โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล
วันที่ 04 ตุลาคม 2559, 01:00
“ความก้าวหน้า ไม่ใช่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการรักษาสิ่งที่ดีๆ ไว้ด้วย คนที่ไม่สามารถจดจำอดีตได้ คือคนที่จะถูกสาปส่งให้ทำผิดพลาดอีก”
ยอร์ช ซันตายาน่า
นักปรัชญา กวีชาวสเปน – อเมริกัน
การปราบนักศึกษาประชาชนผู้ชุมนุมประท้วงการกลับมาของทรราชที่ธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม เมื่อ 40 ปีที่แล้ว (2519) เป็นการใช้ความรุนแรงแบบไร้สติของเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มจัดตั้งฝ่ายจารีตนิยมสุดโต่ง นักศึกษาเพียงแต่ชุมนุมประท้วงโดยสันติวิธี แต่ชนชั้นผู้ปกครองกลุ่มขวาจัดปลุกระดมว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ยุให้คนของพวกตนบุกเข้าไปเข่นฆ่า ทุบตี นักศึกษาประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บนับร้อยคน ที่เหลือ 3 พันกว่าคนถูกจับ นักศึกษา ประชาชนฝ่ายก้าวหน้าหลายพันคนหนีเข้าป่าไปพึ่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สงครามประชาชนขยายตัวกว่า 30 จังหวัด ทหารทั้ง 2 ฝ่ายรวมทั้งพลเมืองเสียชีวิตและบาดเจ็บพิการ เฉพาะในช่วงปี 2519-2524 หลายหมื่นคน
เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 คือความพ่ายแพ้ ความสูญเสียของประชาชนทุกฝ่ายในสังคมไทย ไม่มีใครแพ้ ไม่มีใครชนะ
รัฐบาลที่มีแนวคิดจารีตนิยมขวาจัด 6 ตุลาคม 2519 อยู่ได้เพียงปีเศษ ก็ถูกกลุ่มนายทหารอีกกลุ่มหนึ่งยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ใช้วิธีเจรจาสงบศึกกับพรรคคอมมิวนิสต์แทนการสู้รบ พรรคคอมมิวนิสต์ไทยเองก็มีปัญหาได้รับการหนุนช่วยจากพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อนบ้านลดลง และคนรุ่นเก่าขัดแย้งกับคนรุ่นใหม่ สงครามระหว่างทหารกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยุติลงตั้งแต่ราวปี 2524-5 นักศึกษาประชาชนกลับจากป่าโดยได้รับนิรโทษกรรม
หลังปี 2525 ชนชั้นนำไทยอาจคิดว่าพวกตนชนะแล้ว
แต่ความจริงคือ ประเทศไทยพลาดโอกาสที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมการเมืองให้เข้มแข็ง คนที่เป็นนักปฏิรูปที่แท้จริงอย่างอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ถูกขับไล่ให้ต้องไปลี้ภัยในอังกฤษ ขบวนการนักศึกษาคนหนุ่มสาวที่เคยมีอุดมคติเพื่อส่วนรวมในยุค 14 ตุลาคม 2516 ต้องเสื่อมสลายไปด้วย หลังปี 2525 เยาวชนนอกจากจะสนใจแต่ตัวเอง ไม่สนใจการเมือง ไม่สนใจสังคมเมื่อเทียบกับเยาวชนรุ่น 2516-2519 แล้ว ส่วนใหญ่ถูกกลืนให้หลงใหลไปกับทุนนิยม คนที่แข่งสู้ไม่ได้ส่วนหนึ่ง กลายเป็นคนเกะกะเกเรและสร้างปัญหาให้สังคมเพิ่มขึ้นด้วย
40 ปีหลัง 6 ตุลาคม 2519 การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมบริวารสร้างความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น คนรวย คนชั้นกลางก็ขัดแย้งต่อสู้ทางการเมืองกันแบบแย่งอำนาจและผลประโยชน์เพื่อพวกพ้อง ประชาชนร่วมต่อสู้บ้างในบางเรื่อง ในบางช่วง มีการประท้วง การใช้ความรุนแรง การรัฐประหารสลับกับการเลือกตั้ง ทุกรัฐบาลแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวแบบพึ่งพาการค้าการลงทุนกับบรรษัทข้ามชาติ เป็นหลัก..
