ในพระสูตรนั้น คำว่า บ่มวิมุตติ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า
บ่มวิมุตติ ก็เพราะทำวิมุตติให้สุกงอม. คำว่า ธรรม ได้แก่ ธรรม
๑๕ อย่าง. ธรรมเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งของความหมดจดแห่ง
อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น . สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
(๑) อินทรีย์คือความเธอย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่มีความเชื่อ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้ บุคคลผู้มีความเชื่อ.
ค. พิจารณาสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส.
(๒) อินทรีย์คือความเพียรย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลเกียจคร้าน.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร.
ค. พิจารณาถึงความเพียรชอบ.
(๓) อินทรีย์คือความระลึกย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ
ก. เว้นบุคคลผู้หลงลืมสติ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งสติมั่น.
ค. พิจารณาหลักการตั้งสติ (สติปัฏฐาน).
(๔) อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งใจมั่น.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งใจมั่น.
ค. พิจารณาฌานและวิโมกข์.
(๕) อินทรีย์คือความรู้ชัดย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา.
ค. พิจารณาญาณจริยาที่ลึกซึ้ง.
เมื่อเว้นบุคคล ๕ พวก เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคล ๕ พวก พิจารณา
กองสูตร ๕ กองเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ด้วยอาการ ๑๕ อย่างเหล่านี้ อินทรีย์ทั้ง
๕ อย่างก็ย่อมหมดจด.
ยังมีธรรมสำหรับ บ่มวิมุตติอีก ๑๕ อย่างคือ อินทรีย์
มีความเธอเป็นต้น เหล่านั้น ๕ อย่าง ความสำคัญอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด
(นิพเพธภาคิยสัญญา) ๕ อย่างเหล่านี้คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ความสำคัญว่า
เป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ความสำคัญว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์ ความ
สำคัญในการละ ความสำคัญในวิราคะ และธรรมอีก ๕ อย่างมีความเป็น
ผู้มีมิตรดีงาม เป็นต้น ที่ตรัสแก้พระเมฆิยเถระ.
ที่มา : อรรถกถาราหุโลวาทสูตร
( พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 483 )
ธรรม 15 อย่างสำหรับบ่มอินทรีย์
บ่มวิมุตติ ก็เพราะทำวิมุตติให้สุกงอม. คำว่า ธรรม ได้แก่ ธรรม
๑๕ อย่าง. ธรรมเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งของความหมดจดแห่ง
อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น . สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
(๑) อินทรีย์คือความเธอย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่มีความเชื่อ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้ บุคคลผู้มีความเชื่อ.
ค. พิจารณาสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส.
(๒) อินทรีย์คือความเพียรย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลเกียจคร้าน.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร.
ค. พิจารณาถึงความเพียรชอบ.
(๓) อินทรีย์คือความระลึกย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ
ก. เว้นบุคคลผู้หลงลืมสติ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งสติมั่น.
ค. พิจารณาหลักการตั้งสติ (สติปัฏฐาน).
(๔) อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งใจมั่น.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งใจมั่น.
ค. พิจารณาฌานและวิโมกข์.
(๕) อินทรีย์คือความรู้ชัดย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา.
ค. พิจารณาญาณจริยาที่ลึกซึ้ง.
เมื่อเว้นบุคคล ๕ พวก เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคล ๕ พวก พิจารณา
กองสูตร ๕ กองเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ด้วยอาการ ๑๕ อย่างเหล่านี้ อินทรีย์ทั้ง
๕ อย่างก็ย่อมหมดจด.
ยังมีธรรมสำหรับ บ่มวิมุตติอีก ๑๕ อย่างคือ อินทรีย์
มีความเธอเป็นต้น เหล่านั้น ๕ อย่าง ความสำคัญอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด
(นิพเพธภาคิยสัญญา) ๕ อย่างเหล่านี้คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ความสำคัญว่า
เป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ความสำคัญว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์ ความ
สำคัญในการละ ความสำคัญในวิราคะ และธรรมอีก ๕ อย่างมีความเป็น
ผู้มีมิตรดีงาม เป็นต้น ที่ตรัสแก้พระเมฆิยเถระ.
ที่มา : อรรถกถาราหุโลวาทสูตร
( พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 483 )