สูง
ทั้งยังฆ่าตะไคร่น้ำที่งอกงามบนศพ Moimango
นิ้วมือและนิ้วเท่าของศพ Moimango
ที่มีตะไคร่น้ำสีเขียวเกาะอยู่
ก่อนการทำความสะอาด/ฆ่าตะไคร่น้ำ (A กับ B)
หลังจากขจัดตะไคร่น้ำออก/ทำความสะอาด (D)
ตะไคร่น้ำไม่งอกขึ้นอีกแล้วบนศพ
.

.



โลกของวิญญาณ

ชาวเผ่า Anga เริ่มมีความเชื่อ
ในเรื่องชีวิตหลังความตายน้อยลง
แต่บางคนยังเชื่อว่า
วิญญาณผู้ตายที่อดีตเคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาไว้อย่างดีแล้ว
จะทำให้พวกเขาเดินหลงป่า
หรือทำให้มีปัญหา/อุปสรรค
ในการล่าสัตว์และปลูกพืชผล

หลายครั้งที่มัมมี่จำนวนมาก
ที่ถูกนำลงมาร่วมเฉลิมฉลอง
ตามพิธีการทางประเพณีวัฒนธรรม
เพื่อขอคำตอบจากมัมมี่บรรพบุรุษ

ท่านั่งของ Gemtasu พร้อมกับศพพ่อ
ขณะที่เด็กน้อยกำลังจ้องมอง
.

.



ขนำรมควัน

วิธีการทำมัมมี่
ต้องรมควันอย่างน้อย 30 วัน
นี่คือ ภาพขนำรมควัน
ที่ชาวบ้านได้สาธิตให้ Nelson กับ Beckett
โดยใช้ศพหมูป่ารมควันเป็นตัวอย่าง
.

.



มั่มมี่รมควัน Oiwa

การรมควันมัมมี่ไม่ใช่มีเฉพาะในหมู่บ้าน Koke
แต่ก่อนยังมีการรมควันมัมมี่ในหมู่บ้าน Oiwa
แต่วิธีการรมควันมัมมี่ถูกยกเลิกไปในที่สุด
หลังได้รับคำสอนจากหมอสอนศาสนาชาวคริสต์

หลังจากปี 1950 ใน Papua New Guinea
ช่องว่างระหว่างวัยกับอายุที่แตกต่างกัน
ทำให้มีมุมมองทัศนคติที่ไม่เหมือนกัน
ในเรื่องวิญญาณในโลกนี้

รุ่นปู่ย่าตายายยังมีความเชื่อในเรื่องนี้อยู่
ส่วนคนรุ่นวัยกลางคนเริ่มมีแนวโน้ม
ที่ไม่เชื่อเกี่ยวกับโลกของวิญญาณ
และพิธีกรรมในการทำมัมมี่รมควัน

ส่วนเด็กวัยรุ่นยิ่งเริ่มตั้งข้อสงสัยมากขึ้น
แม้ว่าน่าจะเป็นโอกาสทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยว
(ให้คนต่างชาติ/ต่างถิ่นมาเยี่ยมชม) Beckett กล่าว
.

.

.
ผู้เขียนเรื่องนี้




เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/APHPAk

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://goo.gl/pj9L0W
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่