กำลังพระตถาคต คือ กำลังพระนารายณ์

ตถาคตพล* เปรียบด้วย รามายนา

ประพันธ์คาถาที่ท่านกล่าวรับรองไว้ในพระปิฎก ว่า
      ตระกูลช้าง ๑๐  ตระกูล  นี้คือ

               กาฬาวกะ  ๑       คังเคยยะ  ๑       ปัณฑระ  ๑         ตัมพะ๑       ปิงคละ  ๑       คันธะ  ๑         มังคละ  ๑          เหมะ  ๑            อุโบสถ  ๑          ฉัททันตะ  ๑.

ก็ตระกูลแห่งช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้.  ในตระกูลช้างเหล่านั้น  พึงเห็นตระกูลช้างธรรมดาว่า กาฬาวกะ.
      กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คน  เท่ากับกำลังช้างกาฬาวกะ ๑ เชือก.    
      กำลังของช้างกาฬาวกะ  ๑๐ เชือก   เท่ากับกำลังช้างคังเคยยะ  ๑ เชือก.
      กำลังช้างคังเคยยะ ๑๐  เชือก เท่ากับกำลังช้างปัณฑระ  ๑ เชือก.
      กำลังช้างปัณฑระ  ๑๐ เชือก  เท่ากับกำลังช้างตัมพะ  ๑  เชือก.  
      กำลังช้างตัมพะ  ๑๐  เชือก  เท่ากับกำลังช้างปิงคละ  ๑  เชือก.    
      กำลังช้างปิงคละ  ๑๐  เชือก  เท่ากับกำลังช้างคันธะ ๑ เชือก.    
      กำลังช้างคันธะ  ๑๐ เชือก    เท่ากับกำลังช้างมังคละ ๑ เชือก.
      กำลังช้างมังคละ  ๑๐ เชือก   เท่ากับกำลังช้างเหมวัต  ๑ เชือก.  
      กำลังช้างเหมวัต  ๑๐ เชือก   เท่ากับกำลังช้างอุโบสถ ๑  เชือก.  
      กำลังช้างอุโบสถ ๑๐ เชือก  เท่ากับกำลังช้างฉัททันตะ ๑  เชือก.    
      กำลังช้างฉัททันตะ  ๑๐ เชือก   เท่ากับกำลังพระตถาคต ๑ พระองค์.

*ตถาคตพละนี้นั้นเทียวเรียกว่ากำลังรวมของพระนารายนะบ้าง. กำลังนี้นั้น เป็นกำลังช้างพันโกฏิ  ด้วยการนับช้างธรรมดา เป็นกำลังบุรุษสิบพันโกฏิ  ด้วยการนับบุรุษ.  นี้เป็นกำลังกายของพระตถาคต….   *ความจาก ฉบับ มมร. เล่ม ๑๘ หน้า ๗๓ ,๗๔ บรรทัดที่ ๑๒-๒๔ ,๑-๕

ต่อมาพระพุทธเจ้า (ราว พุทธศตวรรษที่ 5-6) จึงถือเป็น รามาวตาร เมื่อ พุทธธรรมแท้ๆเลือนหาย และไม่มีผู้ประพฤติปฏิบัติเลยในอินเดียยุคนั้น [ความคิดเห็นส่วนตัว]
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่