เหตุให้เกิดปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

     ธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. ความสอบถาม (ปริปุจฺฉกตา)

๒. การทำวัตถุภายในและภายนอกให้สะอาด (วตฺถุวิสทกิริยา)

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน (อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนตา)

๔. การเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา (ทุปฺปญฺญปุคฺคลปริวชฺชนตา)

๕. การคบผู้มีปัญญา (ปญฺญวนฺตปุคฺคลเสวนตา)

๖. การพิจารณาจริยาด้วยญาณอันลึกซึ้ง (คมฺภิรญาณจริยปจฺจเวกฺขณตา)

๗. ความน้อมจิตเพื่อให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้น (ตทธิมุตฺตตา).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

     ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. การสอบถาม

๒. การทำวัตถุให้สะอาด

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

๔. การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม

๕. การเสพบุคคลผู้มีปัญญาดี

๖. การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง

๗. การน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น

     บรรดาธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การสอบถาม ได้แก่ ความเป็นผู้มากด้วยการสอบถามอันอาศัยอรรถ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ   โพชฌงค์ องค์แห่งมรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่