ปัญหาของประเทศไทยคือ ประชาชนยังติดอยู่ในกรอบคิดที่มองอะไรแบบ 2 ขั้วสุดโต่ง ถูกชักจูงให้เลือกสนับสนุนชนชั้นนำข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ถ้าไม่นิยมทักษิณก็นิยมคสช ที่จะคิดแบบเป็นตัวของตัวเอง อย่างมีวุฒิภาวะ วิจาร์ณทุกฝ่าย อย่างจำแนกแยกแยะเฉพาะเรื่องมีน้อย
คนไทยชอบคิดแบบแบ่งเป็น 2 ขั้วสุดโต่งทั้งในเรื่องการเมืองและแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจด้วย ชนชั้นนำรวมทั้งชนชั้นกลางเชื่อในแนวคิดการพัฒนาแบบทุนนิยมอย่างสุดโต่ง พวกเขาคิดว่าเมื่อสังคมนิยมล้มเหลว ใช้ไม่ได้ ก็เหลือแต่ทุนนิยมเป็นอยู่ทางเดียว ดังนั้น ไทยต้องพัฒนาตามระบบทุนนิยมข้ามชาติเสรีเพื่อที่จะเปิดรับการลงทุนและการค้ากับต่างประเทศให้ได้มากที่สุด โดยคิดว่านั่นคือวิธีเดียวที่ไทยจะมีปัญญาพัฒนาเศรษฐกิจ และตามประเทศอื่นๆ เขาให้ทันได้
คนไทยถูกอิทธิพลของรัฐบาลและบริษัททุนนิยมข้ามชาติกล่อมเกลาให้มีความเชื่อว่า เราจำเป็นต้องตัดไม้ทำลายป่า ต้องสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องสร้างโรงไฟฟ้า ต้องให้บรรษัทข้ามชาติมาลงทุนอุตสาหกรรมมากๆ ฯลฯ เศรษฐกิจประเทศไทยถึงจะได้เจริญ มีงานให้คนทำ มีสินค้าและบริการให้คนเพียงพอ พวกเขาไม่เข้าใจหรือแกล้งไม่เข้าใจว่าเราอาจพัฒนาทางเลือกอื่นได้(1)
นั่นก็คือ เราสามารถปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งระบบให้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม ระหว่างทุนนิยมที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรมกับระบบสหกร์ณ วิสาหกิจชุมชน รัฐสวัสดิการ ที่เน้นการกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา ฐานะทางสังคมที่เป็นธรรม การพึ่งตนเองระดับประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกต่างๆ การปฏิรูปในแนวนี้เท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหา การซื้อเสียงขายเสียง ระบบอุปถัมภ์ วัฎจักรการที่นักเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลโกงกิน การประท้วงโดยชนชั้นกลางและการยึดอำนาจโดยทหารได้(2)
ประชาชนกลุ่มที่คาดหมายว่ากลุ่มนายทหารและเทคโนแครตหรือนักวิชาชีพจะปราบโกงและปฏิรูปประเทศได้ คาดหมายอย่างไม่สมจริง พวกเขาเป็นเป็นพวกหัวเก่า อำนาจนิยม ไม่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศแบบเป็นธรรมและยั่งยืนจริง ทำงานบริหารไม่เก่ง ไม่เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจการเมืองของภาคประชาชนที่เป็นจริง ไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษา รู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นตัวของตัวเอง มีสิทธิอำนาจความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ไม่ได้แก้ไขปัญหาหลัก ที่รากของปัญหา ได้แต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาย่อยๆ ไปวันๆ
รัฐบาลคสช,พัฒนาเศรษฐกิจแบบเน้นการพึ่งพาทุนต่างชาติและทุนใหญ่ไม่ต่างจากกลุ่มทักษิณหรือ.ประชาธิปัตย์..พวกเขายังไม่เข้าใจว่าเราสามารถพัฒนาทางเลือกอื่นๆ เช่น แนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตย เศรษฐกิจพึ่งตนเองระดับประเทศสูงขึ้น พัฒนาระบบสหกรณ์ รัฐสวัสดิการ พัฒนาแนวอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็ง ความสมดุล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของเศรษฐกิจและผู้คนภายในประเทศได้มากกว่า(3)
Credit :
40 ปี 6 ตุลา เราเรียนรู้อะไร?
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639103
1.เป็นเรื่องธรรมดาครับที่ต้องมีการเสียสละเพื่อส่วนรวมและปัจจัยการพัฒนาประเทศหรือทรัพยากรต่างๆไม่ได้มีความคงอยู่คงที่ถาวรตลอดไป จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆแบบที่ว่ามาเพราะหนึ่งคนเพิ่มขึ้น สองความต้องการใช้ทรัพยากรต่างๆมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนประชากร สามการจัดสรรแบ่งปันที่ดินที่ประชาชนส่วนใหญ่เอื้อมไม่ถึงแล้วเข้าไปกระจุกตัวกับคนไม่กี่กลุ่ม สี่ถึงพวกต่างชาติไม่เข้ามาทำคนในชาติเราเองนี่แหละที่จะทำตามปัจจัยข้างต้นในข้อนี้และที่สำคัญต่างชาติไม่จำเป็นต้องเข้ามาทำก็ทำแบบที่ว่านี้ในประเทศใกล้ๆอย่างเพื่อนบ้านเราเช่นลาว เมียนมาร์ มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม จีน สิงคโปร์ ฯลฯอย่างเขื่อนผลิตไฟฟ้าลุ่มน้ำโขง ท่าเรือน้ำลึก รถไฟความเร็วสูงต่ำปานกลางฯลฯ แล้วส่งผลกระทบทั้งด้านดีหรือด้านแย่ๆต่อประเทศเราที่ส่วนนี้บอกมาได้โดยไม่เข้ามาทำในประเทศเรา ได้อย่างก็ต้องเสียอย่างนะครับเลือกเอาแต่ข้อดีไม่ได้ทุกอย่างล้วนมีข้อดีข้อเสียในตัว
2.ทุกวันนี้ก็เป็นแบบผสมครับไม่ใช่ทุนนิยมเต็มตัวรัฐยังคงควบคุมการใช้และผลิตรวมถึงการจัดจำหน่ายหรือแบ่งปันอยู่แต่ลดสัดส่วนลงไปเป็นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่เป็นของรัฐทั้งทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ
3.เราพัฒนาและสนับสนุนด้านแนวทางนี้มานานแล้วครับแต่เน้นไปทางด้านส่วนประชาธิปไตยแบบทุนนิยมเพื่อให้เห็นผลทางเศรษฐกิจโดยเร็วมากกว่า แต่ขาดความต่อเนื่องและทิศทางรวมถึงการกระตุ้นที่แน่นอนเพราะปัญหาด้านการเมืองที่ไม่สงบและปัจจัยในข้อ1.ที่ขาดการลงทุนหรือปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย หลายปีก่อนเป็นอย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้นทั้งๆที่ความต้องการโดยรวมของประชากรเพิ่มขึ้น สาเหตุคงไม่ขอเอ่ยถึงเพราะเกี่ยวพันหลายฝ่าย
สุดท้าย1.-3.เป็นความเห็นโดยส่วนตัวไม่ได้ต้องการค้านหรือลบหลู่ดูหมิ่นอะไร เพราะบทความที่ท่านเขียนเองก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสังคมโดนรวมด้านการพัฒนาประเทศตามความเป็นจริงและแนวทางการพัฒนาที่เห็นด้วยอยู่แต่มีจุดที่ผมเองมีความเห็นต่างอยู่เช่นกันตามมุมมองของผม
ขอบคุณครับสำหรับบทความที่นำมาเผยแพร่
40 ปี 6 ตุลา เราเรียนรู้อะไร?
วันที่ 04 ตุลาคม 2559, 01:00
“ความก้าวหน้า ไม่ใช่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการรักษาสิ่งที่ดีๆ ไว้ด้วย คนที่ไม่สามารถจดจำอดีตได้ คือคนที่จะถูกสาปส่งให้ทำผิดพลาดอีก”
ยอร์ช ซันตายาน่า
นักปรัชญา กวีชาวสเปน – อเมริกัน
การปราบนักศึกษาประชาชนผู้ชุมนุมประท้วงการกลับมาของทรราชที่ธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม เมื่อ 40 ปีที่แล้ว (2519) เป็นการใช้ความรุนแรงแบบไร้สติของเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มจัดตั้งฝ่ายจารีตนิยมสุดโต่ง นักศึกษาเพียงแต่ชุมนุมประท้วงโดยสันติวิธี แต่ชนชั้นผู้ปกครองกลุ่มขวาจัดปลุกระดมว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ยุให้คนของพวกตนบุกเข้าไปเข่นฆ่า ทุบตี นักศึกษาประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บนับร้อยคน ที่เหลือ 3 พันกว่าคนถูกจับ นักศึกษา ประชาชนฝ่ายก้าวหน้าหลายพันคนหนีเข้าป่าไปพึ่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สงครามประชาชนขยายตัวกว่า 30 จังหวัด ทหารทั้ง 2 ฝ่ายรวมทั้งพลเมืองเสียชีวิตและบาดเจ็บพิการ เฉพาะในช่วงปี 2519-2524 หลายหมื่นคน
เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 คือความพ่ายแพ้ ความสูญเสียของประชาชนทุกฝ่ายในสังคมไทย ไม่มีใครแพ้ ไม่มีใครชนะ
รัฐบาลที่มีแนวคิดจารีตนิยมขวาจัด 6 ตุลาคม 2519 อยู่ได้เพียงปีเศษ ก็ถูกกลุ่มนายทหารอีกกลุ่มหนึ่งยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ใช้วิธีเจรจาสงบศึกกับพรรคคอมมิวนิสต์แทนการสู้รบ พรรคคอมมิวนิสต์ไทยเองก็มีปัญหาได้รับการหนุนช่วยจากพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อนบ้านลดลง และคนรุ่นเก่าขัดแย้งกับคนรุ่นใหม่ สงครามระหว่างทหารกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยุติลงตั้งแต่ราวปี 2524-5 นักศึกษาประชาชนกลับจากป่าโดยได้รับนิรโทษกรรม
หลังปี 2525 ชนชั้นนำไทยอาจคิดว่าพวกตนชนะแล้ว แต่ความจริงคือ ประเทศไทยพลาดโอกาสที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมการเมืองให้เข้มแข็ง คนที่เป็นนักปฏิรูปที่แท้จริงอย่างอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ถูกขับไล่ให้ต้องไปลี้ภัยในอังกฤษ ขบวนการนักศึกษาคนหนุ่มสาวที่เคยมีอุดมคติเพื่อส่วนรวมในยุค 14 ตุลาคม 2516 ต้องเสื่อมสลายไปด้วย หลังปี 2525 เยาวชนนอกจากจะสนใจแต่ตัวเอง ไม่สนใจการเมือง ไม่สนใจสังคมเมื่อเทียบกับเยาวชนรุ่น 2516-2519 แล้ว ส่วนใหญ่ถูกกลืนให้หลงใหลไปกับทุนนิยม คนที่แข่งสู้ไม่ได้ส่วนหนึ่ง กลายเป็นคนเกะกะเกเรและสร้างปัญหาให้สังคมเพิ่มขึ้นด้วย
40 ปีหลัง 6 ตุลาคม 2519 การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมบริวารสร้างความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น คนรวย คนชั้นกลางก็ขัดแย้งต่อสู้ทางการเมืองกันแบบแย่งอำนาจและผลประโยชน์เพื่อพวกพ้อง ประชาชนร่วมต่อสู้บ้างในบางเรื่อง ในบางช่วง มีการประท้วง การใช้ความรุนแรง การรัฐประหารสลับกับการเลือกตั้ง ทุกรัฐบาลแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวแบบพึ่งพาการค้าการลงทุนกับบรรษัทข้ามชาติ เป็นหลัก..
ปัญหาของประเทศไทยคือ ประชาชนยังติดอยู่ในกรอบคิดที่มองอะไรแบบ 2 ขั้วสุดโต่ง ถูกชักจูงให้เลือกสนับสนุนชนชั้นนำข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ถ้าไม่นิยมทักษิณก็นิยมคสช ที่จะคิดแบบเป็นตัวของตัวเอง อย่างมีวุฒิภาวะ วิจาร์ณทุกฝ่าย อย่างจำแนกแยกแยะเฉพาะเรื่องมีน้อย
คนไทยชอบคิดแบบแบ่งเป็น 2 ขั้วสุดโต่งทั้งในเรื่องการเมืองและแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจด้วย ชนชั้นนำรวมทั้งชนชั้นกลางเชื่อในแนวคิดการพัฒนาแบบทุนนิยมอย่างสุดโต่ง พวกเขาคิดว่าเมื่อสังคมนิยมล้มเหลว ใช้ไม่ได้ ก็เหลือแต่ทุนนิยมเป็นอยู่ทางเดียว ดังนั้น ไทยต้องพัฒนาตามระบบทุนนิยมข้ามชาติเสรีเพื่อที่จะเปิดรับการลงทุนและการค้ากับต่างประเทศให้ได้มากที่สุด โดยคิดว่านั่นคือวิธีเดียวที่ไทยจะมีปัญญาพัฒนาเศรษฐกิจ และตามประเทศอื่นๆ เขาให้ทันได้
คนไทยถูกอิทธิพลของรัฐบาลและบริษัททุนนิยมข้ามชาติกล่อมเกลาให้มีความเชื่อว่า เราจำเป็นต้องตัดไม้ทำลายป่า ต้องสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องสร้างโรงไฟฟ้า ต้องให้บรรษัทข้ามชาติมาลงทุนอุตสาหกรรมมากๆ ฯลฯ เศรษฐกิจประเทศไทยถึงจะได้เจริญ มีงานให้คนทำ มีสินค้าและบริการให้คนเพียงพอ พวกเขาไม่เข้าใจหรือแกล้งไม่เข้าใจว่าเราอาจพัฒนาทางเลือกอื่นได้(1)
นั่นก็คือ เราสามารถปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งระบบให้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม ระหว่างทุนนิยมที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรมกับระบบสหกร์ณ วิสาหกิจชุมชน รัฐสวัสดิการ ที่เน้นการกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา ฐานะทางสังคมที่เป็นธรรม การพึ่งตนเองระดับประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกต่างๆ การปฏิรูปในแนวนี้เท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหา การซื้อเสียงขายเสียง ระบบอุปถัมภ์ วัฎจักรการที่นักเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลโกงกิน การประท้วงโดยชนชั้นกลางและการยึดอำนาจโดยทหารได้(2)
ประชาชนกลุ่มที่คาดหมายว่ากลุ่มนายทหารและเทคโนแครตหรือนักวิชาชีพจะปราบโกงและปฏิรูปประเทศได้ คาดหมายอย่างไม่สมจริง พวกเขาเป็นเป็นพวกหัวเก่า อำนาจนิยม ไม่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศแบบเป็นธรรมและยั่งยืนจริง ทำงานบริหารไม่เก่ง ไม่เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจการเมืองของภาคประชาชนที่เป็นจริง ไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษา รู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นตัวของตัวเอง มีสิทธิอำนาจความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ไม่ได้แก้ไขปัญหาหลัก ที่รากของปัญหา ได้แต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาย่อยๆ ไปวันๆ
รัฐบาลคสช,พัฒนาเศรษฐกิจแบบเน้นการพึ่งพาทุนต่างชาติและทุนใหญ่ไม่ต่างจากกลุ่มทักษิณหรือ.ประชาธิปัตย์..พวกเขายังไม่เข้าใจว่าเราสามารถพัฒนาทางเลือกอื่นๆ เช่น แนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตย เศรษฐกิจพึ่งตนเองระดับประเทศสูงขึ้น พัฒนาระบบสหกรณ์ รัฐสวัสดิการ พัฒนาแนวอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็ง ความสมดุล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของเศรษฐกิจและผู้คนภายในประเทศได้มากกว่า(3)
Credit :
40 ปี 6 ตุลา เราเรียนรู้อะไร?
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639103
1.เป็นเรื่องธรรมดาครับที่ต้องมีการเสียสละเพื่อส่วนรวมและปัจจัยการพัฒนาประเทศหรือทรัพยากรต่างๆไม่ได้มีความคงอยู่คงที่ถาวรตลอดไป จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆแบบที่ว่ามาเพราะหนึ่งคนเพิ่มขึ้น สองความต้องการใช้ทรัพยากรต่างๆมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนประชากร สามการจัดสรรแบ่งปันที่ดินที่ประชาชนส่วนใหญ่เอื้อมไม่ถึงแล้วเข้าไปกระจุกตัวกับคนไม่กี่กลุ่ม สี่ถึงพวกต่างชาติไม่เข้ามาทำคนในชาติเราเองนี่แหละที่จะทำตามปัจจัยข้างต้นในข้อนี้และที่สำคัญต่างชาติไม่จำเป็นต้องเข้ามาทำก็ทำแบบที่ว่านี้ในประเทศใกล้ๆอย่างเพื่อนบ้านเราเช่นลาว เมียนมาร์ มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม จีน สิงคโปร์ ฯลฯอย่างเขื่อนผลิตไฟฟ้าลุ่มน้ำโขง ท่าเรือน้ำลึก รถไฟความเร็วสูงต่ำปานกลางฯลฯ แล้วส่งผลกระทบทั้งด้านดีหรือด้านแย่ๆต่อประเทศเราที่ส่วนนี้บอกมาได้โดยไม่เข้ามาทำในประเทศเรา ได้อย่างก็ต้องเสียอย่างนะครับเลือกเอาแต่ข้อดีไม่ได้ทุกอย่างล้วนมีข้อดีข้อเสียในตัว
2.ทุกวันนี้ก็เป็นแบบผสมครับไม่ใช่ทุนนิยมเต็มตัวรัฐยังคงควบคุมการใช้และผลิตรวมถึงการจัดจำหน่ายหรือแบ่งปันอยู่แต่ลดสัดส่วนลงไปเป็นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่เป็นของรัฐทั้งทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ
3.เราพัฒนาและสนับสนุนด้านแนวทางนี้มานานแล้วครับแต่เน้นไปทางด้านส่วนประชาธิปไตยแบบทุนนิยมเพื่อให้เห็นผลทางเศรษฐกิจโดยเร็วมากกว่า แต่ขาดความต่อเนื่องและทิศทางรวมถึงการกระตุ้นที่แน่นอนเพราะปัญหาด้านการเมืองที่ไม่สงบและปัจจัยในข้อ1.ที่ขาดการลงทุนหรือปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย หลายปีก่อนเป็นอย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้นทั้งๆที่ความต้องการโดยรวมของประชากรเพิ่มขึ้น สาเหตุคงไม่ขอเอ่ยถึงเพราะเกี่ยวพันหลายฝ่าย
สุดท้าย1.-3.เป็นความเห็นโดยส่วนตัวไม่ได้ต้องการค้านหรือลบหลู่ดูหมิ่นอะไร เพราะบทความที่ท่านเขียนเองก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสังคมโดนรวมด้านการพัฒนาประเทศตามความเป็นจริงและแนวทางการพัฒนาที่เห็นด้วยอยู่แต่มีจุดที่ผมเองมีความเห็นต่างอยู่เช่นกันตามมุมมองของผม
ขอบคุณครับสำหรับบทความที่นำมาเผยแพร่